Home > American First

อุตสาหกรรมไทย โอกาสในสงครามการค้า

ท่ามกลางสถานการณ์สงครามการค้าที่อุบัติขึ้นอย่างต่อเนื่องของสองชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบที่ไม่ได้เกิดขึ้นกับทั้งสองประเทศเท่านั้น หากแต่ผลกระทบเชิงลบยังขยายวงกว้างไปยังประเทศคู่ค้าอื่นๆ ที่แม้ว่าจะพยายามหาหนทางหรือกลยุทธ์ในการหลบหลีกรัศมีของห่ากระสุนจากสงครามนี้แล้วก็ตาม จากนโยบาย “American First” ที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ใช้เป็นนโยบายหลักในการบริหารประเทศ แม้จะเป็นไปเพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อพลเมืองอเมริกัน และได้รับแรงสนับสนุนจากผู้ที่เห็นดีเห็นงามอยู่บ้าง ในทางกลับกันนโยบายดังกล่าวสร้างความไม่พอใจจากผู้ประกอบธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้า รวมไปถึงประเทศคู่ค้า เพราะมาตรการขึ้นภาษีนำเข้า ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญของนโยบาย “American First” การสาดกระสุนทางภาษีในสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนเกิดขึ้นหลายระลอก แน่นอนว่าในทุก สงครามย่อมต้องมีฝ่ายได้รับบาดเจ็บ ผู้ประกอบการจากหลายอุตสาหกรรมต้องแสวงหากลยุทธ์เพื่อหวังจะลดทอนผลกระทบให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ในจีน ที่ตกอยู่ท่ามกลางดงกระสุนของสงครามนี้อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะค่ายรถยนต์ที่มีฐานการผลิตอยู่ในจีนได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีทั้งสองทาง มาตรการขึ้นภาษีของทั้งสองประเทศในอุตสาหกรรมยานยนต์ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตรถยนต์มีราคาสูงขึ้น และกำไรลดน้อยลง เมื่อยังไม่มีใครให้คำตอบได้ว่าสงครามการค้าระหว่างสองประเทศนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด ทางออกที่มีอาจจะจำกัดอยู่เพียงแค่การย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น ไม่ว่าจะเป็นย้ายฐานการผลิตไปยังสหรัฐอเมริกา เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งทางออกนี้โดนัลด์ ทรัมป์ จะชี้นำไว้จากนโยบาย American First โดยมุ่งหวังที่จะสร้างงานให้แก่คนอเมริกัน และแน่นอนว่า ประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน อาจจะเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการสร้างฐานการผลิตรถยนต์ หรือขยายฐานการผลิตในกรณีที่ค่ายรถยนต์มีฐานการผลิตอยู่แล้วในภูมิภาคนี้ อย่างไรก็ตาม บริษัทผู้ประกอบการรถยนต์จำนวนหนึ่งที่มีฐานลูกค้าอยู่ในอเมริกา เลือกที่จะย้ายฐานการผลิตไปยังอเมริกาแทน เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และส่งผลให้กำไรลดลง หากจะมองว่ามาตรการขึ้นภาษีของนโยบาย “American First” เป็นการบีบบังคับประเทศคู่ค้าเพื่อให้ตกลงในเงื่อนไขที่โดนัลด์ ทรัมป์ สร้างขึ้นก็ดูจะไม่ผิดนัก เพราะเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีการทำข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯ และเม็กซิโกเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ว่า

Read More

ญี่ปุ่น-สหรัฐฯ: มากกว่าเจรจาการค้า แต่คือการแสวงหาอนาคตร่วมกัน

การเจรจาทวิภาคีระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ที่นำโดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งสองประเทศ ซึ่งประกอบส่วนด้วย Mike Pence รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ กับ Taro Aso รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น ในฐานะหัวหน้าคณะในการเจรจา ดำเนินไปท่ามกลางความคาดหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถหาบทสรุปลงตัวร่วมกัน หลังจากที่สหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากกรอบความร่วมมือ 12 ชาติใน Trans-Pacific Partnership: TPP ขณะที่ความตึงเครียดครั้งใหม่บนคาบสมุทรเกาหลีทวีแนวโน้มที่จะเป็นภัยคุกคามเสถียรภาพของภูมิภาคอีกด้วย ท่าทีของ Mike Pence ที่ระบุว่า TPP เป็นเรื่องราวในอดีตและสหรัฐอเมริกาไม่ต้องการที่จะรอคอยความสำเร็จจากการเจรจาครั้งใหม่นี้อย่างเนิ่นนานและหวังที่จะบรรลุข้อตกลงร่วมกันในอนาคตอันใกล้ พร้อมกับสำทับว่า เมื่อประธานาธิบดี Donald Trump ตกลงที่จะเริ่มการเจรจาทวิภาคีนี้ วิสัยทัศน์ของสหรัฐฯ ก็คือการสร้างกลไกในการส่งเสริมความร่วมมือและความจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกันระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ซึ่งเขาปรารถนาที่จะเห็นความสำเร็จอย่างใจจดใจจ่อ ขณะที่ Taro Aso ก็ย้ำให้เห็นว่าอุปสรรคทางการค้าระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ที่ทำให้ความสัมพันธ์ของสองประเทศอยู่ในภาวะเสื่อมถอยตลอดช่วงทศวรรษ 1980-1990 เป็นเพียงภาพอดีตที่ห่างไกลออกไปจากข้อเท็จจริงในวันนี้ ที่ทั้งสองประเทศกำลังแสวงหาความร่วมมือ เพื่อร่วมกันสร้างอนาคตที่ดีกว่า ในลักษณะที่ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบงการหรือออกคำสั่งให้อีกฝ่ายดำเนินการ หากแต่เป็นการถกแถลงเพื่อหาบทสรุปที่นำไปสู่ผลประโยชน์ร่วมและมีเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ร่วมกัน ท่วงทำนองของทั้ง Mike Pence และTaro Aso ก่อนและหลังการเจรจา สะท้อนให้เห็นความสำคัญของการก้าวเดินไปข้างหน้าพร้อมกันของสหรัฐฯ และญี่ปุ่น

Read More