Home > COVID-19 (Page 14)

มอเตอร์โชว์ 2020 ภาพสะท้อนความหวังยานยนต์ไทย

ท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลากหลายต้องปิดลงหรือเลื่อนออกไปจากกำหนดเดิมนับตั้งแต่เมื่อปลายเดือนมีนาคมก่อนที่จะมีการทยอยผ่อนปรนมาตรการควบคุมโรคในแต่ละระยะและการกำหนดวิถีใหม่ในการจัดกิจกรรมด้วยขั้นตอนปฏิบัติในการป้องกันและคัดกรอง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่จะเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งดูเหมือนว่างานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 41 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-26 กรกฎาคมที่ผ่านมา จะผ่านเกณฑ์และเก็บรับความสำเร็จภายใต้สถานการณ์ยากลำบากของสังคมไทยไปได้ด้วยดี จำนวนยอดผู้เข้าชมงานรวมมากกว่า 1 ล้านคนในช่วงเวลาสองสัปดาห์ของการจัดงาน ในด้านหนึ่งอาจสะท้อนภาพความสนใจของผู้บริโภคที่ต้องการเลือกซื้อยานพาหนะคันใหม่ ขณะที่ในอีกด้านหนึ่งบ่งชี้ว่าประชาชนซึ่งต้องห่างหายจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการตลาดจากผลของมาตรการควบคุมที่นำไปสู่การปิดเมือง มีความต้องการที่จะกลับไปใช้วิถีชีวิตที่เป็นปกติ แม้ว่าจะมีวิถีใหม่คอยกำกับก็ตาม ประเด็นที่น่าสนใจจากงาน มอเตอร์โชว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของยอดจองรวมที่มีสูงถึง 22,791 คัน ซึ่งแบ่งเป็นยอดจองรถยนต์รวม 18,381 คัน และรถจักรยานยนต์รวม 4,410 คัน สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคภายในประเทศยังพอจะมีกำลังซื้อเหลืออยู่บ้างท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอยและผลกระทบที่กระจายอยู่ทั่วโลก ที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความระมัดระวังในการใช้จ่ายก็ตาม ข้อเท็จจริงในกรณีของประเทศไทย ซึ่งแม้จะไม่พบผู้ติดเชื้อภายในประเทศเป็นจำนวนมากเหมือนที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ หากแต่ภายใต้มาตรการเฝ้าระวังของรัฐตลอดเวลาที่ผ่านมา ได้ส่งผลทำให้เศรษฐกิจของประเทศเกิดการชะลอตัว เนื่องมาจากรายได้ส่วนใหญ่ของประเทศมาจากการท่องเที่ยว รวมถึงการส่งออกสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ไม่สามารถส่งออกได้ ขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์ก็ได้รับผลกระทบอย่างหนัก จนต้องมีการปรับลดเป้าหมายการผลิตจากที่เคยกำหนดไว้ในระดับ 2 ล้านคันมาเป็น 1.4 ล้านคันในช่วงก่อนหน้านี้ และลดเหลือ 1 ล้านคันในเวลาต่อมา ภายใต้บรรยากาศทางเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในสภาวะไม่เอื้ออำนวยต่อการจับจ่ายของผู้บริโภคเช่นนี้ แม้ค่ายรถยนต์ต่างๆ ที่มาร่วมอยู่ในงานจะพยายามนำเสนอแคมเปญส่งเสริมการขายที่ดีภายในงาน แต่ผู้บริโภคก็ยังคงชะลอการตัดสินใจในการซื้อรถออกไป ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นว่ามีผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของผู้บริโภค ในการตัดสินใจใช้เงินในสภาวะดังกล่าวนี้ อย่างไรก็ดี

Read More

กระบี่ผนึกกำลังทุกภาคส่วน ร่วมปกป้องรักษาทุนธรรมชาติอันล้ำค่าของจังหวัดกับ “โครงการหวงแหนกระบี่”

