Home > Suwatcharee Pormbunmee (Page 29)

สงครามการค้าอุบัติ กระทบส่งออกไทย?

ฟันเฟืองตัวสำคัญในระบบเศรษฐกิจของไทยอย่างการส่งออก ที่หลายคนให้ความเชื่อมั่นว่าจะเป็นกำลังหลักที่ทำให้เกิดเสถียรภาพและแรงผลักสำคัญทำให้เศรษฐกิจไทยยังคงขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งอัตราการขยายตัวที่มีความต่อเนื่องอยู่ในระดับที่ดีนับตั้งแต่ต้นปี แม้ว่าจะเป็นรูปแบบการค้าที่ขาดดุลในรอบ 43 เดือนก็ตาม หากแต่สภาพการณ์ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจึงไม่น่าแปลกที่หลายฝ่ายยังคงมองว่า การส่งออกของไทยน่าจะยังมีแรงเหวี่ยงที่ดีในช่วงครึ่งปีที่เหลือ แม้จะต้องจับตามองต่อประเด็นการเกิดสงครามการค้าระหว่าง 2 ประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐฯ ที่ก่อนหน้านี้ดูเหมือนจะเป็นช่วงที่คลื่นลมสงบ เพราะเหตุผลจากการให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่ตอบโต้ทางการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้น ทำให้บรรดานักธุรกิจส่งออก ศูนย์วิจัย ที่ต่างลุ้นว่าทิศทางการค้าระหว่างประเทศจะเป็นอย่างไรนั้น เบาใจอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ทว่าห้วงยามนี้คลื่นลมที่เคยสงบตามคำมั่นสัญญา กลับเริ่มแสดงสัญญาณบางอย่าง เพราะเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในอัตรา 25 เปอร์เซ็นต์ วงเงิน 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นมาตรการโต้กลับจีน ขณะที่รัฐบาลปักกิ่งเตรียมเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ในอัตราและวงเงินเดียวกัน ซึ่งเป้าหมายอยู่ที่สินค้าเกษตร รถยนต์ นับว่าการรีดภาษีของทั้งสองประเทศเป็นการเปิดศึกแลกหมัดอย่างเต็มรูปแบบ แน่นอนว่าสงครามการค้าที่มีชนวนเหตุมาจากสหรัฐฯ และจีน ทำให้สถานการณ์ส่งออกของไทยได้รับผลกระทบอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เมื่อสินค้าส่งออกของไทยจำนวนไม่น้อยที่อยู่ในวงจรการค้าโลก กระทั่งล่าสุดกระทรวงพาณิชย์สั่งจับตาสถานการณ์นี้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศที่มีหน้าที่โดยตรง การงัดมาตรการทางภาษีตอบโต้กันระหว่างสหรัฐฯ และจีน ทำให้ไทยต้องรักษาฐานที่มั่นซึ่งเป็นตลาดค้าเดิม และยังต้องหามาตรการอื่นๆ มารองรับหากสถานการณ์ไม่สู้ดี นั่นคือการมองหาตลาดใหม่สำหรับสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าในครั้งนี้ ขณะที่รองอธิบดีกรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สุพพัต อ่องแสงคุณ อธิบายแนวทางว่า “สถานการณ์สงครามการค้านี้ ต้องมอนิเตอร์เป็นรายกลุ่ม และต้องพยายามรักษาแรงเหวี่ยงของการส่งออกในทุกตลาด” นอกจากนี้กรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศยังได้พิจารณาตลาดใหม่ไว้สำหรับสถานการณ์สงครามการค้าที่อาจกระทบไทยในอนาคต เช่น ตลาดตะวันออกกลาง

