Home > COVID-19 (Page 4)

ท็อปส์ เดลี่ และ แฟมิลี่มาร์ท อาสาช่วยคน กทม. ลงทะเบียนจองสิทธิ์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ผ่านเว็บ www.ไทยร่วมใจ.com

ท็อปส์ เดลี่ และ แฟมิลี่มาร์ท ในเครือเซ็นทรัล รีเทล พร้อมช่วยเหลือประชาชนด้วยความห่วงใย ตอบรับความร่วมมือ กับกรุงเทพมหานคร เปิดเป็นจุดบริการรับลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนโควิด-19 ในระบบ “ไทยร่วมใจ กรุงเทพปลอดภัย” ที่ร้านท็อปส์ เดลี่ และ แฟมิลี่มาร์ท รวม 316 สาขา ในกรุงเทพมหานคร เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มได้เข้าถึงการฉีดวัคซีน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในพันธกิจที่ให้ความสำคัญกับการดูแลประชาชน พร้อมให้ความร่วมมือและสนับสนุนการปฏิบัติงานของภาครัฐในการควบคุมการแพร่ระบาดมาโดยตลอด ภายใต้โครงการ “ไทยร่วมใจ กรุงเทพปลอดภัย” จะเปิดให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุตั้งแต่ 18-59 ปี ซึ่งไม่ได้เป็น 7 กลุ่มโรคเสี่ยง ลงทะเบียนจองฉีดวัคซีน โดยพนักงานท็อปส์ เดลี่ และ แฟมิลี่มาร์ท ทั้ง 316 สาขาในกรุงเทพมหานคร พร้อมอาสาลงทะเบียนจองสิทธิ์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชน ผ่านเว็บไซต์ www.ไทยร่วมใจ.com เริ่มตั้งแต่วันที่

Read More

ธุรกิจโรงแรม ทรุดหนัก ไร้สภาพคล่อง-ปรับตัวหนีตาย

การแพร่ระบาดของ COVID-19 นอกจากจะทำให้สังคมไทยเผชิญกับความยากลำบากและธุรกิจหลากหลายได้รับผลกระทบรุนแรงแล้ว ธุรกิจโรงแรมของไทยดูจะเป็นอีกกลุ่มธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ดังกล่าวไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และกำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งใหม่ว่าด้วยการสูญเสียธุรกิจและต้องล้มหายไปจากภูมิทัศน์ทางธุรกิจนี้ไปโดยปริยาย อุบัติการณ์ของการแพร่ระบาด COVID-19 ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกหดตัวเป็นประวัติการณ์ โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2563 จำนวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกลดลงถึงร้อยละ 72 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าโดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกลดลงถึงร้อยละ 82 ขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดในปัจจุบันยังคงอยู่ในภาวะคับขัน ขณะที่ประเทศไทยเผชิญกับการระบาดระลอกใหม่ ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยใหม่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ผลกระทบจากการแพร่ระบาดรุนแรงและมีแนวโน้มยาวนาน ทำให้องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) แนะนำว่าการสร้างให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ หรือ Herd Immunity จำเป็นต้องมีการฉีดให้ครอบคลุมมากถึงร้อยละ 65-70 ของจำนวนประชากร ซึ่งต้องใช้เวลาและงบประมาณมหาศาล ขณะที่ความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวจะไม่ฟื้นตัวเร็วเหมือนวิกฤตในอดีต เพราะความกังวลของประชาชนที่มีต่อโรคระบาดจะยังดำรงอยู่ต่อไปอีกอย่างน้อย 3-6 เดือน นอกจากนี้ รายได้และกำลังซื้อที่ลดลงรุนแรงทำให้ความต้องการเดินทางซึ่งถือว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยยังต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว ภาคท่องเที่ยวของไทยทรุดหนัก นับตั้งแต่ประกาศใช้ พ.ร.ก. สถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 และติดตามมาด้วยมาตรการห้ามอากาศยานทำการบินเข้าสู่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราวระหว่างวันที่ 3 เมษายน 2563 - 30

