Home > สถานการณ์เศรษฐกิจ

เงินเฟ้อพุ่ง ราคาพลังงาน-อาหารสูง เศรษฐกิจโลกติดลบ

สถานการณ์เงินเฟ้อในปัจจุบัน คงต้องเรียกว่าสาหัส เมื่อนายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ออกแถลงตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 7.1% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันกับปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดในรอบ 13 ปี นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2551 เงินเฟ้อที่สูงขึ้นครั้งนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับอีกหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา หรือประเทศในแถบยุโรป ซึ่งเป็นผลมาจากราคาพลังงานและอาหาร ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เงินเฟ้อในประเทศไทยถูกผลักดันจากราคาพลังงานกว่า 60% และราคาอาหารประมาณ 17% ซึ่งหากหักพลังงานและอาหารออก ตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 2.28% แน่นอนว่าปัจจุบันคนไทยเริ่มมีอาการร้อนๆ หนาวๆ และพยายามเร่งปรับตัว หลายครัวเรือนปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อให้อยู่รอดในสถานการณ์อันยากลำบากนี้ ทว่า จำนวนเงินที่มีอยู่ในกระเป๋าแม้จะมีเท่าเดิม แต่มูลค่ากลับลดลงอย่างต่อเนื่อง หากภาวะเงินเฟ้อยังคงเป็นเช่นนี้ นอกจากค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่สูงขึ้น คนไทยจะต้องแบกรับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น จากการที่ภาครัฐยกเลิกการตรึงราคาก๊าซหุงต้ม และทยอยปรับขึ้นแบบเป็นขั้นบันได การปรับขึ้นค่าเอฟที (FT) ของค่าไฟฟ้า ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ปรับขึ้นต่อเนื่อง ทั้งเนื้อสัตว์และอาหารแปรรูป สินค้ากลุ่มพลังงานที่มีการปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น 37.24% สินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 6.18% ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนระหว่างเดือนเมษายนกับเดือนพฤษภาคม ภาพรวมค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 246 บาท ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าระดับเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับสูงต่อไปในช่วงครึ่งหลังของปี โดยจะมีระดับสูงสุดในช่วงไตรมาส

