Home > อุตสาหกรรมยานยนต์

อนาคตยานยนต์ไทย บนรอยทางของยุทธศาสตร์ EV

อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยกำลังก้าวเข้าสู่ความท้าทายแห่งอนาคตครั้งใหม่ หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติได้กำหนดเป้าหมายใหม่ออกมาเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 เพื่อเร่งผลักดันให้ไทยขึ้นเป็นฐานการผลิตรถยนต์ ZEV ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก โดยวางเป้าหมายที่ท้าทายให้ไทยผลิตรถยนต์ ZEV ได้ 100% ของกำลังการผลิตทั้งหมดในปี 2578 นั้น กรณีดังกล่าวคาดว่าจะมีส่วนช่วยอย่างมากในการสร้างแนวทางในการดำเนินงานที่ชัดเจนให้กับภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และอาจเกิดผลดีต่อการดึงดูดการลงทุนผลิตรถยนต์ ZEV เข้าประเทศในอนาคตไม่น้อย สร้างโอกาสให้ไทยขึ้นเป็นฐานการผลิตรถยนต์ ZEV หลักแห่งหนึ่งของโลก แต่การจะไปถึงเป้าหมายดังกล่าวเพื่อรักษาความเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในภูมิภาคของไทย ยังอาจต้องการองค์ประกอบอื่นๆ ที่สำคัญเพื่อผลักดันไปสู่จุดนั้นด้วย ซึ่งองค์ประกอบที่ภาครัฐและเอกชนในไทยอาจจะสามารถเข้าไปจัดการได้มีอยู่ 2 ประการหลัก คือการสร้างโอกาสให้ไทยมีฐานตลาดรถยนต์ ZEV ทั้งในและต่างประเทศที่ใหญ่มากพอ และการสร้างโอกาสให้เกิดห่วงโซ่อุปทานชิ้นส่วนรถยนต์ ZEV ที่ครบวงจรมากที่สุดในประเทศ ซึ่งเคยเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ที่ผ่านมาไทยสามารถก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ใช้น้ำมันที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกมาแล้ว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV (Electric Vehicle: EV) ขยายตัวขึ้นอย่างก้าวกระโดด สวนทางกับยอดขายรถยนต์ที่ใช้น้ำมันหรือขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือ ICE (Internal combustion engine) ที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง

Read More

ยานยนต์ไทยทรุดหนัก หวังโตใหม่ครึ่งปีหลัง

ผลพวงจากวิกฤตโรคระบาด COVID-19 ส่งแรงกระทบกระเทือนไปในวงกว้างมากกว่าที่จะจำกัดอยู่เฉพาะประเด็นเรื่องสุขภาพพลานามัยของประชาชนทั่วไปเท่านั้น หากแต่ยังมีผลต่อภาคเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง ซึ่งดูเหมือนว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยก็เป็นอีกหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วงจากพิษภัยของโรคระบาดนี้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็คือผลกระทบที่มีต่อยอดการจำหน่ายและการผลิตรถยนต์ในประเทศและการส่งออกที่อยู่ในภาวะชะลอตัวลงนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาด และยังกระทบต่อเนื่องไปยังผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ผู้ผลิตอุปกรณ์ตกแต่งภายในรถยนต์ รวมถึงตัวแทนจำหน่าย ในแต่ละลำดับ ซึ่งผู้ประกอบการรถยนต์ในประเทศแต่ละราย ต่างต้องปรับตัวด้วยการลดพนักงานให้สอดรับกับการผลิตที่ลดลง แต่จะปรับลดมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทยและทั่วโลกว่าจะยืดเยื้อไปในทิศทางไหน โดยกลไกที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ดังกล่าวนี้ มีแรงงานที่ได้รับผลกระทบรวมไม่ต่ำกว่า 750,000 คน ภาพสะท้อนความทรุดต่ำลงของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในช่วงที่ผ่านมา อาจพิจารณาได้จากยอดการจำหน่ายและผลิตในเดือนเมษายน 2563 ซึ่งมียอดการผลิตรวมเพียง 24,711 คันลดลงร้อยละ 83.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ซึ่งนับเป็นตัวเลขต่ำที่สุดในรอบ 30 ปี โดยตัวเลขการผลิตดังกล่าวนี้เป็นการผลิตเพื่อส่งออกจำนวน 13,713 คัน ลดลงร้อยละ 81.76 และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 10,988 คัน ลดลงร้อยละ 85.35 และลดลงจากเดือนมีนาคม 2563 คิดเป็นร้อยละ 83.17 เนื่องจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ฉุดกำลังซื้อและการส่งออกให้ร่วงหนัก และเป็นเหตุให้โรงงานผลิตรถยนต์จำนวนไม่น้อยปิดทำการเป็นการชั่วคราว ตัวเลขการผลิตยานยนต์ในเดือนเมษายนที่ระดับ

