Home > CLMV

CLMV ได้รับอานิสงส์ที่แตกต่าง หลังเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) อย่างหนักในปี 2020 ไม่แตกต่างจากที่ไทยได้รับ แต่ในปี 2021 ขณะที่ไทยยังคงเผชิญหน้ากับการขยายวงการแพร่ระบาดและจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทว่า กลุ่มประเทศ CLMV กลับมีผู้ติดเชื้อลดจำนวนลง โดยล่าสุดข้อมูลวันที่ 29 มิถุนายน 2564 จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในเมียนมา 1,225 ราย กัมพูชา 883 ราย เวียดนาม 398 ราย และ สปป. ลาว 0 ราย นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ว่าประเทศในกลุ่มนี้จะมีแนวโน้มการเติบโตหรือการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราที่สูงขึ้น ศูนย์วิจัยกรุงศรีระบุว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจของประเทศกัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ (CLMVIP) ได้รับผลกระทบอย่างหนักในปี 2020 อย่างไรก็ดี ในปี 2021 หลายประเทศในกลุ่มนี้มีแนวโน้มเติบโตในอัตราสูงราวร้อยละ

Read More

UAC กางแผนปี 64 ปั้นรายได้ทั้งปีโต 10% เร่งเดินเกมรุกด้าน Energy Efficiency – High Value Product

บมจ.ยูเอซี โกลบอล (UAC) กางแผนธุรกิจปี 64 ชูกลยุทธ์การลงทุนด้าน Energy Efficiency ทั้งในประเทศ และกลุ่มประเทศ CLMV พร้อมพัฒนาธุรกิจไบโอดีเซล สู่ไบโอเคมิคัล สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (High Value Product) หนุนรายได้รวมทั้งปีโต10% จากปีก่อนและตั้งเป้า EBITDA ไม่ต่ำกว่า18% ของยอดขาย นายชัชพล ประสพโชค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) หรือ UAC เปิดเผยถึงภาพรวมการดำเนินธุรกิจในปี 2564 ว่า จะมีอัตราการเติบโตในทิศทางที่ดีขึ้น โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าหมายรายได้รวมเพิ่มขึ้นกว่า 10% เมื่อเทียบจากปีก่อน พร้อมทั้งตั้งเป้า EBITDA ไม่ต่ำกว่า 18% ของยอดขาย ทั้งนี้เป็นผลจากการบริโภคมีสัญญาณที่ดีขึ้น เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของ UAC สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งโรงกลั่นน้ำมัน โรงงานปิโตรเคมี

Read More

ทุนไทยหนุน สปป.ลาว สู่เป้าหมาย เขื่อน-โรงไฟฟ้าคือคำตอบ?

หลายครั้งที่ตลาดอเมริกา ตลาดยุโรป เป็นตลาดสำคัญที่บ่งบอกทิศทางความเป็นไปทางเศรษฐกิจระดับมหภาค และนักลงทุนจำนวนไม่น้อยให้ความสำคัญกับตลาดเหล่านี้ ขณะที่ตลาดในประเทศเพื่อนบ้านอย่างตลาดอาเซียนกลับได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะตลาดในกลุ่มประเทศ CLMV ทั้งจากเหตุผลที่ว่า การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC เมื่อปลายปี 2015 และการเพิ่งเปิดประเทศของกลุ่มนี้ นี่เป็นสาเหตุให้เศรษฐกิจในกลุ่ม CLMV เติบโตด้วยอัตราเร่งที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับจีนและอินเดีย ที่ตลาดนี้มีอัตราการเติบโตดีกว่า ทั้งเงินลงทุนจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นปีละเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ ความหอมหวนของตลาดนี้ส่งกลิ่นเชิญชวนนักลงทุนต่างชาติ และแน่นอนว่ารวมนักลงทุนไทยด้วย ที่เบนเข็มพุ่งเป้า และกำหนดหมุดหมายใหม่ รวมไปถึงการแสวงหาประโยชน์ในตลาด CLMV โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ที่นับวันยิ่งน่าจับตามอง เมื่อรัฐบาล สปป.ลาว ประกาศใช้แผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อนำพาประเทศให้พ้นจากการเป็นประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด และจุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ที่มีนโยบายเป็นพลังขับเคลื่อนให้ สปป.ลาว จำต้องพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว คำตอบที่เสมือนตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นระบบ คือ การเพิ่มศักยภาพของการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก อันจะนำมาซึ่งรายได้เข้าสู่ประเทศ ภูมิประเทศที่รายล้อมไปด้วยภูเขา ต้นไม้ และแม่น้ำสำคัญหลายสาย “พลังงานไฟฟ้า” จึงเป็นสินค้าส่งออกหลักของ สปป.ลาว พลังงานไฟฟ้าจึงถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ปี 2020 ด้วยการเป็น “Battery of Asia”