Read More

พลังงานไทยบน Solar Roof แสงสะท้อนที่หักเหของนโยบายรัฐ

จากประเด็นข่าวเรื่อง “กฟผ. เสนอเรื่องให้ กกพ. จัดเก็บค่าระบบสำรองไฟฟ้า ที่ 100-200 บาทต่อเดือน สำหรับผู้ที่ผลิตไฟฟ้าใช้เองจาก Solar Roof Top ที่ถูกโพสต์ และแชร์ไปบนโลกออนไลน์ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ที่ผ่านมา สร้างความแปลกใจ รวมไปถึงความไม่พอใจจากประชาชนไม่น้อย ความคิดเห็นส่วนใหญ่แสดงออกมาในเชิงลบ และต่อว่าต่อขานผู้บริหาร กฟผ. ถึงนโยบายนี้ ว่าไม่ยุติธรรมต่อผู้ที่หันมาใช้พลังงานทางเลือก ทั้งที่ภาครัฐควรจะสนับสนุนส่งเสริม ให้ประชาชนใช้พลังงานสะอาด ทั้งเพื่อเป็นการลดภาวะโลกร้อน และประหยัดพลังงานหลัก หลังจากกระแสธารของข่าวนี้ที่ถูกส่งต่อและแชร์ออกไปอย่างรวดเร็ว วันถัดมา ผู้บริหารระดับสูงของ กฟผ. ออกมาแก้ไขความดังกล่าวว่า เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน “กฟผ. ไม่ได้เสนอการจัดเก็บค่าไฟฟ้าสำรองต่อ กกพ. แต่อย่างใด กรณีการจัดเก็บค่าไฟฟ้าสำรองนั้นเป็นเพียงการยกตัวอย่างกรณีที่ต่างประเทศใช้ดำเนินการเท่านั้น” สหรัฐ บุญโพธิภักดี โฆษกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อธิบาย แม้ว่าจะมีการแก้ไขความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้องแล้ว กระนั้นก็ไม่อาจลดทอนความเคลือบแคลงใจที่ประชาชนมีไปได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ จากกรณีดังกล่าวทำให้เราต้องย้อนกลับมาดูว่า ภาครัฐมีนโยบายในเรื่องพลังงานทดแทน หรือพลังงานสะอาดอย่างไร “ความมั่นคงด้านพลังงานเป็นหนึ่งในนโยบายหลักของทุกประเทศในอาเซียน โดยหน่วยงานด้านพลังงานระหว่างประเทศคาดว่า ความต้องการพลังงานจะเพิ่มขึ้นเป็น 37 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี

Read More

สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ พร้อมฉุดเศรษฐกิจไทยร่วง

ตัวเลข GDP ไตรมาสแรกของปี 2561 ที่เติบโตสูงสุดในรอบ 5 ปี ที่ 4.8 เปอร์เซ็นต์ ดูจะทำให้หัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อย่างสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ พอใจและยินดีในผลงานไม่น้อย เพราะมันคือภาพสะท้อนว่าเศรษฐกิจในทุกๆ ด้านกำลังดำเนินไปข้างหน้าด้วยอัตราเร่งที่ดี ทั้งการลงทุนของภาคเอกชน ภาคการเกษตร การส่งออก การท่องเที่ยว และรวมไปถึงการลงทุนจากภาครัฐ และผลของภาพรวมทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นย่อมส่งผลให้ความมั่นใจจากนักลงทุนต่างชาติที่กำลังอยู่ในช่วงที่กำลังตัดสินใจว่าจะเลือกไทยเป็นฐานการลงทุนดีหรือไม่ ให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ทุกอย่างดูจะเหมาะเจาะลงตัวไปเสียทุกด้าน หลายคนอาจจะมองภาพไม่ออกนักว่า เรื่องสิ่งแวดล้อมกับเศรษฐกิจไทยจะเกี่ยวเนื่องหรือผสานกันได้อย่างไร การเติบโตทางเศรษฐกิจไทยไม่ว่าด้านใดก็ตาม รวมไปถึงตัวเลข GDP ที่ขยายตัวขึ้น นั่นหมายถึงความเสื่อมถอยที่สามารถเกิดขึ้นได้กับสิ่งแวดล้อม ภาพที่เห็นได้ชัดคือภาคอุตสาหกรรม หากมีการขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง นั่นหมายถึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น ทำลายสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แน่นอนว่าทั้งภาครัฐและเอกชนคงจะไม่นิ่งนอนใจ และมัวแต่เพิ่มอัตรากำลังเร่งเพื่อผลผลิตที่สร้างแต่กำไรเพียงอย่างเดียว “ไทยแลนด์ 4.0” คือการที่สังคมไทยจะต้องเดินหน้าก้าวสู่การนำเอานวัตกรรม เทคโนโลยีเข้ามา และทำให้ประเทศพัฒนามากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ตัวเลข 4.0 จะต้องขนาบข้างไปกับทุกหน่วยงาน ทุกกรมกอง ข้อดีของการปรับเปลี่ยนให้ประเทศไทยเข้าสู่ประเทศ 4.0 เหมือนเป็นการบังคับทางอ้อมว่า ทุกภาคส่วนต้องหยิบจับเอาเทคโนโลยี และรวมไปถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้งานให้มากกว่าที่ผ่านมา และดูจะมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ว่า บรรดาภาคอุตสาหกรรมจะไม่เพียงสักแต่ว่าเพิ่มอัตราความเร็วในการสร้างผลผลิต หากแต่จะหยิบเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ที่มีผลดีต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้สถานการณ์ที่ภาครัฐมองจะเห็นเพียงความก้าวหน้าที่ชวนให้ปลื้มปริ่มกับผลที่ออกมาหลังจากลงทุนลงแรงไป

