Home > แรงงานไทย

พิษโควิดกลายพันธุ์ ตกงานพุ่งอีก หนี้ท่วม

แม้สถานการณ์โควิดรอบ 3 ยังไม่มีการใช้มาตรการล็อกดาวน์ 100% แต่การประกาศกฎเหล็กในบางจังหวัดบวกกับตัวเลขการแพร่ระบาดที่ยังมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นจากการกลายพันธุ์ กำลังส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างรุนแรง โดยเฉพาะจำนวนคนตกงานที่สะสมตั้งแต่ระลอกแรกและยืดเยื้อจนถึงวิกฤตครั้งล่าสุด ล่าสุด บริษัทหลายแห่งจำเป็นต้องงัดหลากหลายแผน เพื่อความอยู่รอด ตั้งแต่กดดันให้พนักงานเร่งทำยอดขายสร้างรายได้ ลดชั่วโมงการทำงานเพื่อลดค่าตอบแทน ไปจนถึงกำหนดเงื่อนไขเข้มงวด หากติดเชื้อโควิดต้องถูกพักงาน ไม่ได้รับเงินเดือน หรืออาจถึงขั้นไล่ออก หากพิสูจน์พบว่า เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง ไปสังสรรค์ ไปเที่ยวสถานบันเทิง อย่างเช่นกรณีเฟซบุ๊ก Thawichaya Tungsaharangsee ของนายทวิษย์ชญะ ตั้งสหะรังษี หรือแจ็ค รัสเซล นักแต่งเพลง เล่าเหตุการณ์ที่รุ่นน้องคนหนึ่งเป็นพนักงานบริษัทเอกชน บริษัทให้หยุดทำงานที่บ้าน หรือ Work from Home 2 สัปดาห์ และยินดีจ่ายค่าทำงานให้เต็มจำนวน โดยมีกติกาห้ามออกนอกบ้าน ถ้าไม่จำเป็น เช่น เที่ยวเตร่ ดื่ม สังสรรค์ เดินชอปปิ้ง แต่หยุดได้แค่ 3 วัน เขากับเพื่อนในบริษัทอีก 3 คน รวม 4

Read More

อนาคตแรงงานไทย บนยุคแห่งการเปลี่ยนผ่าน

สาเหตุการขอปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ คงไม่ใช่สาเหตุความไม่แน่นอนในอนาคตของแรงงานไทยเท่านั้น เมื่อยังมีอีกหลายปัจจัยที่อาจสร้างผลกระทบต่อเหล่ามดงานไทยได้ ทั้งภาคการผลิตของไทยที่กำลังเริ่มมีการปรับเปลี่ยน และหยิบจับเอาเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์มาใช้มากขึ้น การลดจำนวนลงของโรงงานอุตสาหกรรม และนโยบายของภาครัฐที่ต้องการนำไทยให้เข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเหมือนเป็นการบังคับให้แรงงานต้องรู้จักปรับตัว เพื่อให้พร้อมรับกับกระแสของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปทุกขณะ ถ้าไม่อยากถูกทิ้งให้ล้าหลัง ทว่า คำถามคือ แรงงานไทยในปัจจุบันพร้อมแล้วหรือยังที่จะปรับตัวเพื่อ move on หรือสุดท้ายแล้วคือ move on เป็นวงกลม และกลับมาที่ข้อเรียกร้องให้รัฐบาลหาทางแก้ไข เยียวยาในทุกๆ เรื่องไป ข้อมูลจากกระทรวงแรงงานระบุว่า ตลาดแรงงานของไทยมีจำนวนเฉลี่ยราว 37.6 ล้านคน หรือ 56.5 เปอร์เซ็นต์ของประชากรไทย (ข้อมูล ณ 31 ธันวาคม 2561) และแรงงานส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในภาคเอกชนประมาณ 21-22 ล้านคน ในจำนวนดังกล่าวเป็นแรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 จำนวน 11 ล้านคน และประกันสังคมมาตรา 39 และมาตรา 40 รวมกัน 4.242 ล้านคน

Read More

ภาวะเศรษฐกิจไทย เมื่อถึงคราวเครื่องยนต์ดับ!