Read More

เศรษฐกิจไทยยังไปไม่รอด รอปี 2566 ค่อยฟื้นตัวอีกครั้ง

ขณะที่การจัดหาและกระจายวัคซีนป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังดำเนินไปท่ามกลางความสับสนอลหม่านที่ติดตามมาด้วยการเลื่อนนัดหมายการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในวงกว้าง ภารกิจอีกด้านหนึ่งว่าด้วยการกระตุ้นและสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเพื่อให้กลไกทางเศรษฐกิจขับเคลื่อนต่อไปได้ก็ดูจะยังไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กลไกรัฐมุ่งประสงค์ได้ และมีแนวโน้มจะทรุดต่ำลงไปเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง การปรับลดประมาณการและการคาดการณ์ถึงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยของหลายสำนักในช่วงที่ผ่านมา ได้สะท้อนข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่อย่างไม่อาจเลี่ยง แม้ว่ากลไกรัฐจะพยายามโหมประโคมประชาสัมพันธ์ถึงมาตรการและผลงานความสำเร็จในช่วงที่ผ่านมา หากแต่ดูเหมือนว่ามาตรการที่รัฐมีออกมาจะเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หรือมาตรการบรรเทาเหตุเบื้องต้น ที่ขาดจินตภาพและวิสัยทัศน์ในการกำหนดนโยบายที่เป็นรูปธรรมและปฏิบัติได้จริง ประเด็นที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่รัฐบาลได้พยายามนำเสนอแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติภายใต้กรอบระยะเวลา 20 ปีระหว่างปี 2561-2580 หากแต่แผนดังกล่าวดูจะไม่ช่วยผลักดันการพัฒนาให้ประเทศหรือสังคมไทยดำเนินก้าวไปสู่ความจำเริญข้างหน้ามากนัก และมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นปัจจัยฉุดรั้งพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคมของไทยให้ต้องชะงักงันหรือแม้แต่ถอยหลังด้วยความเฉื่อยช้าลงไปอีก ความด้อยประสิทธิภาพและความล้มเหลวบกพร่องของแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ดังกล่าวในด้านหนึ่งเห็นได้ชัดจากกรณีของการบริหารจัดการในสภาวะวิกฤตที่เผชิญอยู่เบื้องหน้าว่าด้วยการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ไม่ได้จำกัดวงอยู่เฉพาะประเด็นว่าด้วยความปลอดภัยและสวัสดิการของประชาชนในมิติด้านการสาธารณสุขเท่านั้น หากยังส่งผลต่อการดำรงชีวิตในเชิงเศรษฐกิจและกิจกรรมทางสังคมที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนผลิตภาพทางเศรษฐกิจ ดูจะเป็นดัชนีบ่งชี้ถึงความล้าหลังไม่ทันต่อสถานการณ์ของแผนยุทธศาสตร์ฉบับดังกล่าว ซึ่งในความเป็นจริงไม่มีสถานะคู่ควรต่อการเรียกว่าเป็นแผนยุทธศาสตร์ของชาติเสียด้วยซ้ำ เพราะขาดการประเมินผลและปัจจัยแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วอยู่ตลอดเวลาในยุคสมัยปัจจุบัน ข้อมูลที่น่าสนใจประการหนึ่งในช่วงที่ผ่านมาพบว่าทิศทางเศรษฐกิจไทยในเดือนพฤษภาคม 2564 มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้รับผลจากการระบาดของ COVID-19 ในประเทศ ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันยังคงเพิ่มขึ้นสูง ในขณะที่ภาครัฐยังใช้มาตรการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของCOVID-19 ในประเทศอย่างต่อเนื่อง ผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ระลอก 3 ที่มีความรุนแรง รวมถึงการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่ดำเนินไปอย่างไร้ความแน่นอนชัดเจน ทำให้ความคาดหวังที่จะเห็นเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวขึ้นจากการจ่อมจมอยู่ในปลักแห่งความซบเซามาอย่างยาวนาน มีแนวโน้มที่จะทอดยาวต่อเนื่องออกไปอีกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1.5-2 ปีนับจากนี้ หรือหากกล่าวอีกนัยหนึ่งคือต้องรอไปจนถึงไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 เลยทีเดียว การประเมินดังกล่าวดูจะไม่เกินเลยไปนัก เมื่อผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

Read More

ไร้สัญญาณบวก เศรษฐกิจไทยทรุดต่อเนื่อง

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยยังไร้สัญญาณบวก หลังจากที่การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้สร้างบาดแผลและผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งปัญหาการปิดกิจการของธุรกิจและความเปราะบางในตลาดแรงงาน ซึ่งจะเป็นอุปสรรคและความเสี่ยงสำคัญต่อการฟื้นตัวในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะการปิดกิจการที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลต่อการลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มหดตัวในระดับสูงต่อเนื่อง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก่อนหน้านี้ก็คือในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมาพบว่าอัตราว่างงานไทยเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 1.95 ซึ่งนับเป็นอัตราสูงที่สุดในรอบ 11 ปี และรายได้ของแรงงานที่ยังมีงานทำ ก็มีแนวโน้มหดตัวลงมาก จากชั่วโมงการทำงานที่ลดลงร้อยละ 11.5 จากช่วงปกติ และงานโอทีที่หายไป ขณะที่มีแรงงานที่ต้องหยุดงานชั่วคราวเพิ่มขึ้นสูงถึง 2.5 ล้านคน สะท้อนความอ่อนแอของตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นบาดแผลที่ต้องใช้เวลาในการเยียวยา หากการปิดกิจการและการว่างงานเพิ่มขึ้นและยืดเยื้อ ย่อมส่งผลกระทบต่อรายได้ การบริโภคและการลงทุน ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ แรงงานภาคบริการ ซึ่งสูญเสียตำแหน่งงาน หลังจากที่สถานประกอบการต้องปิดตัวลงหรือเลิกจ้างจากผลของการปิดเมือง และการจำกัดการเดินทาง ทำให้แรงงานกลุ่มนี้กลับไปสู่ภาคเกษตรสูงถึง 700,000 คน ซึ่งมีรายได้ต่ำกว่าเดิม และยังมีความเสี่ยงภัยแล้ง ขณะที่ข้อเรียกร้องที่จะให้รัฐเข้าไปดูแล ด้วยการเพิ่มศักยภาพการผลิตเพื่อเพิ่มรายได้ให้คนกลุ่มนี้ ดูจะเป็นกรณีที่ยากจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ มาตรการผ่อนคลายหลังการปิดเมือง รวมถึงมาตรการช่วยเหลือและกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยกำลังส่งสัญญาณการฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในช่วงไตรมาส 2 (Bottomed out) หากแต่เมื่อกำลังจะสิ้นสุดไตรมาสที่ 3 กลับมีข้อเท็จจริงบ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอลง

Read More

ภาวะเศรษฐกิจไทย เมื่อถึงคราวเครื่องยนต์ดับ!

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 นอกจากจะปราศจากสัญญาณเชิงบวกที่จะช่วยผลักดันให้เกิดความหวังว่าด้วยการฟื้นตัวอย่างที่หลายฝ่ายเฝ้าติดตามแล้ว ดูเหมือนว่าผลกระทบว่าด้วยการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและระดับนานาชาติ ยังมีผลให้ภาคการผลิตของไทยได้รับผลกระทบต่อเนื่องจนอาจจะเป็นเหตุให้เกิดการจ้างงานในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย การส่งออกของไทยที่ตกต่ำลงจะอยู่ในภาวะติดลบต่อเนื่องในระดับร้อยละ 1.5-2.0 ส่งผลให้เกิดภาวะชะลอตัวในการจ้างแรงงานในภาคการผลิต โดยเฉพาะการผลิตเพื่อการส่งออก โลจิสติกส์ ค้าปลีกและค้าส่ง ที่ส่งสัญญาณชะลอตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนอย่างมาก สัญญาณการจ้างงานที่ลดต่ำลง ในด้านหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้ประกอบการบางส่วนปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิต ไปสู่กระบวนการผลิตที่มีวิทยาการสูงขึ้น รวมถึงการใช้หุ่นยนต์หรือ AI เข้ามาประกอบส่วน ซึ่งกรณีเช่นว่านี้กลายเป็นความเสี่ยงต่อตลาดแรงงานโดยเฉพาะนักศึกษาจบใหม่ที่กำลังจะเข้าสู่ระบบในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน 2563 อีกประมาณ 5.24 แสนคน ซึ่งกำลังจะกลายเป็นอีกหนึ่งในมิติของปัญหาทางเศรษฐกิจสังคมที่สังคมไทยจะต้องเผชิญ เพราะจะทำให้สังคมไทยต้องแบกหนักและประสบปัญหาภาวะว่างงานสูงขึ้น ขณะที่กลไกรัฐจำเป็นต้องออกมาตรการประคับประคองสถานการณ์และกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดการบริโภคภายในก่อนที่จะทรุดหนักไปมากกว่านี้ ความหนักหน่วงของสถานการณ์การเลิกจ้างแรงงานสามารถประเมินได้จากสัญญาณจากมาตรการขึ้นต้นว่าด้วยการเริ่มไม่รับพนักงานใหม่เพิ่มเข้าสู่กระบวนการผลิตแทนตำแหน่งที่ว่าง การใช้หุ่นยนต์หรือเครื่องจักรอัตโนมัติในกระบวนการผลิตมากขึ้น ไปสู่การเลิกจ้างบริษัทภายนอกเกี่ยวกับแรงงาน การลดค่าล่วงเวลา การลดชั่วโมงการทำงาน ไปจนสู่การปิดไลน์การผลิต และการปิดสาขาหรือโรงงานการผลิตที่ไม่จำเป็น จนถึงการปลดออกแรงงานในที่สุด ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับตลาดแรงงานไทยในห้วงเวลาปัจจุบันอยู่ที่แรงงานไทยในทุกภาคการผลิตมีอยู่ประมาณ 37.6 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 56.5 ของประชากรทั้งหมด ขณะที่กลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักทั้งการส่งออก การลงทุน การบริโภคลดลง มีเพียงภาคการท่องเที่ยวที่เติบโตในปี 2562 ซึ่งกลายเป็นปัจจัยกดดันการจ้างงานปีนี้และต่อเนื่องถึงปี 2563 โดยเฉพาะช่วงไตรมาสแรกถึงไตรมาสสองของปีหน้าอีกด้วย ปัจจัยลบที่จะมีผลต่อตลาดแรงงานในระยะต่อไป นอกเหนือจากการเริ่มเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่เน้นเทคโนโลยีแทนคนเพิ่มขึ้นแล้ว เงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุนที่เน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมถึงเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในวัฏจักรชะลอตัว กำลังจะส่งผลให้เกิดการว่างงานอย่างกว้างขวาง แต่ด้วยเหตุที่แรงงานไทยจำนวนไม่น้อยเป็นแรงงานนอกระบบ ทำให้ดูเหมือนว่าประเทศไทยมีอัตราการว่างงานอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