Read More

จากมอเตอร์ เอ็กซ์โป ถึงอนาคตยานยนต์ไทย

ความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการยานยนต์และตลาดยานยนต์ในประเทศไทย ดูจะมีความคึกคักและเป็นที่จับตามองในฐานะที่อาจเป็นดัชนีหรือสัญญาณบ่งชี้ทิศทางในอนาคตของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของกำลังซื้อ ที่มีส่วนช่วยกระตุ้นกำลังการผลิตและการบริโภคภายในประเทศ หลังจากที่ตลาดส่งออกยานยนต์ได้รับผลกระทบจากพิษของสงครามทางการค้าที่ฉุดให้เศรษฐกิจโลกโดยรวมชะลอตัวต่อเนื่องตลอดทั้งปี แม้ว่าปัจจัยลบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะส่งผลกระทบแผ่กว้างไปในทุกอุตสาหกรรม หากแต่สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ผลกระทบที่เกิดขึ้นดูจะหนักหน่วงและรุนแรงมากเป็นพิเศษ เพราะความเป็นไปของผู้ผลิตยานยนต์ในประเทศไทย ยังพึ่งพิงตลาดส่งออกมากถึงร้อยละ 50 ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ต้องพลิกกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อรับมือกับสถานการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง หลังจากที่การส่งออกยานยนต์สำเร็จรูปและชิ้นส่วนอยู่ในภาวะชะงักงัน ผลของการชะลอตัวในตลาดส่งออกผนวกกับภาวะถดถอยซบเซาทางเศรษฐกิจของไทย รวมถึงความเข้มงวดที่เพิ่มมากขึ้นในการอนุมัติสินเชื่อรถยนต์ของสถาบันการเงิน กลายเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้สมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ปรับลดเป้าการผลิตรถยนต์ในปี 2562 ลงจากเป้าหมายเดิมที่ 2.15 ล้านคันเหลือเพียง 2 ล้านคัน โดยเป็นไปเพื่อตลาดส่งออกและตลาดในประเทศอย่างละ 1 ล้านคัน ซึ่งการปรับลดเป้าการผลิตดังกล่าวส่งผลให้มูลค่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยหดหายไปไม่ต่ำกว่า 1.5 แสนล้านบาทเลยทีเดียว การปรับลดกำลังการผลิตของผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ดังกล่าว ส่งผลให้เกิดความกังวลใจอย่างกว้างขวาง เมื่อโรงงานประกอบรถยนต์หลายแห่งมีการปรับลดเวลาการทำงานของพนักงานในโรงงานหรือแม้กระทั่งหยุดทำงานชั่วคราวตามประกาศบริษัท ซึ่งแม้การหยุดดังกล่าวจะไม่มีผลใดๆ กับการคำนวณเบี้ยขยัน หรือการประเมินผลงาน หากแต่การที่บริษัทจ่ายเงินค่าจ้างให้กับพนักงานทุกระดับในอัตราร้อยละ 75 ของค่าจ้างปกติ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานจากผลของการปรับตัวให้สอดรับกับปริมาณคำสั่งซื้อที่ลดลง ย่อมส่งผลต่อรายได้ของแรงงานในโรงงานเหล่านี้อย่างไม่อาจเลี่ยง ยังไม่นับรวมกรณีที่ผู้ประกอบการบางแห่งส่งหนังสือเลิกจ้างพนักงาน โดยบริษัทจะจ่ายค่าแรง และค่าสินไหมทั้งหมดที่อยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท ตามที่ระบุไว้ในกฎหมายอีกด้วย ปัจจัยทางเศรษฐกิจโดยรวมที่ดำเนินไปในทิศทางขาลงอย่างต่อเนื่อง อาจได้รับการประเมินว่าอยู่ในสถานการณ์ประคองตัวที่บางฝ่ายยังเชื่อว่าอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ หากแต่ในห้วงเวลาปัจจุบันดัชนีและตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจในทุกมิติได้บ่งชี้ถึงทิศทางขาลงและถดถอยรอบด้าน ทั้งในมิติของความเชื่อมั่น การลงทุน การส่งออก ค่าเงินบาท สงครามการค้า ซึ่งปัจจัยลบเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาและเตรียมพร้อมมาตรการเพื่อรับมือสถานการณ์ไม่พึงประสงค์อย่างใกล้ชิด ก่อนหน้านี้ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเคยกำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์ยานยนต์ไทยเพื่อการปรับตัวเข้าสู่ภาวะแข่งขันของ

