Home > COVID-19 (Page 15)

ทัวร์สุขภาพแสนล้านเดือด บิ๊ก BDMS ชิงเจาะตลาดจีน

การประกาศจับมือกันระหว่าง 2 ยักษ์ใหญ่ 2 ประเทศ อย่างบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS ผู้ให้บริการทางการแพทย์และบริการด้านสุขภาพแบบครบวงจรของไทย กับกลุ่มผิงอัน เฮลธ์ (PING AN HEALTH) ผู้นำธุรกิจประกันแห่งแดนมังกร ถือเป็นการลั่นกลองรบครั้งสำคัญ เพื่อช่วงชิงเม็ดเงินรายได้จากธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical & Health Tourism) ที่เคยมีมูลค่ามากกว่า 3 แสนล้านบาท ที่สำคัญ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพทางการแพทย์ ด้านหนึ่งถือเป็นอีกทางรอดของกลุ่มโรงพยาบาลที่กำลังเจอวิกฤตรายได้ติดลบจากพิษ “โควิด-19” เพื่อขยายสัดส่วนกลุ่มลูกค้าต่างชาติที่หายไปเป็น “0” ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา อีกด้านหนึ่งยังหมายถึงรายได้ก้อนใหม่จำนวนมหาศาล เพื่อพลิกฟื้นธุรกิจในสถานการณ์ที่การท่องเที่ยวยังไม่สามารถกลับมาเหมือนเดิมและมีแนวโน้มยืดเยื้อยาวนานถึงปี 2564-2565 จนกว่าการคิดค้นวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสอันตรายตัวนี้จะประสบความสำเร็จ มีการใช้อย่างแพร่หลายและสร้างความมั่นใจกลับมาอีกครั้ง สิ่งที่สะท้อนให้เห็นชัดเจน คือตัวเลขการท่องเที่ยว ซึ่งล่าสุด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ตัดสินใจปรับคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2563 ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งสิ้น 8.2 ล้านคน ลดลง 80% จากปีก่อนที่มีจำนวนมากถึง

Read More

ยานยนต์ไทยทรุดหนัก หวังโตใหม่ครึ่งปีหลัง

ผลพวงจากวิกฤตโรคระบาด COVID-19 ส่งแรงกระทบกระเทือนไปในวงกว้างมากกว่าที่จะจำกัดอยู่เฉพาะประเด็นเรื่องสุขภาพพลานามัยของประชาชนทั่วไปเท่านั้น หากแต่ยังมีผลต่อภาคเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง ซึ่งดูเหมือนว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยก็เป็นอีกหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วงจากพิษภัยของโรคระบาดนี้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็คือผลกระทบที่มีต่อยอดการจำหน่ายและการผลิตรถยนต์ในประเทศและการส่งออกที่อยู่ในภาวะชะลอตัวลงนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาด และยังกระทบต่อเนื่องไปยังผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ผู้ผลิตอุปกรณ์ตกแต่งภายในรถยนต์ รวมถึงตัวแทนจำหน่าย ในแต่ละลำดับ ซึ่งผู้ประกอบการรถยนต์ในประเทศแต่ละราย ต่างต้องปรับตัวด้วยการลดพนักงานให้สอดรับกับการผลิตที่ลดลง แต่จะปรับลดมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทยและทั่วโลกว่าจะยืดเยื้อไปในทิศทางไหน โดยกลไกที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ดังกล่าวนี้ มีแรงงานที่ได้รับผลกระทบรวมไม่ต่ำกว่า 750,000 คน ภาพสะท้อนความทรุดต่ำลงของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในช่วงที่ผ่านมา อาจพิจารณาได้จากยอดการจำหน่ายและผลิตในเดือนเมษายน 2563 ซึ่งมียอดการผลิตรวมเพียง 24,711 คันลดลงร้อยละ 83.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ซึ่งนับเป็นตัวเลขต่ำที่สุดในรอบ 30 ปี โดยตัวเลขการผลิตดังกล่าวนี้เป็นการผลิตเพื่อส่งออกจำนวน 13,713 คัน ลดลงร้อยละ 81.76 และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 10,988 คัน ลดลงร้อยละ 85.35 และลดลงจากเดือนมีนาคม 2563 คิดเป็นร้อยละ 83.17 เนื่องจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ฉุดกำลังซื้อและการส่งออกให้ร่วงหนัก และเป็นเหตุให้โรงงานผลิตรถยนต์จำนวนไม่น้อยปิดทำการเป็นการชั่วคราว ตัวเลขการผลิตยานยนต์ในเดือนเมษายนที่ระดับ

