Home > การค้าระหว่างประเทศ

โอกาสทองของไทยกับ FTA ใหม่ หนุนการค้าระหว่างประเทศโต

ตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ขยายตัวสูงถึง 17.4 เปอร์เซ็นต์ มีมูลค่า 22.738.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งยังเป็นการโตต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 เป็นต้นมา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแผนผลักดันการส่งออก และมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ กิจกรรมทางเศรษฐกิจทำให้เกิดการบริโภค สินค้าที่ยังคงเป็นเบอร์หนึ่งในตลาดส่งออกของไทยได้แก่ สินค้าเกษตร อาหาร โดยเฉพาะข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือแพทย์ เหล็ก เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ การขยายตัวของภาคการส่งออกคงจะพอทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ยิ้มได้ แม้ว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ ยังคงประสบกับสภาวะชะลอตัว ซบเซา แม้จะมีหลายสถาบันที่มักจะออกมาประเมินและวิเคราะห์สภาพการณ์ของตลาดไทยและตลาดโลก มองไปในทิศทางเดียวกันว่า สภาพเศรษฐกิจโดยรวมจะกลับมาดังเช่นก่อนโควิดระบาดอาจจะต้องใช้เวลานาน หรืออย่างน้อยช่วงปลายปี 2565 น่าจะพอมองเห็นอนาคตที่สดใสขึ้นบ้าง ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า การส่งออกของไทยทั้งปี น่าจะขยายตัวได้มากกว่าที่คาด 14 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นการเติบโตที่เกิดจากการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ ถึงกระนั้นยังมีปัจจัยเสี่ยงอีกที่ต้องระวัง เช่น การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และค่าระวางเรือที่สูงขึ้น ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่า และสถานการณ์โรคไวรัสโควิด-19 ในยุโรปที่จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น โดยออสเตรียเป็นประเทศแรกที่กลับมาประกาศล็อกดาวน์ นายจุรินทร์

Read More

สงครามการค้าอุบัติ กระทบส่งออกไทย?

ฟันเฟืองตัวสำคัญในระบบเศรษฐกิจของไทยอย่างการส่งออก ที่หลายคนให้ความเชื่อมั่นว่าจะเป็นกำลังหลักที่ทำให้เกิดเสถียรภาพและแรงผลักสำคัญทำให้เศรษฐกิจไทยยังคงขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งอัตราการขยายตัวที่มีความต่อเนื่องอยู่ในระดับที่ดีนับตั้งแต่ต้นปี แม้ว่าจะเป็นรูปแบบการค้าที่ขาดดุลในรอบ 43 เดือนก็ตาม หากแต่สภาพการณ์ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจึงไม่น่าแปลกที่หลายฝ่ายยังคงมองว่า การส่งออกของไทยน่าจะยังมีแรงเหวี่ยงที่ดีในช่วงครึ่งปีที่เหลือ แม้จะต้องจับตามองต่อประเด็นการเกิดสงครามการค้าระหว่าง 2 ประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐฯ ที่ก่อนหน้านี้ดูเหมือนจะเป็นช่วงที่คลื่นลมสงบ เพราะเหตุผลจากการให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่ตอบโต้ทางการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้น ทำให้บรรดานักธุรกิจส่งออก ศูนย์วิจัย ที่ต่างลุ้นว่าทิศทางการค้าระหว่างประเทศจะเป็นอย่างไรนั้น เบาใจอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ทว่าห้วงยามนี้คลื่นลมที่เคยสงบตามคำมั่นสัญญา กลับเริ่มแสดงสัญญาณบางอย่าง เพราะเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในอัตรา 25 เปอร์เซ็นต์ วงเงิน 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นมาตรการโต้กลับจีน ขณะที่รัฐบาลปักกิ่งเตรียมเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ในอัตราและวงเงินเดียวกัน ซึ่งเป้าหมายอยู่ที่สินค้าเกษตร รถยนต์ นับว่าการรีดภาษีของทั้งสองประเทศเป็นการเปิดศึกแลกหมัดอย่างเต็มรูปแบบ แน่นอนว่าสงครามการค้าที่มีชนวนเหตุมาจากสหรัฐฯ และจีน ทำให้สถานการณ์ส่งออกของไทยได้รับผลกระทบอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เมื่อสินค้าส่งออกของไทยจำนวนไม่น้อยที่อยู่ในวงจรการค้าโลก กระทั่งล่าสุดกระทรวงพาณิชย์สั่งจับตาสถานการณ์นี้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศที่มีหน้าที่โดยตรง การงัดมาตรการทางภาษีตอบโต้กันระหว่างสหรัฐฯ และจีน ทำให้ไทยต้องรักษาฐานที่มั่นซึ่งเป็นตลาดค้าเดิม และยังต้องหามาตรการอื่นๆ มารองรับหากสถานการณ์ไม่สู้ดี นั่นคือการมองหาตลาดใหม่สำหรับสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าในครั้งนี้ ขณะที่รองอธิบดีกรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สุพพัต อ่องแสงคุณ อธิบายแนวทางว่า “สถานการณ์สงครามการค้านี้ ต้องมอนิเตอร์เป็นรายกลุ่ม และต้องพยายามรักษาแรงเหวี่ยงของการส่งออกในทุกตลาด” นอกจากนี้กรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศยังได้พิจารณาตลาดใหม่ไว้สำหรับสถานการณ์สงครามการค้าที่อาจกระทบไทยในอนาคต เช่น ตลาดตะวันออกกลาง

Read More