Home > Laos

ผ้าทอหลวงพระบาง มนต์เสน่ห์ที่สานต่อจากดีเอ็นเอ

เสียงกี่ทอผ้าดังขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อช่างทอผ้ากระตุกไม้หลังส่งกระสวยเส้นพุ่งจากด้านหนึ่งไปอีกด้านเพื่อถักทอผ้าอย่างขะมักเขม้น บ้านไม้ยกพื้นสูงที่แอบซ่อนในตรอกเล็กๆ ของเมืองหลวงพระบาง สายลมที่พัดมาจากแม่น้ำโขงหอบเอากลิ่นหอมของดอกไม้ที่เจ้าของบ้านปลูกไว้ โชยกลิ่นเรียกความสดชื่นจากผู้มาเยือนได้เป็นอย่างดี แววมะนี ดวงดาลา ผู้ก่อตั้ง The Living Crafts Centre ออกพบตก บอกเล่าความเป็นมาของสถานที่แห่งนี้ว่า “เริ่มเรียนรู้การทอผ้ามาตั้งแต่อายุ 7-8 ขวบ เด็กผู้หญิงสมัยนั้นต้องทอผ้าใส่เองได้ คุณแม่ก็สอนตั้งแต่ตอนนั้น ซึ่งการทอผ้าเป็นทักษะที่เมื่อได้เรียนรู้แล้วก็จะไม่มีวันลืม กระทั่งเมื่อปี 2000 ก็มีความคิดเกี่ยวกับผ้าทอของหลวงพระบาง ว่าทำอย่างไรที่จะอนุรักษ์ รักษา และเผยแพร่ให้คนอื่นได้รู้จัก ก็นำความคิดนี้แลกเปลี่ยนกับโจแอนนา สมิท เพื่อนช่างภาพชาวอังกฤษ ต่างคิดเห็นตรงกันว่าควรจะเผยแพร่และอนุรักษ์ไปพร้อมๆ กัน” แน่นอนว่าความยากของการอนุรักษ์และเผยแพร่สิ่งที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ คงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เมื่อความคิดของผู้ใหญ่ยังคงมุ่งมั่นที่จะรักษาเอกลักษณ์ของลายผ้าเอาไว้ ขณะที่คนรุ่นใหม่ต้องการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย “ต้องยอมรับว่ายากเอาการ เพราะผู้ใหญ่ที่เขาทอผ้ากันมาจะมีความคิดว่าต้องการให้ผ้าทอคงเอกลักษณ์เดิมๆ เอาไว้ เช่น สี ลวดลาย บางคนยืนยันว่าต้องใช้สีแดงเท่านั้น เปลี่ยนไม่ได้ ต้องอธิบายพูดคุยกันนาน ว่าขอให้ทดลองดูก่อน ลองปรับเปลี่ยนสีบ้าง ถ้ามีคนชื่นชอบก็เปลี่ยน แต่ถ้าทำแล้วคนไม่ชอบก็ไม่เปลี่ยน จึงทำให้ผ้าทอของที่นี่เป็นไปในแนว Contemporary เพื่อจับกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติ ซึ่งก็ได้รับผลตอบรับที่ค่อนข้างดี ผู้ใหญ่ท่านก็ยอมรับความเปลี่ยนแปลง” แววมะนีอธิบายเพิ่มเติมว่าธุรกิจที่ทำอยู่จะเป็นไปในลักษณะของ Social

Read More

NEDA มอบเงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติในระยะฟื้นฟูให้กับโรงเรียนบ้านตะมอยอด เมืองสะหนามไซ สปป.ลาว