Read More

เสี่ยง “ติดเชื้อ” หรือ “อดตาย” ทางแพร่งของชาวชุมชนคลองเตย

การระบาดระลอกที่สามของ COVID-19 กำลังคุกคามความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของประชาชนคนไทยอย่างหนักหน่วง แม้ว่าจุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาดครั้งใหม่นี้จะเกิดขึ้นจากสถานบันเทิงย่านสุขุมวิท ซึ่งถือเป็นแหล่งสันทนาการของบรรดาเหล่าผู้มีรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจ หากแต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นกลับทำให้พื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก กลายเป็นชุมชนแออัดซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพฯ ไปโดยปริยาย สถานการณ์ของการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ครั้งล่าสุดนี้ มีปัจจัยที่แตกต่างจากการแพร่ระบาดครั้งที่ผ่านมา โดยการระบาดระลอกแรกเกิดขึ้นจากการติดเชื้อจากสนามมวยซึ่งมีคนเฉพาะกลุ่มไม่กี่คน หรือในครั้งต่อมาที่เกิดจากแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมือง แต่การระบาดครั้งนี้เริ่มจากสถานบันเทิง ซึ่งผู้คนที่อาศัยอยู่ในชุมชนรอบข้างทั้งชุมชนคลองเตย ชุมชนบ่อนไก่ และชุมชน 70 ไร่ จำนวนไม่น้อยทำงานอยู่ในสถานบันเทิงย่านสุขุมวิท ซึ่งนั่นเป็นเหตุให้การลุกลามของโรคดำเนินไปอย่างรวดเร็วมาก ชุมชนแออัดในเขตคลองเตยมีประชากรรวมกันนับแสนคน โดยสมาชิกของแต่ละครอบครัวอยู่รวมกันในพื้นที่จำกัด ซึ่งภายใต้สภาพพื้นที่ในชุมชนมีความแออัดสูง ทำให้การติดเชื้อโรค COVID-19 เกิดขึ้นอย่างง่ายดายและรวดเร็ว เพราะการที่จะคัดแยกและขอให้คนที่ติดเชื้อแยกกักตัวที่บ้านแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะบ้านหลังหนึ่งมีคนอยู่กันหลายคนในพื้นที่เล็กๆ ขณะที่การส่งตัวผู้ติดเชื้อไปรักษาที่โรงพยาบาลสนามก็ดำเนินไปอย่างยากลำบากเพราะต้องรอรถรับ-ส่งอย่างเนิ่นนาน ซึ่งเมื่อผู้ป่วยต้องรออยู่ในบ้านทำให้สมาชิกในครอบครัวมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อกันหมด โดยในบางกรณีสมาชิกในครอบครัวติดเชื้อกันทั้งบ้าน ผลกระทบจากการระบาดครั้งนี้ยังขยายวงกว้าง เพราะไม่เพียงแต่ผู้ติดเชื้อเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ หากแต่คนในชุมชนที่ไม่ติดเชื้อก็ได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความกังวลจากผู้คนภายนอกที่ทำให้คนในชุมชนถูกตีตราและกีดกันจากการทำงานเพียงเพราะเป็นผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัด ซึ่งทำให้หลายคนต้องตกงาน ไม่มีรายได้ และไม่รู้ว่าจะได้กลับไปทำงานเมื่อไหร่ หรือจะยังมีงานทำอยู่หรือไม่ การถูกกีดกันจากการทำงานที่เกิดขึ้นกับผู้คนในชุมชนคลองเตย ดำเนินไปทั้งในรูปแบบของการไม่รับเข้าทำงานเลยเพราะพวกเขาถูกประเมินว่าเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยง หรือแม้กระทั่งการถูกสั่งพักงานที่ทำอยู่ จากผลของอคติที่มีต่อชาวชุมชนแออัด แม้ว่าพวกเขาจะมีผลตรวจที่ยืนยันว่าไม่ได้เป็นผู้ติดเชื้อก็ตาม ซึ่งกำลังลุกลามไปสู่การส่งผ่านข้อมูลในลักษณะที่ว่าให้งดสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันส่งอาหารต่างๆ เพราะมีคนจากชุมชนแออัดทำงานเป็นคนส่งจำนวนมาก จนเป็นเหตุให้สถานประกอบการหลายแห่งกังวลมาก และก่อให้เกิดอคติว่าคนในกลุ่มนี้ต้องเอาเชื้อมาแพร่แน่ๆ ทั้งที่ในความเป็นจริงอาจไม่ใช่เช่นนั้น การแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ชุมชนแออัด ที่ได้รับการเรียกขานในเวลาต่อมาว่า “คลัสเตอร์คลองเตย” นี้

