Home > Economic (Page 4)

โค้งสุดท้ายเศรษฐกิจไทย ลุ้นไตรมาสสี่ส่งสัญญาณพุ่งหรือฟุบ

  เศรษฐกิจไทยในปี 2559 กำลังเดินทางเข้าสู่ช่วงโค้งสรุปสุดท้ายของปี หลังจากที่ตลอดระยะเวลา 9 เดือนที่ผ่านมา หลายฝ่ายจะประเมินว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวขึ้นอย่างช้าๆ แม้ในบริบทแห่งข้อเท็จจริงดูจะสวนทางทั้งกับอารมณ์ความรู้สึกและสภาพการณ์ที่สัมผัสได้ก็ตาม จริงอยู่ที่ว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยจะปรากฏสัญญาณบวก แต่ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงรุมเร้าอยู่ด้วยไม่น้อย ไม่นับรวมในประเด็นที่ว่าปัจจัยบวกดังกล่าวเกิดขึ้นจากผลของความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยมาตรการระยะสั้นเป็นครั้งคราวของรัฐบาล ขณะที่ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจไม่ได้รับการแก้ไขเท่าที่ควร  ท่ามกลางความคาดหวังของประชาชนว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลตั้งแต่รากหญ้าไปถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐและการลงทุนเอกชนจะเริ่มเห็นผล แต่ดูเหมือนสิ่งเหล่านี้จะยังปรากฏผลสัมฤทธิ์ที่จริงจังเท่าใดนัก  ความน่าเป็นห่วงของสถานการณ์ด้านการส่งออก ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะตัวเลขการส่งออกที่ติดลบต่อเนื่องมาตลอด 3 ปีที่มีผลต่อตัวเลขจีดีพีเท่านั้น หากกรณีดังกล่าวยังสะท้อนความเป็นไปในภาคเรียลเซ็กเตอร์ที่พร้อมจะนำไปสู่การปิดโรงงานและอุตสาหกรรมต่อเนื่องในวงกว้าง ไม่เว้นแม้แต่ภาคธุรกิจเทรดดิ้ง ความกังวลใจของภาคธุรกิจในมิติที่ว่านี้สะท้อนออกมาเป็นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลเป็นผู้นำในกระบวนการสร้างดีมานด์กระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ควบคู่กับการสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนด้วยเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเฉพาะการไปสู่เทคโนโลยีใหม่ๆ ประเด็นที่ว่านี้ ดูเหมือนภาครัฐก็มีความเข้าใจในระดับหนึ่ง ดังจะเห็นได้จากความพยายามของรัฐไทยในการกระตุ้นธุรกิจสตาร์ทอัพ หรือแม้กระทั่งการสร้างวาทกรรม ประเทศไทย 4.0 ในช่วงที่ผ่านมา แม้จะยังไม่สามารถกำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศที่มีรูปธรรมแข็งแรงให้จับต้องได้มากนัก และทำให้กรอบนโยบายที่ว่านี้กลายเป็นเพียงวาทกรรมที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามสื่อสารประชาสัมพันธ์และกระตุ้นการรับรู้แต่ขาดผลสัมฤทธิ์ไปโดยปริยาย  ความคาดหวังทางเศรษฐกิจของผู้คนจำนวนไม่น้อยถูกผูกเข้ากับประเด็นว่าด้วยการลงทุนภาครัฐหรือนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะต้องเร่งระดมใช้เงินงบประมาณให้หมดไปแทนที่จะพิจารณาที่ประเด็นปัจจัยความจำเป็นในเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่จะมีผลต่อการกระตุ้นให้เกิดการสร้างงานและรายได้ของประชาชนในระยะยาว หากกล่าวอย่างถึงที่สุด ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยมิได้เปลี่ยนแปลงมากนักจากผลของการบริโภคภาคเอกชนในประเทศ (Private Consumption) ชะลอตัวจากภาระหนี้สินภาคประชาชน โดยเห็นได้ชัดจากการชะลอตัวของการบริโภคสินค้าคงทนที่ดัชนีการบริโภคสินค้าคงทน (Durable Index) ขยายตัวในอัตราติดลบต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี ขณะที่ภาคการส่งออกชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจากประเทศคู่ค้าหลักคือประเทศจีน ทำให้อัตราการขยายตัวเฉลี่ยของสินค้าส่งออกซึ่งเคยเป็นปัจจัยหนุนนำทางเศรษฐกิจของไทยมาอย่างยาวนาน มีแนวโน้มที่จะอัตราขยายตัวติดลบต่อเนื่องตลอดทั้งปี แม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง อย่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจะประเมินและกำหนดเป้าหมายการทำงานไว้ว่า จะผลักดันการส่งออกให้ขยายตัวที่ร้อยละ 5 หรือเฉลี่ย 19,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนก็ตาม แต่แผนการปฏิบัติงานดังกล่าวอาจไม่ได้ผลงดงามสวยหรูอย่างที่คาด แม้โดยภาพรวมอาจจะมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นบ้าง กรณีที่ว่านี้ส่งผลสืบเนื่องไปสู่การผลิตที่ลดลง