Read More

ไทยแลนด์แดนขยะ 4.0 การจัดการที่พร่องสำนึก?!

เหตุการณ์ที่สะเทือนใจคนรักสัตว์ รักทะเล ไม่น้อย เมื่อวาฬนำร่องคลีบสั้นที่เกยตื้นบริเวณคลองนาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 28 พ.ค. ที่ผ่านมา เสียชีวิตลงอย่างน่าเศร้าสลดก่อนวันทะเลโลก (8 มิ.ย.) เพียงไม่กี่วัน การชันสูตรจากสัตวแพทย์ทำให้สังคมทั้งในไทยและต่างชาติประจักษ์ชัดถึงหลักฐานสำคัญที่ฉายภาพพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตที่เรียกตัวเองว่า “มนุษย์” ได้ละเลย เพิกเฉย และขาดการตระหนักถึงผลกระทบจากการกระทำอันปราศจากจิตสำนึกที่ดี ที่ควรต้องมีต่อสังคมส่วนรวมมากแค่ไหน ถุงพลาสติกที่อยู่ในกระเพาะของวาฬตัวดังกล่าวที่มีมากถึง 80 ใบ และมีน้ำหนักรวม 8 กิโลกรัม คือคำตอบต่อเรื่องการจัดการปัญหาขยะของสังคมไทย ที่นับวันจะทวีความรุนแรงของปัญหานี้มากขึ้น แม้ว่าสาเหตุหนึ่งจะมาจากการที่ขยะพลาสติกไม่ได้ถูกกำจัดและได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง และเหนืออื่นใดคือ “ความมักง่าย” ของผู้คนในสังคม ผู้ล่าที่อยู่ในอันดับสูงสุดในห่วงโซ่อาหาร แน่นอนว่าวาฬนำร่องตัวนี้ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตในทะเลตัวแรกที่ได้รับผลกระทบจากขยะทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เคยเปิดเผยรายงานว่า มีสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นระหว่างปี พ.ศ. 2558-2560 คือ 1. กลุ่มเต่าทะเล 669 ตัว แบ่งเป็น เกยตื้น (มีชีวิต) 334 ตัว ซากเกยตื้น 335 ตัว

