Home > ฟู้ดดีลิเวอรี่

ดีลิเวอรีชะลอตัว แบรนด์ยักษ์แห่ลุย Food Express

สัญญาณกำลังซื้อหดตัวมากขึ้น ผลพวงวิกฤตพลังงานจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทั้งราคาน้ำมัน ก๊าซหุงต้ม ค่าไฟฟ้า และปัญหาข้าวของแพง กำลังเปลี่ยนพฤติกรรมผู้คนเลือกหันมาทำอาหารในครอบครัว หรือไปกินถึงร้านมากกว่าการใช้บริการ Food Delivery ซึ่งชาร์จเพิ่มทั้งค่าอาหารและค่าขนส่ง ชนิดที่ว่า ออร์เดอร์ 1 เมนู แพงกว่าไปกินในร้านหลายเท่าตัว ขณะเดียวกัน การผ่อนคลายกิจกรรมต่างๆ ของภาครัฐ การกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึงและโควิดสายพันธุ์ใหม่ “โอมิครอน” มีความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์เดลต้า ส่งผลให้กลุ่มผู้บริโภคกล้าออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น แต่ยังคงเลือกจุดหมายใกล้บ้าน ไม่ว่าจะเป็นคอมมูนิตี้มอลล์ สถานีบริการน้ำมันที่เติมเต็มร้านค้าและบริการอย่างครบวงจร รวมถึงร้านสแตนด์อะโลนตามแหล่งชุมชน ยิ่งทำให้ตลาดฟู้ดดีลิเวอรีมีแนวโน้มชะลอตัวมากขึ้นอีก ล่าสุด ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ดัชนีการสั่งอาหารไปยังที่พัก (Food Delivery) จะชะลอตัวลงจากที่เร่งขึ้นสูงในช่วงปลายปี 2564 ที่มีการระบาดของโควิดอย่างรุนแรงต่อเนื่องมาถึงต้นปี 2565 และผู้ประกอบการกลุ่ม Food Delivery ต้องเผชิญโจทย์ท้าทายมากขึ้น ทั้งปัญหาต้นทุนพุ่งสูง และหากร้านอาหารปรับขึ้นราคาอาหาร หรือค่าจัดส่ง กลุ่มลูกค้าจะมีแนวโน้มลดลงอีก นอกจากนี้ ข้อมูลของ LINE MAN Wongnai และผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย

Read More

“คนละครึ่ง” สะพัด 7 หมื่นล้าน ฟู้ดดีลิเวอรีออเดอร์พุ่ง ดันเฟส 5

เศรษฐกิจยุคของแพงส่งผลกระตุ้นยอดการใช้สิทธิ์โครงการคนละครึ่ง เฟส 4 มีแนวโน้มเติบโตพุ่งพรวดกว่าทุกเฟสที่ผ่านมา และปลุกบรรยากาศการแข่งขันในกลุ่มค้าปลีก รวมถึงกลุ่มแอปพลิเคชัน Food Delivery แห่ออกแคมเปญแข่งขันอย่างดุเดือด ชนิดลดแล้วลดอีก เพื่อช่วงชิงยอดขายตลอดระยะเวลามาตรการ 4 เดือน ถ้าดูข้อมูลดีเดย์เปิดใช้สิทธิ์วันแรก 1 กุมภาพันธ์ 2565 มีผู้ใช้จ่ายพุ่งพรวดทันที 2.4 ล้านราย จากผู้ยืนยันการใช้สิทธิ 16.93 ล้านราย ยอดการใช้จ่ายรวม 501.24 ล้านบาท และผ่านไปเพียงสัปดาห์แรก มีผู้ใช้สิทธิ์ 20.40 ล้านราย ยอดการใช้จ่ายรวม 14,027.6 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 7,102.8 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่าย 6,924.8 ล้านบาท ยอดใช้จ่ายสะสมแบ่งตามประเภทตามร้านค้า ได้แก่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม 5,201.1 ล้านบาท ร้านธงฟ้า 2,743.7 ล้านบาท ร้าน OTOP 675.8 ล้านบาท ร้านค้าทั่วไป

Read More

ฟู้ดดีลิเวอรี่ขยายตัว กับการบริโภคของสังคมไทย

ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วของคนรุ่นใหม่ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่เทคโนโลยีคือสิ่งสำคัญในชีวิต ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ ทั้งการท่องไปในโลกอินเทอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูล ข่าวสารต่างๆ และสาระบันเทิง ธุรกิจจัดส่งอาหารหรือ ฟู้ดดีลิเวอรี่ คือคำตอบที่ชัดเจนของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้คน ที่ต้องการความสะดวกสบาย มีวิถีชีวิตที่เร่งรีบ และมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใดหากธุรกิจฟู้ดดีลิเวอรี่จะขยายตัวในอัตราเร่งที่สูงมากเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่น หรือเมื่อเทียบกับธุรกิจร้านอาหารที่มีการเติบโตเพียงเล็กน้อยในปีที่ผ่านมา แม้บางคนจะจำกัดความว่า นี่เป็นธุรกิจที่เติบโตขึ้นได้จากความไม่มีเวลาของผู้บริโภคบางส่วนก็ตาม ปัจจุบันฟู้ดดีลิเวอรี่กลายเป็นอีกหนึ่งออปชันของการบริการ ที่ผู้ประกอบการร้านอาหารหยิบยกมานำเสนอแก่ลูกค้า และเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวก หรือไม่สามารถเดินทางไปซื้อสินค้าได้ด้วยตัวเอง การเปลี่ยนแปลงในทั้งสองมิติทำให้มูลค่าตลาดธุรกิจฟู้ดดีลิเวอรี่ในประเทศไทยมีมูลค่าสูงถึง 26,000 ล้านบาท ในปี 2560 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขที่เติบโตขึ้นมาเกือบ 15 เปอร์เซ็นต์จากปี 2559 มูลค่าตลาดที่สูงเกือบสามหมื่นล้านบาทในปี 2560 จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด หากจะมีผู้เล่นตบเท้าเข้ามาในเกมนี้พร้อมกับรูปแบบกลยุทธ์ที่ทำให้การแข่งขันดุเดือดมากขึ้น ไล่เรียงตั้งแต่ฟู้ดแพนด้า ที่เข้ามาเปิดตลาดนี้ตั้งแต่ปี 2557 นับเป็นรายแรกๆ ที่เข้ามาสร้างสีสันให้ธุรกิจฟู้ดดีลิเวอรี่ในไทย และครอบคลุมการให้บริการในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมไปถึงจังหวัดใหญ่ๆ อย่าง เชียงใหม่ ภูเก็ต และฟู้ดแพนด้าก็ไม่ใช่ทุนต่างชาติรายเดียวที่เข้ามาจับจองพื้นที่ของตลาดการบริการนี้ในไทย ในเวลาไล่เลี่ยกัน ลาล่ามูฟ บริษัทสัญชาติฮ่องกง ที่เปิดตัวมาเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในตลาดฟู้ดดีลิเวอรี่ สร้างปรากฏการณ์ที่เรียกว่าไม่ธรรมดา ด้วยการเติบโตในเปอร์เซ็นต์ที่สูงถึง 350 เปอร์เซ็นต์ในปี 2560 และประกาศตัวในฐานะผู้นำในตลาดนี้

Read More