Read More

สัญญาณส่งออกหดตัว ระเบิดเวลาเศรษฐกิจไทย

ท่ามกลางความอึมครึมของสงครามการค้าระหว่าง 2 มหาอำนาจระดับนำทั้งสหรัฐอเมริกาและจีน ที่กำลังส่งผ่านคลื่นแห่งความกังวลใจและพร้อมจะฉุดรั้งให้เศรษฐกิจของโลกเข้าสู่ภาวะชะลอตัว ดูเหมือนว่าดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจไทยในช่วงตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปีได้แสดงอาการอ่อนไหวและตอบรับ “ภาวะซึมไข้” แล้วอย่างช้าๆ แนวโน้มแห่งอาการซึมไข้ทางเศรษฐกิจของไทยไม่ได้ปรากฏให้เห็นเฉพาะจากตัวเลขในไตรมาสที่ 3 เท่านั้นหากนักวิเคราะห์จำนวนไม่น้อยต่างระบุว่าห้วงเวลานับจากนี้ เศรษฐกิจของไทยกำลังดำเนินไปในทิศทางชะลอตัวต่อเนื่องทั้งในช่วงไตรมาสที่ 4 ส่งท้ายปี และส่งผลซบเซาเลยไปสู่ภาวะเศรษฐกิจในช่วงปี 2562 อีกด้วย ข้อมูลที่นำไปสู่การคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในเชิงลบส่วนหนึ่งตั้งอยู่บนข้อเท็จจริงที่ว่า ตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนกันยายนที่ผ่านมาปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 5.2 ซึ่งนับเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 19 เดือน โดยมีประเด็นว่าด้วยข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาเป็นปัจจัยหลักในการกดทับภาวการณ์เช่นนี้ นักวิเคราะห์จำนวนไม่น้อยประเมินว่าข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในสินค้าหลายประเภท โดยเฉพาะสินค้าส่งออกที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานการผลิตของจีน ขณะเดียวกันก็อาจได้รับผลจากทิศทางการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีนอีกด้วย ความเป็นไปในอีกด้านหนึ่งอยู่ที่ตัวเลขเศรษฐกิจจีนในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2561 ขยายตัวในทิศทางที่ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.5 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2552 แม้ว่าผลของการเร่งการผลิตของภาคอุตสาหกรรมนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2/2561 มาช่วยประคองภาพรวมของการส่งออกในไตรมาสที่ 3/2561 ให้ยังคงขยายตัวร้อยละ 11.2 โดยเฉพาะการเร่งส่งออกของจีนไปยังสหรัฐฯ ซึ่งช่วยประคับประคองเศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 3/2561 ให้ยังเติบโตได้ร้อยละ 6.5 หากแต่ท่ามกลางประเด็นข้อพิพาททางการค้าที่มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ประกอบกับการบริโภคภาคครัวเรือนมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2/2561 ส่งผลให้การผลิตในภาคอุตสาหกรรม (Industrial production) ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องและทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในไตรมาส

Read More