Read More

ทุกข์เกษตรกร ผจญภัยแล้งแถมเศรษฐกิจฟุบ

  พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ผ่านพ้นไปแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และเป็นประหนึ่งสัญญาณของการเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูกครั้งใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยขวัญและกำลังใจสำหรับเกษตรกร ในการประกอบสัมมาชีพหล่อเลี้ยงสังคมและผู้คนต่อไป เพราะท่ามกลางผลการเสี่ยงทายที่ปรากฏว่าพระโคได้กินข้าว ข้าวโพด งา เหล้า น้ำ และหญ้า พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร จะบริบูรณ์ดี น้ำท่าจะบริบูรณ์สมควร การคมนาคมสะดวกยิ่งขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดี เศรษฐกิจรุ่งเรืองขึ้น และในการเสี่ยงทายผ้านุ่งเสี่ยงทาย พระยาแรกนาหยิบเสี่ยงทาย ผ้านุ่ง 5 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำปริมาณพอดี ข้าวกล้าได้ผลบริบูรณ์ ผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี ดูจะเป็นแรงกระตุ้นความหวังและความฝันครั้งใหม่ได้ไม่น้อยเลย หากแต่ข้อเท็จจริงที่เกษตรกรไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ อาจอาศัยเพียงกำลังใจและความคาดหวังจากการพยากรณ์ตามลำพังไม่ได้ เพราะปัญหาของเกษตรกรไทยในห้วงปัจจุบันมิได้มีเพียงประเด็นว่าด้วยการเพิ่มผลผลิตหรือการปรับโครงสร้างราคาพืชผลทางการเกษตรให้สอดรับกับต้นทุนการผลิตเท่านั้น หากยังมีปัจจัยว่าด้วยความสามารถในการแข่งขันเพื่อการส่งออกไปยังตลาดระดับนานาชาติด้วย ปัญหาเฉพาะหน้าของเกษตรกรในช่วงของภาวะภัยแล้งที่ผ่านมา อยู่ที่ต้นทุนการผลิต ปริมาณการผลิต ต้นทุนการหาแหล่งน้ำ รายได้จากการทำการเกษตร หนี้สินของครัวเรือน และการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน ซึ่งประชาชนประมาณ 80.5% ที่ตอบแบบสำรวจของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เมื่อช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนที่ผ่านมา ระบุว่าในการแบกรับภาระหรือการรับมือต่อภัยแล้ง ทำได้น้อย หรือทำไม่ได้เลย  ขณะเดียวกัน สถานการณ์ภัยแล้งที่มีแนวโน้มจะยืดยาวไปถึงช่วงมิถุนายน 2559 จะทำให้เม็ดเงินหายไปจากระบบเศรษฐกิจประมาณ