Read More

เหตุ COVID ระลอกใหม่ฉุด ธุรกิจการบินของไทยทรุดหนัก

ความเป็นไปของการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายนที่ผ่านมา นอกจากจะส่งผลให้เกิดความตระหนกและความกังวลใจว่าด้วยความรุนแรงและรวดเร็วของการแพร่ระบาดครั้งใหม่ท่ามกลางกระแสข่าวว่าด้วยการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสแล้ว ความล่าช้าของระบบการจัดการและกระจายวัคซีนซึ่งหลายฝ่ายหวังว่าจะเป็นเครื่องมือที่เสริมสร้างความมั่นใจและนำพาเศรษฐกิจสังคมไทยให้กลับมาฟื้นคืนชีวิตได้โดยเร็วอีกครั้ง ก็ดูจะอันตรธานหายไปพร้อมกับสายลมร้อนแห่งคิมหันตฤดูด้วย การระบาดระลอกใหม่ทำให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายประการของรัฐที่เคยวางไว้ว่ามีผลต้องเลื่อนหรือระงับออกไปโดยปริยาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนการที่จะเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศได้เดินทางเข้ามาภายใต้มาตรการผ่อนปรนด้วยหวังว่ากรณีดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งในการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย หรือการกระตุ้นให้ประชาชนคนไทยเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเพื่อเสริมพลวัตทางเศรษฐกิจให้ดำเนินไป กลับต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันไปโดยปริยาย มาตรการของรัฐไม่ว่าจะเป็นคำสั่งห้าม รวมถึงการขอความร่วมมือ เพื่อป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดระลอกใหม่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมาตกอยู่ในภาวะจมปลักชะงักงันในลักษณะที่ไม่ต่างจากการติดหล่มขยับเขยื้อนไปไหนไม่ได้ นอกเหนือจากการจมดิ่งลงไปในบ่อโคลนที่ยากจะนำพาองคาพยพนี้ให้ขับเคลื่อนต่อไปได้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ ก่อนหน้านี้กลไกรัฐไทยเคยกำหนดแผนที่จะเปิดประเทศเป็น 4 ระยะด้วยการเริ่มจากระยะที่หนึ่ง ลดการกักตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศจาก 14 วัน เหลือ 7 วัน ภายในโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการหรือ “แอเรีย ควอรันทีน” (Area Quarantine) โดยนักท่องเที่ยวเหล่านี้ต้องมีการฉีดวัคซีนโควิดและมีเอกสารรับรองฉีดโควิด และจะนำร่องในพื้นที่ 6 จังหวัดท่องเที่ยวสำคัญ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ขณะที่แผนระยะที่ 2 ซึ่งจะเริ่มวันที่ 1 กรกฎาคม จะเปิดให้นักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสเข้ามาในจังหวัดภูเก็ตได้โดยไม่ต้องกักตัว ก่อนเข้าสู่ระยะสาม เริ่มวันที่ 1 ตุลาคม จะเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าพื้นที่ 5 จังหวัดนำร่องที่เหลือ ไม่ต้องกักตัว หากฉีดวัคซีนโควิด มีเอกสารรับรองฉีดวัคซีน

Read More

จาก “ทัวร์วัคซีน” ถึง “ย้ายประเทศ” ภาพสะท้อนความตกต่ำสังคมไทย?