Read More

ไตรมาสแรกส่งออกไทยพุ่ง หวังทั้งปีโตต่อเนื่องไร้ผันผวน

แม้ว่ากรมอุตุฯ จะประกาศว่าไทยเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการไปเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา หากแต่สถานการณ์เหตุบ้านการเมือง และเศรษฐกิจโดยรวมยังคงร้อนระอุคุกรุ่น และนับวันดูจะยิ่งทวีความร้อนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการปรับราคาก๊าซหุงต้ม การปรับอัตราค่าไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นตามกลไกของตลาดโลก ส่งผลให้ผู้ประกอบการขนส่งออกมาเรียกร้องขอปรับขึ้นค่าโดยสาร และทั้งหมดทั้งมวลย่อมส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมสู่ประชาชนรากหญ้าตาดำๆ อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ คนหาเช้ากินค่ำต้องพยายามอยู่ให้รอดในสภาวการณ์เช่นนี้ แม้ภาครัฐจะพยายามออกมาแจกแจงแถลงไขต่อประเด็นการปรับขึ้นราคาสินค้าอุปโภคบริโภคว่า “กระทบน้อย” ความกังวลต่อเรื่องเศรษฐกิจและปากท้อง ทั้งจากแง่มุมของประชาชนและภาครัฐดูจะสวนทางกันไม่น้อย เมื่อล่าสุด หัวหน้าที่ปรึกษาเศรษฐกิจของรัฐบาลอย่าง ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เปิดเผยตัวเลข GDP ในไตรมาสแรกว่าสูงถึง 4.8% ซึ่งตัวเลขดังกล่าวน่าจะดึงดูดและเร่งนักลงทุนที่กำลังอยู่ในช่วงตัดสินใจว่าจะลงทุนในไทยดีหรือไม่ ขณะที่แง่มุมจากผู้ประกอบการขนาดเล็ก หรือประชาชนทั่วไปกลับเห็นต่าง และมองว่าเศรษฐกิจไทยดีจริงแต่แค่ในระดับบนเท่านั้น คล้ายกับว่าเม็ดเงินที่วิ่งอยู่ในระบบเศรษฐกิจจริงๆ ไม่อาจหยั่งรากถึงในระดับล่างได้เลย ขณะที่ฟันเฟืองในระบบเศรษฐกิจของไทยกำลังอยู่ในช่วงเวลาแห่งความผันผวน หากแต่ฟันเฟืองที่ยังคงขับเคลื่อนได้ดี ยังคงเป็นฟันเฟืองตัวเดิมอย่างการท่องเที่ยว และการส่งออก โดยเฉพาะการส่งออกที่มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี กระทั่งกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยรายงานตัวเลขการส่งออกไทยในเดือนเมษายน 2561 ว่ามีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องสูงถึง 12.3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนับเป็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 ซึ่งมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 18,945.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม การค้าระหว่างประเทศในเดือนเมษายนนี้กลับเป็นการค้าที่ขาดดุล ซึ่งเป็นการขาดดุลในรอบ 43 เดือน เมื่อตัวเลขการนำเข้าในเดือนเมษายนอยู่ที่ 20,229 ล้านดอลลาร์ ขยายตัวถึง 20.4

Read More

การเดินทางของไม้โกงกาง เรื่องเล่าจากคนเอาถ่าน “เขายี่สาร” (ตอนจบ)

