Home > แรงงาน

สถานการณ์แรงงานไทย ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลง

ภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอันสืบเนื่องมาจากวิกฤตโควิด-19 ที่ดำเนินมามากกว่า 2 ปี ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศและต่อสถานการณ์ของแรงงานอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง ปี 2563 ปีแรกแห่งวิกฤตโควิด ถือเป็นปีที่ตลาดแรงงานได้รับผลกระทบอย่างหนัก เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจทั้งภาคการท่องเที่ยว การส่งออก การบริโภค และการลงทุน ชะงักงัน หลายบริษัทต้องเลิกจ้างพนักงานหรือแม้กระทั่งปิดกิจการ อีกทั้งมาตรการเยียวยาจากภาครัฐยังไม่ชัดเจนนัก ส่งผลให้ตัวเลขผู้ว่างงานพุ่งสูง โดยมีอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.69 เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2562 ที่ร้อยละ 0.98 หรือมีจำนวนผู้ว่างงานประมาณ 6.5 แสนคน ในขณะที่ปี 2564 มีการเรียนรู้และปรับตัว รวมถึงใช้หลักทางเศรษฐศาสตร์เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจควบคู่กับมาตรการทางสาธารณสุขเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดไปพร้อมกัน ในส่วนของกระทรวงแรงงานได้มีการนำมาตรการต่างๆ มาใช้เพื่อพยุงการจ้างงาน ได้แก่ 1. ลดเงินสมทบ เพื่อเป็นการลดภาระค่าครองชีพผู้ประกันตน ซึ่งพบว่ากว่าร้อยละ 85 สามารถกลับไปทำงานได้ ถ้าไม่มีตรงนี้อาจจะเห็นคนว่างงานพุ่งสูงถึง 2-3 ล้านคน 2. นโยบายภาครัฐที่กระตุ้นการจ้างงานใหม่และการบริโภคภายในประเทศ เช่น จ๊อบ เอ็กซ์โป (Job Expo) ที่จะโฟกัสในกลุ่มของนักศึกษาจบใหม่โดยเฉพาะ รวมถึงโครงการรักษาการจ้างงานของกลุ่มเอสเอ็มอี มาตรการคนละครึ่ง และ ม.33

Read More

คลัสเตอร์โควิดในกลุ่มแรงงาน ส่งผลร้ายต่อธุรกิจ เศรษฐกิจไทย

การติดเชื้อไวรัสโคโรนาระลอกสาม ดูเหมือนจะขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ทั้งแรงงานชาวไทย และแรงงานข้ามชาติ มีความเป็นไปได้ว่าสาเหตุที่ส่งผลให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในกลุ่มแรงงานเกิดได้ง่ายขึ้น อาจมาจากการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด สถานที่ทำงานหรือที่พักที่ยังขาดมาตรฐานการเฝ้าระวังทางสาธารณสุข ปัจจุบันเกิดคลัสเตอร์ผู้ติดเชื้อทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยจำนวนผู้ติดเชื้อจากคลัสเตอร์ทั้งหมดในระลอกนี้หลายพันคน ซึ่งเกิดขึ้นในคลัสเตอร์คนงานก่อสร้างรัฐสภา คลัสเตอร์คนงานก่อสร้าง บ. แสงฟ้า เขตบางพลัด คลัสเตอร์โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าทุ่งครุ คลัสเตอร์แคมป์คนงานก่อสร้าง จ.นนบุรี คลัสเตอร์โรงงานอาหารทะเลกระป๋อง จ.สมุทรปราการ คลัสเตอร์คนงานบริษัทแคลคอมพ์ จ.เพชรบุรี และคลัสเตอร์โรงงานปลากระป๋อง จ.สงขลา สถานการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลต่อภาคการผลิต ธุรกิจและเศรษฐกิจไทยไม่น้อย เมื่อไทยเป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาแรงงานทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติที่เป็นฐานรากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย จำนวนผู้ติดเชื้อที่เกิดขึ้นในกลุ่มก้อนแรงงานต่างๆ ส่งผลให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงักเป็นการชั่วคราว จนกว่าสถานการณ์ผู้ติดเชื้อในพื้นที่ หรือในโรงงานนั้นๆ ลดลงจนถึงจำนวนผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์ ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติเมื่อปี 2563 ระบุว่า ปัจจุบันไทยมีแรงงานที่อยู่ในระบบประมาณ 37 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นแรงงานที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครประมาณ 5.3 ล้านคน นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยจากสำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน รายงานข้อมูลล่าสุดเมื่อตุลาคม 2563 พบว่า มีแรงงานต่างด้าวอนุญาตให้ทำงานทั่วราชอาณาจักร 2,482,256 คน โดยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ

Read More

เจาะลึกอาชีพมาแรงแห่งปี 2564 ตลาดแรงงาน นายจ้าง-ลูกจ้างต้องปรับตัวรับมือทุกการเปลี่ยนแปลง

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย เผยแนวโน้มตลาดแรงงานปี 2564 พร้อมแนะนำนายจ้าง-ลูกจ้างปรับตัวรับมือทุกการเปลี่ยนแปลง แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย เผยทิศทางและแนวทางการปรับทัพของตลาดงาน และการปรับตัวของแรงงานในปี 2564 ชี้ผลพวงวิกฤตไวรัสโควิด-19และเศรษฐกิจโลกชะลอตัวส่งผลตลาดงาน-แรงงานเปลี่ยนวิถี รูปแบบการทำงานและมองภาพปี 2564 เป็นปีแห่งฟื้นตัวสู่การฟื้นฟูครั้งสำคัญของภาครัฐภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมที่ต้องผนึกกำลังร่วมกัน พร้อมจัดอันดับงานมาแรง 10 อันดับที่ตลาดงานต้องการ และ 10 อันดับงานที่แรงงานพร้อมลุย เพื่อเป็นการลดช่องว่างและเติมเต็มตลาดงานในปัจจุบัน มร.ไซมอน แมททิวส์ ผู้จัดการระดับภูมิภาค ประเทศไทย แถบตะวันออกกลาง และเวียดนาม แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ผู้นำที่ปรึกษาด้านแรงงานเชิงนวัตกรรมกว่า 80 ประเทศทั่วโลก และในประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมา ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจในทุกอุตสาหกรรมเพราะมีความเชื่อมโยงกัน รวมถึงตลาดแรงงานที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทั้งวิถีการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงาน ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ที่ต้องปรับตัวรับกับสถานการณ์ทั้งการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 วิกฤตเศรษฐกิจโลก รวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศไทยนับเป็นผลพวงจากปัจจัยข้างต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสนับสนุนของภาครัฐในเชิงนโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวที่นับว่าได้รับผลกระทบอย่างหนัก รวมถึงด้านการลงทุน และการใช้จ่ายในภาคครัวเรือนที่เข้ามาช่วยให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจรายย่อย เพื่อขับเคลื่อนกลไกเศรษฐกิจในประเทศ ทางด้านการลงทุนจากต่างประเทศแม้ลดลงแต่ยังได้รับการลงทุนอย่างต่อเนื่อง “นอกจากนี้ ยังเป็นช่วงการทรานส์ฟอร์มครั้งสำคัญของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะรูปแบบการทำงานภายใต้วิถีชีวิตแบบ New Normal ดังนั้น

Read More

จ๊อบไทย เผยความต้องการแรงงานครึ่งปีแรก โควิด-19 ทำธุรกิจลดการจ้างงานสูงสุด 75% สายงานแพทย์/สาธารณสุข เนื้อหอมสุดในช่วงโควิด-19