กระแสข่าวว่าด้วยการเสนอจัดการท่องเที่ยวเดินทางไปต่างประเทศเพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาด COVID-19 ที่เกิดขึ้นในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งนอกจากจะเป็นความพยายามของผู้ประกอบการในการดิ้นรนและปรับตัวเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจโดยอาศัยจังหวะโอกาสและช่องว่างว่าด้วยการจัดสรรวัคซีนที่ดำเนินอยู่ในต่างประเทศแล้ว ในอีกมิติหนึ่งได้สะท้อนความล้มเหลวของการจัดหาและจัดสรรวัคซีนในประเทศไทยอย่างชัดเจน ซึ่งกำลังกลายเป็นประเด็นที่สั่นคลอนความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการบริหารจัดการของกลไกรัฐอย่างหนักหน่วง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ “วัคซีน COVID-19” ได้รับการประเมินว่าเป็นทางรอดสำคัญสำหรับผู้คนจำนวนมากทั่วโลก ความล่าช้าหรือการเข้าถึงการฉีดวัคซีนที่ยากในบางประเทศ จึงทำให้มีหลายคนมองหาลู่ทางในการฉีดวัคซีนนอกเหนือจากที่มีอยู่ในประเทศ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับความต้องการของบางประเทศ ที่ต้องการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ด้วยการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวและวัคซีน COVID-19 ที่มีอยู่ในประเทศ ในฐานะที่เป็นดีลที่สมประโยชน์ (win-win) ทั้งสองฝ่าย กรณีการกระตุ้นการท่องเที่ยวควบคู่กับการฉีดวัคซีนที่ชัดเจนที่สุดกรณีหนึ่ง ดูจะเป็นยุทธศาสตร์ของ มัลดีฟส์ ที่ริเริ่มการฉีดวัคซีน COVID-19 ให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงการริเริ่มมุ่งฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ภายใต้กลยุทธ์ที่เรียกว่า “3V” ประกอบไปด้วย Visit (มาเยือน) - Vaccination (ฉีดวัคซีน) - Vacation (พักผ่อน) ซึ่งจะกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวกลับเข้ามาในมัลดีฟส์ ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ แนวความคิดที่จะนำวัคซีนมาฉีดให้ผู้มาเยือนเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวนี้ ดำเนินไปหลังจากที่มัลดีฟส์ฉีดวัคซีนให้ประชากรในประเทศไปแล้วประมาณ 300,000 คน หรือคิดเป็น ร้อยละ 55 ของประชากรทั้งประเทศ โดยวัคซีนส่วนใหญ่ที่มัลดีฟส์ได้รับเป็นการจัดสรรจากโครงการ COVAX หรือวัคซีนกองกลางที่หลายประเทศนำมาบริจาคไว้แจกจ่ายให้ประเทศที่ขาดศักยภาพในการแย่งชิงวัคซีน COVID-19

Read More

เซ็นทรัล ขานรับภาครัฐ อัดบริการ ‘เดลิเวอรี่-ช้อปออนไลน์-Drive Thru’ เดินหน้าเต็มสูบช่วยพันธมิตรร้านค้า