MGR Features หลังจากทำความเข้าใจขั้นตอนการเผาถ่านในเบื้องต้นไปแล้ว ถึงเวลาที่ต้องลงเรือบุกป่าชายเลน เข้าไปดูขั้นตอนการตัดไม้โกงกาง เราเปิดประสบการณ์ครั้งนี้ด้วยการลงเรืออีป๊าบจากท่าน้ำของโรงเผาถ่าน ไปยังป่าปลูกของกำนันปริญญา สองข้างคลองมีต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นเรียงรายทอดกิ่งระริมน้ำ ทั้งต้นลำพู โกงกาง แสม ต้นจาก ต้นตะบูน มีเสียงนก เสียงจั๊กจั่น ขับขานรับเราเป็นช่วงๆ กระทั่งถึงทางแยกเข้าไปในแพรกหนึ่ง คนขับเรือจึงดับเครื่องยนต์ แล้วใช้ไม้พายพายแทน เกือบ 20 นาที เราเดินทางมาถึงป่าปลูก จุดที่คนงานกำลังลงมือตัดไม้ สุนัขมอมแมม 3 ตัวเห่าต้อนรับคนแปลกหน้า สร้างความกริ่งเกรงไม่น้อย จากเสียงเห่าที่บอกว่า “เอาจริง” เสียงเลื่อยยนต์เงียบไปชั่วอึดใจก่อนเราจะจอดเรือเทียบท่า ที่ทำขึ้นอย่างง่ายๆ ด้วยไม้โกงกาง “กำลังพักเที่ยง” เสียงคนงานบอกเล่า หลังเราแนะนำตัวและบอกจุดประสงค์ที่ดั้นด้นมา เพิงพักแบบง่ายๆ ที่เพียงแค่กันแดด กันฝน ยามที่ต้องตัดไม้เท่านั้น ภายในมีมุ้ง เสื่อ หมอน และจานชามเพียงไม่กี่ใบ เนื่องจากที่พักแห่งนี้ไม่ได้ใช้อยู่แบบถาวร หลังจากพักกินข้าวกินปลา ดื่มน้ำดับกระหาย พร้อมมวนยาสูบ คนงานชายหยิบเลื่อยยนต์ มุ่งหน้ากลับเข้าไปในป่าโกงกาง ตัดไม้อีกครั้ง ชายหนุ่มค่อยๆ เลื่อยเพื่อตัดรากโกงกางที่ยึดลำต้นออกอย่างชำนาญ ต้นโกงกางที่ไร้รากยึดเหนี่ยวแล้ว ค่อยๆ ล้มลงไปยังทิศทางเดิมทุกครั้ง กิ่งก้านใบ

Read More

โรงไฟฟ้าขยะ-วินัยคนไทย แก้ปัญหาขยะล้นเมือง

“อ๊ะ อ๊ะ อย่าทิ้งขยะ ตาวิเศษเห็นนะ” ข้อความรณรงค์โฆษณาเชิญชวนให้คนไทยทิ้งขยะให้ถูกที่เพื่อลดปัญหาขยะเกลื่อนเมือง แม้ข้อความดังกล่าวจะถูกสร้างสรรค์เมื่อหลายสิบปีก่อน กระนั้นก็ยังพบว่าปัญหาขยะในประเทศไทย โดยเฉพาะในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร ยังคงเป็นปัญหาระดับชาติที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงที่หลายคนให้การยอมรับทั้งด้านความเจริญก้าวหน้าที่ดูจะรุดหน้าไปไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเจริญด้านวัตถุ กระนั้นความเจริญดังกล่าวดูจะสวนทางกันกับความเจริญด้านจิตสำนึกที่มีต่อสังคม และดูเหมือนว่าปัญหาที่เติบโตจนเกือบจะคู่ขนานกับความเจริญด้านวัตถุเทคโนโลยี คือปัญหาขยะ ที่ต้องยอมรับโดยดุษณีว่า กรุงเทพมหานครมีปัญหาขยะมูลฝอยล้นเมือง รายงานจากสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ซึ่งตามรายงานที่บันทึกไว้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 ถึง 31 มีนาคม 2561 มีปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่กรุงเทพฯ ถึง 1,920,294.96 ตัน หรือโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 10,551.07 ตันต่อวัน ตัวเลขดังกล่าวอาจจะค้านสายตาผู้คนทั่วไป หากมองเพียงตามถนนหนทางที่ต้องยอมรับว่าน่ามองขึ้น ในที่นี้หมายถึงสะอาดตากว่าแต่ก่อน แม้ปัจจุบันภาครัฐจะมีวิธีกำจัดขยะทั้งรูปแบบของโรงเผาขยะ และการกำจัดขยะโดยการฝังกลบ โดยปัจจุบัน กทม. มีสถานที่รองรับปริมาณขยะด้วยกัน 3 แห่ง 1. อ่อนนุช สามารถรองรับขยะได้ 4 พันตันต่อวัน ซึ่งนำไปฝังกลบถึง 3,400 ตัน และที่เหลือนำไปทำปุ๋ย 2. หนองแขม