Read More

จาก COVID-19 สู่วิกฤตการบินโลก

ข่าวการประกาศเลิกกิจการของสายการบินนกสกู๊ต (NokScoot) เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าจะไม่ได้อยู่เหนือความคาดหมายของทั้งผู้คนในแวดวงการบินและประชาชนทั่วไป ที่ต่างประเมินทิศทางธุรกิจการบินและการท่องเที่ยวในยุคหลัง COVID-19 ว่าจะต้องดำเนินไปอย่างยากลำบาก และทำให้อุตสาหกรรมการบิน-การท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมที่น่าจะฟื้นตัวได้ช้าในห้วงเวลานับจากนี้ก็ตาม การเดินทางท่องเที่ยวทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ดูจะเป็นไปภายใต้ข้อจำกัดและเงื่อนไขที่รัดกุมมากขึ้น ขณะที่การ lockdown หรือปิดเมืองของนานาประเทศก็ทำให้ผู้ประกอบการสายการบินต้องยกเลิกการให้บริการตลอดช่วงเวลาที่การแพร่ระบาด COVID-19 อยู่ในกระแสสูงและสร้างความตื่นตระหนกในวงกว้าง ซึ่งหมายถึงรายได้จากการประกอบการที่หดหายไป ควบคู่กับต้นทุนการดำเนินการที่ยังคงอยู่ในระดับเดิม ความเป็นไปของนกสกู๊ต สายการบินร่วมทุนราคาประหยัด ระหว่างสายการบินนกแอร์ของผู้ประกอบการชาวไทย และสายการบินสกู๊ต จากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2014 เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการประกอบการธุรกิจการบิน ท่ามกลางความท้าทายในสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงข้อจำกัดในการขยายเครือข่ายการบิน ภายใต้สภาพแวดล้อมการแข่งขันที่รุนแรง ขณะที่การระบาดของ COVID-19 ผลักให้สถานการณ์ของ นกสกู๊ต เลวร้ายลงอย่างรุนแรง จนไม่อาจเห็นหนทางสู่การฟื้นตัวและการเติบโตที่ยั่งยืนของสายการบินได้อีก และต้องยุติกิจการพร้อมกับชดเชยการเลิกจ้างพนักงานตามกฎหมายต่อไป ผลพวงของการแพร่ระบาด COVID-19 ซึ่งส่งผลให้มีการปิดท่าอากาศยานและระงับการเดินทางเพื่อควบคุมโรคในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มีการประเมินรายได้ธุรกิจการบินสัญชาติไทยในปี 2020 ว่ามีแนวโน้มหดตัวติดลบที่ร้อยละ -60 (YoY) มาอยู่ที่ประมาณ 1.21 แสนล้านบาท ภายใต้สมมุติฐานการฟื้นตัวในธุรกิจสายการบินอย่างค่อยเป็นค่อยไปแบบ U-Shape ซึ่งทำให้สายการบินต้องลดค่าใช้จ่าย ลดจำนวนเครื่องบิน และในบางรายอาจได้รับผลกระทบถึงขั้นปิดกิจการ ทั้งนี้ประมาณการที่น่าสนใจอยู่ที่รายได้ธุรกิจการบินสัญชาติไทยจากเส้นทางระหว่างประเทศจะหดตัวติดลบถึงร้อยละ -65 (YoY)

