Home > การศึกษา

เป็นเด็กการแสดง “ศิลปะและธุรกิจการแสดง” ม.หอการค้าไทย จบแล้วรับงานได้ ขายงานปัง วางบิลเป็น

ปัจจุบันเด็กเจน Y เจน Z ส่วนใหญ่ต่างมีความใฝ่ฝันอยากจะประสบความสำเร็จในชีวิตบนเส้นทางของการก้าวไปเป็นศิลปินนักแสดงหรือทำงานในวงการธุรกิจการแสดง ไม่ว่าจะเป็นคนทำงานเบื้องหน้าหรือเบื้องหลังเวที แน่นอนว่าการเลือกเรียนสาขาวิชาศิลปะการแสดง จะช่วยเพิ่มพูนทักษะความรู้และความสามารถที่โดดเด่นของตนเองได้ แต่อาจจะไม่เพียงพอต่อความเปลี่ยนไปของสังคมยุคสื่อการตลาดดิจิทัล (Digital) ในปัจจุบันที่การแสดงคือศิลปะและเป็นธุรกิจการแสดงที่ไม่อาจแยกจากกันได้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ เกิดอรุณสุขศรี รองอธิการบดีฝ่ายสื่อสารการตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC) กล่าวว่า “สาขาศิลปะและธุรกิจการแสดง (Performing Arts and Show Business) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ของเรา โดดเด่นและแตกต่างจากการเรียนสาขาศิลปะการแสดงของสถาบันอื่นๆ ตรงที่ ‘เด็กการแสดง ม.หอการค้าไทย’ จะได้เรียนศิลปะการแสดงในความเป็น Art ที่ทรงคุณค่าและยังเป็นการเรียนธุรกิจการแสดงในแบบที่สร้างมูลค่าได้ด้วย มีทั้งองค์ความรู้ทางด้านศิลปะการแสดง (Performing Arts) ควบคู่ไปกับความรู้ในการทำธุรกิจ ( Show Business)ซึ่งจะเป็นบันไดก้าวไปสู่ความสุขและความสำเร็จอย่างยั่งยืน เราได้ปรับหลักสูตรของสาขาวิชาศิลปะและธุรกิจการแสดง โดยผสานศิลปะแห่งการแสดงเข้ากับเทคโนโลยีของโลกยุคดิจิทัล มีกิจกรรมเด่นทั้งทางวิชาการ กิจกรรมเพื่อสังคม กิจกรรมทางวัฒนธรรม กิจกรรมเพื่อเยาวชน เพราะต้องการสนับสนุนขับเคลื่อนการท่องเที่ยวและบริการให้มั่นคงและยั่งยืนโดยผ่านการเรียนศิลปะและธุรกิจการแสดง สามารถต่อยอดทักษะการแสดงเข้ากับทุกแพลตฟอร์ม ตั้งแต่ละครเวที ละครทีวี

Read More

“สาธร อุพันวัน” 16 ปี บนเส้นทางการศึกษา กับแนวคิด “EdTech & Lifelong Learning”