ด้วยสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) เป็นหน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีภารกิจในการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคมกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยให้ความร่วมมือทางการเงินและทางวิชาการเป็นกลไกในการขับเคลื่อน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายของรัฐบาลที่จะพัฒนาส่งเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ในการนี้ สพพ. มีการบรูณาการความร่วมมือและให้ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคให้ดีขึ้น อีกทั้ง สปป.ลาว เป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชนชาวไทย ตลอดจน สพพ. มีโครงการให้ความร่วมมือใน สปป.ลาว เป็นจำนวนมาก ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และทรัพย์สินของประชาชนและยังกระทบต่อกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาทุกภาคส่วนทำให้การพัฒนาในภาพรวมหยุดชะงัก ขาดความต่อเนื่อง และต้องได้รับการฟื้นฟู ซ่อมแซม เพื่อให้ฟื้นคืนกลับมาอยู่ในสภาพปกติ ในการนี้ นายพีรเมศร์ วุฒิธรเนติรักษ์ ผู้อำนวยการ สพพ. พันเอก ดร.ศรัณยู วิริยเวชกุล รองผู้อำนวยการ สพพ.และนายณรรถพล ประสพโชค ผู้อำนวยสำนักอำนวยการ ร่วมส่งมอบเงินบริจาคให้กับนายแสง สุขะทิวง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวประจำราชอาณาจักรไทย สำหรับสร้างห้องสุขาและบ่อบาดาล ให้โรงเรียนบ้านตะมอยอด เมืองสะหนามไซ สปป.ลาว เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติในระยะฟื้นฟูและเพื่อบรรเทาปัญหาเร่งด่วนจากสถานการณ์เขื่อนเซเปี่ยน-เซน้ำน้อยแตกจนเกิดน้ำท่วมใหญ่ที่เมืองสะหนามไซ แขวงอัตตะปือและแขวงจำปาสัก เป็นจำนวนเงิน 500,000 บาท ณ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2561

Read More

บ้านปูฯ ร่วมช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในแขวงอัตตะปืออย่างต่อเนื่อง รวมมูลค่ากว่า 5.5 ล้านบาท

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) นำโดยนายสิทธิรัชต์ ชัยมงคล ผู้อำนวยการสายอาวุโส พัฒนาธุรกิจ-เอเชีย มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในแขวงอัตตะปือ สปป.ลาว จำนวน 4,000,000 บาท แก่นายสมดี ดวงดี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเงิน สปป.ลาว โดยมีนายอาดสะพังทอง สีพันดอน รองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเงิน และนายเกียรติคุณ ชาติประเสริฐ เอกอัครราชทูตไทย ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ กระทรวงการเงิน นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว จากความสัมพันธ์อันดีระหว่างบ้านปูฯ กับรัฐบาลและประชาชน สปป.ลาวนับตั้งแต่เริ่มเกิดอุทกภัยในพื้นที่ดังกล่าว บริษัทฯ ตระหนักถึงความเดือดร้อน และได้ให้ความช่วยเหลือทันทีที่เกิดเหตุการณ์ รวมทั้งมุ่งฟื้นฟูและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งในรูปแบบการบริจาคสิ่งของที่จำเป็นอย่างเร่งด่วน การบริจาคเงินทั้งส่วนของบริษัทฯ และพนักงาน อีกทั้งการสนับสนุนสภากาชาดไทยในการขนส่งสิ่งของบริจาค รวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 5,500,000 บาท

Read More

LIMEC เชื่อมไทย ลาว เมียนมา เสริมความแข็งแกร่งให้กับภาคเหนือตอนล่าง

หาก EEC คือความหวังของรัฐบาลไทยในการขับเคลื่อนพลังทางเศรษฐกิจและยกระดับพื้นที่ทางภาคตะวันออกของประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและดึงดูดนักลงทุนต่างชาติแล้ว “LIMEC” หรือระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน เมาะลำไย ก็อาจจะเป็นยุทธศาสตร์และความหวังในการเพิ่มความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจให้กับภาคเหนือตอนล่างได้เช่นกัน ห้วงเวลาที่ผ่านมา ความพยายามของรัฐบาลไทยในการขับเคลื่อนพลังทางเศรษฐกิจผ่านโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) หรือ EEC ดูจะเป็นสิ่งที่อยู่ในกระแสสังคม และสร้างความคึกคักในแวดวงนักธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ลงทุนอยู่ไม่น้อย EEC เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้วาทกรรม ไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งเน้นการยกระดับพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา) ให้กลายเป็น “World Class Economic Zone” เพื่อรองรับการลงทุนอุตสาหกรรม Super Cluster ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อีกทั้งยังเป็นความหวังของรัฐบาลไทยที่จะใช้เป็นกลไกในการพลิกฟื้นสภาวะเศรษฐกิจของชาติต่อไป มีการคาดการณ์ว่า การลงทุนใน EEC จะกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ถึง 5% ต่อปี สร้างการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการ 100,000 อัตราต่อปี ดึงดูดนักท่องเที่ยวมากกว่า 10 ล้านคนต่อปี และสร้างฐานรายได้เพิ่มไม่น้อยกว่า 4.5 แสนล้านบาทต่อปี นักลงทุนจากหลายประเทศต่างให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่เป้าหมายแห่งนี้ หนึ่งในนั้นคือยักษ์ใหญ่แห่งวงการ

Read More

เขื่อนแตกใน สปป.ลาว กับความมั่นคงพลังงานไทย?