Read More

‘ผลิตไฟฟ้าลาว’ ปลื้มกระแสโรดโชว์คึกคัก เผยนักลงทุนไทยสนใจลงทุนหุ้นกู้วงเงิน 17,500 ล้านบาท เตรียมขายผ่าน 5 แบงก์ กรกฎาคมนี้

บริษัท ผลิต-ไฟฟ้าลาว มหาชน (EDL-GEN) ปลื้มนักลงทุนไทยให้การตอบรับคึกคัก หลังการโรดโชว์ต่อนักลงทุนสถาบัน นำเสนอข้อมูลการระดมทุน ด้วยการออกหุ้นกู้สกุลเงินบาท วงเงินไม่เกิน 17,500 ล้านบาท เตรียมกำหนดรายละเอียดการเสนอขายพร้อมผลตอบแทนจากการลงทุนต้นเดือนกรกฎาคมนี้ โดยมี 5 แบงก์เป็นผู้ร่วมจัดการการจัดจำหน่าย มั่นใจกระแสตอบรับดี ด้วยความมั่นคงของบริษัทฯ และโอกาสในการเติบโต ชี้ธุรกิจหลักที่มุ่งเน้นด้านพลังงานทำให้ EDL-GEN เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ นายอดิศร วสุคุปต์ สิงห์สัจจะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทวิน ไพน์ กรุ๊ป จำกัด ผู้บุกเบิกด้านการระดมทุนข้ามพรมแดน ด้วยการเป็นที่ปรึกษาให้กับกิจการในกลุ่มประเทศ CLMV ที่ต้องการระดมทุนในประเทศไทย ในฐานะที่ปรึกษา (Sole Advisor) ของบริษัท ผลิต-ไฟฟ้าลาว มหาชน หรือ EDL-GEN เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้จัดโรดโชว์เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ EDL-GEN รวมถึงแผนการระดมทุนด้วยการออกและเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินบาท อันดับความน่าเชื่อถือ BBB+ จากทริสเรทติ้ง วงเงินไม่เกิน 17,500

Read More

หมดเวลาของถ่านหิน? อาเซียนเน้นพลังงานทดแทน

การแถลงผลประกอบการของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นอกจากจะมีจุดเด่นอยู่ที่ตัวเลขผลประกอบการที่มีกำไรในระดับหลายพันล้านบาทแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังปรากฏภาพของการกำหนดทิศทางของธุรกิจในอนาคตด้วยการลดสัดส่วนพลังงานถ่านหิน ซึ่งสะท้อนภาพภูมิทัศน์ที่ปรับเปลี่ยนไปของการใช้พลังงานในภูมิภาคอาเซียน ที่กำลังปรับเข้าหาพลังงานทดแทนมากขึ้น กรณีดังกล่าวสอดรับกับความเคลื่อนไหวของบี. กริม พาวเวอร์ ที่ร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB: Asian Development Bank) ประกาศความร่วมมือในการขยายธุรกิจพลังงานทดแทนในอาเซียน ผ่านการลงนามในสัญญาสนับสนุนเงินกู้ มูลค่า 235 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7.3 พันล้านบาท นัยความหมายของการลงนามสนับสนุนเงินกู้ระหว่างบี. กริม พาวเวอร์กับเอดีบี ครั้งนี้ นอกจากจะนับเป็นการสนับสนุนวงเงินกู้ที่มีมูลค่าสูงสุดที่เอดีบีเคยให้การสนับสนุนกับบริษัทในประเทศไทยแล้ว ในอีกมิติหนึ่งยังสะท้อนแนวทางการพัฒนาด้านพลังงานที่เอดีบีพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นและสนองตอบต่อความต้องการใช้พลังงานของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ซึ่งพลังงานได้รับการประเมินในฐานะที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พลังงานทางเลือกที่บี. กริมจะนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อรุกเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน ภายใต้สัญญาสนับสนุนเงินกู้จากเอดีบี ประกอบด้วยการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล พลังงานจากขยะ พลังงานก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการกักเก็บพลังงาน และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง “เงินทุนของเอดีบีจะสนับสนุนการดำเนินงานของบี.กริม เพาเวอร์ ในการลงทุนโครงการผลิตไฟฟ้าตามพื้นที่ต่างๆ ในรูปแบบ Distributed Power Generation และโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่