“เราเริ่มทำออนดีมานด์ในปี 2548 ด้วยความตั้งใจหลักคือต้องการพัฒนาการศึกษา สร้างโอกาสให้กับเด็กไทย และช่วยพัฒนาสังคมโดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ ซึ่งตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ออนดีมานด์ไม่ใช่แค่โรงเรียนกวดวิชา แต่มันคือช่องทางที่ทำให้เราในฐานะเอกชนสามารถเข้ามาช่วยพัฒนาการศึกษาได้” บทสนทนาเริ่มต้นระหว่าง “ผู้จัดการ 360” กับ “สาธร อุพันวัน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เลิร์น คอร์ปอเรชั่น จำกัด และผู้ก่อตั้งออนดีมานด์ สถาบันกวดวิชาอันดับหนึ่งของประเทศ กับบทบาทของภาคเอกชนในการพัฒนาการศึกษาของไทยที่ดำเนินมากว่า 16 ปี จากบัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาธรเริ่มต้นการทำงานในภาคการเกษตรของเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ราวๆ 6-7 ปี ก่อนที่จะเบนเข็มสู่เส้นทางธุรกิจด้านการศึกษา จากคำชวนของ โหน่ง-สุธี อัสววิมล ผู้ที่มีบทบาทสำคัญและเป็นอีกหนึ่งผู้ร่วมก่อตั้งออนดีมานด์ สาธรเล่าว่า “เรามีโอกาสเข้าไปทำโปรเจกต์โรงเรียนในโรงงาน ไปช่วยสอนหนังสือพี่ๆ ป้าๆ ที่เป็นพนักงานในโรงงานดอกไม้ประดิษฐ์ที่โหน่งเขาทำอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ ปรากฏว่าผ่านไป 6 เดือน ป้าๆ สามารถอ่านออกเขียนได้ เหมือนเขาได้ชีวิตใหม่ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เรามาทำงานด้านการศึกษาในรูปแบบการส่งเสริมการศึกษาในภาคเอกชน เพราะเราเชื่อว่าการศึกษามันช่วยพัฒนาสังคมได้” นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ทั้งสองคนร่วมกันก่อตั้งสถาบันกวดวิชาออนดีมานด์ขึ้นในปี 2548 เพื่อเป็นช่องทางในการพัฒนาด้านการศึกษาของเด็กไทย โดยเป็นโรงเรียนกวดวิชาที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนแบบหนึ่งต่อหนึ่งเป็นรายแรกๆ ในเมืองไทย ซึ่งแตกต่างจากโรงเรียนกวดวิชาส่วนใหญ่ในยุคนั้น “ในสมัยนั้นอุปกรณ์ต่างๆ แพงมาก

Read More

Limited Education แก้ปัญหาผ่านแบรนด์ เปลี่ยนการศึกษาไทยให้เป็นของ (ไม่) ลิมิเต็ด

เสื้อยืดสีขาวที่มีตัวอักษรโย้เย้สะกดชื่อแบบผิดๆ ถูกๆ อยู่บนตัวเสื้อ หรือ ป้าย “ขนมปังเนยโสด” ที่อยู่บนกล่องขนมปังเนยสดของร้านขนมหวานชื่อดังอย่าง After You คงเคยผ่านตาของใครหลายคน แม้มุมหนึ่งอาจจะดูน่ารัก ดึงดูดความสนใจ ประหนึ่งการตลาดรูปแบบใหม่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ภายใต้ตัวอักษรเหล่านั้นกำลังสะท้อนความจริงของปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ฝังลึกอยู่ในสังคมไทย “ความเหลื่อมล้ำ” เป็นคำที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยครั้ง แต่โดยส่วนมากมักนึกถึงความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจหรือรายได้เป็นหลัก เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้เป็นปัญหาที่เห็นภาพเด่นชัดในสังคมไทย ทว่าช่องว่างของรายได้และทรัพย์สินที่เกิดขึ้นไม่เพียงส่งผลทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำด้านต่างๆ ในสังคม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา” ที่โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพถูกจำกัดด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัญหาเรื้อรังที่ฝังลึกอยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ตัวอักษรโย้เย้และคำสะกดผิดที่อยู่บนเสื้อยืดสีขาวและกล่องขนมข้างต้น คือหนึ่งในความพยายามที่จะลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ผ่านโครงการ “Limited Education” ที่เป็นดั่งพื้นที่รวบรวมสินค้า Limited Edition จากแบรนด์ดังต่างๆ ที่เห็นความสำคัญและพร้อมที่จะเข้ามาร่วมกันเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย โดยเชื่อว่าความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทยจะลดลงได้ เมื่อเกิดพื้นที่แห่งความร่วมมือจากทุกคน ที่ร่วมกันสร้างสรรค์ อุดหนุน และส่งต่อประเด็นปัญหา ผ่านสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบขึ้นมาเป็นพิเศษโดยใช้คำที่สะกดผิดจากลายมือจริงของเด็ก ที่ดูผ่านๆ หลายคนคงคิดว่าเป็นลายมือของเด็กประถม แต่แท้ที่จริงแล้วทุกตัวอักษรและทุกข้อความที่ปรากฏอยู่บนผลิตภัณฑ์เหล่านั้น เป็นฝีมือของเด็กระดับมัธยมต้น ที่กำลังเผชิญกับปัญหาทางการศึกษา ขาดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ทำให้อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ตามเกณฑ์ที่ควรจะเป็น “จากสถิติปี 2563 เราพบว่า