Read More

เศรษฐกิจไทยยังไร้สัญญาณชีพ รัฐเร่งระดมมาตรการกระตุ้นซ้ำ

  สัญญาณชีพของเศรษฐกิจไทยหลังผ่านพ้นไตรมาสที่ 1 ดูเหมือนจะยังไม่มีวี่แววการฟื้นตัวให้ได้เห็นหรือจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่ภาวะภัยแล้งกลายเป็นปัจจัยลบที่ท่วมทับเศรษฐกิจฐานรากให้เผชิญกับวิกฤตหนักหน่วงขึ้นอีก ไม่นับรวมเทศกาลเปิดเทอมที่ขยับใกล้เข้ามาเพิ่มเติมภาระค่าใช้จ่ายแต่ละครัวเรือนอย่างไม่อาจเลี่ยง ความเป็นไปของปรากฏการณ์โดยรอบที่กล่าวมานี้ ในด้านหนึ่งคงไม่สามารถปล่อยให้ดำเนินไปอย่างไร้การใส่ใจดูแลเพราะนอกจากจะเป็นประเด็นแหลมคมที่พร้อมจะขยายผลลุกลามกลายเป็นวิกฤตการณ์ครั้งใหม่แล้ว ดูเหมือนว่ากลไกภาครัฐก็ตระหนักถึงความหนักหน่วงของปัญหาดังกล่าวไม่น้อยเลย ความพยายามส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้าครั้งล่าสุด ปรากฏให้เห็นเมื่อสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจรัฐบาลปัจจุบัน ร่วมการประชุมธนาคารเฉพาะกิจ 3 แห่ง ที่ประกอบด้วย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา “ปัญหาหนี้ครัวเรือน ถือเป็นประเด็นที่น่าเป็นห่วง และได้สั่งการให้ธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส. ดูแลปัญหานี้อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม โดยสั่งการให้ ธ.ก.ส. และธนาคารออมสินสำรวจประชาชนว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนเกิดจากสาเหตุใด ถ้ามาจากเรื่องธุรกิจการค้า และบ้านที่อยู่อาศัยก็ไม่น่าห่วง แต่ถ้าเกิดจากการจับจ่ายใช้สอยก็ต้องรีบดูแลโดยด่วน” ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะเป็นผู้จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ครัวเรือน โดยให้จำแนกว่าเป็นหนี้เพื่อธุรกิจหรือเพื่อการประกอบอาชีพสัดส่วนเท่าใด เป็นหนี้ที่เกิดจากการบริโภคสัดส่วนเท่าใด หากเป็นหนี้เพื่อธุรกิจหรือประกอบอาชีพที่จะทำให้ประชาชนมีรายได้ภายในอนาคตก็ถือว่าเป็นเรื่องจำเป็น ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และหาแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นและป้องกันการก่อหนี้เกินตัว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือฐานรายได้ของประชากรในห้วงเวลาปัจจุบันไม่สอดคล้องกับความเป็นไปของค่าครองชีพ ขณะเดียวกันความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของกลุ่มประชากรนี้เป็นไปอย่างจำกัด และทำให้ต้องพึ่งพาเงินทุนนอกระบบ ซึ่งยิ่งเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์หนี้และทับถมให้พอกพูนอย่างที่ยากจะแก้ไขหรือขจัดให้หนี้สินหมดไปได้จริงๆ มาตรการที่กำลังจะได้รับการนำเสนอในอนาคตจึงอยู่ที่การสั่งการให้ทั้งกระทรวงการคลังและธนาคารออมสินคิดหาและกำหนดรูปแบบการให้สินเชื่อที่สะดวกขึ้น เพื่อให้สินเชื่อรูปแบบใหม่นี้เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการกู้เงินของประชาชน โดยกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยสูงสุดให้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบ ส่วนจะอยู่ที่ระดับใดขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของกระทรวงการคลัง และธนาคารเฉพาะกิจ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้ ขณะที่ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ระบุว่าการปล่อยสินเชื่อในรูปแบบใหม่ที่ได้รับการสั่งการนั้นต้องรอรูปแบบและวิธีการปล่อยสินเชื่อจากกระทรวงการคลังก่อน เพราะ รมว.

