Home > COVID

นักวิจัยไทยโชว์เก๋า พัฒนาสเปรย์พ่นจมูกแอนติบอดีหยุดเชื้อโควิด-19

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ยกเลิกโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตราย และกำหนดให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากสถานการณ์การระบาดทั่วโลกมีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตลดลง การแพร่ระบาดและความรุนแรงของโรคในต่างประเทศมีแนวโน้มลดลง ประกอบกับจำนวนวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในประเทศมีเพียงพอกับความต้องการ ขณะที่ประชาชนได้รับวัคซีนในระดับความครอบคลุมสูง มีภูมิคุ้มกันโรคเพิ่มขึ้น ในห้วงเวลาที่โลกตกอยู่ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคอุบัติใหม่ เหล่านักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ต่างระดมสรรพกำลัง ระดมสมองคิดค้นวิจัย พัฒนาวัคซีน ยา เพื่อมาช่วยป้องกันมนุษย์ให้รอดพ้นจากเชื้อไวรัสโควิด-19 นักวิจัยไทยไม่ได้นิ่งนอนใจ ซุ่มพัฒนานวัตกรรมที่จะมาสู้กับเชื้อไวรัสโควิดเช่นเดียวกัน ล่าสุดเมื่อวันที่ 26 กันยายน ที่ผ่านมา 5 ภาคีรัฐ-เอกชน แถลงข่าวเพื่อประกาศความสำเร็จให้ทั่วโลกได้รับรู้ โดย 5 ภาคีเครือข่ายประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) องค์การเภสัชกรรม และบริษัท ไฮไบโอไซ จำกัด (บริษัทย่อยของ บมจ. โรจูคิส อินเตอร์เนชั่นแนล) ร่วมมือพัฒนานวัตกรรมจนสามารถผลักดันงานวิจัยและพัฒนาจนเป็นผลิตภัณฑ์ “สเปรย์พ่นจมูกที่เป็นเกราะป้องกันทางกายภาพที่ช่วยดักจับและยับยั้งอย่างจำเพาะต่อเชื้อโควิด-19 ที่บริเวณโพรงจมูก ภายใต้แบรนด์

Read More

เปิดมุมมองใหม่กับนวัตกรรมการรักษาโควิด-19

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่อยู่กับเรามากว่า 2 ปี และกลายพันธุ์อย่างรวดเร็วจนตามแทบไม่ทัน ทำให้หลายๆ ฝ่ายทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ประชาชน และองค์กรต่างๆ ต้องเร่งปรับตัวเพื่อรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งแนวทางการรักษาและมุมมองโควิด-19 ต่อการปรับตัวสู่ชีวิตวิถีใหม่ ที่ผ่านมามีการจัดประชุมและเสวนาในเวทีต่างๆ ในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 มาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงงานเสวนาล่าสุดที่จัดขึ้นเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมาในหัวข้อ “เปิดมุมมองใหม่กับนวัตกรรมการรักษาโควิด-19” เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลเชิงลึกตลอดจนภาพรวมของการรับมือกับโควิด-19 ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการทำการศึกษาวิจัยทางคลินิกและการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 เป็นเวลากว่า 2 ปี เปิดเผยว่า สิ่งที่ท้าทายที่สุดสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ คือการต้องทำให้ทุกอย่างเป็นไปได้แม้เป็นเรื่องที่ไม่เคยทำได้มาก่อน รวมทั้งต้องหาข้อมูลใหม่ๆ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ให้ได้อย่างทันท่วงที “วัคซีน” และ “ยา” เพื่อป้องกันและรักษาคืออาวุธที่สำคัญ ศ.พญ.ศศิโสภิณ เน้นย้ำว่า ประเด็นสำคัญที่ต้องจับตามองคือ “การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส” เพราะภายในระยะเวลา 2 ปี โลกต้องต้องเผชิญหน้ากับไวรัสที่กลายพันธุ์ไปถึง 5 สายพันธุ์ ทั้งอัลฟา เบตา แกมมา เดลตา จนมาถึงโอมิครอน เพราะฉะนั้นการมีวัคซีนเพื่อเป็นอาวุธในการต่อสู้กับการกลายพันธุ์ของไวรัสจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก

Read More

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวสะดุด โอมิครอนทำทรุดทั้งระบบ

คงเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอนคือตัวดับฝันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง แม้ว่าก่อนหน้าหลายภาคส่วนจะทำเพียงแค่จับตา และคาดการณ์สถานการณ์ไปในทางบวกว่า โอมิครอนจะไม่กระทบภาคการท่องเที่ยวของไทยเท่าใดนัก แต่หลังจากเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่เป็นต้นมา จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้น และมีหลายคลัสเตอร์ในหลายจังหวัด กระทั่งกระทรวงสาธารณสุขต้องประกาศแจ้งการเตือนภัยด้านสาธารณสุขจากระดับ 3 เป็นระดับ 4 ซึ่งมาตรการมีตั้งแต่การปิดสถานที่เสี่ยง ทำงานจากที่บ้าน 50-80 เปอร์เซ็นต์ ชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่ ใช้ระบบกักตัวผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ และรัฐบาลยกเลิกมาตรการเข้าประเทศแบบ Test&Go และปิดการลงทะเบียน Thailand Pass ชั่วคราว ซึ่งทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง ไม่ใช่เพียงในประเทศไทยเท่านั้นที่ประกาศใช้มาตรการควบคุมเข้มงวดสูงสุด ในขณะที่อีกหลายประเทศทั่วโลกที่เกิดการระบาดอย่างหนักก็เช่นเดียวกัน เช่น ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เป็นต้น ผลคือนักท่องเที่ยวต่างชาติยกเลิกการเดินทางเพราะมีการระบาดจากประเทศต้นทาง เป็นเหตุให้โรงแรมและที่พักต่างๆ ถูกแจ้งยกเลิกการจอง หรือเลื่อนกำหนดเวลาการเข้าพัก ตั้งแต่ 25-50 เปอร์เซ็นต์ นอกจากสถานการณ์การเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เริ่มปรากฏชัดว่าอาจไม่เป็นไปตามเป้าแล้ว การท่องเที่ยวภายในประเทศของคนไทยก็ดูจะห่างไกลกับคำว่าประสบความสำเร็จเช่นกัน ซึ่งนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า โครงการทัวร์เที่ยวไทยภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณ 5,000 ล้านบาท ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 30 เมษายนนี้ โครงการดังกล่าวมีคนใช้สิทธิเดินทางท่องเที่ยวผ่านบริษัททัวร์น้อยมาก

Read More

ท่องเที่ยว-โรงแรม สะดุด ดิ้นปลดล็อกขยายแซนด์บ็อกซ์

4 มกราคมนี้ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมต้องลุ้นอีกครั้งว่า รัฐบาลจะตัดสินใจปลดล็อกมาตรการคุมเข้มการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนตามมติของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ที่ให้ระงับการลงทะเบียนผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักรประเภท Test & Go และแซนด์บ็อกซ์ (Sandbox) เป็นการชั่วคราว หรือไม่ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับยอดผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ “โอมิครอน” จะพุ่งพรวดตามที่หลายฝ่ายหวั่นวิตกหรือไม่ เนื่องจากจังหวะเวลาไม่ต่างจากช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ปี 2564 หากไม่มีการคุมเข้มตามมาตรการ Covid Free Setting กรณีเปิดสถานประกอบการในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร รวมถึงมาตรการ Universal Prevention หรือการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลขั้นสูงสุดตลอดเวลาของทุกคน การวมตัวกันเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่อาจหมายถึงโอกาสเกิดสถานการณ์ซ้ำรอยการระบาดหนักในช่วงปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า สถานการณ์โควิด-19 มาถึงทางแยกอีกครั้ง เพราะมีโอมิครอนเข้ามา ซึ่งมีการคาดการณ์ฉากทัศน์ 3 แบบ แบบที่ 1 รุนแรงที่สุด อัตราการแพร่เชื้อเพิ่มขึ้นจากการระบาดโอมิครอนในประเทศ มีการฉีดวัคซีนได้ใกล้เคียงกับช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม แต่ประชาชนให้ความร่วมมือน้อย หรือไม่ให้ความร่วมมือ ไม่มีการป้องกัน ไม่มีมาตรการมาก จะเกิดการระบาดและควบคุมยาก ต้องใช้เวลา 3-4 เดือนควบคุมโรคได้ จะมีผู้ติดเชื้อเฉลี่ย 30,000 รายต่อวัน เสียชีวิต 170-180 คนต่อวัน แบบที่

