Home > GDP

ยูโอบี ประเมินจีดีพีไทยปี 67 ขยายตัวได้ 3.6% จากภาคส่งออกและท่องเที่ยวฟื้นตัว ดันเงินบาทแข็งแกร่ง

ยูโอบี ประเมินจีดีพีไทยปี 67 ขยายตัวได้ 3.6% จากภาคส่งออกและท่องเที่ยวฟื้นตัว ดันเงินบาทแข็งแกร่ง ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อแผ่วลง ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เปิดเผยรายงานวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในปี 2567 โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวช้าในช่วงครึ่งปีแรก ก่อนที่จะขยายตัวได้แข็งแกร่งขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากมาตราการกระตุ้นทางการคลังของรัฐบาล ควบคู่ไปกับการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวและส่งออก ธนาคารประเมินว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี (GDP) ของประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ร้อยละ 3.6 ในปีนี้ นายเอ็นริโก้ ทานูวิดจายา นักเศรษฐศาสตร์ Global Economics and Market Research ธนาคารยูโอบี กล่าวว่า “ปัจจัยหลักที่ช่วยส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจไทยคือ ภาคส่งออกสินค้าและภาคท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มปรับดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจ้างงานและสร้างรายได้ให้แก่แรงงาน โดยเฉพาะในภาคบริการ ควบคู่ไปกับการบริโภคภาคครัวเรือนที่จะยังคงแข็งแกร่งและได้รับอานิสงส์เพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยที่ปรับดีขึ้นพร้อมกับการฟื้นตัวของอุปสงค์จากต่างประเทศจะเป็นปัจจัยพื้นฐานเชิงบวกส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งแกร่งขึ้น” นอกจากนี้ ประเทศไทยจะได้รับอานิสงส์เพิ่มเติมจากเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) ที่เพิ่มขึ้นจากบริษัทต่างชาติที่เดินหน้าย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากผลกระทบจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยส่วนหนึ่งสะท้อนจากสถิติคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชน และสนับสนุนให้สภาวะเศรษฐกิจโดยรวมฟื้นตัว “ดังนั้น ยูโอบีประเมินว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้จะขยายตัวได้ร้อยละ 3.6 จากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว ส่งออกสินค้า และการบริโภคภาคเอกชน

Read More

จากจีดีพีติดลบ สู่หนทางฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

งวดเข้ามาทุกทีกับช่วงเวลาที่เหลือของศักราชนี้ หลายคนเฝ้ารออย่างมีความหวังว่าปีแห่งความทุกข์ยากนี้จะผ่านพ้นไปเสียที ทั้งสถานการณ์อันเลวร้ายของภาวะโรคระบาด สภาพความถดถอยทางเศรษฐกิจ หรือความแร้นแค้นที่ดูจะเพิ่มพูนขึ้นอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ การฝากความหวังไว้กับศักราชใหม่ดูจะไม่ผิดนัก เมื่อสถานการณ์ในหลายด้านเริ่มคลี่คลาย และพอจะมองเห็นสัญญาณที่ดีขึ้น การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีผู้ติดเชื้อรายวันลดลงจนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้เกือบปกติ ซึ่งเรื่องดีนี้ส่งผลต่อความมั่นใจทั้งของประชาชนในฐานะผู้บริโภค และผู้ประกอบการในทุกอุตสาหกรรม กระนั้นคงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะพลิกตัวเลขติดลบของจีดีพีไทยในไตรมาส 3/2564 ให้กลับมาบวกในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อเศรษฐกิจไทยพึ่งพิงรายได้จากต่างประเทศมากกว่าในประเทศเมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน 2564 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้แถลงข่าวเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี ว่ามีการปรับตัวลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 1/2564 อยู่ที่ -2.6 การปรับลดลงของจีดีพีในไตรมาสปัจจุบันเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงในช่วงก่อนหน้า การระมัดระวังในการจับจ่ายของประชาชน หรือการลงทุนภาครัฐและเอกชนที่ลดลง เป็นปัจจัยหลัก เช่น การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 14.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 13.3 ในไตรมาสก่อนหน้า หรือการลงทุนในภาพรวม ลดลงร้อยละ 0.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.6 ในไตรมาสก่อน ตามการลงทุนภาครัฐที่ลดลงร้อยละ 6.0 ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 2.6 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 9.2

