Home > คลายล็อก

ธุรกิจเรียงคิวจี้ปลดล็อก ลดเคอร์ฟิวแลกเลิกจ้าง

ต้องจับตาการประชุมศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) หรือ ศบค. ชุดเล็กนัดต่อไปจะมีท่าทีอย่างไรกับการผ่อนคลายกิจการเพิ่มเติมและปรับเวลาเคอร์ฟิว เพื่อนำเสนอ ศบค. ชุดใหญ่ หลังหลายๆ ธุรกิจแห่ยื่นข้อเรียกร้องกดดันอย่างต่อเนื่อง โดยอ้างถึงผลกระทบต่อแรงงานนับแสนที่มีสิทธิ์ถูกเลิกจ้างได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ หากดูประเภทกิจการที่ ศบค. เปิดไฟเขียวเพิ่มเติมจากการประชุมนัดก่อน ได้แก่ ร้านทำเล็บ ธุรกิจสปา ร้านนวด ธุรกิจโรงภาพยนตร์ และการเล่นดนตรีในร้านอาหาร จำนวนนักดนตรีไม่เกิน 3 คน แต่ดูเหมือนการผ่อนคลายยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะกลุ่มร้านอาหารออกมาเคลื่อนไหวผลักดันให้รัฐบาลเร่งลดช่วงเวลาเคอร์ฟิวลงอีก จากปัจจุบันกำหนดช่วงเวลาระหว่าง 22.00-04.00 น. ธนากร คุปตจิตต์ เลขาธิการสมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย (TABBA) ระบุว่า จากการติดตามสอบถามธุรกิจร้านอาหารและอาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น นักดนตรี พนักงานต้อนรับ หลังผ่อนคลายกิจการเพิ่มเติมและลดเวลาเคอร์ฟิวอีก 1 ชั่วโมง จากเวลา 21.00 น.-04.00 น เป็น 22.00-04.00 น. ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับผลบวกใดๆ

Read More

ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรี่ยม ดิ เอ็มควอเทียร์ กลับมาเปิดบริการ

ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรี่ยม ดิ เอ็มควอเทียร์ กลับมาเปิดบริการ ด้วยมาตรการความปลอดภัยขั้นสูงสุด ภาพบรรยากาศ การกลับมาเปิดบริการวันแรกของ ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรี่ยม ดิ เอ็มควอเทียร์ ด้วยมาตรการความปลอดภัยขั้นสูงสุด โดยมีมาตรการพิเศษสำหรับร้านค้าที่เปิดบริการที่จะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด อาทิ การประเมินความพร้อมด้านสุขภาพก่อนเปิดบริการ และจะมีการประเมินในทุกๆ 14 วัน, พนักงานทุกคนที่ปฏิบัติงานต้องได้รับการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ที่กำหนด และพนักงานทุกคนต้องส่งผลตรวจ ATK ไม่เกิน 3 วัน หรือ RT-PCR ไม่เกิน 7 วัน โดยพนักงานทุกคนที่ผ่านการคัดกรอง จะได้รับการติด COVID FREE STICKER ที่บัตร และจะมีการสุ่มตรวจโควิดเป็นระยะ โดยใช้ ATK ตามที่กรมอนามัยกำหนด, เน้นย้ำให้ร้านค้าปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T (Distancing รักษาระยะห่าง-Mask Wearing-ใส่หน้ากาก- Hand washing หมั่นล้างมือ-Testing ตรวจวัดอุณหภูมิ-

Read More

“เซ็นทรัล สะอาด มั่นใจ Safe Plus+” มั่นใจขั้นสูงสุด พร้อมเปิดให้บริการ 1 ก.ย. นี้