Read More

พิษโอไมครอนชี้ชะตา “บิ๊กตู่” เดิมพันพลิกฟื้นเศรษฐกิจ

รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังเจอบททดสอบอีกครั้งกับการเร่งสกัดการระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่ “โอไมครอน” ที่ลุกลามไปมากกว่า 21 ประเทศทั่วโลกแล้ว ท่ามกลางความหวังการพลิกฟื้นประเทศ ผลักดันเศรษฐกิจช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2564 เพื่อเพิ่มแรงส่งต่อเนื่องไปถึงปี 2565 ล่าสุด คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้นัดประชุมหารือกันในวันที่ 8 ธันวาคมนี้ เพื่อประเมินผลกระทบด้านต่าง ๆ และยังเชื่อว่า การระบาดใหม่จะไม่ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจทันที แต่ปี 2565 มีความไม่แน่นอนสูง เนื่องจากต้องรอดูสถานการณ์ช่วงรอยต่อเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ซึ่งเป็นมหกรรมหยุดยาวและนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย จะพบผู้ติดเชื้อหรือไม่ ระบบการตรวจสอบของทางการจะเข้มข้นหรือไม่ จะพบผู้ติดเชื้อและจะเกิดการแพร่ระบาดหรือไม่ สำหรับประเทศที่ตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนล่าสุด ได้แก่ แอฟริกาใต้ บอตสวานา เบลเยียม ฮ่องกง อิสราเอล เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ออสเตรเลีย แคนาดา สาธารณรัฐเชก โปรตุเกส สหราชอาณาจักร สวีเดน ญี่ปุ่น สเปน

Read More

สสส. ปรับทัพสู้โควิด พร้อมใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยสื่อสาร ล่าสุดหนุนจัดงานไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์ เอ็กซ์โป 2022

สสส. ปรับทัพสู้โควิด-19 เน้นงานเชิงรุกมุ่งเสริมพลังแก่องค์กรและชุมชน พร้อมใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยสื่อสาร-ให้ความรู้ ล่าสุดหนุนจัดงานไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์ เอ็กซ์โป 2022 สร้างการเรียนรู้ ความเข้าใจในการสร้างเสริมสุขภาพผ่าน สุขภาวะทุกมิติ ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงแนวทางการดำเนินงานในช่วงวิกฤตโควิด-19 ว่า สสส. ได้มีการปรับแนวทางทำงานโดยมุ่งเสริมพลังให้แก่ทั้งองค์กรและชุมชน โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายในการดำเนินงาน 3 ด้านสำคัญ คือ การทำงานร่วมกับหน่วยงานในระบบสุขภาพ ผลักดันนโยบายและมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดสู่การปฏิบัติจริง การทำงานร่วมกับชุมชน โดยให้มีส่วนร่วมเฝ้าระวัง ดูแล และฟื้นฟูสุขภาพของคนในชุมชนจัดตั้ง Home Isolation และการพัฒนาระบบการสื่อสารสุขภาพ ให้มีรูปแบบที่เข้าถึงง่าย เหมาะกับทุกกลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งพัฒนาสื่อรณรงค์ภายใต้โครงการ “ชีวิตวิถีใหม่ ชีวิตดีเริ่มที่เรา” เช่น หนังสือคู่มือชีวิตวิถีใหม่ ชีวิตดีเริ่มที่เรา โปสเตอร์ตลาด วัด บ้าน พร้อมร่วมพัฒนากลไกและองค์ความรู้ เพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพ ผ่านช่องทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ “ไทยรู้สู้โควิด” และแอปพลิเคชัน “หมอพร้อม” ซึ่งในยุคที่เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามามีบทบาทมากขึ้นจนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและสังคมมากขึ้น

Read More

เดอะมอลล์ จับมือ กรุงเทพมหานคร สู้วิกฤตโควิด–19 ร่วมสนับสนุนรถฉีดวัคซีนถึงบ้าน

เดอะมอลล์ กรุ๊ป จับมือ กรุงเทพมหานคร สู้วิกฤตโควิด–19 ร่วมสนับสนุนรถฉีดวัคซีนถึงบ้าน เพื่อเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุกในพื้นที่กรุงเทพฯ เดอะมอลล์ กรุ๊ป เดินหน้าช่วยเหลือสังคมทุกมิติ จับมือ กรุงเทพมหานคร สู้วิกฤตโควิด-19 ร่วมสนับสนุนรถฉีดวัคซีนถึงบ้าน (BKK MOBILE VACCINATION UNIT : BMV) เพื่อเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุกตามชุมชนใกล้บ้าน-ที่ทำงาน และพื้นที่เสี่ยง ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการสนับสนุนเพิ่มเติมจากการเปิดให้บริการหน่วยความร่วมมือบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ บางกะปิ, บางแค, นครราชสีมา, เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ งามวงศ์วาน และดิ เอ็มโพเรียม เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้รับวัคซีนโควิด-19 อย่างทั่วถึงและโดยเร็วที่สุด เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประเทศไทย นางสาววิภา อัมพุช ผู้อำนวยการใหญ่บริหารสินค้า บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า “เดอะมอลล์ กรุ๊ป เล็งเห็นความสำคัญของการเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้เกิด “ภูมิคุ้มกันหมู่” จึงขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับวัคซีนโควิด-19