จากวิกฤติระดับโลกอย่างการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้คนทั่วโลก แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนทั้งโลกได้ประจักษ์คือ ธรรมชาติยังมีพลังที่จะฟื้นฟูตัวเองได้ เราได้หายใจในอากาศที่ดีขึ้น ได้เห็นท้องทะเลที่สวยงาม สัตว์ที่หายากกลับมาปรากฎตัว สิ่งที่เราคิดว่าเป็นไปไม่ได้ กลับมาเป็นไปได้ในช่วงเวลาเพียงไม่กี่เดือน จังหวัดกระบี่นับเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีทุนทางธรรมชาติอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับโลกของทะเลฝั่งอันดามัน ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่ที่มีความสำคัญต่อสิ่งแวดดล้อมที่โดดเด่นล้ำค่าและมีความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศที่หลากหลาย อีกทั้งวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นับเป็นสมบัติล้ำค่ายากจะหาสิ่งใดมาทดแทน จังหวัดกระบี่จึงได้ริเริ่มความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการและคนในชุมชนเพื่อร่วมกันปกปักรักษากระบี่ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตามการรักษาสมดุลระหว่างการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ทุนทางธรรมชาติ นับเป็นความท้าทายที่จังหวัดกระบี่ต้องเผชิญ จังหวัดกระบี่จึงได้ผนึกกำลังจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนการพัฒนาโมเดลธุรกิจ การท่องเที่ยวที่สามารถสร้างความยั่งยืนและสร้างประโยชน์ให้กับทุกภาคส่วนอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งทุกแนวปฏิบัติที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้ริเริ่มนั้น แสดงให้เห็นถึงการมีเป้าหมายร่วมกันคือ การรักษาทุนทางธรรมชาติของกระบี่ด้วยการปกป้องในวิถีแห่งความยั่งยืนและผลักดันให้จังหวัดกระบี่ก้าวสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกอย่างเต็มภาคภูมิ เช่นเดียวกับ โครงการหวงแหนกระบี่ (Cherish Krabi) ที่ต้องการสร้างจิตสำนึกและสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกระดับ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้เห็นความสำคัญของจังหวัดกระบี่ สร้างความเข้าใจและเชิญชวนสังคมร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจหวงแหนกระบี่ หาแนวทางอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมผ่านบทบาทของตัวเองเพื่อร่วมสร้างคุณค่าให้แก่แหล่งท่องเที่ยว ชุมชนวัฒนธรรมพื้นถิ่น และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน พ.ต.ท.ม.ล. กิติบดี ประวิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า “กระบี่มีต้นทุนทางธรรมชาติที่ประเมินค่าไม่ได้ ทั้งสิ่งที่ธรรมชาติมอบให้และที่มนุษย์สร้างขึ้น มีระบบนิเวศที่หลากหลายทั้งภูเขาและป่าที่อุดมสมบูรณ์ ทะเลที่สวยงาม ถ้ำและภาพเขียนโบราณ เป็นสิ่งที่คนกระบี่รักและหวงแหน อยากให้สิ่งเหล่านี้คงอยู่ไปนาน ๆ ถามว่าในอนาคตอยากเห็นกระบี่เป็นอย่างไร ก็อยากเห็นกระบี่คงความสวยงามอย่างนี้ แต่มีการบริหารจัดการที่ดีขึ้น เป็นระบบ มีมิติทางธรรมชาติ