Read More

อุตสาหกรรมยานยนต์กระอัก พิษสงครามการค้า-เศรษฐกิจโลกทรุด

แม้พิษจากสงครามการค้าระหว่างสองประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างและในหลายระนาบต่อประเทศคู่ค้า โดยที่ทั้งสองประเทศจะให้เหตุผลในการฟาดฟันกันด้วยกลยุทธ์ทางภาษีว่า ต้องการทวงถามความยุติธรรมทางการค้าระหว่างกันก็ตาม กระนั้นไทยในฐานะประเทศคู่ค้าและไม่ได้มีบทบาทสำคัญในศึกการค้าครั้งนี้กลับได้รับผลกระทบไม่น้อย เมื่อสินค้าหลายชนิดถูกชะลอการสั่งซื้อ นั่นทำให้ตัวเลขการส่งออกของไทยลดลงอย่างน่าใจหาย ผลกระทบเป็นระลอกคลื่นนี้สะท้อนกลับมาภายในประเทศอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แน่นอนว่า ไม่ใช่เพียงปัจจัยภายนอกจากสงครามการค้าเท่านั้นที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม เมื่อปัจจัยภายในประเทศอย่างกำลังซื้อของคนไทยที่ลดลง ความขัดแย้งทางการเมืองที่ส่งผลต่อความไม่มั่นใจของนักลงทุน หนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้น และความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการอนุมัติสินเชื่อ เป็นมูลเหตุที่ดูจะซ้ำเติมให้สถานการณ์แย่ลง แม้ว่าภาครัฐจะพยายามหาแนวทางการแก้ปัญหาด้วยการเติมเงินเข้ามาในระบบ โดยมุ่งหวังให้ฟันเฟืองทางเศรษฐกิจทุกตัวสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้บ้าง ทว่า ผลที่ได้รับกลับเป็นเพียงการสปาร์กให้เครื่องยนต์ติดและทำงานได้เพียงระยะสั้นๆ เท่านั้น และสิ่งที่น่ากังวลใจในเวลานี้ น่าจะเป็นภาคการผลิตที่เริ่มแสดงอาการของปัญหาชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ยอดการผลิตและยอดการส่งออกลดลง โดยสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ยังน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะยอดการผลิตและการส่งออกรถยนต์ของไทยในปีนี้มีโอกาสที่จะหลุดจากเป้าหมายเดิม หลังมีปัจจัยลบรุมเร้าทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะปัญหาจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน รวมไปถึงการขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตจากยุโรป ที่ทำให้ยอดขายรถยนต์ทั่วโลกรวมถึงไทยปรับตัวลดลง ทว่าข้อมูลที่น่าสนใจคือรายงานยอดขายรถยนต์ของโลกในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ติดลบ 5.7 เปอร์เซ็นต์ และมียอดการผลิตติดลบ 5.8 เปอร์เซ็นต์ และสำหรับประเทศไทยตัวเลขการส่งออกรถยนต์ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ติดลบ 20 เปอร์เซ็นต์ โดยยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปเดือนสิงหาคม 2562 อยู่ที่ 81,549 คัน ลดลง 20.45

Read More

รถยนต์พลังงานไฟฟ้า จุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมยานยนต์