Read More

“เจ็ทส์ ฟิตเนส” ปรับตัวรุกตลาดองค์กร ใช้เทคโนโลยีก้าวข้ามความท้าทายยุคโควิด

ฟิตเนสเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ต้องปิดให้บริการชั่วคราวตามข้อกำหนดของภาครัฐในระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่การแพร่ระบาดระลอกแรกจนถึงระลอกล่าสุดที่ฟิตเนสต้องปิดให้บริการมาตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน 2564 และเพิ่งได้รับการอนุญาตให้กลับมาเปิดได้อีกครั้งในวันที่ 1 ต.ค. ส่งผลให้ผู้ประกอบการฟิตเนสต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ขณะที่บางรายอาจต้องปิดกิจการถาวร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการรายเล็กที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตโควิด แต่กระนั้นฟิตเนสยังคงเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มจะกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสามารถกลับมาเปิดให้บริการได้ตามปกติ เพราะการแพร่ระบาดของโควิดที่เกิดขึ้นทำให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพและออกกำลังกายมากขึ้น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ซึ่งถือเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการฟิตเนสในการปรับตัวและมองหานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อก้าวข้ามความท้าทายและข้อจำกัดต่างๆ และพร้อมเดินหน้าหลังการแพร่ระบาดของโควิดคลี่คลายลง เจ็ทส์ ฟิตเนส (jetts fitness) ฟิตเนสสัญชาติออสเตรเลีย ที่ทำการตลาดด้วยจุดขาย “24 hour fitness” เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการฟิตเนสที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิดเช่นกัน ทำให้ต้องเร่งปรับกลยุทธ์เพื่อก้าวข้ามวิกฤตครั้งนี้ โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป รวมถึงการรุกตลาดองค์กรเพื่อรับกับกระแส Corporate Wellness ที่กำลังมาแรง มร.เดน แคนท์เวล กรรมการผู้จัดการ เจ็ทส์ ฟิตเนส ประเทศไทย เปิดเผยกับ “ผู้จัดการ 360” ว่า “เราเชื่อมั่นว่าไม่มีอะไรสามารถทดแทนประสบการณ์การออกกำลังกายในฟิตเนสคลับได้ สำหรับกลุ่มคนรักการออกกำลังกายและสมาชิกฟิตเนสต่างเข้าใจดีว่า การออกกำลังกายในรูปแบบอื่นยังไม่สร้างแรงจูงใจได้เท่ากับการออกกำลังกายในคลับ เนื่องจากฟิตเนสเพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์ และเต็มไปด้วยบรรยากาศที่สร้างแรงจูงใจในการสร้างสุขภาพที่ดี เราจึงเชื่อว่าอุตสาหกรรมฟิตเนสมีแนวโน้มจะกลับมาเติบโตหลังจากกลับมาเปิดได้อีกครั้ง ซึ่งเห็นได้จากการกลับมาของสมาชิกและการสมัครสมาชิกใหม่ที่เพิ่มขึ้นในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังจากการแพร่ระบาดโควิดระลอก 2 ในไทย” การปรับตัวในช่วงล็อกดาวน์นั้น