จ๊อบไทย (JobThai) ผู้ให้บริการหางาน สมัครงาน ออนไลน์ อันดับ 1 ของประเทศไทย ซึ่งให้บริการเข้าสู่ปีที่ 20 เปิดเผยว่า จากการรวบรวมข้อมูลความต้องการแรงงานขององค์กรในจ๊อบไทยแพลตฟอร์ม พบว่า องค์กรมีความต้องการแรงงานในช่วงครึ่งปีแรกรวมกันอยู่ที่ 303,776 อัตรา (เป็นการนับจำนวนอัตราแบบไม่ซ้ำกัน) ซึ่งมีการเปิดรับสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 124,629 อัตรา แต่ในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายนการจ้างงานลดลง 16.5% เทียบกับเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การระบาดของไวรัสโควิด-19 เริ่มมีตัวเลขผู้ติดเชื้อสูงขึ้นและกระจายวงกว้างมากขึ้น ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนด้านผู้ใช้งาน หางาน สมัครงาน มีการใช้งานมากกว่า 11 ล้านคน เติบโตขึ้น 7.5% ซึ่งมีการสมัครงาน 8,876,727 ครั้ง เติบโตขึ้น 31.0% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นางสาวแสงเดือน ตั้งธรรมสถิตย์ ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าผู้บริหารด้านปฏิบัติการจ๊อบไทย (JobThai) กล่าวว่า

Read More

ผลกระทบพิษ COVID-19 ส่งแรงงาน-บัณฑิตใหม่ว่างงาน

การแพร่ระบาดของ COVID-19 กำลังส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและการจ้างงาน ซึ่งทำให้ภาครัฐต้องออกมาตรการช่วยเหลือทุกกลุ่ม ในขณะที่แนวโน้มการเลิกจ้างยังคงมีอยู่แม้ว่าสถานการณ์การระบาดในช่วงที่ผ่านมามีแนวโน้มจะคลี่คลาย ก่อนที่จะเกิดกรณีผู้ได้รับการยกเว้นจากต่างประเทศนำเชื้อเข้ามาใหม่อย่างไร้การควบคุม จนเป็นเหตุให้ต้องมีการพิจารณามาตรการควบคุมใหม่อีกครั้ง ข้อมูลที่น่าสนใจจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ระบุว่า นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 ถึงวันที่ 5 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา มีสถานประกอบการมากถึง 4,458 แห่ง ที่ยื่นขอใช้มาตรา 75 หยุดกิจการชั่วคราว ซึ่งส่งผลกระทบต่อลูกจ้างเป็นจำนวน 896,330 คน รวม 247,031 วัน โดยในจำนวนนี้หยุดกิจการบางส่วน 2,117 แห่ง หยุดกิจการทั้งหมด 3,030 แห่ง สำหรับประเภทกิจการที่ใช้มาตรา 75 มากที่สุดอันดับ 1 อยู่ในกลุ่มของอุตสาหกรรมการผลิต ทั้งการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ประกอบสำหรับยานยนต์และเครื่องยนต์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก อันดับ 2 เป็นกิจการโรงแรมและภัตตาคารและอันดับ 3 เป็นกิจการบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าและบริการทางธุรกิจ เช่น บริการจัดหางานและการสรรหาบุคลากร การให้เช่า การขาย

Read More

อาชีพไหนเนื้อหอม-มาแรง ในยุคบิสซิเนสดิสรัปชั่น (Business Disruption)

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป เผยผลวิจัยอาชีพไหนเนื้อหอม-มาแรง ในยุคบิสซิเนสดิสรัปชั่น (Business Disruption) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ส่งผลให้ภาคธุรกิจและกลุ่มแรงงานมีการปรับตัว เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ และยังทำให้เกิดรูปแบบการทำงานแบบใหม่ จากวิถีความปกติในรูปแบบใหม่ หรือ New Normal ล่าสุด “แมนพาวเวอร์กรุ๊ป” ได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างประมาณ 1,246 คน จากแรงงานในหลายอาชีพว่ามีกลุ่มอาชีพในสายงานใดที่คนทำงานต้องการทำท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 นับเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของแรงงานในยุคที่เรียกได้ว่า “การหยุดชะงักทางธุรกิจ” หรือ “Business Disruption” แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ในฐานะที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญตลาดแรงงานเชิงนวัตกรรมชั้นนำระดับโลก ได้จัดอันดับกลุ่มอาชีพจากผลการสำรวจ ไว้ดังนี้ สำหรับกลุ่มอาชีพและสายงานที่ขึ้นมาเป็นอันดับแรก คือ กลุ่มอาชีพอิสระต่าง ๆ คิดเป็น 12.76 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในกลุ่มนี้ประกอบด้วยคนทำงานประจำที่ต้องการทำงานเสริมเพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติมจากช่วงการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ตลอดระยะเวลากว่า 4 เดือนที่ผ่านมาหลายองค์กรปรับรูปแบบการทำงาน Work from Home ทำให้มีการจัดสรรเวลาโดยการทำงานที่เป็นอาชีพอิสระที่นำทักษะความรู้มาต่อยอดเป็นการสร้างโอกาสและรายได้ควบคู่กัน และผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ต้องการทำงานอิสระจากงานระยะสั้นประเภทต่างๆ อาจะเป็นงานเดียวหรือหลายงานในเวลาเดียวกันเพื่อสร้างรายได้ ส่วนกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มอาชีพด้านโลจิสติกส์, ซัพพลายเชนส์ และการขนส่งเดลิเวอรี่ คิดเป็น 10.32 เปอร์เซ็นต์ นับว่าเป็นช่วงเวลาที่กลุ่มดังกล่าวมีการเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะการรองรับการซื้อสินค้าออนไลน์ หรืออี-คอมเมิร์ซ