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 นอกจากจะปราศจากสัญญาณเชิงบวกที่จะช่วยผลักดันให้เกิดความหวังว่าด้วยการฟื้นตัวอย่างที่หลายฝ่ายเฝ้าติดตามแล้ว ดูเหมือนว่าผลกระทบว่าด้วยการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและระดับนานาชาติ ยังมีผลให้ภาคการผลิตของไทยได้รับผลกระทบต่อเนื่องจนอาจจะเป็นเหตุให้เกิดการจ้างงานในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย การส่งออกของไทยที่ตกต่ำลงจะอยู่ในภาวะติดลบต่อเนื่องในระดับร้อยละ 1.5-2.0 ส่งผลให้เกิดภาวะชะลอตัวในการจ้างแรงงานในภาคการผลิต โดยเฉพาะการผลิตเพื่อการส่งออก โลจิสติกส์ ค้าปลีกและค้าส่ง ที่ส่งสัญญาณชะลอตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนอย่างมาก สัญญาณการจ้างงานที่ลดต่ำลง ในด้านหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้ประกอบการบางส่วนปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิต ไปสู่กระบวนการผลิตที่มีวิทยาการสูงขึ้น รวมถึงการใช้หุ่นยนต์หรือ AI เข้ามาประกอบส่วน ซึ่งกรณีเช่นว่านี้กลายเป็นความเสี่ยงต่อตลาดแรงงานโดยเฉพาะนักศึกษาจบใหม่ที่กำลังจะเข้าสู่ระบบในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน 2563 อีกประมาณ 5.24 แสนคน ซึ่งกำลังจะกลายเป็นอีกหนึ่งในมิติของปัญหาทางเศรษฐกิจสังคมที่สังคมไทยจะต้องเผชิญ เพราะจะทำให้สังคมไทยต้องแบกหนักและประสบปัญหาภาวะว่างงานสูงขึ้น ขณะที่กลไกรัฐจำเป็นต้องออกมาตรการประคับประคองสถานการณ์และกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดการบริโภคภายในก่อนที่จะทรุดหนักไปมากกว่านี้ ความหนักหน่วงของสถานการณ์การเลิกจ้างแรงงานสามารถประเมินได้จากสัญญาณจากมาตรการขึ้นต้นว่าด้วยการเริ่มไม่รับพนักงานใหม่เพิ่มเข้าสู่กระบวนการผลิตแทนตำแหน่งที่ว่าง การใช้หุ่นยนต์หรือเครื่องจักรอัตโนมัติในกระบวนการผลิตมากขึ้น ไปสู่การเลิกจ้างบริษัทภายนอกเกี่ยวกับแรงงาน การลดค่าล่วงเวลา การลดชั่วโมงการทำงาน ไปจนสู่การปิดไลน์การผลิต และการปิดสาขาหรือโรงงานการผลิตที่ไม่จำเป็น จนถึงการปลดออกแรงงานในที่สุด ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับตลาดแรงงานไทยในห้วงเวลาปัจจุบันอยู่ที่แรงงานไทยในทุกภาคการผลิตมีอยู่ประมาณ 37.6 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 56.5 ของประชากรทั้งหมด ขณะที่กลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักทั้งการส่งออก การลงทุน การบริโภคลดลง มีเพียงภาคการท่องเที่ยวที่เติบโตในปี 2562 ซึ่งกลายเป็นปัจจัยกดดันการจ้างงานปีนี้และต่อเนื่องถึงปี 2563 โดยเฉพาะช่วงไตรมาสแรกถึงไตรมาสสองของปีหน้าอีกด้วย ปัจจัยลบที่จะมีผลต่อตลาดแรงงานในระยะต่อไป นอกเหนือจากการเริ่มเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่เน้นเทคโนโลยีแทนคนเพิ่มขึ้นแล้ว เงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุนที่เน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมถึงเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในวัฏจักรชะลอตัว กำลังจะส่งผลให้เกิดการว่างงานอย่างกว้างขวาง แต่ด้วยเหตุที่แรงงานไทยจำนวนไม่น้อยเป็นแรงงานนอกระบบ ทำให้ดูเหมือนว่าประเทศไทยมีอัตราการว่างงานอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

Read More