Read More

ส่งออกติดลบฟื้นยาก สินค้าเกษตร-อาหาร ความต้องการพุ่ง

ส่งออกของไทยไม่อาจฟื้นตัวได้ไว แม้สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในประเทศจะอยู่ในเกณฑ์ดี ที่แสดงให้เห็นถึงการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ให้อยู่ในวงจำกัดได้ เมื่ออีกหลายประเทศยังมีจำนวนผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับสูง และยังมีมาตรการคุมเข้มกึ่งล็อกดาวน์ ซึ่งป็นอุปสรรคต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการส่งออก เศรษฐกิจในประเทศต่างๆ อยู่ในภาวะชะลอตัว เมื่อกำลังซื้อของประชากรโลกยังจับกลุ่มอยู่ในหมวดสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์การส่งออกของไทยที่หดตัวลงในกลุ่มสินค้าส่งออกที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะตัวเลขมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยที่ พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2563 มีมูลค่า 16,444.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 23.17% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 14,833.89 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 18.05% การค้าเกินดุล 1,610.40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ภาพรวมครึ่งแรกของปี 2563 การส่งออกมีมูลค่า 114,342.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 7.09% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 103,642.02 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 12.62% และการค้าเกินดุล 10,700.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การหดตัวของการส่งออกไทยเป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังมีความรุนแรงและการบังคับใช้มาตรการปิดเมืองในหลายระดับในต่างประเทศ ส่งผลให้อุปสงค์โลกอ่อนกำลังลงและสายโซ่อุปทานบางส่วนในต่างประเทศชะงักงัน รวมถึงการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศใช้ระยะเวลายาวนานมากขึ้น สินค้าส่งออกศักยภาพของไทยที่หดตัวสูงในเดือนมิถุนายน

Read More

สึนามิเศรษฐกิจ วิกฤตล้มละลายลามหนัก

นับถอยหลังโฉมหน้ารัฐบาล “ประยุทธ์ 2/2” ทุกฝ่ายต่างจับจ้องทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ เพื่อเข้ามาแก้ปัญหาผลพวงจากพิษโควิด-19 โดยเฉพาะรอบนี้หนักหนาสาหัสยิ่งกว่าวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” และอาจลุกลามกลายเป็น “สึนามิเศรษฐกิจ” ลูกใหญ่ซัดกระหน่ำทั่วทั้งโลก สิ่งที่สะท้อนให้เห็นชัดเจน ก็คือ สถานการณ์การล้มละลายต่อเนื่องเหมือนโดมิโน ตั้งแต่ระดับยักษ์ใหญ่จนถึงกลุ่มธุรกิจขนาดกลางขนาดเล็ก ในต่างประเทศ กลุ่มออยเลอร์เฮอร์เมส (Euler Hermes) บริษัทประกันสินเชื่อที่มีสำนักงานใหญ่ในกรุงปารีสของฝรั่งเศส เผยแพร่ผลการศึกษาล่าสุดว่า การระบาดของโรคโควิด-19 สร้างระเบิดเวลาการล้มละลายและคาดการณ์จำนวนบริษัทล้มละลายทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 35% ระหว่างปี 2562-2564 และราวครึ่งหนึ่งของประเทศทั่วโลกจะมีบริษัทล้มละลายสูงสุดเป็นสถิติใหม่นับตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกปี 2552 ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกาจะมีบริษัทล้มละลายเพิ่มขึ้นมากที่สุด คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 57% ในปี 2564 เทียบกับปี 2562 ขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น บราซิลจะมีบริษัทล้มละลายเพิ่มขึ้น 45% สหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้น 43% สเปนเพิ่มขึ้น 41% ส่วนจีนอยู่ที่ 20% ผลวิจัยย้ำด้วยว่า ยิ่งบริษัทยื่นล้มละลายมีขนาดใหญ่เท่าไร ความเสี่ยงที่จะเกิด “Domino Effect” ยิ่งสูงขึ้น โดยมี 2 ภาวการณ์ที่จะเร่งการล้มละลายสูงขึ้น

Read More

ผลกระทบการทำแท้งแบบถูกกฎหมาย หลังการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19

