Home > aviation

อุตสาหกรรมการบินในไทยรายได้เพิ่ม แต่ขาดทุนยับ อะไรเป็นปัจจัย

สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) เคยออกมาคาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกจะขาดทุนเกือบ 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2565 โดยขาดทุนลดลง 78% จากยอดขาดทุนของปีนี้ ขณะที่สายการบินยังคงฟื้นตัวอย่างเชื่องช้าจากผลกระทบของโรคโควิด-19 ระบาด นายวิลลี วอล์ช ผู้อำนวยการ IATA กล่าวว่า “เราได้ผ่านจุดวิกฤตที่รุนแรงที่สุดมาแล้ว แม้ว่าสถานการณ์ร้ายแรงยังไม่หมดไป แต่อุตสาหกรรมสายการบินยังคงมีโอกาสที่จะฟื้นตัว” และคาดการณ์เพิ่มเติมว่า อุตสาหกรรมสายการบินจะสามารถกลับมาทำกำไรได้อีกครั้งในปี 2566 และคาดว่าจำนวนผู้โดยสารทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 3.4 พันล้านคนในปีนี้ คำทำนายของ IATA ดูจะเป็นจริงตามนั้นเมื่อสายการบินแห่งชาติของไทยอย่าง บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประกาศผลประกอบการ 6 เดือนแรกของปี 2565 ว่า ขาดทุน 6,467 ล้านบาท โดยบริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายได้ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวรวม 21,526 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 282% จากระดับ 5,635 ล้านบาทในปี 2564

Read More

จาก COVID-19 สู่วิกฤตการบินโลก

ข่าวการประกาศเลิกกิจการของสายการบินนกสกู๊ต (NokScoot) เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าจะไม่ได้อยู่เหนือความคาดหมายของทั้งผู้คนในแวดวงการบินและประชาชนทั่วไป ที่ต่างประเมินทิศทางธุรกิจการบินและการท่องเที่ยวในยุคหลัง COVID-19 ว่าจะต้องดำเนินไปอย่างยากลำบาก และทำให้อุตสาหกรรมการบิน-การท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมที่น่าจะฟื้นตัวได้ช้าในห้วงเวลานับจากนี้ก็ตาม การเดินทางท่องเที่ยวทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ดูจะเป็นไปภายใต้ข้อจำกัดและเงื่อนไขที่รัดกุมมากขึ้น ขณะที่การ lockdown หรือปิดเมืองของนานาประเทศก็ทำให้ผู้ประกอบการสายการบินต้องยกเลิกการให้บริการตลอดช่วงเวลาที่การแพร่ระบาด COVID-19 อยู่ในกระแสสูงและสร้างความตื่นตระหนกในวงกว้าง ซึ่งหมายถึงรายได้จากการประกอบการที่หดหายไป ควบคู่กับต้นทุนการดำเนินการที่ยังคงอยู่ในระดับเดิม ความเป็นไปของนกสกู๊ต สายการบินร่วมทุนราคาประหยัด ระหว่างสายการบินนกแอร์ของผู้ประกอบการชาวไทย และสายการบินสกู๊ต จากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2014 เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการประกอบการธุรกิจการบิน ท่ามกลางความท้าทายในสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงข้อจำกัดในการขยายเครือข่ายการบิน ภายใต้สภาพแวดล้อมการแข่งขันที่รุนแรง ขณะที่การระบาดของ COVID-19 ผลักให้สถานการณ์ของ นกสกู๊ต เลวร้ายลงอย่างรุนแรง จนไม่อาจเห็นหนทางสู่การฟื้นตัวและการเติบโตที่ยั่งยืนของสายการบินได้อีก และต้องยุติกิจการพร้อมกับชดเชยการเลิกจ้างพนักงานตามกฎหมายต่อไป ผลพวงของการแพร่ระบาด COVID-19 ซึ่งส่งผลให้มีการปิดท่าอากาศยานและระงับการเดินทางเพื่อควบคุมโรคในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มีการประเมินรายได้ธุรกิจการบินสัญชาติไทยในปี 2020 ว่ามีแนวโน้มหดตัวติดลบที่ร้อยละ -60 (YoY) มาอยู่ที่ประมาณ 1.21 แสนล้านบาท ภายใต้สมมุติฐานการฟื้นตัวในธุรกิจสายการบินอย่างค่อยเป็นค่อยไปแบบ U-Shape ซึ่งทำให้สายการบินต้องลดค่าใช้จ่าย ลดจำนวนเครื่องบิน และในบางรายอาจได้รับผลกระทบถึงขั้นปิดกิจการ ทั้งนี้ประมาณการที่น่าสนใจอยู่ที่รายได้ธุรกิจการบินสัญชาติไทยจากเส้นทางระหว่างประเทศจะหดตัวติดลบถึงร้อยละ -65 (YoY)

