Home > Suwatcharee Pormbunmee (Page 28)

ส่องเทศกาลกินเจ 2561 สะท้อนทิศทางเศรษฐกิจไทย

เทศกาลถือศีลกินเจเวียนมาถึงอีกครั้ง ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่มีความเห็นต่าง โดยฝั่งรัฐบาลมองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2561 ส่งสัญญาณดีขึ้น มองเห็นการฟื้นตัว ประกอบกับการลงทุนภาครัฐที่ขยายวงกว้างมากขึ้น หากจะมองเช่นนั้นคงไม่ผิดนัก เมื่อพิจารณาจากโครงการที่ภาครัฐลงทุนโดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน อันจะนำมาซึ่งการลงทุนของภาคเอกชน ขณะที่ภาคประชาชนกลับเห็นต่างออกไป ซึ่งสะท้อนออกมาทางผลสำรวจของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และแม้ว่าตัวเลขความเชื่อมั่นจะลดลงไปเพียงเล็กน้อย แต่นั่นหมายถึงสัญญาณบางอย่างที่ภาครัฐไม่ควรเพิกเฉย โดยผลสำรวจความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยในช่วงเดือนกันยายน 2561 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน เนื่องจากผู้บริโภครู้สึกว่าราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้อำนาจซื้อลดน้อยลง ประกอบกับราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการยังมีราคาต่ำ นักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยลดน้อยลง และสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่เริ่มรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้กำลังซื้อในปัจจุบันชะลอตัวลง และความเชื่อมั่นในอนาคตปรับตัวลดลง โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนกันยายน ลดลงจากระดับ 70.2 ในเดือนที่ผ่านมาสู่ระดับ 69.4 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจในอนาคต (ใน 6 เดือนข้างหน้า) ของเดือนกันยายน 2561 ปรับตัวลดลงจากระดับ 88.3 มาอยู่ที่ระดับ 87.2 แม้ว่าส่วนหนึ่งของปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จะมาจากปัจจัยภายนอกประเทศ กระนั้นยังมีสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศที่เป็นตัวฉุดความเชื่อมั่นและกลายเป็นปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจไทยได้ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะเหตุร้ายที่เกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวต่างชาติในไทย ซึ่งถึงเวลานี้คาดว่าคงต้องใช้เวลาในการเรียกความเชื่อมั่นจากนักท่องเที่ยวอีกพอสมควร ขณะที่เทศกาลกินเจปี 2561 มีการเปิดเผยตัวเลขเม็ดเงินที่จะสะพัดในช่วงนี้ทั้งจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และศูนย์วิจัยกสิกรไทย โดยด้านหอการค้าไทยเปิดเผยว่า เทศกาลกินเจปีนี้ น่าจะมีเงินสะพัดมูลค่า 4.6 หมื่นล้านบาท นับเป็นมูลค่าที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์