Read More

เผาจริงแรงงานไทย โควิด-19 ก่อวิกฤตในวิกฤต

ตลาดแรงงานไทยเผชิญวิกฤตมาหลายระลอก เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจนต่อสถานการณ์ความมั่นคงของตลาดแรงงานไทยในปัจจุบัน ในระยะหลัง ข่าวการประกาศหยุดดำเนินกิจการ การประกาศปิดโรงงานของผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และรายเล็กมีให้เห็นในหน้าข่าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเหตุผลของการปิดกิจการมีทั้งปัญหาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ กำลังซื้อที่ลดลงของผู้บริโภค ส่งผลกระทบต่อรายได้หลักของโรงงาน และการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย เพื่อหวังลดต้นทุนด้านค่าแรงของเจ้าของกิจการ แม้เราจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า แรงงานมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนทั้งภาคการผลิต ภาคบริการในทุกอุตสาหกรรม ทว่า เมื่อเศรษฐกิจในระดับมหภาคได้รับแรงกระทบไม่ว่าจะในระดับใด แรงงานกลับเป็นด่านหน้าที่ต้องถูกนำมาประเมินความอยู่รอดในธุรกิจนั้นๆ และไวรัสโควิด-19 เป็นต้นเหตุสำคัญในการสร้างผลกระทบต่อตลาดแรงงาน ซึ่งกำลังเผชิญกับวิกฤตที่ยากเข็ญอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว จากสถานการณ์ความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจทั้งจากภายในประเทศและทั่วโลก แรงงานไทยเผชิญกับสถานการณ์การว่างงานมาหลายต่อหลายปี ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผย ผลสำรวจภาวะการมีงานทำของประชากรในเดือนธันวาคม 2562 พบว่า มีจำนวนผู้มีงานทำอยู่ที่ 37.66 ล้านคน ลดลง 2.1 แสนคน เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2561 ที่มีจำนวนผู้มีงานทำ 37.87 ล้านคน หรือลดลง 0.56% ส่วนจำนวนผู้ว่างงานอยู่ที่ 3.67 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราว่างงาน 1% เพิ่มขึ้น 1.8 หมื่นคน เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2561 ที่มีผู้ว่างงาน 3.49 แสนคน หรือเพิ่มขึ้น