Read More

ภาคเอกชน-ประชาชนเชื่อมั่นบวก เข็นจีดีพีไทยขึ้นภูเขา

นโยบายเปิดประเทศ และการปลดล็อกมาตรการต่างๆ ที่เคยนำมาใช้ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายรอคอย ทั้งภาคเอกชนและประชาชน จากมุมมองที่ว่านโยบายและมาตรการที่รัฐบาลพึงใช้ในยามนี้น่าจะเป็นการสร้างให้เกิดแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในช่วงปลายปีได้เป็นอย่างดี เมื่อดูจากจำนวนเที่ยวบินที่เกิดขึ้นในวันที่เปิดประเทศ (1 พ.ย. 2564) พบว่ามีสายการบินแจ้งทำการบินประมาณ 260 เที่ยวบิน และเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 91 เที่ยวบิน มีผู้โดยสารเดินทางมาที่สนามบินสุวรรณภูมิจำนวน 20,083 คน ซึ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 6,613 คน นอกจากนี้ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิยังคาดการณ์ว่าตลอดเดือนพฤศจิกายนน่าจะมีเที่ยวบินประมาณ 12,133 เที่ยวบิน เป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 6,501 เที่ยวบิน สำหรับผู้โดยสารคาดว่าจะมีมากกว่า 7 แสนคน ผู้โดยสารระหว่างประเทศอาจจะมีประมาณ 2.7 แสนคน แม้ว่าการเดินทางของประชาชน กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากภาคเอกชนหลังประกาศใช้นโยบายดังกล่าว เสมือนเป็นการคลายความอัดอั้นของคนไทยจำนวนหนึ่ง แต่ต้องยอมรับว่าพฤติกรรมของผู้บริโภค และผู้ประกอบการส่วนหนึ่งเกิดจากความความเชื่อมั่นในมาตรการของรัฐที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ แน่นอนว่าส่งผลโดยตรงต่อการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจทุกระดับในท้ายที่สุด นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า