Read More

อุตสาหกรรมไทย โอกาสในสงครามการค้า

ท่ามกลางสถานการณ์สงครามการค้าที่อุบัติขึ้นอย่างต่อเนื่องของสองชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบที่ไม่ได้เกิดขึ้นกับทั้งสองประเทศเท่านั้น หากแต่ผลกระทบเชิงลบยังขยายวงกว้างไปยังประเทศคู่ค้าอื่นๆ ที่แม้ว่าจะพยายามหาหนทางหรือกลยุทธ์ในการหลบหลีกรัศมีของห่ากระสุนจากสงครามนี้แล้วก็ตาม จากนโยบาย “American First” ที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ใช้เป็นนโยบายหลักในการบริหารประเทศ แม้จะเป็นไปเพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อพลเมืองอเมริกัน และได้รับแรงสนับสนุนจากผู้ที่เห็นดีเห็นงามอยู่บ้าง ในทางกลับกันนโยบายดังกล่าวสร้างความไม่พอใจจากผู้ประกอบธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้า รวมไปถึงประเทศคู่ค้า เพราะมาตรการขึ้นภาษีนำเข้า ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญของนโยบาย “American First” การสาดกระสุนทางภาษีในสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนเกิดขึ้นหลายระลอก แน่นอนว่าในทุก สงครามย่อมต้องมีฝ่ายได้รับบาดเจ็บ ผู้ประกอบการจากหลายอุตสาหกรรมต้องแสวงหากลยุทธ์เพื่อหวังจะลดทอนผลกระทบให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ในจีน ที่ตกอยู่ท่ามกลางดงกระสุนของสงครามนี้อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะค่ายรถยนต์ที่มีฐานการผลิตอยู่ในจีนได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีทั้งสองทาง มาตรการขึ้นภาษีของทั้งสองประเทศในอุตสาหกรรมยานยนต์ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตรถยนต์มีราคาสูงขึ้น และกำไรลดน้อยลง เมื่อยังไม่มีใครให้คำตอบได้ว่าสงครามการค้าระหว่างสองประเทศนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด ทางออกที่มีอาจจะจำกัดอยู่เพียงแค่การย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น ไม่ว่าจะเป็นย้ายฐานการผลิตไปยังสหรัฐอเมริกา เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งทางออกนี้โดนัลด์ ทรัมป์ จะชี้นำไว้จากนโยบาย American First โดยมุ่งหวังที่จะสร้างงานให้แก่คนอเมริกัน และแน่นอนว่า ประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน อาจจะเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการสร้างฐานการผลิตรถยนต์ หรือขยายฐานการผลิตในกรณีที่ค่ายรถยนต์มีฐานการผลิตอยู่แล้วในภูมิภาคนี้ อย่างไรก็ตาม บริษัทผู้ประกอบการรถยนต์จำนวนหนึ่งที่มีฐานลูกค้าอยู่ในอเมริกา เลือกที่จะย้ายฐานการผลิตไปยังอเมริกาแทน เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และส่งผลให้กำไรลดลง หากจะมองว่ามาตรการขึ้นภาษีของนโยบาย “American First” เป็นการบีบบังคับประเทศคู่ค้าเพื่อให้ตกลงในเงื่อนไขที่โดนัลด์ ทรัมป์ สร้างขึ้นก็ดูจะไม่ผิดนัก เพราะเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีการทำข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯ และเม็กซิโกเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ว่า

Read More

การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนต้นทุนต่ำ?

คนไทยประสบปัญหาการจราจรติดขัด เมื่อไหร่ก็ตามที่ฝนตก ไม่ว่าปริมาณน้ำฝนจะมีเพียงเล็กน้อย หรือฝนตามฤดูกาล หรือการปรับปรุงพื้นผิวการจราจร การก่อสร้างโครงการขนส่งมวลชนระบบราง เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุผลทางกายภาพที่ส่งผลให้การจราจรในประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพฯ มหานครที่หลายคนใฝ่ฝันจะเดินทางเข้ามาแสวงหาความศิวิไลซ์ ประสบกับปัญหาการจราจรติดขัดอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง นั่นยังไม่นับรวมเหตุจากการใช้รถใช้ถนนที่ขาดระเบียบวินัย โดยมุ่งที่จะสร้างความสะดวกสบายของตัวเองเป็นหลัก จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด เมื่อทุกครั้งที่หลายสำนักมีการจัดอันดับ เมืองที่ “รถติด” ที่สุดในโลก เมืองหลวงของไทยมักติดโผเป็นอันดับต้นๆ เสมอ โดยเฉพาะการจัดอันดับของ BBC ในปี 2017 ที่ปรากฏชื่อ กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่รถติดเป็นอันดับ 1 ผลการจัดอันดับถือเป็นภาพสะท้อนชั้นดีถึงวิธีการแก้ปัญหาการจราจรที่ไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะรัฐบาลยุคใด สมัยใดก็ตาม หากจะมองหาต้นเหตุของปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้นจนถึงทุกวันนี้ มีด้วยกันหลายสาเหตุ ประการแรกคือ การเพิ่มขึ้นของจำนวนรถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งมีหลากหลายเหตุผลที่คนไทยจำนวนหนึ่งตัดสินใจซื้อรถยนต์ ทั้งจากนโยบายรถคันแรกของรัฐบาลก่อนหน้า การซื้อรถเพื่อใช้งาน หรือเพราะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการใช้ระบบขนส่งมวลชนของไทยที่ด้อยทั้งคุณภาพ บริการ และเหนืออื่นใด คือความปลอดภัย ที่หาได้ยากจากบริการรถสาธารณะ ประการที่สองคือ นโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ของภาครัฐ ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าภาพรวมตลาดรถยนต์ในปี 2561 น่าจะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 2-5 เมื่อเทียบกับปี 2560 ซึ่งยอดขายน่าจะได้มากกว่า 880,000 ถึง 900,000 คัน แม้ว่าเหตุผลของผู้ที่ตัดสินใจซื้อรถคันใหม่อาจมาจากการถือครองรถยนต์ในโครงการรถคันแรก