Read More

การเดินทางของไม้โกงกาง เรื่องเล่าจากคนเอาถ่าน “เขายี่สาร”

MGR Feature  แม้ว่าในยุคนี้หลายครัวเรือนจะเลิกใช้ถ่านในการหุงต้ม ประกอบอาหาร และเปลี่ยนมาใช้เตาแก๊ส ที่ให้ความสะดวกสบายและรวดเร็วกว่า กระนั้น “ถ่าน” ที่แม้จะเหลือบทบาทในครัวเรือนไม่มากนัก หากแต่ก็ยังมีคุณค่า และมีความสำคัญกับธุรกิจบางประเภท เช่น ธุรกิจร้านอาหารปิ้งย่าง ถึงแม้ว่าก๊าซหุงต้มจะอำนวยความสะดวกมากเพียงใด แต่บางบ้านยังนิยมใช้ถ่านเป็นเชื้อเพลิงสำหรับประกอบอาหาร เพราะอาหารที่ได้จากการใช้ถ่านเป็นเชื้อไฟนั้น ให้กลิ่นหอมที่มีเอกลักษณ์มากกว่า อาหารที่ปรุงบนเตาแก๊ส แน่นอนว่าเรื่องราวความเป็นมาของถ่านไม้โกงกาง บ้านเขายี่สาร จังหวัดสมุทรสงคราม ไม่ใช่เรื่องที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อน กระนั้น ทีมงาน MGR Feature ยังมองว่า “ถ่านไม้โกงกาง” ยังคงเป็นเรื่องที่น่าสนใจในหลายมิติ ทั้งเรื่องของภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่อุดมไปด้วยศิลปวิทยาการ ดังนั้นการตัดสินใจ ขึ้นรถ ลงเรือ ลุยป่าโกงกางจึงเกิดขึ้น เราเดินทางออกจากกรุงเทพฯ ช่วงสายๆ บ่ายหน้าไปทางทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ เพียง 2 ชั่วโมงเศษ ก็มาถึง จ.สมุทรสงคราม จังหวัดที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดของประเทศไทย คือประมาณ 416.7 ตารางกิโลเมตร และยังมีจำนวนประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ กระนั้นก็ยังนับว่า สมุทรสงครามเป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่สมบูรณ์มาก เพราะเป็นดินดอนปากแม่น้ำ มีชายฝั่งทะเลติดอ่าวไทย และเหนืออื่นใด