Read More

ปลดล็อกเฟสห้า หวังค้าชายแดน-ส่งออกฟื้น

การเรียกร้องให้ ศบค. หรือศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกาศมาตรการผ่อนปรนเฟส 5 เพื่อให้กิจการและกิจกรรมในหลายๆ ส่วนสามารถเปิดดำเนินการได้ หลังจากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อรายวันลดลง โดยผู้ติดเชื้อในประเทศเป็นศูนย์ติดต่อกันเกิน 30 วัน ด้วยความคาดหวังว่า คำสั่งดังกล่าวจะเป็นเสมือนน้ำมันหล่อลื่นเครื่องจักรทางเศรษฐกิจไทย ให้สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ หลังจากหยุดชะงักมานานหลายเดือน คำสั่งปลดล็อกเฟสก่อนหน้า แม้ว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจภายในประเทศสามารถขับเคลื่อนไปได้ ทว่า นั่นไม่ใช่ทั้งหมดของโครงสร้างเครื่องจักรของเศรษฐกิจไทย ฟันเฟืองแต่ละตัวในระบบเศรษฐกิจไทยมีบริบทแตกต่างกันไป และสำหรับการค้าชายแดน และการส่งออก เป็นเสมือนกุญแจดอกสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เส้นกราฟของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจพุ่งสูงขึ้น คำสั่งประกาศปิดด่านชายแดนทั้งของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน หรือประเทศคู่ค้า ส่งผลกระทบในด้านลบต่อผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้า ทั้งรายเล็ก รายใหญ่ นั่นเพราะไทยยังต้องพึ่งพาตลาดต่างชาติเสียเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกและไทยจะอยู่ในจุดที่เรียกได้ว่าอ่อนแรง และตัวเลขการส่งออกในระยะไม่กี่ปีให้หลัง จะไม่สวยหรูนัก แต่ก็ยังไม่เข้าขั้นติดลบ อีกทั้งการที่เศรษฐกิจไทยและอีกหลายประเทศไม่มีภูมิคุ้มกันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อเจอกับเชื้อโควิดที่มีพิษแทรกซึมที่สามารถทำลายล้างไปทั่วโลก ส่งผลให้หลายตลาด หลายอุตสาหกรรมต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก และในบางอุตสาหกรรมต้องเจอกับความถดถอย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) ประเมินมูลค่าการส่งออกในเดือนพฤษภาคมว่ามีอัตราการหดตัวอยู่ในระดับสูงถึง -22.5% หากหักทองคำ การส่งออกจะหดตัวเพิ่มเติมเป็น -27.8% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า นับเป็นอัตราการหดตัวมากสุดในรอบเกือบ 11 ปี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2009 เป็นต้นมา ทั้งนี้

Read More

เรียนออนไลน์ สะท้อนความเหลื่อมล้ำ หรือโอกาสของการศึกษาไทย?

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อชีวิตผู้คนเป็นวงกว้าง อีกทั้งยังฉายภาพความเหลื่อมล้ำในมิติต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ในสังคมให้เห็นอย่างเด่นชัด ทั้งในแง่ของคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ รวมไปถึงการศึกษาอันเป็นฐานรากที่สำคัญของสังคม แต่อีกนัยหนึ่งก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบริบทของการศึกษาของไทยด้วยเช่นกัน การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้รัฐบาลในหลายประเทศประกาศปิดสถานศึกษาเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ มีผู้เรียนได้รับผลกระทบกว่า 1.5 พันล้านคน หรือมากกว่าร้อยละ 90 ของผู้เรียนทั้งหมด สำหรับประเทศไทยคณะรัฐมนตรีมีมติเลื่อนการเปิดเทอมออกไปเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 พร้อมปรับการเรียนการสอนจากออฟไลน์มาเป็นออนไลน์ในช่วงที่นักเรียนยังไม่สามารถไปเรียนที่โรงเรียนได้ตามปกติ เพื่อให้การเรียนรู้ไม่เกิดการชะงักงัน แต่ภาพการเรียนออนไลน์ที่เกิดขึ้น กลับเป็นไปบนความไม่พร้อมของทั้งบุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียน เทคโนโลยี ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็น อีกทั้งยังสะท้อนภาพความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรให้เห็นเด่นชัด มีนักเรียนจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงการเรียนการสอนรูปแบบใหม่นี้ได้ ข้อมูลที่น่าสนใจจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ระบุว่า ประเทศไทยมีข้อจำกัดในการเรียนทางไกลค่อนข้างสูง สัดส่วนของครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์และการเข้าถึงอุปกรณ์ดิจิทัลอยู่ในระดับต่ำ ยิ่งไปกว่านั้นนักเรียนกว่า 8 หมื่นคน ยังอยู่ในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เมื่อผนวกกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัส การจัดหาอุปกรณ์สื่อสารเพื่อให้ลูกหลานเข้าถึงการเรียนออนไลน์ได้จึงดูจะเป็นไปได้ยากยิ่ง มีข้อเรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือในการจัดหาอุปกรณ์สื่อสารที่จำเป็นและอินเทอร์เน็ตที่เพียงพอสำหรับนักเรียน รวมไปถึงการเร่งปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แม้ว่าโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อการศึกษาชนิดที่ต้องเร่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแล้ว แต่อีกนัยหนึ่งยังถือเป็นการเปิดโอกาสในการปรับตัวและพัฒนาระบบการศึกษาของไทยในอนาคตอีกด้วย การเรียนออนไลน์ซึ่งเป็นมาตรการที่ถูกนำมาใช้แก้ปัญหาในครั้งนี้ ได้กลายมาเป็นรูปแบบทางการศึกษาที่หลายฝ่ายเล็งเห็นความสำคัญและพยายามพัฒนานวัตกรรมขึ้นมารองรับ โดยที่จริงแล้วการเรียนออนไลน์นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เสียทีเดียว ที่ผ่านมาประเทศที่มีการศึกษาชั้นนำอย่างสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ยุโรป ต่างมีการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรทางการศึกษา

Read More

ปลดล็อก COVID-19 ดึงดัชนีเศรษฐกิจฟื้นตัว

การประกาศผ่อนคลายมาตรการป้องกัน COVID-19 ที่ได้สร้างความเสียหายและตื่นตระหนกในวงกว้างมาก่อนหน้า กำลังช่วยผลักดันให้ดัชนีทางเศรษฐกิจที่ทรุดตัวต่ำลงอย่างหนักจากผลของการหยุดชะงักในกิจกรรมทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่การประกาศปิดเมืองในเดือนมีนาคม 2563 ก่อนที่จะนำมาสู่มาตรการผ่อนปรนในระยะต่างๆ ที่รัฐกำลังดำเนินการอยู่ เพื่อให้ผู้คนในสังคมและกลไกทางเศรษฐกิจกลับมามีชีวิตและสภาพปกติท่ามกลางความเสียหายที่รอการเยียวยา ซึ่งตั้งอยู่บนความสำเร็จในการป้องกันโรคที่ทำให้ประเทศไทยเป็นเพียงไม่กี่ประเทศบนโลกที่มีความเสี่ยงต่ำในการแพร่ระบาดของ COVID-19 นี้ ความเป็นไปของภาวะเศรษฐกิจไทย ที่สะท้อนผ่านดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาชี้ให้เห็นถึงผลกระทบจากมาตรการปิดเมืองในช่วงก่อนหน้า ที่ทำให้เกิดความกังวลของครัวเรือนในประเด็นว่าด้วยเรื่องรายได้และการมีงานทำ ซึ่งเมื่อรัฐดำเนินมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 1 และ 2 กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบบางกลุ่มเริ่มคลายความกังวล และสามารถกลับเข้าไปทำงานหรือประกอบการทางเศรษฐกิจได้อีกครั้ง แม้ว่าจะไม่ใช่ในระดับปกติเหมือนที่เคยดำเนินมาก็ตาม ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยอีก 3 เดือนข้างหน้ามีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้นสอดรับกับข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยครัวเรือนประเมินว่า มาตรการผ่อนปรนที่รัฐบาลทยอยออกมาอย่างต่อเนื่องประกอบกับจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ใหม่รายวันที่อยู่ในระดับต่ำน่าจะเป็นสัญญาณเชิงบวกต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า ภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 จึงดูเหมือนว่าจะอยู่ในสภาพที่พร้อมจะทยอยฟื้นตัวขึ้นอย่างช้าๆ แต่ยังมีความเปราะบางอยู่มาก ภายใต้สมมุติฐานที่ไม่มีการแพร่ระบาดซ้ำรอบ 2 จนนำไปสู่การบังคับใช้มาตรการปิดเมืองอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งภาครัฐจำเป็นต้องเร่งให้ความสำคัญกับมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจและมาตรการสร้างงานเพื่อช่วยประคับประคองกำลังซื้อของครัวเรือนไทยที่อ่อนแอลงจากผลกระทบของ COVID-19 หลังมาตรการเยียวยาสิ้นสุดลง สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในสังคมไทยดูจะดำเนินไปควบคู่กับการฟื้นตัวขึ้นของเศรษฐกิจโลกที่หลายฝ่ายประเมินว่าได้เคลื่อนผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และกำลังฟื้นตัวขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 ที่เหลืออยู่นี้ โดยมีมาตรการทางการคลังและการเงินคอยช่วยประคับประคองเศรษฐกิจและลดความผันผวนในตลาดเงิน ซึ่งทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินปรับตัวดีขึ้น แต่ในระยะข้างหน้า ต้องจับตามองหนี้ภาคเอกชนและหนี้ภาครัฐที่อาจปรับสูงขึ้นเร็วด้วย การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีลักษณะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีความแตกต่างในแต่ละภาคส่วน (U-shaped and Uneven recovery) ทำให้ผู้บริโภคจะยังระมัดระวังในการใช้จ่ายและมีพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป รวมถึงการลงทุนภาคเอกชนที่จะถูกกดดันจากยอดขายที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ งบดุลที่เปราะบางมากขึ้น