Column: Women in wonderland ก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ โดยระบุว่า 25% ของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์จะจบการตั้งครรภ์ด้วยการทำแท้ง และในช่วงเวลาหนึ่งปีมีผู้หญิงประมาณ 25 ล้านคน ทำแท้งแบบผิดกฎหมาย โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แม่เสียชีวิตระหว่างตั้งครรภ์ ในแต่ละปีจะมีผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เสียชีวิตประมาณ 4.7%-13.2% สาเหตุก็มาจากการทำแท้งแบบผิดกฎหมาย และที่น่าตกใจกว่าคือ มีเด็กผู้หญิงช่วงอายุระหว่าง 15-19 ปี ประมาณ 3 ล้านคนที่ทำแท้งแบบผิดกฎหมาย โดยไม่ได้คิดถึงผลเสียที่ตามมา การทำแท้งถูกกฎหมายเป็นเรื่องที่ถกเถียงในสังคมมานาน โดยทั่วไปแล้วการทำแท้งถูกกฎหมายสามารถทำได้ในทุกประเทศในกรณีการตั้งครรภ์ที่อาจส่งผลถึงอันตรายต่อชีวิต ถูกข่มขืน หรือมีการตรวจยืนยันว่าเด็กมีความผิดปกติตั้งแต่อยู่ในครรภ์ บางประเทศอนุญาตให้การทำแท้งถูกกฎหมาย โดยผู้หญิงสามารถทำแท้งได้หากระยะเวลาครรภ์อยู่ในช่วงที่กฎหมายกำหนดให้ทำแท้งได้ เพราะรัฐบาลเล็งเห็นแล้วว่า ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ที่ทำแท้งแบบถูกกฎหมายนั้นน้อยกว่าหลายสิบเท่าเมื่อเปรียบเทียบกับรายจ่ายที่จะต้องมีในกรณีทำแท้งเถื่อนและส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว ซึ่งร้ายแรงที่สุดอาจทำให้เสียชีวิตได้ นี่ยังไม่รวมเด็กที่คลอดแล้วพ่อแม่ไม่สามารถดูแลได้ กลายเป็นหน้าที่ของรัฐ การอนุญาตให้ทำแท้งจึงน่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่า ในขณะเดียวกันหลายประเทศก็ไม่เห็นด้วย เพราะเกรงว่าการให้ทำแท้งถูกกฎหมายจะเป็นการส่งเสริมทางอ้อมให้วัยรุ่นไม่รู้จักการป้องกัน เพราะหากตั้งครรภ์ก็สามารถทำแท้งได้รวมไปถึงความเชื่อทางศาสนาที่ทุกศาสนาสอนไม่ให้ฆ่าคนตาย และการทำแท้งก็ถือเป็นการฆ่าคนด้วยเช่นกัน ดังนั้นประเทศที่การทำแท้งไม่สามารถทำแบบถูกกฎหมายได้ ผู้หญิงหลายคนที่มีเหตุจำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์จึงจำเป็นต้องทำแท้งผิดกฎหมาย ทั้งที่รู้ว่าเป็นอันตรายและอาจส่งผลต่อสุขภาพของตัวเอง แต่ไม่มีทางเลือก เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2019

Read More

เชลล์ เปิดตัว “ออฟฟิศแห่งอนาคต” รับการเปลี่ยนแปลงหลัง COVID-19

เชลล์ ประเทศไทย เปิดตัว “ออฟฟิศแห่งอนาคต” ปรับโฉมที่ทำงานใหม่ ชูแนวคิด Good Health & Well-being Workplace รับการเปลี่ยนแปลงหลัง COVID-19 บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ชูแนวคิด “Good Health & Well-being Workplace” มุ่งเสริมสร้างพลังกายพลังใจที่ดี เพื่อให้พนักงานดูแลห่วงใยซึ่งกันและกัน เน้นเปิดใจเรียนรู้สิ่งที่จะสร้างคุณค่าให้กับตนเอง ลูกค้า และสังคม พร้อมปรับตัวนำการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะต่อสภาวการณ์ใหม่ แนวคิดดังกล่าวมุ่งเน้นดำเนินการผ่านโครงการ “ออฟฟิศแห่งอนาคต” ซึ่งนอกจากการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรแล้ว ยังปรับโฉมที่ทำงานใหม่ ประกอบด้วย 3 ด้านหลัก คือ สุขภาพและสุขอนามัยที่ดีในสำนักงาน สภาพการทำงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ การส่งเสริมศักยภาพบุคลากรและการเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ทั้งนี้เป็นการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระยะฟื้นฟูและการเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตหลังการระบาดของโรคโควิด-19 โดยเป็นการดำเนินการที่ยกระดับมาตรการด้านความปลอดภัยจากภายในสู่ภายนอก นายปนันท์ ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ในช่วงวิกฤตโรคระบาดที่ผ่านมา เราได้วางกลยุทธ์การบริหารจัดการด้านต่างๆ เพื่อให้ทีมงานเชลล์ทุกคนเผชิญหน้ากับสภาวการณ์ที่เราไม่คุ้นเคยและยังมีความไม่แน่นอนในหลายด้าน