Read More

หนทางการพัฒนาของเนด้าใน CLMV เมื่อจีน-ญี่ปุ่น แผ่ขยายอิทธิพล

หลังการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ดูเหมือนว่ายิ่งจะเป็นการเพิ่มความน่าสนใจให้กับบรรดานักลงทุนต่างชาติไม่น้อย โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV ที่หมายถึง กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม การมาถึงของนักลงทุนในกลุ่มประเทศดังกล่าว ไม่ใช่เพียงการมาแบบฉายเดี่ยวของนักลงทุน แต่เป็นนโยบายภาครัฐของประเทศนั้นๆ ที่ต้องการแผ่ขยายอิทธิพลทางการค้าเข้ามาในกลุ่มภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะจีน และญี่ปุ่น หากพิจารณาจากชั้นเชิงของทั้งสองประเทศมหาอำนาจของเอเชีย ดูจะอุดมไปด้วยยุทธศาสตร์ เสมือนว่ากำลังประลองสรรพกำลังกันบนกระดานหมากรุก และเป็นเกมที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องถึง 10 ปี ขณะที่ชายแดนไทยเชื่อมต่อกับประเทศกลุ่มนี้กลับมีสัดส่วนการลงทุนที่น้อยกว่าประเทศมหาอำนาจทั้งสอง ทั้งที่ในช่วงหนึ่งญี่ปุ่นประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก แต่ยังมีการลงทุนนอกประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่มีนักลงทุนจากญี่ปุ่นมากเป็นอันดับ 1 ในบรรดานักลงทุนต่างชาติที่ตบเท้าเข้ามา สิ่งที่น่าสนใจคือการมาของญี่ปุ่น ดูจะเป็นการเข้ามาคานอำนาจของจีนในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง แต่เต็มไปด้วยกลยุทธ์ที่ต้องเรียกว่าน่าสนใจ คือมาพร้อมกับการให้ความสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้กับประเทศนั้นๆ เช่น การสร้างถนนที่เชื่อมต่อและเสริมสร้างศักยภาพของเส้นทางโลจิสติกส์ โดยมีหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญให้การสนับสนุน คือ ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย หรือ ADB พื้นที่เขตเศรษฐกิจทวายดูจะเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่บ่งบอกว่าญี่ปุ่นเดินหมากด้วยความแยบยลเพียงใด เพราะนอกจากการลงทุนในเขตเศรษฐกิจทวายในประเทศเมียนมาแล้ว ญี่ปุ่นยังสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างถนนจากบ้านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี ที่สามารถเดินทางเชื่อมต่อมายังทวายได้สะดวกยิ่งขึ้น แม้ว่าถึงปัจจุบันเขตเศรษฐกิจทวายจะยังมองหาความคืบหน้าที่ชัดเจนได้ยากนักก็ตาม ขณะที่นโยบายรัฐบาลกลางของจีนดูจะมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการสร้างความเจริญที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับประเทศตัวเอง ด้วยความต้องการที่จะยกระดับ “คุนหมิง” ให้เป็นเมืองหน้าด่านในการเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญ และยังวางตำแหน่งของคุนหมิงให้เป็นศูนย์กลางการเงินเพื่อนำเงินสกุลหยวนออกสู่อาเซียน และการลงทุนของจีนกับลาวดูจะเป็นโครงการที่เป็นการตกลงกันระหว่าง “รัฐต่อรัฐ” โดยสร้างถนน หรือการสร้างโรงแรมซึ่งชนกับทุนไทย แต่ประเด็นที่น่าจับตามองคือการเข้ามามีบทบาทในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่อยู่ทางตอนบนของแม่น้ำโขง ที่หลายฝ่ายกำลังจับตาดูว่า