Read More

จับตาอโยธยา 4.0 บนหนทางสู่การท่องเที่ยวยั่งยืน

สายลมที่พัดผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา ปะทะสไบของหญิงสาวจากยุคดิจิทัล ชายสไบปลิวไสวลู่ไปตามแรงลม รอยยิ้มที่ฉาบอยู่บนใบหน้ายามต้องแสงอาทิตย์ท่ามกลางอุณหภูมิที่ร้อนอบอ้าว ยิ่งทำให้ดวงหน้านั้นน่ามองยิ่งขึ้น หากแต่คงจะดีกว่านี้หากไม่มีแว่นดำกันแดดบดบังนัยน์ตาสวยใสเอาไว้ พร้อมกับสมาร์ทโฟนในมือที่กลายเป็นอวัยวะชิ้นใหม่ที่เรียกกว่าขาดออกจากร่างกายไม่ได้แม้สักเพียงชั่วลมหายใจหนึ่ง เสียงบรรยายดังมาจากบริเวณโดยรอบพื้นที่วัดไชยวัฒนาราม ที่เจ้าหน้าที่ของอุทยานกำลังอธิบายปูมหลัง ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของสถานที่ให้แก่นักท่องเที่ยวที่สนใจใคร่รู้ ขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่ที่นุ่งโจงห่มสไบตามกระแสละครกำลัง selfie เพื่อเก็บภาพตัวเองกับสถานที่ทางประวัติศาสตร์เป็นที่ระลึก แม้ส่วนหนึ่งจะมีเหตุผลเพื่อตามรอยละครดังก็ตาม กระนั้นการแต่งกายด้วยชุดไทยไปยังสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในห้วงยามนี้ แท้จริงแล้วเริ่มต้นมาตั้งแต่งาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว” ที่จัดขึ้นเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แม้ว่าความเป็นไปที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยในเวลานี้ หลายอย่างจะเป็นเพียงกระแสที่ผู้คนแห่แหนทำตามกันไป แต่นัยหนึ่งต้องยอมรับว่าท่ามกลางกระแสเหล่านั้น ล้วนแต่มีกิมมิกเล็กๆ น้อยๆ ที่สร้างสีสันให้น่าดูน่ามองอยู่ไม่น้อย หากแต่จะมองให้ลึกลงไปอีกมิติ กลับมีคำถามให้ชวนขบคิดว่า ผู้คนเหล่านั้นเข้าใจความหมายของชุดไทยมากน้อยเพียงใด หรือชุดไทยนั้นๆ เป็นชุดที่เคยใช้ในยุคใด สมัยใด หรือการแต่งให้ครบเครื่องนั้นต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง หลังจากแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีนักท่องเที่ยวชาวไทยให้ความสนใจและเดินทางมาท่องเที่ยวมากขึ้น แม้จะเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่กลับมีประเด็นให้หลายฝ่ายต้องระดมสมองว่าจะทำอย่างไรให้การท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในเวลานี้ เป็นการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ไม่ใช่เป็นเพียงกระแสแล้วผ่านพ้นไป กระทั่งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. จัดเสวนาในหัวข้อ “อโยธยา 4.0 สู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” โดย สุกัญญา เบาเนิด ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา บอกกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่า “ในวันปกติมีนักท่องเที่ยวไม่ถึงพันคน แต่หลังจากละครออกอากาศมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ตอนนี้วันละประมาณ 5

Read More

นักอ่านตื่นกระแส หนังสือแนวประวัติศาสตร์ขายดี

ปิดฉากไปแล้วสำหรับงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 46 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 16 (46th National Book Fair and 16th Bangkok International Book Fair 2018) พร้อมๆ กับคำนิยามที่บ่งบอกถึงปรากฏการณ์ทางสังคมว่า “เกินคาด” ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นทั่วโลก สร้างความวิตกกังวลไม่น้อยกับผู้คนที่อยู่ในวงการหนังสือ โดยเฉพาะในสังคมไทย ว่าจะทำอย่างไรให้หนังสือเล่มสามารถยืนหยัดอยู่ใน “สังคมก้มหน้า” แห่งนี้ได้อย่างตลอดรอดฝั่ง แน่นอนว่าหลายสำนักพิมพ์เริ่มยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และพัฒนาด้วยการหยิบจับเอาเทคโนโลยีมาต่อยอดในธุรกิจ เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่หันมานิยมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น กระนั้น หนังสือเล่ม หนังสือกระดาษ ก็ยังเป็นที่ชื่นชอบและยังได้รับความสนใจจากนักอ่าน โดยหลายคนให้เหตุผลว่า “การได้สัมผัสหน้ากระดาษทำให้การอ่านได้อรรถรสมากกว่า” แม้ว่างานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติที่จัดขึ้นปีละหนึ่งครั้ง จะมีบรรยากาศไม่แตกต่างไปจากปีก่อนๆ มากนัก หากแต่ปีนี้กลับมี “ปรากฏการณ์” ใหม่เกิดขึ้น นั่นคือ “หนังสือแนวประวัติศาสตร์” ได้รับความนิยมอย่างสูงจากนักอ่าน ซึ่งแน่นอนว่าส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์มาจากกระแสละคร “บุพเพสันนิวาส” ซึ่งละครเรื่องนี้ก็ส่งผลให้นวนิยายเล่มนี้ของรอมแพง ตีพิมพ์ซ้ำกว่า 70 ครั้ง โดยสุชาดา สหัสกุล นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) อธิบายว่า “น่าจะเป็นครั้งแรกๆ ในงานสัปดาห์หนังสือฯ

Read More