Home > ค้าชายแดน

รัฐประหารเมียนมากระทบรอบด้าน ค้าชายแดนไทย-เมียนมาหดตัว

สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 คือการทำรัฐประหารอย่างเงียบๆ ในเมียนมา ภายใต้การดำเนินการของกองทัพเมียนมา โดย อองซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐถูกควบคุมตัว เช่นเดียวกับผู้นำคนอื่นๆ ของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ไม่กี่ชั่วโมงต่อมา กองทัพเมียนมาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและถ่ายโอนอำนาจให้แก่พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด สิ่งที่เกิดขึ้นกับการเมืองภายในประเทศเมียนมาเป็นผลให้การค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านถูกปิดด่านเป็นการชั่วคราว และเปิดให้ทำการขนส่งสินค้ากันได้อีกครั้งหลังจาก 4 ชั่วโมงผ่านไป ประธานหอการค้าอำเภอแม่สาย ผกายมาศ เวียร์รา เปิดเผยว่า แม้จะเกิดความตื่นตระหนกในหมู่ผู้ค้าชายแดนอยู่บ้าง แต่ไม่กระทบต่อการค้าชายแดน เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นความขัดแย้งภายในของเมียนมา และเมียนมายังให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเมื่อสินค้าไทยยังเป็นที่ต้องการของประชากรเมียนมา ด้านประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก ชัยวัฒน์ วิทิตธรรมวงศ์ กล่าวว่า การปฏิวัติในเมียนมาไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและธุรกิจการค้าชายแดนกับฝั่งไทย ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ นักลงทุนยังคงดำเนินกิจการได้ตามปกติ แน่นอนว่า การประเมินดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการทำรัฐประหารได้ไม่นาน และกระแสจากประชาชนเมียนมามีเพียงการประท้วงที่สงบสุข กระทั่งวานนี้ที่สถานการณ์การประท้วงเรียกร้องให้กองทัพเมียนมาคืนอำนาจให้ประชาชน และปล่อยตัว อองซานซูจี รวมไปถึงผู้นำพรรคเอ็นแอลดีคนอื่นๆ เริ่มบานปลายและมีความรุนแรงมากขึ้น แม้ว่ากองทัพจะระบุว่า จะใช้เวลาในการยึดอำนาจเพียง 1 ปี และจะให้มีการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ปัญหาภายในประเทศของเมียนมา ไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่ดี คงทำได้เพียงแค่มองและวิเคราะห์สถานการณ์อย่างเงียบๆ โดยมิควรก้าวล่วง

Read More

ปลดล็อกเฟสห้า หวังค้าชายแดน-ส่งออกฟื้น

การเรียกร้องให้ ศบค. หรือศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกาศมาตรการผ่อนปรนเฟส 5 เพื่อให้กิจการและกิจกรรมในหลายๆ ส่วนสามารถเปิดดำเนินการได้ หลังจากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อรายวันลดลง โดยผู้ติดเชื้อในประเทศเป็นศูนย์ติดต่อกันเกิน 30 วัน ด้วยความคาดหวังว่า คำสั่งดังกล่าวจะเป็นเสมือนน้ำมันหล่อลื่นเครื่องจักรทางเศรษฐกิจไทย ให้สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ หลังจากหยุดชะงักมานานหลายเดือน คำสั่งปลดล็อกเฟสก่อนหน้า แม้ว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจภายในประเทศสามารถขับเคลื่อนไปได้ ทว่า นั่นไม่ใช่ทั้งหมดของโครงสร้างเครื่องจักรของเศรษฐกิจไทย ฟันเฟืองแต่ละตัวในระบบเศรษฐกิจไทยมีบริบทแตกต่างกันไป และสำหรับการค้าชายแดน และการส่งออก เป็นเสมือนกุญแจดอกสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เส้นกราฟของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจพุ่งสูงขึ้น คำสั่งประกาศปิดด่านชายแดนทั้งของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน หรือประเทศคู่ค้า ส่งผลกระทบในด้านลบต่อผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้า ทั้งรายเล็ก รายใหญ่ นั่นเพราะไทยยังต้องพึ่งพาตลาดต่างชาติเสียเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกและไทยจะอยู่ในจุดที่เรียกได้ว่าอ่อนแรง และตัวเลขการส่งออกในระยะไม่กี่ปีให้หลัง จะไม่สวยหรูนัก แต่ก็ยังไม่เข้าขั้นติดลบ อีกทั้งการที่เศรษฐกิจไทยและอีกหลายประเทศไม่มีภูมิคุ้มกันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อเจอกับเชื้อโควิดที่มีพิษแทรกซึมที่สามารถทำลายล้างไปทั่วโลก ส่งผลให้หลายตลาด หลายอุตสาหกรรมต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก และในบางอุตสาหกรรมต้องเจอกับความถดถอย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) ประเมินมูลค่าการส่งออกในเดือนพฤษภาคมว่ามีอัตราการหดตัวอยู่ในระดับสูงถึง -22.5% หากหักทองคำ การส่งออกจะหดตัวเพิ่มเติมเป็น -27.8% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า นับเป็นอัตราการหดตัวมากสุดในรอบเกือบ 11 ปี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2009 เป็นต้นมา ทั้งนี้

Read More