Read More

มุมมองของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ต่อโอกาสและความท้าทายของเศรษฐกิจไทย

 ช่วงเวลาท้ายปีหลายหน่วยงานมักนิยมจัดงานเสวนา งานสัมมนา และหัวข้อที่มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นหลักของงานคงหนีไม่พ้นเรื่องเศรษฐกิจไทย หรือความพร้อมของไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้นปลายปีนี้ ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่ไม่มั่นคง ซึ่งมีเหตุมาจากการขาดเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศ และผลกระทบจากสภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายนอกประเทศ ทำให้หลายฝ่ายมีคำถามขึ้นในใจว่า ประเทศไทยพร้อมเพียงใด และยังรวมไปถึงแนวทางที่ควรปฏิบัติ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา มีการจัดสัมมนาและเสวนาพร้อมกันสองงาน ซึ่งหัวข้อของทั้งสองงานนี้คล้ายเป็นการตั้งคำถามในทิศทางเดียวกัน ทั้งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่จัดสัมมนาในหัวข้อ “อนาคตเศรษฐกิจไทยปี 2559 โอกาสและความท้าทาย” และนิโอ ทาร์เก็ตจัดเสวนาเรื่อง “ก้าวสู่เออีซี โอกาสและความท้าทาย” ซึ่งบุคคลที่เป็นแม่งานทั้งสองฝ่ายเล็งเห็นว่าผู้ที่จะให้คำตอบ แนวคิด หรือคำนิยามที่ดีและเหมาะสมที่สุดคือ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียนและประธานสถาบันนวัตกรรมแห่งอนาคต (FIT)  “คนรุ่นใหม่เป็นความหวังของชาติ รู้จักแปรเปลี่ยนปรับวิธีคิด ท่ามกลางกระแสที่เกิดขึ้นรอบด้าน” ดร.สุรินทร์กล่าว อีกทั้งยังแสดงทัศนะต่อว่า อาเซียนเป็นโอกาสและเวทีในการแข่งขัน นับเป็นพื้นที่พิเศษที่ถูกบูรณาการเข้าหากัน ประเทศไทยต้องอาศัยความหลากหลายที่มี โดยเฉพาะตำแหน่งที่ตั้งของไทยที่อยู่กึ่งกลางของ GMS Corridors  ปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังรุมเร้าไทยอยู่ในขณะนี้เป็นผลมาจากการขาดเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่นที่เมื่อประสบกับสภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ ปัญหาเหล่านั้นจะมีผลต่อความมั่นคงทางการเมือง นอกเหนือไปจากปัญหาเศรษฐกิจ ความพร้อมด้านภาษาของคนไทยถือได้ว่าเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่ง “เราต้องปรับตัว อย่ายึดติดกับอดีตมากเกินไป ไม่อย่างนั้นไทยจะไม่สามารถต่อสู้กับทั่วโลกได้”  คนไทยบางส่วนยังขาดความสามารถด้านภาษา ซึ่งภาษาอังกฤษถือว่าเป็นภาษาทางการของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หากแต่หลายคนยังให้คำตอบต่อประเด็นนี้ว่า เพราะประเทศไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของชาติใด ไม่ตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของใคร จึงไม่แปลกที่เราจะพูดภาษาอังกฤษไม่ได้  นี่เองที่ทำให้

Read More

ประเมินมอเตอร์โชว์ 2015 เศรษฐกิจไทย ฟื้นหรือฟุบ?