“เซ็นทรัลพัฒนา” ย้ำผู้นำศูนย์การค้า สะอาด ปลอดภัย COVID-FREE เปิดตัวมาตรการ “เซ็นทรัล สะอาด มั่นใจ Safe Plus+” มั่นใจขั้นสูงสุด พนักงานฉีดวัคซีนแล้ว และตรวจคัดกรอง ATK ต่อเนื่อง พร้อมเปิดศูนย์การค้า 1 ก.ย.นี้ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์, เซ็นทรัลพลาซา, เซ็นทรัลเฟสติวัล, เซ็นทรัล ภูเก็ต และ เซ็นทรัล วิลเลจ ลักชูรี่เอาต์เล็ตแห่งแรกของไทย ตอกย้ำผู้นำศูนย์การค้าสะอาดปลอดภัย ประกาศใช้มาตรการยกระดับเข้มข้นสูงสุด “เซ็นทรัล สะอาด มั่นใจ Safe Plus+” ยืนยันความพร้อมเปิดให้บริการศูนย์การค้าเซ็นทรัล 21 สาขาในพื้นที่เข้มงวดสูงสุด เริ่ม 1 กันยายนนี้ ตามประกาศภาครัฐ เสริมความมั่นใจให้ลูกค้าด้วยความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการป้องกันการแพร่ระบาด ให้ศูนย์การค้าเป็นสถานที่ปลอดภัย COVID-FREE พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดทุกจุด และส่งเสริมรณรงค์สังคมสะอาดปลอดภัย โดยวันนี้

Read More

ปลดล็อกเฟสห้า หวังค้าชายแดน-ส่งออกฟื้น

การเรียกร้องให้ ศบค. หรือศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกาศมาตรการผ่อนปรนเฟส 5 เพื่อให้กิจการและกิจกรรมในหลายๆ ส่วนสามารถเปิดดำเนินการได้ หลังจากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อรายวันลดลง โดยผู้ติดเชื้อในประเทศเป็นศูนย์ติดต่อกันเกิน 30 วัน ด้วยความคาดหวังว่า คำสั่งดังกล่าวจะเป็นเสมือนน้ำมันหล่อลื่นเครื่องจักรทางเศรษฐกิจไทย ให้สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ หลังจากหยุดชะงักมานานหลายเดือน คำสั่งปลดล็อกเฟสก่อนหน้า แม้ว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจภายในประเทศสามารถขับเคลื่อนไปได้ ทว่า นั่นไม่ใช่ทั้งหมดของโครงสร้างเครื่องจักรของเศรษฐกิจไทย ฟันเฟืองแต่ละตัวในระบบเศรษฐกิจไทยมีบริบทแตกต่างกันไป และสำหรับการค้าชายแดน และการส่งออก เป็นเสมือนกุญแจดอกสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เส้นกราฟของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจพุ่งสูงขึ้น คำสั่งประกาศปิดด่านชายแดนทั้งของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน หรือประเทศคู่ค้า ส่งผลกระทบในด้านลบต่อผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้า ทั้งรายเล็ก รายใหญ่ นั่นเพราะไทยยังต้องพึ่งพาตลาดต่างชาติเสียเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกและไทยจะอยู่ในจุดที่เรียกได้ว่าอ่อนแรง และตัวเลขการส่งออกในระยะไม่กี่ปีให้หลัง จะไม่สวยหรูนัก แต่ก็ยังไม่เข้าขั้นติดลบ อีกทั้งการที่เศรษฐกิจไทยและอีกหลายประเทศไม่มีภูมิคุ้มกันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อเจอกับเชื้อโควิดที่มีพิษแทรกซึมที่สามารถทำลายล้างไปทั่วโลก ส่งผลให้หลายตลาด หลายอุตสาหกรรมต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก และในบางอุตสาหกรรมต้องเจอกับความถดถอย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) ประเมินมูลค่าการส่งออกในเดือนพฤษภาคมว่ามีอัตราการหดตัวอยู่ในระดับสูงถึง -22.5% หากหักทองคำ การส่งออกจะหดตัวเพิ่มเติมเป็น -27.8% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า นับเป็นอัตราการหดตัวมากสุดในรอบเกือบ 11 ปี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2009 เป็นต้นมา ทั้งนี้