ความเป็นไปของงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 39 ซึ่งปิดฉากลงไปแล้ว อาจเป็นดัชนีชี้วัดประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยในห้วงเวลาปัจจุบันได้พอสมควร หากแต่ในภาพที่กว้างออกไป ภายใต้แนวคิด “ปฏิวัติทุกการเคลื่อนไหว” ดูเหมือนว่าอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังเดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนผ่านที่น่าสนใจไม่น้อยเลย เพราะนอกจากค่ายรถยนต์แต่ละรายจะนำเสนอยนตรกรรมรุ่นใหม่ๆ ที่ประกอบส่วนด้วยนวัตกรรมและการออกแบบที่ล้ำหน้าไปในแต่ละปีแล้ว ประเด็นที่หลายฝ่ายจับตามองก็คือการมาถึงของรถยนต์พลังงานกึ่งไฟฟ้า และพลังงานไฟฟ้า ที่อาจเป็นจุดเปลี่ยนผ่านทั้งในมิติของการเป็นผู้นำตลาด และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตในระบบอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคตอีกด้วย ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ความพยายามว่าด้วยการส่งเสริมการผลิตและใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ได้รับการกล่าวถึงอยู่เป็นระยะ หากแต่ดูเหมือนว่ารูปธรรมที่ชัดเจนทั้งในมิติของนโยบายหรือมาตรการเพื่อสร้างแรงจูงใจทั้งต่อผู้บริโภคและผู้ผลิตกลับยังโดดเด่นให้จับต้องได้มากนัก กระทั่งพัฒนาการล่าสุดที่เกิดขึ้นเริ่มปรากฏภาพที่แจ่มชัดขึ้น เมื่อผู้ประกอบการหลายรายต่างทยอยเปิดตัวเทคโนโลยีและรุกตลาดรถยนต์ไฟฟ้าและกึ่งไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องในห้วงเวลาปัจจุบัน การปรับตัวของผู้ประกอบการยานยนต์เข้าสู่รถยนต์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ในด้านหนึ่งสอดรับกับนโยบายของรัฐไทยที่พยายามผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งดำเนินควบคู่ไปกับแผนพัฒนาในโครงการพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ด้วยหวังว่านโยบายดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้ไหลบ่าเข้ามาช่วยดูดซับภาวะเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง แรงส่งจากนโยบายดังกล่าวดูจะได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการพอสมควร เมื่อไมเคิล เกรเว่ ประธานบริหาร บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า นโยบายว่าด้วยรถยนต์ไฟฟ้าของรัฐบาลไทย ทั้งในส่วนของการสนับสนุนการผลิตและการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้บริโภค จัดได้ว่าดีที่สุดในภูมิภาคอาเซียนในห้วงเวลาปัจจุบัน และทำให้เมอร์เซเดส-เบนซ์ตัดสินใจเดินหน้าผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งตรงกับแนวทางของเมอร์เซเดส-เบนซ์ ทั่วโลกที่วางแผนในการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยียานยนต์ยุคใหม่ ก่อนหน้านี้ เมอร์เซเดส-เบนซ์ ได้ดำเนินการรุกตลาดรถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด หรือ PHEV ในหลากหลายรุ่น และได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นที่พึงพอใจ ซึ่งส่งผลให้เมอร์เซเดส-เบนซ์ กำลังดำเนินการปรับปรุงแผนการผลิตของโรงงานใหม่ทั้งหมด เพื่อให้สอดรับกับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ชนิดปลั๊กอินไฮบริด (PHEV)

Read More

ปิดท้ายศักราช ตลาดยานยนต์กับจุดเปลี่ยนในอนาคต

บรรยากาศช่วงท้ายของปีที่เต็มไปด้วยงานเทศกาลแห่งความสุขสดชื่น อาจจะเป็นตัวชี้วัดสำคัญถึงสถานการณ์โดยรวมของตลาดยานยนต์ ไตรมาสสุดท้ายเสมือนช่วงเวลาที่มากไปด้วยความคาดหวัง ทั้งในเรื่องของยอดจอง ยอดจำหน่าย เพราะตัวเลขดังกล่าวจะกลายเป็นเครื่องชี้วัดสภาพเศรษฐกิจไทยและความมั่นใจของผู้บริโภค โดยก่อนหน้านี้ที่ “นิด้าโพล” ศูนย์สำรวจความคิดเห็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้ออกมาเปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งประชาชนร้อยละ 1.76 ระบุว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยดีขึ้นมาก ขณะที่ร้อยละ 24.96 ระบุว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยค่อนข้างดีขึ้น ร้อยละ 19.36 ระบุว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยไม่ค่อยดีขึ้น ร้อยละ 28.49 เห็นว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยไม่ดีขึ้นเลย ร้อยละ 19.68 มองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยแย่กว่าปีที่ผ่านมา ร้อยละ 4.32 มีความเห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยเหมือนเดิมไม่แตกต่างจากปีที่แล้ว และร้อยละ 1.52 ไม่ระบุ ตัวเลขที่น่าสนใจคือ ประชาชนที่เห็นว่าเศรษฐกิจไทยไม่ดีขึ้นเลยมีมากถึง 28.40 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขดังกล่าวน่าจะส่งผลให้ประชาชนจำนวนหนึ่งไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย ด้วยเหตุนี้อาจจะทำให้ความคึกคักในช่วงสุดท้ายปลายปีของงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 34 อาจจะเงียบเหงากว่าที่ควรจะเป็น ด้านขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานการจัดงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 34 ให้ความเห็นว่า “จากแนวโน้มเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวน่าจะส่งผลดีต่อภาพรวมของยอดขายรถในช่วงไตรมาส

Read More