เซ็นทรัลพัฒนา ขานรับภาครัฐ อัดบริการ ‘เดลิเวอรี่-ช้อปออนไลน์-Drive Thru’ หลากหลายแพลตฟอร์มยอดพุ่ง เดินหน้าเต็มสูบช่วยพันธมิตรร้านค้า ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลทั่วประเทศ พร้อมผนึกร้านอาหารดังระดับโลก และแบรนด์แฟชั่นกว่า 450 แบรนด์ดัง บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลพลาซา เซ็นทรัลเฟสติวัล เซ็นทรัลภูเก็ต และเซ็นทรัลวิลเลจ ขานรับนโยบายภาครัฐ ลดอัตราการแพร่ระบาด เดินหน้ารุกเร็ว อัดฉีดบริการ ‘เดลิเวอรี่-ช้อปออนไลน์-Drive Thru’ เพื่อช่วยเหลือพันธมิตรร้านค้าอย่างเต็มที่ และเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าได้ใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกปลอดภัยมากที่สุดในการซื้อสินค้าและบริการของศูนย์การค้าเซ็นทรัลทั่วประเทศ โดยมีศูนย์การค้าแฟล็กชิฟให้บริการระดับประเทศ ที่ เซ็นทรัลเวิลด์ ที่มีแบรนด์ชั้นนำหลากหลายที่สุดกว่า 450 แบรนด์และร้านอาหารกว่า 200 ร้าน, เซ็นทรัล วิลเลจ ลักชูรี่ เอาท์เล็ตแห่งแรกของไทยด้วยแบรนด์ชั้นนำกว่า 200 แบรนด์ในราคา OUTLET, และเซ็นทรัล ภูเก็ต ที่มีแบรนด์ลักชูรี่ชั้นนำระดับโลกอีกทั้งรุก Localised targeting ไปในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในแต่ละคอมมูนิตี้และจังหวัดต่างๆ ได้แก่

Read More

ไปรษณีย์ไทยร่วมซีพีแรมขนส่งลังกระดาษกว่า 2 ตัน เร่งผลิตเตียงสนาม แก้วิกฤตขาดแคลนเตียง

ไปรษณีย์ไทยร่วมซีพีแรมขนส่งลังกระดาษกว่า 2 ตัน เร่งผลิตเตียงสนาม ช่วยแก้วิกฤตขาดแคลนเตียง - ที่พักรักษาผู้ป่วยทั่วประเทศ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) ร่วมกับบริษัท ซีพีแรม จำกัด ขนส่งกล่องและลังกระดาษที่ไม่ใช้แล้วกว่า 2,000 กิโลกรัม เพื่อมอบให้กับบริษัท เอสซีจี แพ็กเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) นำไปผลิตเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี (SCGP Paper Field Hospital Bed) และมอบให้กับโรงพยาบาลสนามทั่วประเทศ โดยตั้งเป้าใช้ศักยภาพขนส่ง และการเข้าถึงทุกพื้นที่เพื่อรองรับกับการแพร่ระบาดและการขาดแคลนอุปกรณ์จำเป็นในการการพักรักษาตัวของผู้ป่วยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด พร้อมรุกเดินหน้าสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ผ่านหลากหลายโครงการในช่วงวิกฤตการระบาดของเชื้อ COVID-19 นายกาหลง ทรัพย์สอาด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานปฏิบัติการ และรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) เปิดเผยว่า เนื่องด้วยจำนวน ผู้ติดเชื้อ COVID - 19 ในประเทศไทยได้เพิ่มมากขึ้น และเป็นสาหตุสำคัญที่ทำให้เกิดข้อกังวลเกี่ยวกับพื้นที่ในการพักรักษา รวมถึงจำนวนเตียงที่เพียงพอต่อผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนาม

Read More

COVID ระลอกใหม่ ฉุดเศรษฐกิจไทยดิ่งเหว?

