Home > ธุรกิจส่งออก

กระแสรักษ์โลกสู่ภาษีคาร์บอน กระทบธุรกิจส่งออกไทย?

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งปริมาณฝนที่เปลี่ยนแปลง ความถี่และความรุนแรงของพายุ และระดับน้ำทะเล ภัยแล้ง อุทกภัย ล้วนแต่เป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนแทบทั้งสิ้น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรม การบริโภคน้ำมัน หรือแม้แต่การดำรงชีวิตของผู้คน ล้วนแต่มีส่วนในการสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แทบทั้งสิ้น สภาพภูมิอากาศในปัจจุบันจึงกลายเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ผู้คนในสังคมหันกลับมาให้ความสำคัญ กระแสการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance : ESG) โดยแต่ละประเทศล้วนมุ่งไปที่การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ตามกรอบเวลาที่ตั้งไว้ ล่าสุดสหภาพยุโรปประกาศแผน European Green Deal ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงร้อยละ 55 ภายในปี 2573 และมุ่งไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือคาร์บอนเป็นศูนย์ในปี 2593 โดยหลายแผนงานล้วนส่งผลต่อธุรกิจภายใน EU เป็นหลัก ขณะที่มาตรการเก็บภาษีคาร์บอนสินค้าข้ามแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) ที่จะเริ่มใช้ในปี 2566 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่นำเรื่องการเก็บภาษีคาร์บอนมาใช้กับสินค้าของประเทศคู่ค้าเป็นครั้งแรก โดยสหรัฐอเมริกาอยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางเดียวกันนี้มาใช้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสรุป 3 มาตรการที่ผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมรับมือดังนี้ 1. สินค้าที่มีขั้นตอนการผลิตก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนสูงถูกเพ่งเล็งก่อน แต่สินค้าเหล่านี้ไทยไม่ค่อยได้ผลิตและส่งออกจึงไม่ได้รับผลกระทบทางตรงมากนัก โดยสินค้ากลุ่มนี้คงต้องเตรียมรับมือกับแผนงาน CBAM ของ EU

Read More

พินิจภาคส่งออก ฟันเฟืองแห่งความหวังของเศรษฐกิจไทย

อย่างที่ทราบกันดีว่า การส่งออกเป็นฟันเฟืองตัวสำคัญของเศรษฐกิจไทย ปัจจุบันไทยพึ่งพิงรายได้จากการส่งออกประมาณ 70-75 เปอร์เซ็นต์ ของจีดีพี หรือผลิตภัณฑ์มวลรวม หมายความว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่สถานการณ์การค้าโลกอยู่ในภาวะระส่ำและกระทบต่อการส่งออก นั่นจะเป็นต้นเหตุแห่งปัจจัยลบของเศรษฐกิจไทย นับตั้งแต่สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนอุบัติขึ้น ไทยในฐานะประเทศคู่ค้าได้รับผลกระทบในทุกระนาบอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอีกหลายด้านที่สร้างให้เกิดภาวะเฉื่อยในภาคการส่งออกของไทย ทั้งกรณีที่ไทยถูกตัดสิทธิ GSP จากสหรัฐฯ หรือกรณีเขตการค้าเสรี FTA ที่ไทยยังอยู่ในขั้นตอนของการเร่งเจรจา มูลเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้ประเทศไทยประสบกับภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจอย่างไม่อาจต้านทานได้ แม้จะมีปัจจัยบวกจากด้านอื่นอยู่บ้าง ทว่า ไม่อาจช่วยให้ตัวเลขของการส่งออกบวกขึ้นได้ เมื่อตัวเลขการส่งออกของปี พ.ศ. 2562 ติดลบ 2.7% สถานการณ์วิกฤตที่กำลังรายล้อมอยู่รอบด้าน รวมไปถึงการสรุปผลตัวเลขการส่งออกปีที่ผ่านมา ทำให้กระทรวงพาณิชย์จำเป็นต้องปรับเป้าประมาณการการส่งออกในปี 2563 ว่าน่าจะมีโอกาสเติบโต 1-3% เท่านั้น ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ได้ประเมินภาคการส่งออกของไทยว่า น่าจะยังมีโอกาสเติบโตท่ามกลางมรสุมที่หลายชาติกำลังเผชิญ เพราะมองเห็นปัจจัยที่เอื้อให้เกิดกระแสธารเชิงบวก ได้แก่ การคาดการณ์จาก IMF (International Monetary Fund) ที่ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มจะขยายตัวได้ดีในปีนี้ถึง 3.3 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ปี 2562 ขยายตัวได้เพียง 2.9