Read More

หวังวัคซีนหนุนจีดีพีโต ช่วยดึงเศรษฐกิจไทยพ้นวิกฤต

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ที่ดำเนินมาตั้งแต่เมื่อเดือนเมษายน 2564 ดูจะเป็นปัจจัยเร่งที่ฉุดให้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยทรุดหนักลงไปอีก โดยการคาดการณ์ของจีดีพีไทยในปี 2564 ล่าสุดได้รับการประเมินว่าจะอยู่ในระดับที่เติบโตเพียงร้อยละ 0.8-1.6 ต่อปี หลังจากที่การระบาดระลอกที่ 3 มีแนวโน้มว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจมากถึง 5.8 แสนล้านบาท ผลพวงของการระบาดระลอกใหม่ดังกล่าวทำให้กลไกรัฐคงระดับความเข้มข้นของมาตรการควบคุมโรคยาวนานขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ ขณะที่แผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงอุปสงค์ในประเทศได้รับผลทางลบค่อนข้างมาก โดยมูลค่าความเสียหายต่อเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงถึง 4.0-5.8 แสนล้านบาท ซึ่งการระบาดของ COVID-19 ระลอกเดือนเมษายนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศมากกว่า 3 เดือน โดยสถานการณ์การระบาดในประเทศได้แพร่กระจายไปยังหลายคลัสเตอร์ทั่วประเทศ จนเป็นการยากที่จะควบคุมให้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว สะท้อนจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2,000-3,000 คนต่อวัน ข้อมูลที่น่าสนใจในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาอยู่ที่สัดส่วนผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนที่ยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.3 และกระจุกตัวเพียงบางพื้นที่ ทำให้จำเป็นต้องกลับมาใช้มาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้นอีกครั้ง ซึ่งย่อมกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก่อนที่การรณรงค์ระดมปูพรมฉีดวัคซีนจะเริ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางความสับสนกังวลต่อปริมาณและการกระจายวัคซีนที่กลไกรัฐดำเนินการอยู่ว่าจะสามารถขยับสัดส่วนการฉีดวัคซีนให้เพิ่มมากขึ้นตามเป้าหมายที่รัฐกำหนดไว้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้หลายฝ่ายประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในทิศทางลบหนักหน่วงมากขึ้น เกิดขึ้นจากรูปแบบการแพร่ระบาดที่มีแนวโน้มรุนแรงและยาวนานกว่าที่คาด ส่งผลให้ต้องคงระดับความเข้มข้นของมาตรการควบคุมโรคให้ยาวนานขึ้น ขณะที่แผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่แน่นอนสูงจากการแพร่ระบาดของเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษและอินเดียในหลายประเทศ และการระบาดครั้งใหม่นี้ทำให้เศรษฐกิจและตลาดแรงงานมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ล่าช้ากว่าเดิม การคาดการณ์ผลกระทบต่อเศรษฐกิจในช่วง 4 เดือนระหว่างเมษายนถึงกรกฎาคม คาดว่าอุปสงค์ในประเทศจะเสียหายประมาณ 1.3 แสนล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 0.9 ต่อจีดีพี ซึ่งในกรณีที่เลวร้ายกว่านั้นหากยาวนานไปถึง

Read More

พินิจปัจจัยฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย ส่งจีดีพีไทยติดลบน้อยลง

เศรษฐกิจไทยเดินทางมาถึงเดือนสุดท้ายของศักราช พร้อมกับรอยแผลที่บาดลึกจนเกิดแผลเป็น ที่แน่นอนแล้วว่า ผลพวงนั้นจะยังคงตามติดไปจนถึงศักราชใหม่อย่างไม่อาจเลี่ยง วิกฤตจากเชื้อไวรัสโควิดสร้างบาดแผลให้เกิดขึ้นกับผู้คนจำนวนไม่น้อย ผู้ประกอบการตั้งแต่รายเล็กจนถึงรายใหญ่ ต้องเผชิญกับความยากเข็ญในช่วงที่ผ่านมา หากสายป่านยาวอาจจะพอใช้ให้ยืนระยะต่อไปได้ ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายจำเป็นต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราวหรืออาจถาวร ด้านตลาดแรงงานไทยประสบปัญหาจากวิกฤตนี้ไม่ต่างกัน ข่าวเลิกจ้าง ลดค่าแรง ลดเวลาทำงาน ที่ปรากฏให้เห็นแบบรายวัน ส่งผลต่อรายได้ของประชาชนแทบทั้งสิ้น แน่นอนว่าปัจจัยด้านรายได้นี้กระทบต่อความสามารถในการดำรงชีวิต การจับจ่ายใช้สอย การชำระหนี้ อันนำมาซึ่งหนี้เสีย และกำลังซื้อของภาคประชาชนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในปีนี้ค่อยๆ ไต่ระดับลงจนกระทั่งติดลบในที่สุด แม้ไทยจะไม่ใช่ประเทศเดียวที่ต้องเผชิญกับวิกฤตทางเศรษฐกิจ ขณะที่ตัวเลขและจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศไทยค่อยๆ ลดจำนวนลง และเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขไทยสร้างชื่อด้วยการควบคุมเชื้อไวรัสให้อยู่ในวงจำกัดได้เป็นอย่างดี ด้านรัฐบาลพยายามเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในทุกระดับฟันเฟือง และประชาชนส่วนใหญ่สามารถปรับตัวและเรียนรู้ที่จะอยู่รอดในวิกฤตที่เชื้อไวรัสยังคงมีอยู่และรอคอยวัคซีนด้วยความหวังที่จะทำให้วิกฤตนี้สิ้นสุดลง บริษัทผลิตวัคซีนเร่งพัฒนา ทดสอบ และผลิตเพื่อนำออกมาใช้กับประชากรโลก หลายประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกอยู่ในสภาวการณ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น จีน ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่อีกหลายประเทศควบคุมสถานการณ์ของเชื้อไวรัสในประเทศตัวเองได้ดีพอสมควร ปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้ EIC หรือ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2020 เป็นหดตัวน้อยลงที่ -6.5% จากเดิมคาดว่า -7.8% มูลเหตุมาจากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2020 โดยจากข้อมูล GDP ในช่วงไตรมาส 3

