Home > เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย

NEDA มอบเงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติในระยะฟื้นฟูให้กับโรงเรียนบ้านตะมอยอด เมืองสะหนามไซ สปป.ลาว

ด้วยสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) เป็นหน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีภารกิจในการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคมกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยให้ความร่วมมือทางการเงินและทางวิชาการเป็นกลไกในการขับเคลื่อน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายของรัฐบาลที่จะพัฒนาส่งเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ในการนี้ สพพ. มีการบรูณาการความร่วมมือและให้ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคให้ดีขึ้น อีกทั้ง สปป.ลาว เป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชนชาวไทย ตลอดจน สพพ. มีโครงการให้ความร่วมมือใน สปป.ลาว เป็นจำนวนมาก ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และทรัพย์สินของประชาชนและยังกระทบต่อกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาทุกภาคส่วนทำให้การพัฒนาในภาพรวมหยุดชะงัก ขาดความต่อเนื่อง และต้องได้รับการฟื้นฟู ซ่อมแซม เพื่อให้ฟื้นคืนกลับมาอยู่ในสภาพปกติ ในการนี้ นายพีรเมศร์ วุฒิธรเนติรักษ์ ผู้อำนวยการ สพพ. พันเอก ดร.ศรัณยู วิริยเวชกุล รองผู้อำนวยการ สพพ.และนายณรรถพล ประสพโชค ผู้อำนวยสำนักอำนวยการ ร่วมส่งมอบเงินบริจาคให้กับนายแสง สุขะทิวง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวประจำราชอาณาจักรไทย สำหรับสร้างห้องสุขาและบ่อบาดาล ให้โรงเรียนบ้านตะมอยอด เมืองสะหนามไซ สปป.ลาว เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติในระยะฟื้นฟูและเพื่อบรรเทาปัญหาเร่งด่วนจากสถานการณ์เขื่อนเซเปี่ยน-เซน้ำน้อยแตกจนเกิดน้ำท่วมใหญ่ที่เมืองสะหนามไซ แขวงอัตตะปือและแขวงจำปาสัก เป็นจำนวนเงิน 500,000 บาท ณ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2561

Read More

เขื่อนแตกใน สปป.ลาว กับความมั่นคงพลังงานไทย?

ประเด็นว่าด้วยความมั่นคงด้านพลังงานของไทย หรือ energy security ดูจะเป็นกรณีที่ถูกท้าทายและตั้งคำถามอีกครั้งหลังจากเกิดเหตุการณ์ เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ในเมืองสนามชัย แขวงอัตตะปือ สปป.ลาว แตกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งสร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิตประชาชนและทรัพย์สินจำนวนมาก แต่อาจเทียบไม่ได้ต่อความเชื่อมั่นในการเปิดให้กลุ่มทุนพลังงานจากนานาประเทศเข้าแสวงประโยชน์บนแผ่นดินของ สปป.ลาว ในอนาคต ภายใต้ความมุ่งหมายที่จะสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของไทย ซึ่งสอดรับกับยุทธศาสตร์ของ สปป.ลาว ว่าด้วยการเป็น “แบตเตอรี่แห่งเอเชีย” ทำให้ในช่วงที่ผ่านมากลุ่มทุนจากไทย โดยความร่วมมือกับกลุ่มหลากหลายสัญชาติ ต่างเข้าลงทุนในโครงการสร้างเขื่อนตามแนวลำน้ำโขงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างเอิกเกริก ควบคู่กับโรงผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะถ่านหินด้วย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่ ตามแผนการพัฒนา สปป.ลาว ไปสู่การเป็น “แบตเตอรี่แห่งเอเชีย” สปป.ลาว มีโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการแล้ว 42 แห่งและอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 53 แห่ง ซึ่งหากการดำเนินการก่อสร้างเป็นไปตามกรอบเวลาที่วางไว้ ภายในปี 2563 สปป.ลาว จะมีจำนวนโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำมากถึง 90 แห่งและมีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 26,000 เมกะวัตต์ต่อปี ขณะที่ประชากรจำนวน 7 ล้านคนของ สปป.ลาว มีความต้องการใช้ไฟฟ้าประมาณ 1,579 เมกะวัตต์เท่านั้น เป้าหมายของโรงผลิตไฟฟ้าใน

Read More

Battery of Asia กับสิ่งที่ต้องแลกของ สปป.ลาว

เหตุการณ์เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ในเมืองสนามชัย แขวงอัตตะปือ สปป.ลาว แตกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ที่ผ่านมา สร้างความตื่นตระหนกแก่ชาวลาวและผู้คนที่ติดตามข่าวสารไม่น้อย ทั้งภาพการหนีน้ำของประชาชนในบริเวณใกล้เคียง ภาพความเสียหายที่มีต่อชีวิตและทรัพย์สิน ชาวลาวได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวจำนวนมากถึง 11,700 คน และกว่า 6,000 คน ต้องอพยพจากบ้านเรือนไปพักอยู่ที่ศูนย์พักพิงชั่วคราว นอกจากนี้ยังมีผู้เสียชีวิตประมาณ 30 คน และสูญหายกว่า 130 คน โครงการเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท SK Engineering & Construction ถือหุ้น 26 เปอร์เซ็นต์ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 25 เปอร์เซ็นต์ บริษัท Korea Western Power จำกัด ถือหุ้น 25 เปอร์เซ็นต์ และรัฐบาล สปป.ลาว ถือหุ้น 24

Read More