Read More

ก้าวใหม่การศึกษาไทย มหาวิทยาลัยปรับใช้โซลูชันอัจฉริยะ รับ New Normal

ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบัน ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยต่างจำเป็นต้องรีบปรับกระบวนการประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตอบรับกับเทรนด์ยุค “นิวนอร์มัล” ที่เน้นให้บุคลากรสามารถประสานงานกันได้ผ่านเทคโนโลยีติดต่อสื่อสารทางไกล ลดความจำเป็นของการพบปะโดยตรง ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการศึกษาไทยก็เป็นหนึ่งในภาคส่วนที่เปลี่ยนมาใช้การเรียนการสอนแบบออนไลน์ในปัจจุบันเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนหนังสือผ่านกล้องอาจมีประสิทธิภาพไม่เต็มที่สำหรับการสอนในวิชาชีพเชิงปฏิบัติ เมื่อเทียบเท่าการเรียนการสอนแบบปกติ จึงเป็นสาเหตุให้สถานศึกษาบางแห่งเริ่มหันมาประยุกต์ใช้โซลูชันอัจฉริยะประกอบกับหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อเสริมประสิทธิภาพการเรียนทางไกลให้สมบูรณ์แบบ ดังเช่นที่ทางมหาวิทยาลัยเกริกได้ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด นำโซลูชันกระดานอัจฉริยะ Huawei IdeaHub มาเสริมศักยภาพให้แก่หลักสูตรการเรียนทางไกล เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงมายาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ มหาวิทยาลัยเกริก ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2495 โดย ดร. เกริก มังคละพฤกษ์ และถือว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของประเทศไทย ด้วยเป้าหมายที่จะสนับสนุนการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริงเพื่อเตรียมให้นักศึกษามีความพร้อมเมื่อเข้าสู่โลกของการทำงาน คณะและหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเกริกจึงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นคณะบริหารธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง รวมไปถึงวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมสากลจีน ด้วยเป้าหมายที่จะเสริมทักษะเพื่อให้รับมือกับความต้องการของตลาดแรงงานสมัยใหม่ได้ มหาวิทยาลัยเกริกได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ในการสร้างเครือข่ายแบ่งปันองค์ความรู้ที่แข็งแกร่ง เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งนักศึกษาและภาคสังคม ทางมหาวิทยาลัยมีพันธกิจระยะยาวในการที่จะนำหน้าความต้องการของตลาดอยู่เสมอ ด้วยการนำเสนอหลักสูตรที่ออกแบบมาอย่างดีและสามารถนำไปใช้ในโลกที่กำลังก้าวไปข้างหน้าได้จริง ลดช่องว่างทางการศึกษาด้วยประสบการณ์การเรียนรู้ทางไกลแบบอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยเกริกตั้งเป้าที่จะออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ที่ยังคงรักษามาตรฐานคุณภาพเอาไว้ ผ่านโครงการ Smart Campus โดยมีการนำเสนอหลักสูตรออนไลน์ที่หลากหลายทั้งสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโท ผ่านแพลตฟอร์ม

Read More

8 ภาคี โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ประชุมเตรียมจัดงาน ครบรอบ 10 ปี ชูประเด็นประเทศไทยกับการศึกษาเพื่อความยั่งยืน

มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา โดย รองศาสตราจารย์คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธานโครงการบ้านนักวิทยาศาสต์น้อย ประเทศไทย เป็นประธานประชุมเตรียมจัด “งานสัมมนาวิชาการครบรอบ 10 ปี บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยกับการศึกษาเพื่อความยั่งยืน” โดยมีตัวแทนของหน่วยงานภาคีแต่ละเครือข่ายเข้าร่วมประชุม ร่วมระดมความคิดเห็นพร้อมนำเสนอรูปแบบเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดงาน ซึ่งในงานดังกล่าวได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒนรัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานเปิดงานและเป็นองค์ปาฏกถาพิเศษ ในวันพุธที่ 10 มีนาคม 2564 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 กรุงเทพฯ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ริเริ่มเมื่อปี พ.ศ.2552 โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมี เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรกิจกรรม Haus der kleinen Forscher (บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย) ณ ประเทศเยอรมนี ซึ่งส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล ต่อมาในปี 2553 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาร่วมกับ บริษัท นานมีบุ๊คส์

Read More

อนาคตของเยาวชน บนสถานการณ์ COVID-19

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ดำเนินต่อเนื่องยาวนานกว่า 1 ขวบปี และกระจายขยายตัวเป็นโลกระบาดขนาดใหญ่ซึ่งปกคลุมอาณาบริเวณและพื้นที่ทุกภูมิภาคของโลก นอกจากจะส่งผลต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคม การจ้างงาน ผลิตภาพทางธุรกิจอุตสาหกรรมแล้ว การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังส่งผลกระทบต่อมิติทางการศึกษาและพัฒนาการของเยาวชนอย่างไม่อาจเลี่ยง ความเป็นไปของ COVID-19 ได้ส่งผลให้โรงเรียนใน 192 ประเทศทั่วโลก ต้องปิดการเรียนการสอนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โดยอาศัยเทคโนโลยีเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้านแทน ซึ่งการระงับการเรียนการสอนตามปกติได้ส่งผลกระทบต่อนักเรียนนักศึกษาจำนวนรวมมากกว่า 1.6 พันล้านคนทั่วโลก และมีนักเรียนอีกไม่ต่ำกว่า 870 ล้านคนใน 51 ประเทศ ที่ยังไม่สามารถกลับไปเรียนในโรงเรียนได้ตามปกติอีกด้วย กรณีดังกล่าวทำให้กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ : UNICEF ระบุว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้เกิดวิกฤตทางด้านการศึกษาอย่างกว้างขวาง โดยนักเรียนไม่น้อยกว่า 24 ล้าคน มีความเสี่ยงที่จะต้องหลุดออกจากระบบและวงจรการศึกษาอย่างถาวร เพราะเมื่อนักเรียนไม่สามารถเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนได้นานมากเท่าไร โอกาสที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษาก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นรัฐบาลจึงควรให้ความสำคัญกับการเปิดโรงเรียนเมื่อมาตรการต่างๆ มีการผ่อนปรนลง เพราะการไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาได้ ส่งผลกระทบในระยะยาวต่อเยาวชน และเพิ่มความเสี่ยงที่เยาวชนจะเผชิญกับสถานการณ์ความรุนแรงทั้งด้านร่างกาย และอารมณ์ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพจิต รวมถึงยังมีความเสี่ยงที่เยาวชนจะต้องเจอกับปัญหาด้านการใช้แรงงานเด็ก การล่วงละเมิดทางเพศ และไม่สามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้ ประเด็นที่น่าสนใจที่ UNICEF ได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของโรงเรียนไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในฐานะที่โรงเรียนเป็นสถานที่ที่อำนวยการศึกษาเรียนรู้ให้กับเยาวชนเท่านั้น

Read More

ไมโครซอฟท์พร้อมขับเคลื่อนการศึกษาผ่าน DEEP แพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์แบบใหม่