Read More

เลขาธิการสภาพัฒน์ เผย GDP ปีหน้าอาจพลิกบวก 4% ย้ำ! วิชาชีพสถาปนิกมีบทบาทสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ACT FORUM ’20 Design + Built หรือ งานสภาสถาปนิก ถือเป็นงานด้านสถาปัตยกรรมงานเดียวแห่งปีที่รวบรวมทุกเรื่องราวด้านสถาปัตยกรรม ออกแบบ และก่อสร้างไว้อย่างครบครัน เริ่มต้นขึ้นแล้ววันนี้ โดยมีกำหนดจัด ระหว่างวันที่ 18-22 พฤศจิกายน 2563 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 20.00 น. ที่ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งในพิธีเปิดมีหนึ่งไฮไลต์สำคัญ นั่นคือการกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "สถาปนิกกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปี 2564" โดย คุณดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เผยให้เห็นทิศทางของเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2564 ในหลายประเด็นที่น่าสนใจ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่ความหลากหลาย สืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปีนี้อย่างมาก ส่งผลให้ตัวเลข GDP ในไตรมาส 2 ติดลบอยู่ที่ 12.2% เรียกได้ว่าต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ก่อนหน้านี้ประเมินว่าตัวเลขในไตรมาส

Read More

ธุรกิจไทยยังทรุดหนัก ทุกสำนักปรับลด GDP ติดลบ

สถานการณ์ในแวดวงธุรกิจอุตสาหกรรมไทยยังคงทรุดตัวหนักและไม่มีท่าทีว่าจะฟื้นคืนกลับมาได้โดยง่ายและในเร็ววัน และทำให้ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 อยู่ในภาวะที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่มูลค่าทางเศรษฐกิจก็หดหายไปไม่ต่ำกว่า 2 ล้านล้านบาทอีกด้วย ความพยายามที่จะกระตุ้นภาคธุรกิจการท่องเที่ยวที่เป็นอุตสาหกรรมความหวังและเป็นจักรกลหนุนนำเศรษฐกิจไทยมาในช่วงก่อนหน้านี้กลายเป็นฝันสลายเมื่อแนวความคิดว่าด้วย Travel Bubble ที่เป็นการแลกเปลี่ยนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศคู่เจรจาถูกพับฐานลงไปเมื่อจำนวนยอดผู้ติดเชื้อในแต่ละประเทศยังคงพุ่งทะยานขึ้นสูงและทำให้ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวต้องรอคอยให้ COVID-19 คลี่คลายไปมากกว่านี้ ความเป็นไปของภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมามักได้รับการประเมินว่าเป็นผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นไปทั่วทั้งโลก หากแต่ในความเป็นจริงอีกด้านหนึ่งสภาพเศรษฐกิจไทยที่ปรากฏขึ้นอยู่นี้เป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการของรัฐที่ขาดความรอบคอบและการวางแผนเพื่อรับมือผลกระทบที่จะตามมาจากการดำเนินมาตรการดังกล่าว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในกรณีดังกล่าวอยู่ที่ผลของมาตรการปิดเมืองที่กระทบต่อภาคธุรกิจท่องเที่ยว อุตสาหกรรมโรงแรมและร้านอาหารค้าปลีกค้าส่ง ธุรกิจขนส่งและธุรกิจบันเทิงที่มีผลกระทบรวมกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ขณะที่ภาคการผลิตและการส่งออกได้รับผลกระทบมากถึง 5 แสนล้านบาท ขณะที่สถานการณ์ภัยแล้งที่ดำเนินอยู่ก่อนหน้าโดยปราศจากความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมส่งผลกระทบรวมกว่า 7.6 หมื่นล้านบาท กรณีเช่นว่านี้ทำให้ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยปรับประมาณการภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ให้อยู่ในระดับติดลบร้อยละ -8.4 ถึงลบร้อยละ -11.4 ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมไม่ต่ำกว่า 2.1 ล้านล้านบาท ท่ามกลางการส่งออกที่ติดลบร้อยละ 10.2 จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะติดลบร้อยละ -8.8 ถึงร้อยละ -12.0 การลงทุนรวมติดลบร้อยละ -8 จากเดิมที่คาดว่าจะติดลบร้อยละ -5.4 ถึงร้อยละ -7.4 ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวหายไปถึงร้อยละ 82.3 จากเดิมที่คาดว่าจะหายไปร้อยละ 74.3-78.7 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบร้อยละ