Read More

โควิด-19 ซ้ำเติม ตลาดแรงงานไทยวิกฤต

ตลาดแรงงานไทยถือได้ว่าเป็นตลาดที่มีความเปราะบางมากเป็นพิเศษ นั่นเพราะเมื่อใดก็ตามที่เกิดสภาวะวิกฤตกับเศรษฐกิจ แรงงานไทยที่แม้ไม่ใช่ด่านหน้าที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ทว่ากลับเป็นกลุ่มที่ได้รับแรงปะทะเสมอ การเลิกจ้าง ตัวเลขการว่างงาน เป็นภาพสะท้อนทิศทางความเป็นไปที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ ไม่จำเพาะเจาะจงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น ตลาดแรงงานทั่วโลกก็เช่นกัน คล้ายกับว่าความมั่นคงของสถานภาพแรงงานจะดีร้าย ขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การเติบโตที่ลดลงของเศรษฐกิจไทยในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนหนึ่งทยอยปิดตัวลง อันนำมาสู่การเลิกจ้างแรงงาน ซึ่งตัวเลขการว่างงานในเดือนธันวาคม 2562 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยคือ มีผู้ว่างงานจำนวน 367,000 คน เพิ่มขึ้น 18,000 คน เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2561 ที่มีตัวเลขผู้ว่างงาน 349,000 คน บาดแผลของแรงงานทั้งในและนอกระบบจากสภาวะเศรษฐกิจซบเซายังไม่หายดี ภัยร้ายที่เสมือนคลื่นระลอกใหม่ ซัดเข้ามากระหน่ำซ้ำเติม กดหัวให้กราฟของผู้มีงานทำต่ำลง หากจะกล่าวว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นเรื่องเหนือความคาดหมายก็ดูจะไม่แปลกนัก เพราะทั้งไทยและทั่วโลกต่างเคยเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคมาหลายต่อหลายครั้ง ทว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 กลับสร้างความเสียหายในระบบแตกต่างไปจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในครั้งก่อนๆ มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสทำให้ระบบเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดถูกฟรีซไว้ชั่วคราว หลายอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องโดยตรง ภาคการบริการ ภาคธุรกิจ SMEs ตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดเล็ก หรือกลุ่มธุรกิจที่สายป่านไม่ยาว เป็นผลให้แรงงานที่อยู่ในกลุ่มนี้ต้องพบเจอกับความเสี่ยงอีกครั้ง ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (Economic Intelligence Center)

Read More

ภาวะเศรษฐกิจไทย เมื่อถึงคราวเครื่องยนต์ดับ!

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 นอกจากจะปราศจากสัญญาณเชิงบวกที่จะช่วยผลักดันให้เกิดความหวังว่าด้วยการฟื้นตัวอย่างที่หลายฝ่ายเฝ้าติดตามแล้ว ดูเหมือนว่าผลกระทบว่าด้วยการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและระดับนานาชาติ ยังมีผลให้ภาคการผลิตของไทยได้รับผลกระทบต่อเนื่องจนอาจจะเป็นเหตุให้เกิดการจ้างงานในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย การส่งออกของไทยที่ตกต่ำลงจะอยู่ในภาวะติดลบต่อเนื่องในระดับร้อยละ 1.5-2.0 ส่งผลให้เกิดภาวะชะลอตัวในการจ้างแรงงานในภาคการผลิต โดยเฉพาะการผลิตเพื่อการส่งออก โลจิสติกส์ ค้าปลีกและค้าส่ง ที่ส่งสัญญาณชะลอตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนอย่างมาก สัญญาณการจ้างงานที่ลดต่ำลง ในด้านหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้ประกอบการบางส่วนปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิต ไปสู่กระบวนการผลิตที่มีวิทยาการสูงขึ้น รวมถึงการใช้หุ่นยนต์หรือ AI เข้ามาประกอบส่วน ซึ่งกรณีเช่นว่านี้กลายเป็นความเสี่ยงต่อตลาดแรงงานโดยเฉพาะนักศึกษาจบใหม่ที่กำลังจะเข้าสู่ระบบในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน 2563 อีกประมาณ 5.24 แสนคน ซึ่งกำลังจะกลายเป็นอีกหนึ่งในมิติของปัญหาทางเศรษฐกิจสังคมที่สังคมไทยจะต้องเผชิญ เพราะจะทำให้สังคมไทยต้องแบกหนักและประสบปัญหาภาวะว่างงานสูงขึ้น ขณะที่กลไกรัฐจำเป็นต้องออกมาตรการประคับประคองสถานการณ์และกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดการบริโภคภายในก่อนที่จะทรุดหนักไปมากกว่านี้ ความหนักหน่วงของสถานการณ์การเลิกจ้างแรงงานสามารถประเมินได้จากสัญญาณจากมาตรการขึ้นต้นว่าด้วยการเริ่มไม่รับพนักงานใหม่เพิ่มเข้าสู่กระบวนการผลิตแทนตำแหน่งที่ว่าง การใช้หุ่นยนต์หรือเครื่องจักรอัตโนมัติในกระบวนการผลิตมากขึ้น ไปสู่การเลิกจ้างบริษัทภายนอกเกี่ยวกับแรงงาน การลดค่าล่วงเวลา การลดชั่วโมงการทำงาน ไปจนสู่การปิดไลน์การผลิต และการปิดสาขาหรือโรงงานการผลิตที่ไม่จำเป็น จนถึงการปลดออกแรงงานในที่สุด ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับตลาดแรงงานไทยในห้วงเวลาปัจจุบันอยู่ที่แรงงานไทยในทุกภาคการผลิตมีอยู่ประมาณ 37.6 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 56.5 ของประชากรทั้งหมด ขณะที่กลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักทั้งการส่งออก การลงทุน การบริโภคลดลง มีเพียงภาคการท่องเที่ยวที่เติบโตในปี 2562 ซึ่งกลายเป็นปัจจัยกดดันการจ้างงานปีนี้และต่อเนื่องถึงปี 2563 โดยเฉพาะช่วงไตรมาสแรกถึงไตรมาสสองของปีหน้าอีกด้วย ปัจจัยลบที่จะมีผลต่อตลาดแรงงานในระยะต่อไป นอกเหนือจากการเริ่มเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่เน้นเทคโนโลยีแทนคนเพิ่มขึ้นแล้ว เงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุนที่เน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมถึงเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในวัฏจักรชะลอตัว กำลังจะส่งผลให้เกิดการว่างงานอย่างกว้างขวาง แต่ด้วยเหตุที่แรงงานไทยจำนวนไม่น้อยเป็นแรงงานนอกระบบ ทำให้ดูเหมือนว่าประเทศไทยมีอัตราการว่างงานอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