Read More

COVID-19 เป็นเหตุ ฉุด FDI ทั่วโลกซบเซา

ผลพวงจากวิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID-19 นอกจากจะส่งผลกระทบทั่วโลก และมีผลต่อเศรษฐกิจในระยะสั้นแล้ว ยังเป็นปัจจัยกดดันต่อการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ (FDI) โดยจากการคาดการณ์ล่าสุดของ UNCTAD เมื่อเดือนมิถุนายน 2020 ระบุว่า Global FDI จะลดลงประมาณร้อยละ-30 ถึง -40 ในปีนี้ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับคาดการณ์ของ OECD ที่มีมาก่อนหน้านี้ สาเหตุหลักที่ทำให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศอยู่ในภาวะหดตัวลง ในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากมาตรการปิดเมืองซึ่งทำให้โปรเจกต์การลงทุนประสบความล่าช้าหรืออาจโดนยกเลิก โดยมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดในหลายประเทศ ส่งผลให้โครงการการลงทุนหลายแห่งถูกเลื่อนออกไป หรืออาจถูกยกเลิกจากความเสี่ยงที่โครงการเหล่านั้นจะไม่สำเร็จ ซึ่งจากข้อมูลสถิติของ UNCTAD พบว่าโครงการการเงิน(Project finance) ทั่วโลกในเดือนเมษายนลดลงประมาณร้อยละ -40 จากค่าเฉลี่ยรายเดือนในปี 2019 และลดลงเกือบถึงร้อยละ -50 จากเดือนมีนาคม โดยส่วนใหญ่เป็นการหดตัวจากโครงการการเงินในประเทศกำลังพัฒนา สะท้อนถึงแนวโน้มการหดตัวของโครงการการลงทุน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของ FDI ในปีนี้ ขณะเดียวกันเศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะถดถอยทำให้บริษัทมีกำไรลดลง หรือบางบริษัทอาจมีความจำเป็นต้องปิดกิจการ จึงทำให้เม็ดเงินลงทุนมีแนวโน้มลดลงมาก โดยภาวะเศรษฐกิจถดถอยย่อมกระทบถึงกำไรของบริษัท จึงทำให้บริษัทวางแผนการลงทุนที่รัดกุมมากขึ้น ซึ่งจากการเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคมโดย UNCTAD พบว่าบรรษัทข้ามชาติ (Multinational Enterprises :

Read More

6 องค์กรเพื่อสังคมร่วมกับ 19 คนดัง ชวนคนไทยทำดี 2 ต่อ กับ “โครงการ CoLIFE” เร่งช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง 10,000 ครอบครัว

6 องค์กรเพื่อสังคม นำโดย Global Shapers Bangkok มูลนิธิยุวพัฒน์ และภาคีเครือข่าย ร่วมผลักดัน “โครงการ CoLIFE” เชิญชวนคนไทยร่วมบริจาคเงินผ่าน บัญชี มูลนิธิยุวพัฒน์ กับ “คนดัง คนโปรด” เร่งส่งมอบถุงยังชีพช่วยเหลือ 10,000 ครอบครัวกลุ่มคนเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด – 19 พร้อมอุดหนุนเกษตรกรไทย โดยได้แรงหนุนจากคนดัง 19 คน ร่วมรณรงค์ให้เกิดการบริจาคแบบ “ทำดี 2 ต่อ” ช่วยทั้งกลุ่มคนเปราะบางและเกษตรกร บริจาคได้แล้ววันนี้ผ่าน socialgiver.com ที่ https://bit.ly/3h6JHgQ สถานการณ์โควิด-19 สำหรับประเทศไทยยังอยู่ในความเสี่ยง ขณะเดียวกันผลกระทบที่ได้เกิดขึ้นแล้ว ยังส่งผลกับคนจำนวนมากที่ไม่สามารถฟื้นตัวได้ โดยเฉพาะ “กลุ่มคนเปราะบาง” ได้แก่ กลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มผู้ถูกเลิกจ้างหรือถูกให้หยุดงาน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ เด็กกำพร้า เป็นต้น นี่คือที่มาที่ทำให้ Global Shapers