Read More

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ-บรรจุภัณฑ์โต ไวรัสโควิดสยบไม่ลง

การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ส่งผลในทางลบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยและอีกหลายๆ ประเทศ ภาวะชะงักงันที่ผู้ประกอบการธุรกิจจำนวนมากต้องเผชิญ เนื่องจากต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราวจากมาตรการล็อกดาวน์ที่ภาครัฐประกาศใช้ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดที่อาจจะขยายวงกว้าง แม้ว่าเชื้อไวรัสจะมีความร้ายกาจและน่ากลัวขนาดไหน แต่มักจะมีช่องโหว่ที่กลายเป็นจุดอ่อน ที่นักวิจัยและพัฒนาวัคซีนสามารถเอาชนะได้เสมอ ในวงการธุรกิจก็เช่นเดียวกัน เพราะในวิกฤตแต่ละครั้งมักจะมีธุรกิจบางประเภทที่สามารถยืนหยัดอยู่ได้แม้ว่าสถานการณ์โดยรอบจะย่ำแย่เพียงใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเพราะความแข็งแกร่งของตัวผู้ประกอบการที่มีสายป่านยาว หรือเหตุผลอื่นใดที่ทำให้นักวิเคราะห์เศรษฐกิจ ธุรกิจ จากหลายสถาบันออกมาประเมินและพินิจต่อเหตุการณ์นี้ว่า จะมีธุรกิจใดบ้างที่อยู่รอดเงื้อมมือของไวรัสนี้และกลายเป็นดาวเด่นในช่วงที่ไวรัสระบาด ธุรกิจ E-Commerce และธุรกิจบรรจุภัณฑ์ กลายเป็นธุรกิจที่ถูกประเมินว่านอกจากจะอยู่รอดในภาวะยากลำบากครั้งนี้แล้ว ยังมีโอกาสที่จะขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นอีกด้วย Physical Distancing หรือการเว้นระยะห่างทางกายภาพ คือจุดเปลี่ยนที่สำคัญของวิถีชีวิตผู้คนในยามที่โรคไวรัสระบาด และกลายเป็นโจทย์ใหม่ที่ผู้ประกอบการธุรกิจต้องแก้และหาคำตอบ อันนำไปสู่การค้าออนไลน์เต็มรูปแบบ แม้ว่าเดิมที การค้าออนไลน์ในประเทศไทยจะถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการในการเข้าถึงผู้บริโภคมานานแล้ว และผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะดำเนินธุรกิจทั้ง Offline และ Online ควบคู่กันไป หรือบางเจ้าใช้รูปแบบ Online อย่างเดียวเพื่อเป็นการลดต้นทุนสำหรับพื้นที่หน้าร้าน ทว่า สถานการณ์ปัจจุบันทำให้ผู้ประกอบการแทบจะทั้งหมดต้องหันมาลงแข่งขันกันในตลาดออนไลน์มากขึ้น ทั้งการเสนอขายสินค้า การบริการ และทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลให้มูลค่าธุรกิจของตลาด E-Commerce และธุรกิจบรรจุภัณฑ์ขยายตัวแบบก้าวกระโดด เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด ผู้ให้บริการ “Priceza” เว็บไซต์ค้นหาสินค้าและบริการเปรียบเทียบราคา เปิดเผยข้อมูลตัวเลขมูลค่าตลาด E-Commerce ไทยปี 2019 ว่า มีมูลค่า