ประเด็นว่าด้วยความมั่นคงด้านพลังงานของไทย หรือ energy security ดูจะเป็นกรณีที่ถูกท้าทายและตั้งคำถามอีกครั้งหลังจากเกิดเหตุการณ์ เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ในเมืองสนามชัย แขวงอัตตะปือ สปป.ลาว แตกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งสร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิตประชาชนและทรัพย์สินจำนวนมาก แต่อาจเทียบไม่ได้ต่อความเชื่อมั่นในการเปิดให้กลุ่มทุนพลังงานจากนานาประเทศเข้าแสวงประโยชน์บนแผ่นดินของ สปป.ลาว ในอนาคต ภายใต้ความมุ่งหมายที่จะสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของไทย ซึ่งสอดรับกับยุทธศาสตร์ของ สปป.ลาว ว่าด้วยการเป็น “แบตเตอรี่แห่งเอเชีย” ทำให้ในช่วงที่ผ่านมากลุ่มทุนจากไทย โดยความร่วมมือกับกลุ่มหลากหลายสัญชาติ ต่างเข้าลงทุนในโครงการสร้างเขื่อนตามแนวลำน้ำโขงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างเอิกเกริก ควบคู่กับโรงผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะถ่านหินด้วย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่ ตามแผนการพัฒนา สปป.ลาว ไปสู่การเป็น “แบตเตอรี่แห่งเอเชีย” สปป.ลาว มีโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการแล้ว 42 แห่งและอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 53 แห่ง ซึ่งหากการดำเนินการก่อสร้างเป็นไปตามกรอบเวลาที่วางไว้ ภายในปี 2563 สปป.ลาว จะมีจำนวนโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำมากถึง 90 แห่งและมีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 26,000 เมกะวัตต์ต่อปี ขณะที่ประชากรจำนวน 7 ล้านคนของ สปป.ลาว มีความต้องการใช้ไฟฟ้าประมาณ 1,579 เมกะวัตต์เท่านั้น เป้าหมายของโรงผลิตไฟฟ้าใน

Read More

Battery of Asia กับสิ่งที่ต้องแลกของ สปป.ลาว

เหตุการณ์เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ในเมืองสนามชัย แขวงอัตตะปือ สปป.ลาว แตกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ที่ผ่านมา สร้างความตื่นตระหนกแก่ชาวลาวและผู้คนที่ติดตามข่าวสารไม่น้อย ทั้งภาพการหนีน้ำของประชาชนในบริเวณใกล้เคียง ภาพความเสียหายที่มีต่อชีวิตและทรัพย์สิน ชาวลาวได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวจำนวนมากถึง 11,700 คน และกว่า 6,000 คน ต้องอพยพจากบ้านเรือนไปพักอยู่ที่ศูนย์พักพิงชั่วคราว นอกจากนี้ยังมีผู้เสียชีวิตประมาณ 30 คน และสูญหายกว่า 130 คน โครงการเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท SK Engineering & Construction ถือหุ้น 26 เปอร์เซ็นต์ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 25 เปอร์เซ็นต์ บริษัท Korea Western Power จำกัด ถือหุ้น 25 เปอร์เซ็นต์ และรัฐบาล สปป.ลาว ถือหุ้น 24

Read More

บี.กริม เพาเวอร์ ‘BGRIM’ ยันโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ลาวไม่ได้รับผลกระทบจ่ายไฟได้ตามปกติ

นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (BGRIM) แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บริษัทฯ ไม่ได้รับผลกระทบจากการทรุดตัวของเขื่อนดินย่อยโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อย ซึ่งตั้งอยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจนเป็นเหตุให้สันเขื่อนดินย่อยเกิดรอยร้าวและมีน้ำไหลออกสู่พื้นที่ท้ายน้ำ โดยเขื่อนดังกล่าวไม่ได้เป็นเขื่อนของบริษัทและโครงการโรงไฟฟ้าของบริษัทไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากน้ำที่ไหลดังกล่าว โดยสามารถจ่ายไฟได้ตามปกติ

Read More

เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ จับมือ ลาว เวิล์ด เปิดให้บริการโรงภาพยนตร์แห่งที่ 3 ที่ ITEC Mall

วิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) และ ทัดนะคอน ทำมะวง ประธานกลุ่ม TK Group และประธาน บริษัท ลาว เวิล์ด จำกัด ผู้บริหารศูนย์การค้า ITEC Mall ลงนามในสัญญาความร่วมมือทางธุรกิจ “เปิดโรงภาพยนตร์ แบรนด์ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” บนพื้นที่กว่า 2,500 ตารางเมตร บนชั้น 8 ศูนย์การค้า ITEC Mall เมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว ประกอบด้วย โรงภาพยนตร์ระบบดิจิตอล 4 โรง กว่า 900 ที่นั่ง พร้อมเปิดให้บริการในเดือนตุลาคม 2561 นี้ โดยมี นรุตม์

Read More

บทบาทของ NEDA กับเส้นทาง R12 และความคาดหวังที่ต้องแบก

ภารกิจของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) หรือ Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency (Public Organization) (NEDA) ในการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้าน จุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญให้เกิดความจำเริญในด้านอื่นๆ ตามมา ตลอดระยะเวลา 13 ปี ดำเนินการไปแล้วกว่า 70 โครงการ ภาพจำที่หลายคนมีต่อเนด้า (NEDA) คือโครงการทั้งหมดเกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งการพัฒนาสาธารณูปโภค เส้นทางการคมนาคม กระนั้นผลสำเร็จของโครงการดังกล่าวล้วนยังประโยชน์ให้หวนกลับมาสู่ประเทศไทยในรูปแบบคู่ขนาน ทว่าโครงการล่าสุดที่เนด้าต้องก้าวเข้ามารับผิดชอบในครั้งนี้ เมื่อมองผิวเผินคงจะไม่ยี่หระนักสำหรับเนด้า และไม่แตกต่างจากเส้นทางคมนาคมเส้นทางอื่นที่เนด้าเคยเข้าไปรับผิดชอบในการพัฒนา หากแต่เส้นทางนี้น่าจะเป็นอีกหนึ่งบททดสอบใหม่ของเนด้า เมื่อหลายฝ่ายให้ความสำคัญ เพราะเส้นทางดังกล่าวเสมือนอีกหนึ่งยุทธศาสตร์ของไทยในการขับเคลื่อน Logistics ที่มีผลต่อการขยายหน้าสัมผัสให้สินค้าส่งออกของไทยมากยิ่งขึ้น นั่นคือ ถนน R12 เส้นทาง R12 มีบทบาทสำคัญต่อโครงข่ายคมนาคมและการขนส่งในอนุภูมิภาค โดยเส้นทางดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการผลักดันให้เกิดการพิจารณาขยายขอบเขตข้อตกลงการขนส่งข้ามพรมแดน (Greater Mekong Sub-region Cross-Border Transport Agreement: CBTA) จากถนน R9 เส้นทางเดียว ให้ครอบคลุมเพิ่มเติมตั้งแต่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว

Read More

ทีซีซี ดัน “ปากซองคอฟฟี่” เปิดศึกฮุบกาแฟหมื่นล้าน

หลังจากใช้เวลากว่า 10 ปี บุกเบิกธุรกิจไร่กาแฟ เนื้อที่ 19,000 ไร่ บนที่ราบสูงบอละเวน ในเมืองปากซอง ประเทศ สปป.ลาว ภายใต้สัญญาสัมปทานกับรัฐบาลลาว ระยะเวลา 50 ปี ล่าสุด ทีซีซี กรุ๊ป ของเจริญ สิริวัฒนภักดี กำลังเร่งเปิดฉากรุกสมรภูมิร้านกาแฟครั้งใหญ่ เพื่อช่วงชิงเม็ดเงินในตลาดมากกว่า 17,000 ล้านบาท แหล่งข่าวจากบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือบีเจซี ในเครือทีซีซี กรุ๊ป เปิดเผยว่า บริษัทได้ทดลองโครงการร้านกาแฟแบรนด์ใหม่ “กาแฟปากซอง” (Paksong Coffee) โดยเปิดร้านต้นแบบในอาคารสำนักงานใหญ่ของบีเจซี ซอยรูเบีย ถนนสุขุมวิท 42 แทนร้านกาแฟ “สเปเชียลตี้ส์” ที่เคยเปิดทดลองตลาดช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากประเมินว่า แบรนด์ “ปากซองคอฟฟี่” มีความชัดเจนในแง่แหล่งที่มาของกาแฟ ซึ่ง “ปากซอง” ถือเป็นเมืองหลวงกาแฟของประเทศลาว

Read More