Read More

ผลกระทบพิษ COVID-19 ส่งแรงงาน-บัณฑิตใหม่ว่างงาน

การแพร่ระบาดของ COVID-19 กำลังส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและการจ้างงาน ซึ่งทำให้ภาครัฐต้องออกมาตรการช่วยเหลือทุกกลุ่ม ในขณะที่แนวโน้มการเลิกจ้างยังคงมีอยู่แม้ว่าสถานการณ์การระบาดในช่วงที่ผ่านมามีแนวโน้มจะคลี่คลาย ก่อนที่จะเกิดกรณีผู้ได้รับการยกเว้นจากต่างประเทศนำเชื้อเข้ามาใหม่อย่างไร้การควบคุม จนเป็นเหตุให้ต้องมีการพิจารณามาตรการควบคุมใหม่อีกครั้ง ข้อมูลที่น่าสนใจจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ระบุว่า นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 ถึงวันที่ 5 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา มีสถานประกอบการมากถึง 4,458 แห่ง ที่ยื่นขอใช้มาตรา 75 หยุดกิจการชั่วคราว ซึ่งส่งผลกระทบต่อลูกจ้างเป็นจำนวน 896,330 คน รวม 247,031 วัน โดยในจำนวนนี้หยุดกิจการบางส่วน 2,117 แห่ง หยุดกิจการทั้งหมด 3,030 แห่ง สำหรับประเภทกิจการที่ใช้มาตรา 75 มากที่สุดอันดับ 1 อยู่ในกลุ่มของอุตสาหกรรมการผลิต ทั้งการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ประกอบสำหรับยานยนต์และเครื่องยนต์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก อันดับ 2 เป็นกิจการโรงแรมและภัตตาคารและอันดับ 3 เป็นกิจการบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าและบริการทางธุรกิจ เช่น บริการจัดหางานและการสรรหาบุคลากร การให้เช่า การขาย

Read More

CEO ทีโอที เผยวิสัยทัศน์ พร้อมนำองค์กรก้าวสู่ยุคดิจิทัลรับ New Normal

นายมรกต เธียรมนตรี รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เผยวิสัยทัศน์หลังจากเข้ามารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยกล่าวว่า ทีโอที ยังคงต้องรักษาความเข้มแข็งของธุรกิจหลัก และสร้างธุรกิจใหม่ให้เติบโต โดยมุ่งหวังที่จะให้ ทีโอที เป็นผู้นำด้านบริการโทรคมนาคมและบริการดิจิทัลที่มุ่งตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมยุคดิจิทัลให้เข้มแข็ง นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล มายกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย นับเป็นเกียรติพร้อมภารกิจแห่งความท้าทายในการทำหน้าที่เพื่อขับเคลื่อน ทีโอที ให้เดินหน้าและเติบโตต่อไปอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหารายได้เพื่อเข้ามาทดแทนส่วนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของไวรัส โควิด-19 ซึ่ง ทีโอที มีนโยบายและเป้าหมายการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลัง 2563 ที่ต้องเร่งดำเนินการอยู่ 3 ด้าน ที่สำคัญ ดังนี้ 1) การสร้างรายได้จากบริการต่างๆ ทั้งบริการ TOT fixed line, TOT Mobile, TOT Fiber 2U และการเพิ่มรายได้จากทรัพย์สินขององค์กรที่มีอยู่ เช่น โครงการท่อร้อยสายใต้ดิน ที่จะเป็นธุรกิจสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับองค์กรอย่างมั่นคงในอนาคต โครงการเน็ตประชารัฐ

Read More