Read More

ตลาด e-Commerce ไทยระอุ ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกสู้ด้วย “ข้อมูล”

ไม่ว่าการเติบโตของตลาด e-Commerce ในไทยจะเติบโตจากเหตุผลอะไร ระหว่างพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างรวดเร็ว หรือการเข้ามาบุกตลาดไทยของทุนข้ามชาติ แต่นั่นส่งผลให้มูลค่าตลาด e-Commerce ไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA ที่เปิดเผยรายงานมูลค่าตลาด e-Commerce นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 มีมูลค่า 2,245,147.02 ล้านบาท ปี พ.ศ.2559 มูลค่า 2,560,130.36 ล้านบาท ปี พ.ศ.2560 มูลค่า 2,812,592.03 ล้านบาท และปี พ.ศ.2561 ที่คาดการณ์ว่าจนถึงสิ้นปี มูลค่าตลาด e-Commerce จะสูงถึงกว่า 3 ล้านล้านบาท การเติบโตที่สูงขึ้นเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ต่อปี จึงไม่น่าแปลกใจที่จนถึงเวลานี้ทุนข้ามชาติจะมองเห็นว่าตลาด e-Commerce ในไทยยังคงความหอมหวาน และยังเป็นตลาดที่น่าเข้ามาลงทุน เมื่อยังมีผู้เล่นไม่มากนัก แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเจ้าตลาดอยู่เพียงไม่กี่เจ้า ที่อาจจะเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จในช่วงเวลานี้ ถือครองส่วนแบ่งตลาด แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียดายไม่น้อยที่ทุนต่างชาติ ดูจะเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ความต้องการ พฤติกรรมของคนไทยได้ดีกว่ากลุ่มทุนสัญชาติไทยด้วยกันเอง ทั้งการมาถึงของ

Read More

สงครามการค้ายกที่สอง กระทบเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก?

ความเคลื่อนไหวของ 2 ชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและจีน ที่ตอบโต้กันชนิดที่เรียกได้ว่า หมัดต่อหมัด กับการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้า แรงเหวี่ยงหมัดที่ 2 ประเทศสร้างขึ้นก่อให้เกิดความวิตกกังวลไม่น้อยกับนานาประเทศคู่ค้า หลายฝ่ายจับตามองว่าสงครามการค้าที่เกิดขึ้นในครั้งนี้จะยุติลงเมื่อใด และจะมีบทสรุปอย่างไร แม้ว่าหลายเดือนก่อนหน้าจะมีความพยายามอย่างยิ่งยวดในการเจรจาเพื่อหาข้อยุติสงครามการค้าของทั้ง 2 ประเทศ แต่น่าแปลก ในขณะที่การเจรจายังดำเนินไปตามครรลองที่ควรจะเป็น และยังไม่มีบทสรุปใดๆ ออกมา ผู้นำอย่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กลับประกาศอัตราเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในอัตรา 25 เปอร์เซ็นต์ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม นับเป็นหมัดแรกที่สหรัฐฯ เหวี่ยงเข้าใส่จีน การเรียกเก็บภาษีนำเข้าครั้งนั้นนับเป็นมูลค่า 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท จากสินค้าจำนวน 818 รายการ และหลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ ทรัมป์เดินหน้าประกาศเรียกเก็บภาษี 25 เปอร์เซ็นต์ เป็นมูลค่า 16,000 ล้านดอลลาร์ จากสินค้า 282 รายการ แน่นอนว่า จีน ที่ได้ชื่อว่าเป็นมหาอำนาจในซีกโลกตะวันออก คงไม่นิ่งเฉยรอให้สหรัฐฯ

Read More

ทุนไทยหนุน สปป.ลาว สู่เป้าหมาย เขื่อน-โรงไฟฟ้าคือคำตอบ?