Read More

Hill+Knowlton Strategies เปิดตัวทีม I-ACT ช่วยแบรนด์รับมือโควิด-19

บริษัท ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์ เปิดตัวทีม I-ACT ช่วยแบรนด์รับมือโควิด-19 ในภูมิภาคเอเชีย ด้วยกลยุทธ์แบบองค์รวมที่ได้รับการออกแบบเพื่อรับมือโควิด-19 ช่วยนำองค์กรผ่านพ้นสภาวการณ์การบริหารธุรกิจอันซับซ้อน ท่ามกลางสถานการณ์ที่ท้าทายในปัจจุบัน องค์กรธุรกิจทั่วโลกต่างกำลังเผชิญหน้ากับอุปสรรคในการค้นหาบทบาทของตนเอง (role) และจุดประสงค์ของแบรนด์ (brand purpose) บริษัท ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์ (Hill+Knowlton Strategies) หนึ่งในบริษัทที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ชั้นนำของโลก ได้เปิดตัวทีมที่ปรึกษา Intelligence + Advisory Communications Team หรือ I-ACT Team ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งพร้อมให้คำแนะนำเพื่อลดความเสี่ยง สร้างชื่อเสียง และเร่งการเติบโตขององค์กรธุรกิจ ทีมที่ปรึกษา I-ACT ของฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์ จะให้คำปรึกษาและบริการด้านการสื่อสารองค์กรแบบบูรณาการและครบวงจร ซึ่งจะช่วยชี้แนะทิศทางของบริษัทในสภาวการณ์ที่ต้องบริหารธุรกิจอย่างซับซ้อนหลังได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 วิกฤตโควิด-19 ได้ก่อให้เกิดความท้าทายใหม่ๆ ในแวดวงนักประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร การเผชิญหน้ากับแรงปะทะทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และภูมิรัฐศาสตร์

Read More

ชีวิตของผู้หญิงที่เปลี่ยนไป หลังการแพร่ระบาด COVID-19

Column: Women in wonderland อย่างที่ทราบกันดีว่าสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นั้นยังคงมีไปทั่วโลก บางประเทศผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง บางประเทศเริ่มควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ แต่ก็กลับมามีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีก และในขณะเดียวกันบางประเทศก็เริ่มที่จะไม่มีผู้ที่ติดเชื้อแล้ว จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกอยู่ที่ 7.4 ล้านคน และเสียชีวิตแล้ว 414,780 คน โดยประเทศที่จำนวนผู้ติดเชื้อมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ สหรัฐฯ บราซิล และรัสเซีย สหรัฐฯ มีผู้ติดเชื้อ 2.1 ล้านคน ส่วนบราซิลและรัสเซียมีผู้ติดเชื้อ 742,084 คน และ 493,657 คน ตามลำดับ เสียชีวิตสูงสุด 3 อันดับแรกคือ สหรัฐฯ 114,267 คน สหราชอาณาจักร 40,883 คน และอันดับสามคือบราซิล 38,497 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10

Read More

“LPN Wisdom” ชี้ 3 Mega Trends ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยหลังโควิด-19

บริษัท ลุมพีนี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด หรือ LPN Wisdom ระบุการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลังการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส 2019 (โควิด-19) ให้ความสำคัญใน 3 ประเด็นหลัก (3 Mega Trends) ในเรื่อง สุขภาพ (Wellness) การออกแบบที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตอย่างสมดุล (Work-Life Balance) และเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการใช้ชีวิต (Virtual Livable Connect) นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพีนี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (LPN Wisdom) บริษัทด้านการวิจัยและที่ปรึกษาในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมาทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะการอยู่อาศัยที่ให้ความสำคัญในเรื่องของสุขอนามัย (Wellness) และรูปแบบการทำงานที่ต้องการความสมดุลในการใช้ชีวิต (Work-Life Balance)

Read More