ไมโครซอฟท์ประกาศพร้อมเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและปฏิรูปการศึกษายกกำลังสอง ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนการสอนออนไลน์ใหม่ภายใต้ชื่อ DEEP มุ่งขยายโอกาสและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยี เพื่อนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศกว่า 10 ล้านคน บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ และภาคเอกชนร่วมเปิดตัวแพลตฟอร์มด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ หรือ DEEP (Digital Education Excellence Platform) รวบรวมหลักสูตรที่หลากหลายเพื่อให้เป็นองค์ความรู้ของประเทศ ตอบโจทย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งลดความเหลื่อมล้ำและพัฒนาภาคการศึกษาไทยสู่ความเป็นเลิศ โดยไมโครซอฟท์ได้รับเกียรติในการจัดสรรเนื้อหาและทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้แบบออนไลน์บน Microsoft Office 365 สำหรับการศึกษา เพื่อมอบโอกาสทางการศึกษาและเพิ่มทักษะทางด้านดิจิทัลแก่นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษากว่า 10 ล้านคน นายปวิช ใจชื่น รองกรรมการผู้จัดการ สายงานกลุ่มธุรกิจภาครัฐ ภาคการศึกษา และการสาธารณสุข บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “การเกิดโควิด-19 ก่อให้เกิดการกระตุ้นที่จะนำดิจิทัลเข้ามาปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานในทุกวงการอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงภาคการศึกษาด้วย ในส่วนของกระบวนการนำดิจิทัลเข้ามาปรับใช้ทางด้านการศึกษานั้น เรามองใน 4 มิติ คือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของผู้ใช้หรือผู้เรียน การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการดำเนินงาน

Read More

เรียนออนไลน์ สะท้อนความเหลื่อมล้ำ หรือโอกาสของการศึกษาไทย?

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อชีวิตผู้คนเป็นวงกว้าง อีกทั้งยังฉายภาพความเหลื่อมล้ำในมิติต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ในสังคมให้เห็นอย่างเด่นชัด ทั้งในแง่ของคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ รวมไปถึงการศึกษาอันเป็นฐานรากที่สำคัญของสังคม แต่อีกนัยหนึ่งก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบริบทของการศึกษาของไทยด้วยเช่นกัน การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้รัฐบาลในหลายประเทศประกาศปิดสถานศึกษาเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ มีผู้เรียนได้รับผลกระทบกว่า 1.5 พันล้านคน หรือมากกว่าร้อยละ 90 ของผู้เรียนทั้งหมด สำหรับประเทศไทยคณะรัฐมนตรีมีมติเลื่อนการเปิดเทอมออกไปเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 พร้อมปรับการเรียนการสอนจากออฟไลน์มาเป็นออนไลน์ในช่วงที่นักเรียนยังไม่สามารถไปเรียนที่โรงเรียนได้ตามปกติ เพื่อให้การเรียนรู้ไม่เกิดการชะงักงัน แต่ภาพการเรียนออนไลน์ที่เกิดขึ้น กลับเป็นไปบนความไม่พร้อมของทั้งบุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียน เทคโนโลยี ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็น อีกทั้งยังสะท้อนภาพความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรให้เห็นเด่นชัด มีนักเรียนจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงการเรียนการสอนรูปแบบใหม่นี้ได้ ข้อมูลที่น่าสนใจจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ระบุว่า ประเทศไทยมีข้อจำกัดในการเรียนทางไกลค่อนข้างสูง สัดส่วนของครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์และการเข้าถึงอุปกรณ์ดิจิทัลอยู่ในระดับต่ำ ยิ่งไปกว่านั้นนักเรียนกว่า 8 หมื่นคน ยังอยู่ในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เมื่อผนวกกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัส การจัดหาอุปกรณ์สื่อสารเพื่อให้ลูกหลานเข้าถึงการเรียนออนไลน์ได้จึงดูจะเป็นไปได้ยากยิ่ง มีข้อเรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือในการจัดหาอุปกรณ์สื่อสารที่จำเป็นและอินเทอร์เน็ตที่เพียงพอสำหรับนักเรียน รวมไปถึงการเร่งปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แม้ว่าโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อการศึกษาชนิดที่ต้องเร่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแล้ว แต่อีกนัยหนึ่งยังถือเป็นการเปิดโอกาสในการปรับตัวและพัฒนาระบบการศึกษาของไทยในอนาคตอีกด้วย การเรียนออนไลน์ซึ่งเป็นมาตรการที่ถูกนำมาใช้แก้ปัญหาในครั้งนี้ ได้กลายมาเป็นรูปแบบทางการศึกษาที่หลายฝ่ายเล็งเห็นความสำคัญและพยายามพัฒนานวัตกรรมขึ้นมารองรับ โดยที่จริงแล้วการเรียนออนไลน์นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เสียทีเดียว ที่ผ่านมาประเทศที่มีการศึกษาชั้นนำอย่างสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ยุโรป ต่างมีการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรทางการศึกษา

Read More

ผลจาก COVID-19 ย้ำภาพเหลื่อมล้ำการศึกษาไทย

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบจำกัดอยู่เฉพาะต่อประเด็นว่าด้วยกิจกรรมทางด้านสาธารณสุข และสร้างความเสียหายให้กับระบบเศรษฐกิจของไทยอย่างหนักหน่วงเท่านั้น หากแต่ในอีกด้านหนึ่งยังสะท้อนภาพความไร้ประสิทธิภาพในการกำหนดมาตรการในเชิงสังคมที่ทำให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยต่อยุทธศาสตร์และนโยบายที่กำหนดโดยรัฐตามมาอีกด้วย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจจากการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 อีกประการหนึ่งก็คือ การแพร่ระบาดของโรคนี้ส่งผลต่อระบบการศึกษาเป็นอย่างมาก และทำให้รัฐบาลหลายประเทศ ประกาศปิดสถานศึกษาทั้งประเทศ มีผู้เรียนได้รับผลกระทบกว่า 1.5 พันล้านคน หรือมากกว่าร้อยละ 90 ของผู้เรียนทั้งหมด สำหรับประเทศไทยสถานการณ์การระบาดเกิดขึ้นในช่วงสถานศึกษาขั้นพื้นฐานปิดภาคเรียน โดยในช่วงต้นเดือนเมษายน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เลื่อนวันเปิดเทอมภาคเรียนที่ 1 ไปเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ไทยจึงมีโอกาสทบทวนบทเรียนจากต่างประเทศเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่สอดรับกับมาตรการป้องกันการระบาด พร้อมกับเตรียมมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เรียนได้รับผลกระทบจากรูปแบบการเรียนที่เปลี่ยนไป หากแต่ความเป็นไปของมาตรการด้านการศึกษาของไทยเพื่อรองรับกับการแพร่ระบาดของโรคกลับกลายเป็นภาพสะท้อนความเหลื่อมล้ำทางสังคม ทั้งในมิติเชิงโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร และในมิติของเศรษฐสภาพที่หนักหน่วงของสังคมไทยให้เด่นชัดขึ้นไปอีก เพราะในขณะที่สถานการณ์ระบาดยังคงอยู่ ทำให้ระบบการศึกษาต้องปรับให้การเรียนรู้ของนักเรียนไม่ขาดช่วง การเรียนการสอนออนไลน์ที่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นทางเลือกหนึ่ง กลับดำเนินไปท่ามกลางความไม่พร้อมทั้งในมิติของบุคลากรทางการศึกษาในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ รวมถึงความต้องการสิ่งสนับสนุนจากโรงเรียนและรัฐบาลเพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ในส่วนของผู้เรียนก็พบว่ามีนักเรียนจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการเรียนการสอนออนไลน์ได้ จนนำไปสู่ข้อเรียกร้องความช่วยเหลือจากโรงเรียน และรัฐบาล ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ อย่างเร่งด่วน รวมถึงการจัดหาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและอุปกรณ์สื่อสารสำหรับนักเรียนทุกคน ข้อมูลของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) บ่งชี้ว่าประเทศไทยมีข้อจำกัดในการเรียนทางไกลค่อนข้างสูง โดยสัดส่วนของครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของประเทศพัฒนาแล้ว นอกจากนี้ การสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติยังสะท้อนให้เห็นความเหลื่อมล้ำสูงในการเข้าถึงอุปกรณ์ดิจิทัล โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีฐานะยากจน และครัวเรือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีนักเรียนกว่า 8 หมื่นคนอยู่ในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ดังนั้น