หลายครั้งที่ตลาดอเมริกา ตลาดยุโรป เป็นตลาดสำคัญที่บ่งบอกทิศทางความเป็นไปทางเศรษฐกิจระดับมหภาค และนักลงทุนจำนวนไม่น้อยให้ความสำคัญกับตลาดเหล่านี้ ขณะที่ตลาดในประเทศเพื่อนบ้านอย่างตลาดอาเซียนกลับได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะตลาดในกลุ่มประเทศ CLMV ทั้งจากเหตุผลที่ว่า การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC เมื่อปลายปี 2015 และการเพิ่งเปิดประเทศของกลุ่มนี้ นี่เป็นสาเหตุให้เศรษฐกิจในกลุ่ม CLMV เติบโตด้วยอัตราเร่งที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับจีนและอินเดีย ที่ตลาดนี้มีอัตราการเติบโตดีกว่า ทั้งเงินลงทุนจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นปีละเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ ความหอมหวนของตลาดนี้ส่งกลิ่นเชิญชวนนักลงทุนต่างชาติ และแน่นอนว่ารวมนักลงทุนไทยด้วย ที่เบนเข็มพุ่งเป้า และกำหนดหมุดหมายใหม่ รวมไปถึงการแสวงหาประโยชน์ในตลาด CLMV โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ที่นับวันยิ่งน่าจับตามอง เมื่อรัฐบาล สปป.ลาว ประกาศใช้แผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อนำพาประเทศให้พ้นจากการเป็นประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด และจุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ที่มีนโยบายเป็นพลังขับเคลื่อนให้ สปป.ลาว จำต้องพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว คำตอบที่เสมือนตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นระบบ คือ การเพิ่มศักยภาพของการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก อันจะนำมาซึ่งรายได้เข้าสู่ประเทศ ภูมิประเทศที่รายล้อมไปด้วยภูเขา ต้นไม้ และแม่น้ำสำคัญหลายสาย “พลังงานไฟฟ้า” จึงเป็นสินค้าส่งออกหลักของ สปป.ลาว พลังงานไฟฟ้าจึงถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ปี 2020 ด้วยการเป็น “Battery of Asia”

Read More

Battery of Asia กับสิ่งที่ต้องแลกของ สปป.ลาว

เหตุการณ์เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ในเมืองสนามชัย แขวงอัตตะปือ สปป.ลาว แตกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ที่ผ่านมา สร้างความตื่นตระหนกแก่ชาวลาวและผู้คนที่ติดตามข่าวสารไม่น้อย ทั้งภาพการหนีน้ำของประชาชนในบริเวณใกล้เคียง ภาพความเสียหายที่มีต่อชีวิตและทรัพย์สิน ชาวลาวได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวจำนวนมากถึง 11,700 คน และกว่า 6,000 คน ต้องอพยพจากบ้านเรือนไปพักอยู่ที่ศูนย์พักพิงชั่วคราว นอกจากนี้ยังมีผู้เสียชีวิตประมาณ 30 คน และสูญหายกว่า 130 คน โครงการเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท SK Engineering & Construction ถือหุ้น 26 เปอร์เซ็นต์ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 25 เปอร์เซ็นต์ บริษัท Korea Western Power จำกัด ถือหุ้น 25 เปอร์เซ็นต์ และรัฐบาล สปป.ลาว ถือหุ้น 24