Read More

บี.กริม รุกคืบจาก CLMV สู่ AEC ยุทธศาสตร์แห่งการพัฒนา

หลังการสร้างความเชื่อมั่นด้วยชื่อชั้นของบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ ที่ดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 100 ปี ประกอบกับการเลือกหมากในการเดินเกมธุรกิจในแต่ละครั้งได้ถูกจังหวะ แม้ว่าเคยล้มลุกคลุกคลานและเจ็บตัวมาไม่น้อยในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 กลับไม่ทำให้ความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจลดทอนลงไปแม้แต่น้อย แม้ในช่วงยามนี้ที่ภาวะเศรษฐกิจของไทยยังมองหาเสถียรภาพมั่นคงได้ยากเต็มที กระนั้น บี.กริม ยังคงมุ่งมั่นที่จะขยายธุรกิจโรงไฟฟ้าต่อไป ด้วยยุทธศาสตร์การเลือกทำเลที่ตั้งของโครงการที่นับว่าเป็นการสร้างข้อได้เปรียบให้กับตัวเองไม่น้อย ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมธุรกิจการไฟฟ้าที่มีทั้งคู่แข่งขันที่เป็นเจ้าตลาดยึดครองพื้นที่ส่วนแบ่งอยู่เดิม และนักลงทุนหน้าใหม่ที่เริ่มเสนอตัวเข้ามาในสนามประลองแห่งนี้ด้วย บี.กริม เพาเวอร์ เลือกปักหมุดโรงไฟฟ้า 13 ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมของไทยและเวียดนาม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ สวนอุตสาหกรรมบางกะดี นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมเหมราช และนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ เบียนหัว ความมั่นใจในศักยภาพและผลงานของ บี.กริม ดูจะเข้าตาบรรดานักลงทุนจากต่างแดน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านไม่น้อย ที่อาจเป็นก้าวย่างสำคัญที่ถือได้ว่าเป็นการปลดล็อกและเปิดโอกาสให้บี.กริม ที่เรียกตัวเองว่าเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ได้เข้าไปเป็นผู้ถือสัมปทานและพัฒนาโรงไฟฟ้าในกลุ่มประเทศ CLMV โดยเฉพาะใน สปป.ลาว ที่ความเอื้ออำนวยของทรัพยากรและเป้าประสงค์ของรัฐบาลลาวที่ต้องการจะเป็น Battery of Asean ทำให้บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ ได้เข้าไปรับผิดชอบโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำใน สปป.ลาวได้หลายโครงการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะปณิธานของผู้บริหารอย่าง ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานกลุ่มบริษัท บี.กริม

Read More

บ้านปูเพาเวอร์: ผู้นำธุรกิจพลังงาน รุกตลาด CLMV และเอเชียแปซิฟิก

   การแถลงข่าวประกาศขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ในกลุ่มบ้านปู ที่พร้อมจะเปิดให้ประชาชนผู้สนใจจองซื้อหุ้นที่ราคาเสนอขายสุดท้ายได้ในวันระหว่างวันที่ 18-20 ตุลาคมนี้ หากจะพิจารณาถึงเหตุผลของการระดมทุนในครั้งนี้ นั่นคือการนำเงินที่จะได้มาชำระคืนเงินกู้จากบริษัทแม่ และนำเงินไปลงทุนขยายธุรกิจพลังงานทั้งในและต่างประเทศ เหตุผลดังกล่าวดูจะสะท้อนภาพที่แสดงถึงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนถึงทิศทางในการเดินเกมก้าวต่อไปบนธุรกิจพลังงานของบ้านปู เพาเวอร์ คือนอกเหนือจากการปลดหนี้ที่มีต่อบริษัทแม่ อันมีสาเหตุมาจากการลงทุนในโรงไฟฟ้าหงสาที่มีมูลค่าหนี้มากกว่า 1 หมื่นล้านบาทแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งอาจจะหมายถึงจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะตามมาในอีกหลายมิติ หากแต่ในมิติที่กำลังดำเนินไปในครั้งนี้ดูน่าจับตามองเป็นพิเศษ เพราะการที่บ้านปู เพาเวอร์มีหมุดหมายสำคัญที่จะเบนเข็มและตั้งเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่มากขึ้นในการรุกตลาด CLMV และตลาดที่ใหญ่กว่าอย่างกลุ่มประเทศในเอเชียแปซิฟิก ทั้งนี้หากมองในตัวเลขมูลค่าการเสนอขายที่น่าจะได้รับคือ 11,673–13,618 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นการชำระหนี้คืนต่อบริษัทแม่ 90 เปอร์เซ็นต์ นั่นหมายความว่าบริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จะปลอดหนี้โดยสิ้นเชิง ส่งผลให้การใช้เม็ดเงินที่เหลืออีก 10 เปอร์เซ็นต์ในการลงทุนธุรกิจพลังงานในอนาคต เป้าหมายที่ว่าคือการขยายกำลังการผลิต 4,300 เมกะวัตต์ (เทียบเท่า) ภายในปี พ.ศ.2568 โดยมีตลาดใหญ่ที่บ้านปู เพาเวอร์ ให้ความสนใจและมีโครงการอยู่อย่างต่อเนื่องคือกลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ ประเทศกัมพูชา ประเทศเวียดนาม ประเทศเมียนมาร์ และประเทศลาว  ซึ่งวรวุฒิ ลีนานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