Read More

ท่องเที่ยวทรุดส่งออกฟุบ ฉุดเศรษฐกิจไทย ดึง GDP ติดลบ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ COVID-19 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทั่วโลก และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้างทำให้หลายฝ่ายคาดว่า เศรษฐกิจโลกปี 2563 อาจเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) อีกครั้งในรอบกว่า 10 ปี นับตั้งแต่วิกฤต Hamburger ซึ่งเศรษฐกิจไทยก็จะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทั้งทางตรงและทางอ้อมในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว การบริโภคและการลงทุน รวมถึง “การส่งออก” ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ใหญ่ที่สุดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงพาณิชย์เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ระบุว่าตัวเลขการส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ 2563 หดตัวที่ร้อยละ 4.5 ซึ่งจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ “ดีกว่า” การคาดการณ์ที่หลายฝ่ายประเมินไว้ก่อนหน้านี้ โดยในด้านหนึ่งเป็นผลจากการได้อานิสงส์จากการส่งออกทองคำที่ขยายตัวถึงร้อยละ 180 แล้ว ขณะที่ตลาดส่งออกสำคัญของไทยที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ในสัดส่วนสูงทั้งจีน EU สหรัฐฯ ตะวันออกกลาง เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันคิดเป็นเกือบร้อยละ 50 ของมูลค่าส่งออกรวมของไทย หดตัว “น้อยกว่าที่คาด” แม้ว่าการส่งออกของไทยโดยรวมในช่วง 2 เดือนแรกปี 2563 จะหดตัวเพียงร้อยละ 0.8

Read More

พิษ COVID-19 ระบาดไม่หยุด ฉุดความเชื่อมั่น-GDP ไทยวูบ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ที่ได้รับการเรียกขานว่า COVID-19 (Coronavirus Disease 2019) ดูจะลุกลามขยายตัว คุกคามสุขอนามัยและความเป็นไปของการใช้ชีวิตประจำวันของประชากรโลกไม่หยุด โดยล่าสุดองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ยกระดับให้ COVID-19 เป็น “การระบาดใหญ่” (pandemic) จากเหตุของข้อเท็จจริงที่ว่า COVID-19 ยังระบาดลุกลามทั่วโลก และมีผู้ติดเชื้อกว่าแสนราย ก่อนหน้านี้องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 เป็นเพียงโรคระบาด (Epidemic) ก่อนที่จะยกระดับเป็นโรคระบาดครั้งใหญ่ของโลก (pandemic) อย่างเป็นทางการ ซึ่งตามความหมายของ WHO คำว่า pandemic คือ เชื้อโรคใหม่ที่ระบาดไปทั่วโลกที่ทำให้อัตราการป่วยและเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยล่าสุด COVID-19 ได้แพร่ระบาดลุกลามไปแล้วใน 118 ประเทศทั่วโลก และมีผู้ติดเชื้อไวรัสมากกว่า 121,000 คน อีกทั้งยังคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 4,300 คน หลักเกณฑ์ในการประกาศภาวะโรคระบาดโลก มีหลักการเบื้องต้นอยู่ 3 ประการ คือ 1. โรคสามารถก่อให้เกิดอาการป่วยจนถึงเสียชีวิต