Read More

ฟู้ดดีลิเวอรี่ขยายตัว กับการบริโภคของสังคมไทย

ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วของคนรุ่นใหม่ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่เทคโนโลยีคือสิ่งสำคัญในชีวิต ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ ทั้งการท่องไปในโลกอินเทอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูล ข่าวสารต่างๆ และสาระบันเทิง ธุรกิจจัดส่งอาหารหรือ ฟู้ดดีลิเวอรี่ คือคำตอบที่ชัดเจนของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้คน ที่ต้องการความสะดวกสบาย มีวิถีชีวิตที่เร่งรีบ และมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใดหากธุรกิจฟู้ดดีลิเวอรี่จะขยายตัวในอัตราเร่งที่สูงมากเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่น หรือเมื่อเทียบกับธุรกิจร้านอาหารที่มีการเติบโตเพียงเล็กน้อยในปีที่ผ่านมา แม้บางคนจะจำกัดความว่า นี่เป็นธุรกิจที่เติบโตขึ้นได้จากความไม่มีเวลาของผู้บริโภคบางส่วนก็ตาม ปัจจุบันฟู้ดดีลิเวอรี่กลายเป็นอีกหนึ่งออปชันของการบริการ ที่ผู้ประกอบการร้านอาหารหยิบยกมานำเสนอแก่ลูกค้า และเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวก หรือไม่สามารถเดินทางไปซื้อสินค้าได้ด้วยตัวเอง การเปลี่ยนแปลงในทั้งสองมิติทำให้มูลค่าตลาดธุรกิจฟู้ดดีลิเวอรี่ในประเทศไทยมีมูลค่าสูงถึง 26,000 ล้านบาท ในปี 2560 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขที่เติบโตขึ้นมาเกือบ 15 เปอร์เซ็นต์จากปี 2559 มูลค่าตลาดที่สูงเกือบสามหมื่นล้านบาทในปี 2560 จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด หากจะมีผู้เล่นตบเท้าเข้ามาในเกมนี้พร้อมกับรูปแบบกลยุทธ์ที่ทำให้การแข่งขันดุเดือดมากขึ้น ไล่เรียงตั้งแต่ฟู้ดแพนด้า ที่เข้ามาเปิดตลาดนี้ตั้งแต่ปี 2557 นับเป็นรายแรกๆ ที่เข้ามาสร้างสีสันให้ธุรกิจฟู้ดดีลิเวอรี่ในไทย และครอบคลุมการให้บริการในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมไปถึงจังหวัดใหญ่ๆ อย่าง เชียงใหม่ ภูเก็ต และฟู้ดแพนด้าก็ไม่ใช่ทุนต่างชาติรายเดียวที่เข้ามาจับจองพื้นที่ของตลาดการบริการนี้ในไทย ในเวลาไล่เลี่ยกัน ลาล่ามูฟ บริษัทสัญชาติฮ่องกง ที่เปิดตัวมาเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในตลาดฟู้ดดีลิเวอรี่ สร้างปรากฏการณ์ที่เรียกว่าไม่ธรรมดา ด้วยการเติบโตในเปอร์เซ็นต์ที่สูงถึง 350 เปอร์เซ็นต์ในปี 2560 และประกาศตัวในฐานะผู้นำในตลาดนี้

Read More

สงครามการค้าอุบัติ กระทบส่งออกไทย?

ฟันเฟืองตัวสำคัญในระบบเศรษฐกิจของไทยอย่างการส่งออก ที่หลายคนให้ความเชื่อมั่นว่าจะเป็นกำลังหลักที่ทำให้เกิดเสถียรภาพและแรงผลักสำคัญทำให้เศรษฐกิจไทยยังคงขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งอัตราการขยายตัวที่มีความต่อเนื่องอยู่ในระดับที่ดีนับตั้งแต่ต้นปี แม้ว่าจะเป็นรูปแบบการค้าที่ขาดดุลในรอบ 43 เดือนก็ตาม หากแต่สภาพการณ์ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจึงไม่น่าแปลกที่หลายฝ่ายยังคงมองว่า การส่งออกของไทยน่าจะยังมีแรงเหวี่ยงที่ดีในช่วงครึ่งปีที่เหลือ แม้จะต้องจับตามองต่อประเด็นการเกิดสงครามการค้าระหว่าง 2 ประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐฯ ที่ก่อนหน้านี้ดูเหมือนจะเป็นช่วงที่คลื่นลมสงบ เพราะเหตุผลจากการให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่ตอบโต้ทางการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้น ทำให้บรรดานักธุรกิจส่งออก ศูนย์วิจัย ที่ต่างลุ้นว่าทิศทางการค้าระหว่างประเทศจะเป็นอย่างไรนั้น เบาใจอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ทว่าห้วงยามนี้คลื่นลมที่เคยสงบตามคำมั่นสัญญา กลับเริ่มแสดงสัญญาณบางอย่าง เพราะเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในอัตรา 25 เปอร์เซ็นต์ วงเงิน 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นมาตรการโต้กลับจีน ขณะที่รัฐบาลปักกิ่งเตรียมเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ในอัตราและวงเงินเดียวกัน ซึ่งเป้าหมายอยู่ที่สินค้าเกษตร รถยนต์ นับว่าการรีดภาษีของทั้งสองประเทศเป็นการเปิดศึกแลกหมัดอย่างเต็มรูปแบบ แน่นอนว่าสงครามการค้าที่มีชนวนเหตุมาจากสหรัฐฯ และจีน ทำให้สถานการณ์ส่งออกของไทยได้รับผลกระทบอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เมื่อสินค้าส่งออกของไทยจำนวนไม่น้อยที่อยู่ในวงจรการค้าโลก กระทั่งล่าสุดกระทรวงพาณิชย์สั่งจับตาสถานการณ์นี้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศที่มีหน้าที่โดยตรง การงัดมาตรการทางภาษีตอบโต้กันระหว่างสหรัฐฯ และจีน ทำให้ไทยต้องรักษาฐานที่มั่นซึ่งเป็นตลาดค้าเดิม และยังต้องหามาตรการอื่นๆ มารองรับหากสถานการณ์ไม่สู้ดี นั่นคือการมองหาตลาดใหม่สำหรับสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าในครั้งนี้ ขณะที่รองอธิบดีกรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สุพพัต อ่องแสงคุณ อธิบายแนวทางว่า “สถานการณ์สงครามการค้านี้ ต้องมอนิเตอร์เป็นรายกลุ่ม และต้องพยายามรักษาแรงเหวี่ยงของการส่งออกในทุกตลาด” นอกจากนี้กรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศยังได้พิจารณาตลาดใหม่ไว้สำหรับสถานการณ์สงครามการค้าที่อาจกระทบไทยในอนาคต เช่น ตลาดตะวันออกกลาง