Read More

ปลดล็อก COVID-19 ดึงดัชนีเศรษฐกิจฟื้นตัว

การประกาศผ่อนคลายมาตรการป้องกัน COVID-19 ที่ได้สร้างความเสียหายและตื่นตระหนกในวงกว้างมาก่อนหน้า กำลังช่วยผลักดันให้ดัชนีทางเศรษฐกิจที่ทรุดตัวต่ำลงอย่างหนักจากผลของการหยุดชะงักในกิจกรรมทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่การประกาศปิดเมืองในเดือนมีนาคม 2563 ก่อนที่จะนำมาสู่มาตรการผ่อนปรนในระยะต่างๆ ที่รัฐกำลังดำเนินการอยู่ เพื่อให้ผู้คนในสังคมและกลไกทางเศรษฐกิจกลับมามีชีวิตและสภาพปกติท่ามกลางความเสียหายที่รอการเยียวยา ซึ่งตั้งอยู่บนความสำเร็จในการป้องกันโรคที่ทำให้ประเทศไทยเป็นเพียงไม่กี่ประเทศบนโลกที่มีความเสี่ยงต่ำในการแพร่ระบาดของ COVID-19 นี้ ความเป็นไปของภาวะเศรษฐกิจไทย ที่สะท้อนผ่านดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาชี้ให้เห็นถึงผลกระทบจากมาตรการปิดเมืองในช่วงก่อนหน้า ที่ทำให้เกิดความกังวลของครัวเรือนในประเด็นว่าด้วยเรื่องรายได้และการมีงานทำ ซึ่งเมื่อรัฐดำเนินมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 1 และ 2 กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบบางกลุ่มเริ่มคลายความกังวล และสามารถกลับเข้าไปทำงานหรือประกอบการทางเศรษฐกิจได้อีกครั้ง แม้ว่าจะไม่ใช่ในระดับปกติเหมือนที่เคยดำเนินมาก็ตาม ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยอีก 3 เดือนข้างหน้ามีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้นสอดรับกับข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยครัวเรือนประเมินว่า มาตรการผ่อนปรนที่รัฐบาลทยอยออกมาอย่างต่อเนื่องประกอบกับจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ใหม่รายวันที่อยู่ในระดับต่ำน่าจะเป็นสัญญาณเชิงบวกต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า ภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 จึงดูเหมือนว่าจะอยู่ในสภาพที่พร้อมจะทยอยฟื้นตัวขึ้นอย่างช้าๆ แต่ยังมีความเปราะบางอยู่มาก ภายใต้สมมุติฐานที่ไม่มีการแพร่ระบาดซ้ำรอบ 2 จนนำไปสู่การบังคับใช้มาตรการปิดเมืองอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งภาครัฐจำเป็นต้องเร่งให้ความสำคัญกับมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจและมาตรการสร้างงานเพื่อช่วยประคับประคองกำลังซื้อของครัวเรือนไทยที่อ่อนแอลงจากผลกระทบของ COVID-19 หลังมาตรการเยียวยาสิ้นสุดลง สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในสังคมไทยดูจะดำเนินไปควบคู่กับการฟื้นตัวขึ้นของเศรษฐกิจโลกที่หลายฝ่ายประเมินว่าได้เคลื่อนผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และกำลังฟื้นตัวขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 ที่เหลืออยู่นี้ โดยมีมาตรการทางการคลังและการเงินคอยช่วยประคับประคองเศรษฐกิจและลดความผันผวนในตลาดเงิน ซึ่งทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินปรับตัวดีขึ้น แต่ในระยะข้างหน้า ต้องจับตามองหนี้ภาคเอกชนและหนี้ภาครัฐที่อาจปรับสูงขึ้นเร็วด้วย การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีลักษณะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีความแตกต่างในแต่ละภาคส่วน (U-shaped and Uneven recovery) ทำให้ผู้บริโภคจะยังระมัดระวังในการใช้จ่ายและมีพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป รวมถึงการลงทุนภาคเอกชนที่จะถูกกดดันจากยอดขายที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ งบดุลที่เปราะบางมากขึ้น

Read More