การแพร่ระบาดระลอกใหม่ล่าสุดของ COVID-19 นอกจากกำลังเป็นภาพสะท้อนที่บ่งชี้ถึงความล่าช้าในการจัดหาวัคซีนเพื่อต้านทานและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังเป็นการเน้นย้ำให้เห็นถึงความล้มเหลวในการบริหารจัดการสถานการณ์ในภาวะวิกฤตของกลไกรัฐได้อย่างชัดเจน และเผยให้เห็นถึงความไร้ประสิทธิภาพในการวางแผนและกำหนดมาตรการเชิงรุก ที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในสังคมไทยและต่อนักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติที่ได้รับการคาดหมายและฝากความหวังว่าจะเป็นปัจจัยหนุนนำให้เศรษฐกิจไทยกลับมาฟื้นตัวในอนาคต ผลของการแพร่ระบาดครั้งใหม่ดังกล่าว ทำให้การประเมินทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2564 ซึ่งเดิมกลไกรัฐพยายามโหมประโคมว่า GDP ของไทยจะกลับมาเติบโตได้อีกครั้งที่ระดับร้อยละ 4 จากดฐานคิดที่ว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐได้ผลดี และฐานทางเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาหดตัวแคบมากแล้วการเติบโตที่ระดับร้อยละ 4 จึงไม่น่าจะเป็นความเพ้อฝันแต่เป็นสิ่งที่กระทำได้ไม่ยาก หากแต่ความเป็นไปของการแพร่ระบาดระลอกล่าสุดดูเหมือนจะทำให้ความคาดหวังของกลไกรัฐดังกล่าวพังครืนลงอย่างยากที่จะปฏิเสธ ขณะที่สำนักวิจัยและคาดการณ์ทางเศรษฐกิจหลายแห่งต่างปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยลงอีก โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ซึ่งได้เคยคาดการณ์เศรษฐกิจไทยว่าจะเติบโตได้ที่ร้อยละ 2.6 เมื่อไตรมาสแรกของปีที่ผ่านมา ได้ปรับลดประมาณการลงเหลือที่ระดับร้อยละ 1.8 เท่านั้น ปัจจัยที่ทำให้สำนักวิจัยแห่งนี้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยลงต่ำเช่นนี้ นอกจากจะเป็นผลกระทบเบื้องต้นจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ ซึ่งส่งผลต่อการท่องเที่ยวเดินทาง โดยเฉพาะเมื่อประเมินจากสถานการณ์ในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ทำให้เห็นว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่มีความรุนแรงกว่าในระลอกก่อนหน้านี้ ขณะที่กลไกรัฐไม่สามารถออกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวด แต่ความกังวลต่อสถานการณ์จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คน รวมถึงความเชื่อมั่นที่ลดลงมีผลต่อการบริโภคของครัวเรือนให้มีทิศทางต่ำกว่าที่ประเมิน เหตุดังกล่าวส่งผลต่อภาคธุรกิจการท่องเที่ยวที่น่าจะยืดเวลาฟื้นตัวออกไป ยังไม่นับรวมถึงกรณีการจัดหาและจัดสรรวัคซีนที่ล่าช้าอีกด้วย ความน่ากังวลจากสถานการณ์ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันอยู่ที่ภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มชัดเจนขึ้นว่าจะมีเข้ามาต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2 ล้านคน ซึ่งกลไกรัฐต้องมีมาตรการเพื่อดูแลผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรค โดยตัวแปรสำคัญอยู่ที่การเร่งจัดการและกระจายฉีดวัคซีน ที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคเท่านั้น หากยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมไทยในวงกว้างและนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาด้วย ความล่าช้าในการจัดหาและกระจายวัคซีนสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้การแพร่ระบาดยืดเยื้อหรืออาจเกิดการระบาดอีกระลอกในไตรมาส 3 ของปีนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างมาก ทำให้ความหวังของการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวให้ทยอยกลับมาเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอาจต้องล่าช้าออกไปอีกหนึ่งปี ส่งผลต่อการจ้างงานและการบริโภค ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นโอกาสที่เศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะไม่เติบโตจากปีก่อนหน้าก็มีความเป็นไปได้สูงมาก การควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาด และการปูพรมกระจายวัคซีนเป็นภารกิจเร่งด่วน

