Home > ยานยนต์

WHA ปิดดีล FDI ครั้งใหญ่แห่งปี! กับ “ฉางอาน ออโต้ เซ้าท์อีส เอเชีย” ยักษ์ใหญ่ยานยนต์จากจีน

ดับบลิวเอชเอ ปิดดีลเอฟดีไอครั้งใหญ่แห่งปี! กับฉางอาน ออโต้ เซ้าท์อีส เอเชีย ด้วยสัญญาซื้อขายที่ดิน 250 ไร่ รุดตั้งฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแห่งแรก เพื่อส่งออกทั่วโลก ที่นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 4 ด้วยมูลค่าโครงการเฟสแรกกว่า 8,862 ลบ. บริษัท ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ในเครือดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ประกาศลงนามในสัญญาซื้อขายที่ดินครั้งใหญ่กับบริษัท ฉางอาน ออโต้ เซ้าท์อีส เอเชีย จำกัด หนึ่งในกลุ่มยานยนต์ชั้นนำ 4 กลุ่มของจีน จำนวน 250 ไร่ ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์น ซีบอร์ด 4 ของดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป บนพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อสร้างโรงงานผลิต ยานยนต์ไฟฟ้า นับเป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment)

Read More

ยานยนต์ไทยทรุดหนัก หวังโตใหม่ครึ่งปีหลัง

ผลพวงจากวิกฤตโรคระบาด COVID-19 ส่งแรงกระทบกระเทือนไปในวงกว้างมากกว่าที่จะจำกัดอยู่เฉพาะประเด็นเรื่องสุขภาพพลานามัยของประชาชนทั่วไปเท่านั้น หากแต่ยังมีผลต่อภาคเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง ซึ่งดูเหมือนว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยก็เป็นอีกหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วงจากพิษภัยของโรคระบาดนี้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็คือผลกระทบที่มีต่อยอดการจำหน่ายและการผลิตรถยนต์ในประเทศและการส่งออกที่อยู่ในภาวะชะลอตัวลงนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาด และยังกระทบต่อเนื่องไปยังผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ผู้ผลิตอุปกรณ์ตกแต่งภายในรถยนต์ รวมถึงตัวแทนจำหน่าย ในแต่ละลำดับ ซึ่งผู้ประกอบการรถยนต์ในประเทศแต่ละราย ต่างต้องปรับตัวด้วยการลดพนักงานให้สอดรับกับการผลิตที่ลดลง แต่จะปรับลดมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทยและทั่วโลกว่าจะยืดเยื้อไปในทิศทางไหน โดยกลไกที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ดังกล่าวนี้ มีแรงงานที่ได้รับผลกระทบรวมไม่ต่ำกว่า 750,000 คน ภาพสะท้อนความทรุดต่ำลงของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในช่วงที่ผ่านมา อาจพิจารณาได้จากยอดการจำหน่ายและผลิตในเดือนเมษายน 2563 ซึ่งมียอดการผลิตรวมเพียง 24,711 คันลดลงร้อยละ 83.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ซึ่งนับเป็นตัวเลขต่ำที่สุดในรอบ 30 ปี โดยตัวเลขการผลิตดังกล่าวนี้เป็นการผลิตเพื่อส่งออกจำนวน 13,713 คัน ลดลงร้อยละ 81.76 และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 10,988 คัน ลดลงร้อยละ 85.35 และลดลงจากเดือนมีนาคม 2563 คิดเป็นร้อยละ 83.17 เนื่องจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ฉุดกำลังซื้อและการส่งออกให้ร่วงหนัก และเป็นเหตุให้โรงงานผลิตรถยนต์จำนวนไม่น้อยปิดทำการเป็นการชั่วคราว ตัวเลขการผลิตยานยนต์ในเดือนเมษายนที่ระดับ

Read More

3 อุตสาหกรรมฟื้นตัวช้า พิษโควิด-19 ทำซึมนาน

ปฏิเสธไม่ได้ว่า การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ส่งผลต่อธุรกิจในหลายกลุ่มด้วยกัน มาตรการของภาครัฐในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค ด้วยการสั่งหยุดดำเนินกิจการและกิจกรรมหลายด้าน ตั้งแต่ระดับที่ต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราว การจำกัดพื้นที่ให้บริการ หรือบางธุรกิจที่ยังพอจะสามารถดำเนินกิจการได้ แต่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการ ซึ่งเป็นเหตุให้ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น ถึงกระนั้น การที่ต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นอาจเป็นทางออกที่ดีกว่า เมื่อยังสามารถดำเนินกิจการได้ในช่วงเวลาดังกล่าว เมื่อเปรียบเทียบกับบางกลุ่มธุรกิจที่ยังไม่รู้ว่า หากในอนาคตอันใกล้นี้ รัฐบาลประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายระยะที่ 4 แล้ว จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในด้านธุรกิจให้กลับมาดีดังเช่นก่อนโควิดจะแพร่ระบาดได้หรือไม่ และ 3 กลุ่มธุรกิจที่อาจต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างยาวนานต่อเนื่อง คือ ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจยานยนต์ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นั่นเพราะเงื่อนไขที่จะส่งผลให้ธุรกิจทั้ง 3 กลุ่มนี้กลับมาเดินเครื่องได้เฉกเช่นเดิม ไม่ใช่เพียงมาตรการปลดล็อกมาตรการในระยะ 4 หรือ 5 เท่านั้น เพราะยังมีปัจจัยจากประเทศอื่นร่วมด้วย ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิดในประเทศอื่นๆ จะจบลงเมื่อใด จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลก รวมไปถึงมาตรการดูแลรักษาและการจำกัดวงของการแพร่ระบาด สามารถทำได้ดีมากน้อยเพียงใด ขณะที่หลายฝ่ายวิเคราะห์ไปในทิศทางเดียวกันว่า “วัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19” อาจเป็นข้อสรุปของทุกปัญหา อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย ด้วยรายได้จากการท่องเที่ยวในแต่ละปี ที่มีมูลค่าคิดเป็นสัดส่วน 17-20% ของจีดีพี แม้ว่าปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2562) ไทยต้องเผชิญกับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจรอบด้าน ทั้งสงครามการค้า

Read More