Read More

อนาคตส่งออกไทย ความหวังในปีหนู

ความสิ้นหวังเกี่ยวกับสถานการณ์ส่งออกไทยในปี 2562 ที่ดูจะเลวร้ายกว่าที่ทุกฝ่ายคาดการณ์ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่า การส่งออกไทยในปีหมูจะอยู่ในอัตราที่ติดลบหดตัวลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.5-3.0 โดยการส่งออกสินค้าในเดือนธันวาคม เดือนสุดท้ายของปี 2562 มีแนวโน้มที่จะหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ขณะที่มูลค่าการส่งออกของไทยช่วง 11 เดือนแรกปี 2562 ว่า ยังติดลบต่อเนื่องที่ระดับร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าการส่งออกรวม 227,090.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนการส่งออกในเดือนพฤศจิกายนล่าสุด มีมูลค่ารวม 19,657 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบร้อยละ 7.39 กลายเป็นข้อบ่งชี้ถึงความตกต่ำทางเศรษฐกิจไทยอย่างยากปฏิเสธ และเกินกว่าที่จะเยียวยาได้ทัน การส่งออกสินค้าของไทยในเดือนพฤศจิกายน 2562 ที่มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 19,657 ล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นมูลค่าการส่งออกที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน และนับเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 นับตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยติดลบระดับร้อยละ 7.4 ซึ่งนับเป็นการหดตัวมากที่สุดในรอบ 43 เดือน (ตั้งแต่เดือนเมษายน 2559 เป็นต้นมา)

Read More

ส่งออกไทยติดลบย่อยยับ เศรษฐกิจไทยพร้อมพับฐาน

ความเป็นไปของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปี 2562 ดูจะดำเนินไปในทิศทางที่ถดถอยลงไปอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับคำขวัญและความมุ่งมั่นในเชิงวาทกรรมของกลไกภาครัฐว่าด้วยความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ไปอย่างสิ้นเชิงและทำให้ถ้อยแถลงประชาสัมพันธ์ผลงานของกลไกรัฐในช่วงที่ผ่านมาดูจะไม่ใกล้เคียงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเบื้องหน้าเสียเลย ตัวเลขที่บ่งชี้ถึงข้อเท็จจริงว่าด้วยเศรษฐกิจไทยที่สะท้อนออกมาในห้วงเวลาปัจจุบันอยู่ที่สถานการณ์การส่งออกของประเทศไทยที่อยู่ในภาวะถดถอยอย่างเห็นได้ชัด โดยตัวเลขการส่งออกในเดือนเมษายนที่ผ่านมา หดตัวติดลบร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยคิดเป็นเม็ดเงินมูลค่า 18,555.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 5.8 แสนล้านบาท ส่งผลให้เฉพาะเดือนเมษายนที่ผ่านมา ประเทศไทยขาดดุลการค้าถึง 1,457.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือติดลบประมาณ 54,396.5 ล้านบาท ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/2562 การส่งออกของไทยก็ติดลบอยู่ที่ร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าอีกด้วย ความตกต่ำลงของการส่งออกไทยในด้านหนึ่งนอกจากจะเผชิญแรงกดดันจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาที่มีแนวโน้มจะยืดเยื้อต่อเนื่องยาวนาน และต่างเป็นตลาดส่งออกหลักของสินค้าไทยแล้ว การส่งออกสินค้าไทยไปยังสหภาพยุโรป (EU) ก็อยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียพื้นที่ตลาดให้กับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นไปอีก เพราะในขณะที่การเจรจากรอบการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปยังอยู่ในภาวะชะงักงันมาตลอดระยะเวลา 5 ปีของรัฐบาล คสช. ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนกลับดำเนินการเจรจาและสามารถบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปได้สำเร็จ ความเคลื่อนไหวว่าด้วย FTA สหภาพยุโรปกับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน ส่งผลต่อความกังวลใจให้กับผู้ประกอบการในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เพราะผลจากข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรปกับเวียดนาม ทำให้ภาษีนำเข้าสินค้าเครื่องนุ่งห่มจากเวียดนามเข้าสู่ตลาดยุโรป ที่เดิมมีอัตราภาษีอยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ

Read More