Read More

น่านฟ้าเปิดที่เมียนมาร์ สายการบินรุมยึดหัวหาด

หลังจากที่เมียนมาร์เดินเครื่องปฏิรูปและเปิดประเทศ บรรดานักลงทุนและนักท่องเที่ยวจำนวนมากต่างพุ่งความสนใจไปยังอัญมณีแห่งอาเซียนแห่งนี้ รวมถึงบรรดาสายการบินต่างๆ ที่เตรียมขยับปีกเร่งเพิ่มจำนวนเที่ยวบินและเปิดเส้นทางการบินใหม่ๆ เพื่อยึดหัวหาดตามเมืองหลักๆ ของเมียนมาร์ เตรียมพร้อมรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจที่กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวของธุรกิจการบินที่น่าติดตามเป็นเวลาหลายสิบปีที่เมียนมาร์ปิดประเทศด้วยเหตุผลความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศ ตัดขาดความสัมพันธ์กับโลกภายนอกมาเป็นเวลานาน จนในที่สุดรัฐบาลทหารของเมียนมาร์ยอมถอนอำนาจ เปิดให้พลเรือนเข้ามาบริหารประเทศ เกิดการปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมครั้งใหญ่ของเมียนมาร์แน่นอนว่าประเทศที่ปิดตัวเองมานาน แต่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติและรุ่มรวยทางวัฒนธรรม เมื่อถึงคราวเปิดประเทศต้อนรับการมาเยือนจากต่างชาติ จึงเปรียบเสมือนเพชรเม็ดงามและเป็นขุมทรัพย์ที่นักลงทุนทั่วโลกต่างหมายตา ซึ่งรวมถึงบรรดาสายการบินต่างๆ ของไทย ที่เร่งเปิดเส้นทางการบินใหม่ๆ และเพิ่มจำนวนเที่ยวบินเพื่อเตรียมพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจที่จะเพิ่มมากขึ้นปัจจุบันสายการบินของไทย 3 แห่งคือ การบินไทย บางกอกแอร์เวย์สและไทยแอร์เอเชีย ได้ให้บริการบินเข้าเมียนมาร์เป็นประจำอยู่แล้ว โดยเที่ยวบินส่วนใหญ่จะมีจุดหมายปลายทางที่เมืองย่างกุ้ง อดีตเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลางธุรกิจของเมียนมาร์ แต่นับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2555 ที่ผ่านมา บรรดาสายการบินต่างๆ ได้ขยับขยายเพิ่มจำนวนเที่ยวบินและจุดหมายปลายทางไปยังเมืองอื่นๆ ของเมียนมาร์เพิ่มขึ้น เพื่อหวังช่วงชิงจำนวนผู้โดยสารที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเดือนตุลาคม 2555 สายการบินไทยแอร์เอเชียโลว์คอสต์ยอดนิยม ประเดิมเปิดเที่ยวบิน บินตรง กรุงเทพฯ–มัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของเมียนมาร์ และเพิ่มความถี่ของเที่ยวบิน กรุงเทพฯ–ย่างกุ้ง ต่อวันให้มากขึ้น โดยเจาะกลุ่มคนวัยเกษียณที่ต้องการไปทำบุญนายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยแอร์เอเชีย เปิดเผยว่า ได้เปิดเส้นทางบินใหม่ กรุงเทพฯ-มัณฑะเลย์ โดยทำการบินเป็นประจำทุกวัน รวมทั้งเพิ่มเที่ยวบินกรุงเทพฯ-ย่างกุ้ง

Read More

บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา จากทฤษฎีการบินสู่ธุรกิจแสนล้าน

 บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา เสี่ยใหญ่แห่งเครือสหพัฒน์ ชื่นชอบการขับเครื่องบินเป็นชีวิตจิตใจ ขับมานานมากกว่า 20 ปี จนทุกวันนี้ แม้อายุทะลุเพดานตัวเลข 75 เสี่ยยังขับเครื่องบินไปดูงาน พานักธุรกิจเยี่ยมชมสวนอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นสวนอุตสาหกรรมที่ศรีราชา กบินทร์บุรี ลำพูน แม่สอด รวมถึงการเดินทางไปเยี่ยมคู่ค้าในช่วงวันหยุดยาว สะสมชั่วโมงบินนับหลายพันชั่วโมง ทั้งความชอบ ความหลงใหล และประสบการณ์การขี่นกเหล็กบนเวิ้งฟ้า บุณยสิทธิ์เปรียบเทียบ ทุกนาทีไม่ต่างอะไรจากการทำธุรกิจ เพราะทุกช่วงจังหวะต้องรอบคอบ อาศัยมุมมองหลายมิติ ไม่ใช่แค่ 2 มิติ และที่สำคัญ  “พลาดไม่ได้” “การขับเครื่องบินต้องระมัดระวังที่สุด เมื่อเครื่องบินเมื่อขึ้นสู่ท้องฟ้าจะหยุดเหมือนรถยนต์ไม่ได้ ต้องไปให้ถึงที่หมาย การค้าขายทำธุรกิจก็เหมือนกัน ต้องศึกษาทุกอย่าง เพราะถ้าทำแล้วไม่ดีก็คือพัง ถ้าเราขับเครื่องบิน ต้องเตรียมพร้อม ต้องไปให้ทัน ไปถึงที่หมาย การทำการค้าขายต้องทำให้สำเร็จ ถึงปลายทางให้ได้ ไม่ใช่ครึ่งๆกลางๆ ทำไม่ได้ ก็คือ เจ๊ง นี่คือทฤษฎี” บุณยสิทธิ์กล่าวกับ ผู้จัดการ360 ํ และนั่นต้องถือว่า ทฤษฎีการบินแท้ที่จริงเป็นเคล็ดลับสำคัญข้อหนึ่งนอกเหนือจากคำสอนของพ่อที่ทำให้ทุกย่างก้าวของการสร้างอาณาจักรแสนล้านของเครือสหพัฒน์เดินไปอย่างมั่นคง ขยายบริษัทในเครือมากกว่า

Read More

สงครามน่านฟ้าอาเซียน โลว์คอสต์ บูม

 กว่า 10 ปีก่อน การเดินทางโดยเครื่องบินดูจะเป็นความสะดวกที่มีไว้ให้เฉพาะคนร่ำรวย และเป็นความใฝ่ฝันของคนรายได้ต่ำทั้งหลาย กระทั่งเกิดสายการบินต้นทุนต่ำ การนั่งเครื่องบินจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าถึงได้ โดยสายการบินที่ถือว่ามีบทบาทในการพลิกน่านฟ้าของไทยและอาเซียน คือ แอร์เอเชียสำหรับเมืองไทย “ไทยแอร์เอเชีย” เปิดตัวเมื่อต้นปี 2546 ด้วยสโลแกน “ใคร ใคร ก็บินได้” โดยเที่ยวบินราคาต่ำรอบแรกเปิดตัวเมื่อกุมภาพันธ์ 2547 อันเป็นช่วงเดียวกับที่ “นกแอร์” เปิดตัวในฐานะสายการบินโลว์คอสต์รายที่ 2 ของเมืองไทย โดยมีการบินไทยเป็นแบ็กอัพมาถึงวันนี้ ธุรกิจการบินในประเทศไทยเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะช่วง 1-2 ปีนี้ที่เศรษฐกิจของอาเซียนขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ธุรกิจการบินขยายตัวตามไปด้วย แต่เชื่อกันว่า ทันทีที่เปิดเสรีน่านฟ้าอาเซียนในปี 2558 โอกาสการเติบโตของธุรกิจการบินจะมากกว่านี้อีกมหาศาลเพื่อรองรับตลาดอาเซียนที่ใหญ่กว่าไทย 10 เท่า ช่วงที่ผ่านมาหลายสายการบินในไทยจึงมีความเคลื่อนไหวที่ร้อนแรง โดยเฉพาะ “เบอร์หนึ่ง” ในตลาดโลว์คอสต์ โดยปีที่ผ่านมา ไทยแอร์เอเชียได้เข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อระดมทุนมาขยายฝูงบิน เพิ่มเที่ยวบิน และเปิดเส้นทางบินใหม่ เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเส้นทางสู่อาเซียนและจีนตอนใต้ปัจจุบัน ไทยแอร์เอเชียมีเส้นทางสู่ประเทศจีนตอนใต้ถึง 7 เมือง

Read More