Read More

เผาจริงเศรษฐกิจไทยปี 63 กับปัจจัยเสี่ยงฉุดจีดีพีลด

คนไทยเริ่มต้นศักราชใหม่ด้วยความประหวั่นพรั่นพรึงจากหลายเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความหวาดวิตกต่อสถานการณ์ที่จะส่งผลต่อปากท้องของตัวเอง นักวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจและสังคมส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นไปในแนวทางเดียวกันว่า สถานการณ์เศรษฐกิจของไทยที่ยืนอยู่ขอบเหวหรือขาหนึ่งก้าวลงเหวไปแล้วในปี 2562 นั้นเป็นแค่การเผาหลอก แต่ปี 2563 นี่เรียกได้ว่า “เผาจริง” ภาครัฐพยายามดิ้นรนหลายต่อหลายครั้งเพื่อรักษาลมหายใจเฮือกสุดท้ายเอาไว้ให้ได้นานที่สุด หากภาครัฐไม่เข้าข้างตัวเองจนเกินไป และเปิดตามองให้ลึกถึงแก่นแท้ของปัญหา จะเห็นความจริงที่ว่า เศรษฐกิจไทยกำลังเข้าขั้นวิกฤตโดยที่ประชาชนทุกหย่อมหญ้าได้รับผลกระทบ แน่นอนว่าประเทศไทยไม่อาจดำรงและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ดำเนินไปข้างหน้าได้ด้วยลำพังตัวเอง เมื่อไทยยังต้องคอยรับอานิสงส์จากปัจจัยแวดล้อมจากเศรษฐกิจโลก ทว่า อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้คือการแก้ปัญหาของภาครัฐ ที่แม้จะบอกว่าเป็นการหยิบยื่นโอกาสให้แก่ประชาชนที่อยู่ในเศรษฐกิจระดับรากหญ้า ประหนึ่งหยอดน้ำมันลงไปในฟันเฟืองตัวสุดท้าย ด้วยหวังว่าจะให้มีแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับมหภาค ทว่าการหว่านเม็ดเงินเข้าระบบผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนั้น ไม่อาจสร้างความยั่งยืนและมั่นคงให้แก่รากฐานของเศรษฐกิจไทยได้ เพราะสุดท้ายแล้วรัฐนาวาจะไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจ นอกเสียจากมือเปล่าที่ยื่นขึ้นมารอคอยความช่วยเหลือจากภาครัฐอีกครั้ง นอกเหนือไปจากเสียงโอดครวญและถ้อยคำบริภาษของประชาชนที่บอกเล่าถึงความยากลำบากในการหาเลี้ยงชีพแล้ว ตัวเลขจีดีพีเป็นอีกสิ่งที่บ่งบอกถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี แนวโน้มทางเศรษฐกิจในปีนี้ที่มีปัจจัยลบหลายด้านทำให้ ลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค. ได้ปรับลดประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือจีดีพีปี 2563 ลงจากเดิมที่คาดไว้ว่า เศรษฐกิจไทยจะเติบโต 3.3 เปอร์เซ็นต์ เหลือเติบโตเพียง 2.8 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่การส่งออกคาดว่าจะขยายตัวเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวที่ 2.6 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่การบริโภคเอกชนลดจาก 3.5 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 3.2 เปอร์เซ็นต์ ด้านการนำเข้าในปีนี้จะขยายตัว

Read More