Read More

พลังงานไทยบน Solar Roof แสงสะท้อนที่หักเหของนโยบายรัฐ

จากประเด็นข่าวเรื่อง “กฟผ. เสนอเรื่องให้ กกพ. จัดเก็บค่าระบบสำรองไฟฟ้า ที่ 100-200 บาทต่อเดือน สำหรับผู้ที่ผลิตไฟฟ้าใช้เองจาก Solar Roof Top ที่ถูกโพสต์ และแชร์ไปบนโลกออนไลน์ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ที่ผ่านมา สร้างความแปลกใจ รวมไปถึงความไม่พอใจจากประชาชนไม่น้อย ความคิดเห็นส่วนใหญ่แสดงออกมาในเชิงลบ และต่อว่าต่อขานผู้บริหาร กฟผ. ถึงนโยบายนี้ ว่าไม่ยุติธรรมต่อผู้ที่หันมาใช้พลังงานทางเลือก ทั้งที่ภาครัฐควรจะสนับสนุนส่งเสริม ให้ประชาชนใช้พลังงานสะอาด ทั้งเพื่อเป็นการลดภาวะโลกร้อน และประหยัดพลังงานหลัก หลังจากกระแสธารของข่าวนี้ที่ถูกส่งต่อและแชร์ออกไปอย่างรวดเร็ว วันถัดมา ผู้บริหารระดับสูงของ กฟผ. ออกมาแก้ไขความดังกล่าวว่า เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน “กฟผ. ไม่ได้เสนอการจัดเก็บค่าไฟฟ้าสำรองต่อ กกพ. แต่อย่างใด กรณีการจัดเก็บค่าไฟฟ้าสำรองนั้นเป็นเพียงการยกตัวอย่างกรณีที่ต่างประเทศใช้ดำเนินการเท่านั้น” สหรัฐ บุญโพธิภักดี โฆษกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อธิบาย แม้ว่าจะมีการแก้ไขความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้องแล้ว กระนั้นก็ไม่อาจลดทอนความเคลือบแคลงใจที่ประชาชนมีไปได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ จากกรณีดังกล่าวทำให้เราต้องย้อนกลับมาดูว่า ภาครัฐมีนโยบายในเรื่องพลังงานทดแทน หรือพลังงานสะอาดอย่างไร “ความมั่นคงด้านพลังงานเป็นหนึ่งในนโยบายหลักของทุกประเทศในอาเซียน โดยหน่วยงานด้านพลังงานระหว่างประเทศคาดว่า ความต้องการพลังงานจะเพิ่มขึ้นเป็น 37 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี

Read More