Home > FTA

โอกาสทองของไทยกับ FTA ใหม่ หนุนการค้าระหว่างประเทศโต

ตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ขยายตัวสูงถึง 17.4 เปอร์เซ็นต์ มีมูลค่า 22.738.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งยังเป็นการโตต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 เป็นต้นมา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแผนผลักดันการส่งออก และมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ กิจกรรมทางเศรษฐกิจทำให้เกิดการบริโภค สินค้าที่ยังคงเป็นเบอร์หนึ่งในตลาดส่งออกของไทยได้แก่ สินค้าเกษตร อาหาร โดยเฉพาะข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือแพทย์ เหล็ก เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ การขยายตัวของภาคการส่งออกคงจะพอทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ยิ้มได้ แม้ว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ ยังคงประสบกับสภาวะชะลอตัว ซบเซา แม้จะมีหลายสถาบันที่มักจะออกมาประเมินและวิเคราะห์สภาพการณ์ของตลาดไทยและตลาดโลก มองไปในทิศทางเดียวกันว่า สภาพเศรษฐกิจโดยรวมจะกลับมาดังเช่นก่อนโควิดระบาดอาจจะต้องใช้เวลานาน หรืออย่างน้อยช่วงปลายปี 2565 น่าจะพอมองเห็นอนาคตที่สดใสขึ้นบ้าง ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า การส่งออกของไทยทั้งปี น่าจะขยายตัวได้มากกว่าที่คาด 14 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นการเติบโตที่เกิดจากการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ ถึงกระนั้นยังมีปัจจัยเสี่ยงอีกที่ต้องระวัง เช่น การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และค่าระวางเรือที่สูงขึ้น ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่า และสถานการณ์โรคไวรัสโควิด-19 ในยุโรปที่จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น โดยออสเตรียเป็นประเทศแรกที่กลับมาประกาศล็อกดาวน์ นายจุรินทร์

Read More

ข้อตกลง RCEP โอกาสใหม่ของไทย?

การลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) เมื่อช่วงสัปดาห์ผ่านมา กลายเป็นความสำเร็จและความก้าวหน้าครั้งสำคัญของ ASEAN ในการแสวงหาความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนครอบคลุมเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก ภายใต้กรอบ ASEAN+3 และ ASEAN+6 หลังจากที่แต่ละฝ่ายดำเนินความพยายามผลักดันมานานเกือบ 1 ทศวรรษ กลุ่มประเทศที่เข้าร่วมในความตกลง RCEP นอกจากจะประกอบด้วยประเทศในกลุ่ม ASEAN รวม 10 ประเทศแล้ว ยังประกอบด้วย จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รวมเป็น 15 ประเทศ ซึ่งทำให้ RCEP เป็นเขตการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดย RCEP มีขนาดเศรษฐกิจรวมกันถึง 27,530 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น ร้อยละ 27.7 ของเศรษฐกิจโลก และเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากมีประชากรรวมกว่า 3,549 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ

Read More

เศรษฐกิจโลกทรุด ต้นเหตุส่งออกไทยติดลบ?

ดูเหมือนว่าฟันเฟืองตัวสำคัญในระบบเศรษฐกิจไทยยากที่จะเข็นขึ้นเสียแล้ว เมื่อการวาดหวังว่าห้วงเวลาสุดท้ายของปี สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของไทยอาจจะกระเตื้องขึ้นบ้าง จะเห็นได้จากบรรยากาศสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เวลานี้ที่คลื่นลมสงบ นั่นเพราะทั้งสองฝ่ายต่างเห็นว่าการฟาดฟันกันด้วยกลยุทธ์ทางภาษีอาจไม่ใช่หนทางที่ดี และเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลทั้งสองฝ่ายต่างพยายามหาทางออกที่เหมาะสม การเว้นวรรคจากการห้ำหั่นกันของสองชาติมหาอำนาจไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศดีขึ้นเท่าใดนัก เมื่อหลายประเทศกำลังประสบกับสภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ หลายประเทศต้องออกมาตรการและนโยบายด้านการเงินและการคลัง โดยหวังว่าจะช่วยกระตุ้นชีพจรให้เครื่องจักรเศรษฐกิจทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อลองพิจารณาชาติมหาอำนาจอย่างจีนที่มีอัตราการเติบโตต่ำสุดในรอบเกือบ 30 ปี ตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าเป้าประสงค์ของรัฐบาลจีน นั่นเพราะปัจจัยทั้งภายในประเทศที่ทำให้ทางการจีนต้องออกมาตรการเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมาบ้าง ทว่า คงไม่ใช่แค่ประชากรในประเทศจีนเท่านั้นที่จะต้องติดตามว่ามาตรการทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่รัฐบาลจีนนำออกมาใช้จะเพียงพอให้เศรษฐกิจจีนหลุดพ้นจากภาวะชะงักงันได้หรือไม่ เมื่อยังมีความเสี่ยงภาคการเงินจากหนี้ที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งนั่นทำให้จีนต้องระวังที่จะใช้นโยบายทางการเงินมากพอสมควร ขณะที่ไทยเองยังต้องติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีน นั่นเพราะจีนถือว่าเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญ และไทยพึ่งพาเศรษฐกิจโลกในสัดส่วนที่สูง ทำให้การส่งออกเชิงดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคม ติดลบ 2.0 เปอร์เซ็นต์ แต่ในรูปเงินบาทหดตัวติดลบ 2.43 เปอร์เซ็นต์ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยออกมาคาดการณ์ว่าในไตรมาส 4/2562 ทางการจีนน่าจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้นโยบายการคลัง ส่งผลให้อัตราการเติบโตของจีนในไตรมาส 4/2562 น่าจะทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.0 และทั้งปี 2562 เศรษฐกิจจีนน่าจะเติบโตที่ร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน อย่างไรก็ดี ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มอ่อนแรงลง และในปี 2563 จะชะลอตัวต่ำลงกว่าในปีนี้ โดยอาจขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 6 ซึ่ง IMF ได้ปรับลดประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนเหลือ 5.8 แล้วในปีหน้า โดยความเสี่ยงจากสงครามการค้าที่ยืดเยื้อและประสิทธิผลในการดำเนินนโยบายแบบขยายตัวของทางการจีนที่น่าจะมีจำกัดมากขึ้นจะเป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อไป แม้สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ

Read More

จับตาอนาคตเศรษฐกิจไทย แข่งขันดุเดือด-โอกาสลดลง?

การเดินทางเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 ด้วยสถานการณ์ที่เรียกได้ว่าหืดจับ เมื่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทยต้องแขวนและฝากความหวังไว้กับความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก และประเทศคู่ค้า รวมไปถึงต้องพึ่งพาอาศัยนักลงทุนจากต่างชาติ ที่จะช่วยให้ฟันเฟืองในระบบหมุนไปได้ตามครรลองที่พึงจะเป็น ตลอดระยะเวลาที่ไทยถูกนำพาและบริหารประเทศด้วยรัฐบาลทหาร กระทั่งการเลือกตั้งเกิดขึ้น เราไม่อาจหลีกหนีข้อเท็จจริงที่ว่า การเข้ามาบริหารประเทศของรัฐบาลทหารในช่วงที่การเมืองกำลังระอุนั้น นำมาซึ่งความสงบเรียบร้อย ทว่า อีกความจริงที่ไม่อาจหลีกหนีได้เช่นกัน คือความง่อนแง่นของเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระนั้นหากจะโยนความผิดไปที่การบริหารประเทศของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพียงอย่างเดียวดูจะไม่ยุติธรรมนัก เมื่อความเป็นจริงคือ เศรษฐกิจของประเทศไทยจะขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพึ่งพาอาศัยแรงขับจากปัจจัยภายนอกเป็นส่วนใหญ่ ทั้งด้านการท่องเที่ยว ที่ต้องอาศัยตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ภาคการส่งออกที่ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าที่ยังยืดเยื้อ แม้จะไม่ร้อนแรงดุเดือดเท่าในระยะแรก แต่ก็สร้างบาดแผลลึกให้กับอุตสาหกรรมการส่งออกของไทยไม่น้อย หรือด้านการลงทุน ที่นักลงทุนส่วนใหญ่เฝ้ารอสัญญาณความมั่นคงของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รวมไปถึงนโยบายสำคัญที่จะมีส่วนในการตัดสินใจ ที่จะเลือกและย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย คล้ายกับว่าในห้วงยามนี้ ไทยยังต้องเผชิญคลื่นลมพายุที่ถาโถมเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ที่พร้อมใจกันดาหน้าเข้ามาอย่างไม่หยุดหย่อนแล้ว ยังต้องระดมสรรพกำลังเพื่อหาทางออกบนเวทีโลก เมื่อมีการแข่งขันนัดสำคัญรออยู่ ประเด็นที่น่าขบคิดในเวลานี้คือ ทิศทางและอนาคตของอุตสาหกรรมไทยจะดำเนินไปอย่างไร เมื่อไทยเริ่มมีคู่แข่งที่หลายคนให้คำจำกัดความว่า “โตเงียบ” อย่างประเทศเวียดนาม ข่าวคราวจากหลากหลายช่องทางให้ข้อมูลไปในทิศทางเดียวกันว่า เวลานี้ เวียดนามกำลังเนื้อหอม และเป็นที่หมายตาของนักลงทุน ทั้งนักลงทุนหน้าใหม่รวมไปถึงนักลงทุนที่ต้องการย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศคู่ค้าสงคราม เพื่อหลีกหนีผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีของทั้งจีนและสหรัฐฯ เหตุผลหลักๆ ที่เวียดนามสามารถก้าวขึ้นมายืนบนเวทีโลกและพร้อมจะแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน ในฐานะประเทศอุตสาหกรรมเกิดใหม่ คือเรื่องอัตราค่าแรงขั้นต่ำ ปัจจุบันอัตราค่าแรงขั้นต่ำในประเทศเวียดนามคือ 160,000 ดอง ถึง 230,000 ดอง

Read More