Read More

ซีเอ็มโอ กรุ๊ป จับมือไร้ท์แมน ลุย CLMV ตลาดใหม่ของนักลงทุน

  ในแต่ละวันประเทศไทยมีงานอีเว้นท์กระจายอยู่ทั่วประเทศ ทำให้การเกิดใหม่ของผู้ประกอบการธุรกิจประเภทนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ตลาดอีเว้นท์ไม่ได้กระจุกตัวอยู่เพียงในมือของผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่มีเครดิตเป็นการจัดงานระดับชาติหรือระดับโลกเฉกเช่นเดิมอีกต่อไป กระนั้นทางเลือกที่มีมากขึ้น นับเป็นเรื่องดีต่อเหล่านักการตลาดและเจ้าของธุรกิจในการที่มีตัวเลือกที่หลากหลายสำหรับการจัดอีเว้นท์สักหนึ่งครั้ง และนั่นเองที่ทำให้รายได้กระจายไปสู่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ระลอกคลื่นดังกล่าวส่งผลอย่างชัดเจนต่อผู้ประกอบการอีเว้นท์ขนาดใหญ่ที่เป็นเจ้าตลาด ภายใต้สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยที่ยังขาดความคงเส้นคงวา ตัวเลข GDP ที่ถูกปรับขึ้นเพียงไม่กี่จุด กำลังซื้อลดลง เงื่อนไขของผู้บริโภคมีมากขึ้น การมองหาตลาดใหม่เพื่อให้เป็นพื้นที่ที่พอจะหมายมั่นปั้นมือได้ หากพิจารณาอย่างรอบด้านในห้วงเวลาที่ทุกฝ่ายต่างต้องการอนาคตที่ดีขึ้น และรวมไปถึงผลกำไรที่มากขึ้น หรืออย่างน้อยที่สุดก็ให้ห่างไกลจากการขาดทุน  ตลาดอาเซียน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV ในช่วงเวลานี้ดูเหมือนว่าภูมิประเทศแถบนั้นกำลังส่งกลิ่นหอมหวนราวกับทุ่งดอกไม้ ที่หลายธุรกิจหลากนักลงทุนกำลังให้ความสนใจ และมองหาจุดยุทธศาสตร์ที่สามารถจะสร้างชื่อเสียงรวมไปถึงการดึงความสนใจจากผู้ร่วมทุนรายอื่นๆ ด้วย บริษัท CMO จำกัด (มหาชน) นับได้ว่าเป็นผู้นำธุรกิจครีเอทีฟอีเว้นท์ครบวงจรแห่งอาเซียน ซึ่งลักษณะของธุรกิจครอบคลุมตั้งแต่การบริหารจัดการอีเว้นท์และสื่อสารการตลาด บริการงานด้านเอ็นเตอร์เทนเมนต์และไลฟ์สไตล์ รวมไปถึงงานด้านธุรกิจท่องเที่ยว กระนั้นงานที่ดูจะเป็นลายเซ็นของ CMO คือ ธุรกิจ Event Supply เช่น ระบบภาพ แสง เสียง และมัลติมีเดีย ที่มีพร้อมสำหรับตอบสนองความต้องการของโชว์และอีเว้นท์ทุกรูปแบบ  ขณะที่ฟากฝั่งของบริษัท Right Man จำกัด ที่ดูจะเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการอีเว้นท์และเอ็กซิบิชั่นแบบครบวงจร มีความโดดเด่นในการสร้างสรรค์งานด้านการออกแบบที่ผสมผสานกับนวัตกรรมได้อย่างลงตัว อีกทั้งยังเป็นผู้นำด้านงานพิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้มากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา คือการที่สองยักษ์ใหญ่แห่งวงการอีเว้นท์ จับมือลงนามเซ็นสัญญาเพื่อเป็นพันธมิตร โดยมีเป้าประสงค์ในการรุกตลาดอาเซียน

Read More