Read More

เอ็กซ์พีริส-แมนพาวเวอร์กรุ๊ป เผย 9 อันดับแรงงานด้านไอทีเนื้อหอม ภาคธุรกิจต้องการสูง

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการดำเนินธุรกิจและการทำงาน ส่งผลให้ตลาดแรงงานโดยเฉพาะสายงานด้านไอทีมีความต้องการสูง เนื่องจากการผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และการก้าวสู่ยุคดิจิทัล ล่าสุด"เอ็กซ์พีริส (Experis)" บริษัทในเครือแมนพาวเวอร์กรุ๊ป ทำการสำรวจและเปิดเผยถึงกลุ่มงานทางด้านไอทีจากผู้ประกอบการ 8 กลุ่มธุรกิจ พร้อมจัดอันดับ 9 สายงานเนื้อหอมที่ตลาดต้องการ หวังกระตุ้นตลาดแรงงานปรับตัว จากผลการสำรวจของ "เอ็กซ์พีริส ประเทศไทย" ผู้เชี่ยวชาญในการสรรหาบุคลากรในระดับผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญพิเศษ บริษัทในเครือแมนพาวเวอร์กรุ๊ป พบว่า ความต้องการของบุคลากรทางด้านไอทีและดิจิทัลยังเติบโตและเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่องของทั้งภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยมีปัจจัยจากนโยบายขับเคลื่อนประเทศไทยแลนด์ 4.0 และเป็นผลจากความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเต็มรูปแบบของยุคดิจิทัลที่เพิ่มขึ้น และจากการสำรวจทิศทางตลาดงานดังกล่าวทาง “เอ็กซ์พีริส” ได้จัดอันดับความต้องการแรงงานสายอาชีพไอที ปี 2562 จากข้อมูลการสรรหาบุคลากรสายอาชีพไอทีในครึ่งปีแรกที่ผ่านมา พบว่ามี 9 กลุ่มสายงานที่กำลังเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง โดยสำรวจจากกลุ่มลูกค้าภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มค้าปลีก อีคอมเมิร์ซ สถาบันการเงิน โทรคมนาคม การขนส่ง อุตสาหกรรมการผลิต ที่ปรึกษาและให้บริการด้านไอที ดังนี้ อันดับแรกสายงาน Programmer & Developer ปัจจุบัน ภาคธุรกิจมีการเร่งพัฒนาระบบงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันที่รองรับการใช้งานบนสมาร์ทดีไวซ์ทุกแพลตฟอร์ม

Read More