Read More

สมาคมโฆษณาฯ ออก 3 มาตรการ ขอความร่วมมือคนโฆษณา รวมพลังหยุดยั้งโควิด-19

สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ออก 3 มาตรการ “Work From Home – ชะลอการผลิตงาน – ร่วมมือกับภาครัฐ” ส่งสารขอความร่วมมือจากบริษัทตัวแทนโฆษณา ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานโฆษณาสื่อสารการตลาด สมาชิกและคณะกรรมการสมาคมฯ บุคลากรในอุตสาหกรรมโฆษณาและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวมพลังกันหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นายรติ พันธุ์ทวี นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รอบ 3 ทวีความรุนแรงและแพร่กระจายรวดเร็วกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มคนวัยทำงานในสังคมเมือง ซึ่งรวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมและกิจการต่าง ๆ ของภาคอุตสาหกรรมโฆษณาที่มีกว่าหมื่นคน คณะกรรมการสมาคมฯ รู้สึกเป็นห่วงผลกระทบที่มีต่อการทำงาน และธุรกิจโฆษณา จึงขอความร่วมมือจากผู้ที่อยู่ในธุรกิจโฆษณาและธุรกิจที่เกี่ยวข้องให้พร้อมใจกันปฏิบัติงานตามมาตรการ ดังนี้ 1. จัดให้มีการทำงานจากที่พักอาศัย (Work From Home) โดยจัดประชุมต่าง ๆ ทางออนไลน์ทั้งหมด เพื่อหลีกเลี่ยงการพะปะกัน และลดปริมาณการสัญจรไปมาของบุคลากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบขนส่งสาธารณะ 2. ชะลอหรือเลื่อนกำหนดการทำงานผลิตชิ้นงานโฆษณาในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานถ่ายทำภาพยนตร์ วิดีโอ คลิปโฆษณา งานภาพนิ่ง งานห้องตัดต่อ ห้องบันทึกเสียง

Read More

ค้าปลีกอ่วมซ้ำแสนล้าน จี้อัปเกรด ช้อปดีมีคืน-คนละครึ่งเฟส 3

โควิดระลอก 3 เหมือนฝันร้ายของธุรกิจค้าปลีกที่เกี่ยวพันโดยตรงกับกำลังซื้อของผู้คน และแนวโน้มจะหนักหนาสาหัสกว่า 2 ระลอกแรก ที่นับเม็ดเงินหดหายตลอดทั้งปี 2563 มากกว่า 5 แสนล้านบาท ทำลายบรรยากาศการจับจ่ายช่วงเทศกาลวันหยุดยาว และยังต้องลุ้นแผนการควบคุมการระบาดช่วง 2 เดือนนับจากนี้ ที่สำคัญ ประเทศไทยต้องกลับมาทบทวนตัวเลขการเติบโตทุกด้าน ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า ผลจากการแพร่ระบาดโควิด-19 กรณีคลัสเตอร์สถานบันเทิง และมีผู้ติดเชื้อต่อวันสูงขึ้นมาอีกครั้ง ทำให้กิจกรรมต่างๆ หยุดชะงัก คนระมัดระวังการใช้จ่าย คิดเป็นความเสียหายต่อเดือน 3-5 หมื่นล้านบาท และหากดูสถิติย้อนหลังเมื่อเกิดการแพร่ระบาดรอบใหม่จะใช้เวลาควบคุมและเรียกความเชื่อมั่นให้การจับจ่ายกลับมาอีกครั้งจะใช้เวลาอย่างน้อย 1-2 เดือน เท่ากับเงินใช้จ่ายจะหายไปจากระบบ 6 หมื่นล้านบาทถึง 1 แสนล้านบาท และกระทบตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไม่ต่ำกว่า 0.3-0.5% นี่ยังไม่ประเมินในกรณีเลวร้าย การระบาดวงกว้างหยุดไม่อยู่จนถึงขั้นล็อกดาวน์ในบางพื้นที่ เศรษฐกิจปีนี้อาจเติบโตเพียง 2.0-2.5% ดังนั้น นอกจากการควบคุมการแพร่ระบาดและเร่งกระจายฉีดวัคซีนเร็วที่สุด มากที่สุด เพื่อเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวแล้ว รัฐต้องเร่งออกมาตรการลดค่าครองชีพเร็วขึ้นภายในปลายเดือนเมษายน จากเดิมจะเริ่มในเดือนมิถุนายน ทั้งโครงการเราชนะและคนละครึ่งเฟส 3

Read More