Home > Battery of Asia

ทุนไทยหนุน สปป.ลาว สู่เป้าหมาย เขื่อน-โรงไฟฟ้าคือคำตอบ?

หลายครั้งที่ตลาดอเมริกา ตลาดยุโรป เป็นตลาดสำคัญที่บ่งบอกทิศทางความเป็นไปทางเศรษฐกิจระดับมหภาค และนักลงทุนจำนวนไม่น้อยให้ความสำคัญกับตลาดเหล่านี้ ขณะที่ตลาดในประเทศเพื่อนบ้านอย่างตลาดอาเซียนกลับได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะตลาดในกลุ่มประเทศ CLMV ทั้งจากเหตุผลที่ว่า การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC เมื่อปลายปี 2015 และการเพิ่งเปิดประเทศของกลุ่มนี้ นี่เป็นสาเหตุให้เศรษฐกิจในกลุ่ม CLMV เติบโตด้วยอัตราเร่งที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับจีนและอินเดีย ที่ตลาดนี้มีอัตราการเติบโตดีกว่า ทั้งเงินลงทุนจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นปีละเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ ความหอมหวนของตลาดนี้ส่งกลิ่นเชิญชวนนักลงทุนต่างชาติ และแน่นอนว่ารวมนักลงทุนไทยด้วย ที่เบนเข็มพุ่งเป้า และกำหนดหมุดหมายใหม่ รวมไปถึงการแสวงหาประโยชน์ในตลาด CLMV โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ที่นับวันยิ่งน่าจับตามอง เมื่อรัฐบาล สปป.ลาว ประกาศใช้แผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อนำพาประเทศให้พ้นจากการเป็นประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด และจุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ที่มีนโยบายเป็นพลังขับเคลื่อนให้ สปป.ลาว จำต้องพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว คำตอบที่เสมือนตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นระบบ คือ การเพิ่มศักยภาพของการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก อันจะนำมาซึ่งรายได้เข้าสู่ประเทศ ภูมิประเทศที่รายล้อมไปด้วยภูเขา ต้นไม้ และแม่น้ำสำคัญหลายสาย “พลังงานไฟฟ้า” จึงเป็นสินค้าส่งออกหลักของ สปป.ลาว พลังงานไฟฟ้าจึงถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ปี 2020 ด้วยการเป็น “Battery of Asia”

Read More

เขื่อนแตกใน สปป.ลาว กับความมั่นคงพลังงานไทย?

ประเด็นว่าด้วยความมั่นคงด้านพลังงานของไทย หรือ energy security ดูจะเป็นกรณีที่ถูกท้าทายและตั้งคำถามอีกครั้งหลังจากเกิดเหตุการณ์ เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ในเมืองสนามชัย แขวงอัตตะปือ สปป.ลาว แตกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งสร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิตประชาชนและทรัพย์สินจำนวนมาก แต่อาจเทียบไม่ได้ต่อความเชื่อมั่นในการเปิดให้กลุ่มทุนพลังงานจากนานาประเทศเข้าแสวงประโยชน์บนแผ่นดินของ สปป.ลาว ในอนาคต ภายใต้ความมุ่งหมายที่จะสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของไทย ซึ่งสอดรับกับยุทธศาสตร์ของ สปป.ลาว ว่าด้วยการเป็น “แบตเตอรี่แห่งเอเชีย” ทำให้ในช่วงที่ผ่านมากลุ่มทุนจากไทย โดยความร่วมมือกับกลุ่มหลากหลายสัญชาติ ต่างเข้าลงทุนในโครงการสร้างเขื่อนตามแนวลำน้ำโขงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างเอิกเกริก ควบคู่กับโรงผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะถ่านหินด้วย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่ ตามแผนการพัฒนา สปป.ลาว ไปสู่การเป็น “แบตเตอรี่แห่งเอเชีย” สปป.ลาว มีโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการแล้ว 42 แห่งและอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 53 แห่ง ซึ่งหากการดำเนินการก่อสร้างเป็นไปตามกรอบเวลาที่วางไว้ ภายในปี 2563 สปป.ลาว จะมีจำนวนโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำมากถึง 90 แห่งและมีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 26,000 เมกะวัตต์ต่อปี ขณะที่ประชากรจำนวน 7 ล้านคนของ สปป.ลาว มีความต้องการใช้ไฟฟ้าประมาณ 1,579 เมกะวัตต์เท่านั้น เป้าหมายของโรงผลิตไฟฟ้าใน

Read More

Battery of Asia กับสิ่งที่ต้องแลกของ สปป.ลาว

เหตุการณ์เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ในเมืองสนามชัย แขวงอัตตะปือ สปป.ลาว แตกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ที่ผ่านมา สร้างความตื่นตระหนกแก่ชาวลาวและผู้คนที่ติดตามข่าวสารไม่น้อย ทั้งภาพการหนีน้ำของประชาชนในบริเวณใกล้เคียง ภาพความเสียหายที่มีต่อชีวิตและทรัพย์สิน ชาวลาวได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวจำนวนมากถึง 11,700 คน และกว่า 6,000 คน ต้องอพยพจากบ้านเรือนไปพักอยู่ที่ศูนย์พักพิงชั่วคราว นอกจากนี้ยังมีผู้เสียชีวิตประมาณ 30 คน และสูญหายกว่า 130 คน โครงการเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท SK Engineering & Construction ถือหุ้น 26 เปอร์เซ็นต์ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 25 เปอร์เซ็นต์ บริษัท Korea Western Power จำกัด ถือหุ้น 25 เปอร์เซ็นต์ และรัฐบาล สปป.ลาว ถือหุ้น 24

Read More