Read More

ปฏิรูปการศึกษาไทย นับหนึ่งไปได้ถึงไหน

ศตวรรษที่ 20 หลายสิ่งหลายอย่างถูกพัฒนาไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่บางครั้งหลายคนวิ่งตามแทบไม่ทัน แม้แต่ปัญหาสังคม ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เคยถูกเพิกเฉยมาอย่างยาวนานกลับได้รับการใส่ใจและค่อยๆ ถูกแก้ไขให้ดีขึ้น การก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลทำให้เราได้มีโอกาสเห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นโดยเฉพาะการทำงานในระบบราชการไทย หลายกระทรวงเริ่มบูรณาการและเห็นผลลัพธ์ที่ดีภายใต้คำว่า “ปฏิรูป” แต่นั่นคงไม่ใช่กับกระทรวงศึกษาธิการ จนถึงวันนี้ นโยบายด้านการศึกษาไทยที่ยังคงมีอยู่แทบจะทุกรัฐบาล คือความพยายามที่จะ “ปฏิรูปการศึกษา” แน่นอนว่า การศึกษาคือรากฐานสำคัญของการพัฒนาสังคมในทุกมิติ ทว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับระบบการศึกษาไทยอาจทำให้หลายฝ่ายกุมขมับ ที่รัฐบาลทุกชุดเริ่มนับหนึ่งเมื่อก้าวเข้ามาบริหารประเทศ รอยต่อของแต่ละรัฐบาลสร้างให้เกิดความยากในการทำงานแทบจะทุกกระทรวง ทบวง กรม การขาดไร้ซึ่งความต่อเนื่องและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกลายเป็นอุปสรรคใหญ่ที่ขวางทางกั้นไม่ให้การศึกษาไทยก้าวไปสู่ความสำเร็จเฉกเช่นที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศฟินแลนด์ นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ฮ่องกง และจีน น่าแปลกที่กระทรวงการศึกษามีนโยบายที่จะส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงไปศึกษาดูงานยังประเทศเหล่านี้ ซึ่งน่าจะเป็นต้นแบบของการพัฒนาด้านการศึกษาไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่จนถึงปัจจุบันหลายคนยังพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าการศึกษาไทยไม่เพียงแต่ยังไม่พัฒนา แต่ดูเหมือนจะมีโอกาสถอยหลังเข้าคลองอีกด้วย เห็นได้จากการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันจาก 63 ประเทศทั่วโลก ซึ่งจัดโดย IMD (International Institute for Management Development) ซึ่งมักจะจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันในหลายด้าน โดยผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาของไทยอยู่ที่อันดับ 56 ทั้งปี 2561 และ 2562 ไม่ใช่เพียงผลการจัดอันดับความสามารถด้านการแข่งขันเท่านั้น ที่เป็นการชี้ให้เห็นว่าไทยกำลังเผชิญกับปัญหาด้านการศึกษาที่อาจถึงขั้นวิกฤต แต่รูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มุ่งเน้นไปที่ผลการสอบวัดผล มากกว่าจะสร้างรากฐานความรู้และความเข้าใจให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน หากจะนำเอาแนวความคิดของสิงคโปร์ ประเทศที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งมีแนวความคิดที่น่าสนใจว่า

Read More