Read More

เมื่อโควิดทำให้เราโหยหาการเดินทาง

“อยากไปนั่งชิลล์ริมทะเล” “อยากไปเดินป่า” “คิดถึงภูเขา” “เปิดประเทศเมื่อไหร่จะไปญี่ปุ่น” (และนานาประเทศ) รวมถึงการโพสต์ภาพท่องเที่ยวแล้วตบท้ายด้วยคำว่า “เที่ยวทิพย์” และอีกหลากหลายประโยคบนโซเชียลมีเดียที่บ่งบอกถึงการโหยหาการท่องเที่ยว ในยุคที่โควิด-19 ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวไม่สามารถทำได้ดั่งใจหวัง เป็นเวลากว่า 2 ปี ที่เราต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เป็นภัยพิบัติของทั้งโลก การเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกันถูกระงับเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ไม่ต้องพูดถึงการเดินทางท่องเที่ยว แม้แต่การเดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านที่ต่างจังหวัดยังเป็นไปได้ยาก หลายคนต้องกักตัวอยู่ในบ้าน ลดการเดินทาง กิจกรรมที่เคยทำไม่สามารถทำได้ บางคน work from home มาหลายระลอกตั้งแต่การระบาดรอบแรกเมื่อปีที่แล้ว ไม่ได้ออกไปไหนไกล ไม่ได้ไปเที่ยว ต้องอยู่แต่ในบ้าน และยิ่งแล้วใหญ่เมื่อผนวกกับไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ที่นิยมอยู่คอนโดมิเนียม กลายเป็นโดนจำกัดให้อยู่ในห้องสี่เหลี่ยมไปเสียอย่างนั้น ทำให้หลายคนเกิดความรู้สึกเครียด กังวล เบื่อหน่าย และไร้พลัง จนโหยหาการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อมาเยียวยาหัวใจและคลายความเครียด การท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมที่สร้างความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย เพิ่มความสุข และช่วยให้เราสามารถหลีกหนีจากความเครียดในชีวิตได้ แต่ไม่เพียงเท่านั้น ในทางจิตวิทยาการท่องเที่ยวยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ช่วยพัฒนากระบวนการคิด ส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ การท่องเที่ยวส่งผลดีต่อหัวใจ การท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นเที่ยวชมเมืองหรือชมวิวธรรมชาติ ทำให้เราได้เดิน ได้ทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องออกแรง เป็นการได้ออกกำลังกายไปในตัว ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพของหัวใจและสุขภาพโดยรวม เพิ่มสารแห่งความสุขและเติมเต็มรอยยิ้มให้กับชีวิต เพราะการท่องเที่ยวคือความสนุก ยามที่เราได้ออกไปเที่ยว เพลิดเพลินกับการทำกิจกรรมใหม่ๆ พบเจอวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม แม้กระทั่งได้กินอาหารอร่อยๆ ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดรฟิน หรือสารแห่งความสุขออกมา ทำให้เราผ่อนคลายสบายใจ และแน่นอนว่ารอยยิ้มย่อมเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน และยิ่งยิ้มมากเท่าไรชีวิตก็สดใสมากขึ้นเท่านั้น ช่วยเพิ่มประสิทธิผลการทำงาน ความเหนื่อยล้าจากการทำงานเป็นสิ่งที่ประสบพบเจอได้เป็นประจำ

Read More

“กองทุนมิตรผล-บ้านปูฯ” เพิ่มงบช่วยไทยอีก 500 ล้านบาท รวมเป็น 1 พันล้านบาท

“กองทุนมิตรผล-บ้านปูฯ” เพิ่มงบช่วยไทยอีก 500 ล้านบาท รวมเป็น 1 พันล้านบาท แจง 7 หมวดหมู่ความช่วยเหลือ เคียงข้างคนไทยก้าวผ่านวิกฤติ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย ที่ยังคงส่งผลกระทบเป็นวงกว้างกับทุกภาคส่วน ไม่ว่ากับผู้ประกอบการ สังคม ชุมชน และประชาชนทั่วไป ‘กองทุนมิตรผล-บ้านปู รวมใจช่วยไทย สู้ภัย COVID-19’ เล็งเห็นถึงความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น จึงมุ่งเดินหน้าสานต่อภารกิจเคียงข้างคนไทย ฝ่าวิกฤติโควิด-19 โดยเพิ่มงบประมาณอีก 500 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นเป็น 1,000 ล้านบาท พร้อมกลยุทธ์ 7 หมวดหมู่ของการส่งมอบความช่วยเหลือ โดยส่วนหลักจะมุ่งเน้นไปที่การช่วยเหลือภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ทั้งในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาวะ อีกส่วนหนึ่งจัดสรรไว้สำหรับการช่วยเหลือด้านสาธารณสุขในการสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จนกว่าสถานการณ์ในประเทศจะกลับสู่ภาวะปกติอีกครั้ง ในงานแถลงข่าวออนไลน์ “มิตรผล-บ้านปู เคียงข้างคนไทย เติมพลังใจก้าวผ่านวิกฤติ” กลุ่มมิตรผลและบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ยืนยันเจตนารมณ์ของ “กองทุนมิตรผล-บ้านปู รวมใจช่วยไทย สู้ภัย COVID-19” ที่จะสานต่อภารกิจเคียงข้างคนไทย

Read More