 มหกรรมยานยนต์ช่วงต้นปี “บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2015 ครั้งที่ 36” ได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วไปในสังคมไทยไม่น้อย ไม่เฉพาะในมิติที่เกี่ยวเนื่องกับการอวดโฉมยนตรกรรมภายใต้แนวคิด “Art of Auto” และการแข่งขันในการช่วงชิงกำลังซื้อของบรรดาค่ายรถยนต์แต่ละค่ายเท่านั้น หากแต่กิจกรรมระดับชาติที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีครั้งนี้ กำลังเป็นอีกส่วนหนึ่งของดัชนี และมาตรวัดที่จะช่วยสะท้อนสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยว่ากำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัว ตามคำประกาศของภาครัฐหรือกำลังถอยหลังทยอยฟุบอย่างที่ประชาชนทั่วไปรู้สึกกัน การคาดหมายยอดจองรถยนต์ภายในงาน ที่ทางฝ่ายผู้จัดงานประเมินไว้เบื้องต้นที่ 40,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย ถือเป็นการประเมินที่พยายามยืนอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอย่างยิ่ง โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ที่อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยดูจะซบเซา แม้ว่าค่ายรถยนต์พยายามจะแข่งขันและกระตุ้นกำลังซื้อในตลาดก็ตาม ข้อสังเกตที่พบเห็นได้ในช่วงก่อนการแสดงงานมอเตอร์โชว์ปีนี้ อยู่ที่การระดมประชาสัมพันธ์และโหมโฆษณาจากค่ายรถยนต์หลากหลาย ในลักษณะที่ระบุว่า ซื้อรถเงื่อนไขเดียวกับมอเตอร์โชว์ แต่ดูเหมือนการกระตุ้นให้ตัดสินใจซื้อก่อนงานแสดงมอเตอร์โชว์จะไม่ค่อยได้ผลนัก แม้จะมีส่วนลดสูงถึงระดับ 5 หมื่นถึง 1 แสนบาทก็ตาม ซึ่งสะท้อนความไม่มั่นใจของผู้บริโภคได้ในระดับหนึ่ง แต่หากประเมินในแง่ดี ในมิติที่เป็นเพียงการประวิงเวลาและพิจารณาเงื่อนไขภายในงานก่อนการตัดสินใจ กำลังซื้อที่รอคอยจังหวะอยู่นี้ ก็อาจช่วยให้ตัวเลขการจองรถยนต์ภายในงานสามารถบรรลุเป้าหมายที่คาดการณ์ได้ไม่ยาก “ทุกค่ายรถยนต์ ก็ต้องพยายามต่อสู้ดิ้นรนไม่มีใครยอมแพ้ แม้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจจะดีไม่ดีอย่างไร ก็คงไม่มีใครถอนตัวหรือหยุดความเคลื่อนไหวจากการแข่งขันนี้ได้” ปราจิน เอี่ยมลำเนา ประธานกรรมการ บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในฐานะประธานจัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่

Read More

จาก “ม้าพยศ” สู่ “แพะรับบาป” สัญญาณวิกฤตเศรษฐกิจไทย?

 หากปี 2557 ที่ผ่านมา จะเป็นปีนักษัตรแห่งม้า ที่ทำให้หลายฝ่ายคาดหมายว่าจะเป็นปีแห่งการพุ่งทะยานทางเศรษฐกิจ หากแต่ดูเหมือนว่าในความเป็นจริงที่ปรากฏตลอด หนึ่งขวบปี กลับกลายเป็นว่าปีแห่งจอมอาชาได้มีสภาพเป็นปีแห่งม้าพยศ ซึ่งไม่เพียงแต่จะสามารถผลักดันให้เดินหน้าไปตามเป้าประสงค์ ในหลายกรณียังไม่อาจควบคุมทิศทาง และอาจถึงกลับทำให้ผู้กุมบังเหียนตกจากหลังม้าได้รับบาดเจ็บอีกด้วย สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในยุค คสช. “คืนความสุขให้ประชาชน” ถูกโหมกระหน่ำด้วยภาวะราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำทั้งราคายางถอยหลังลงไปเป็นประวัติการณ์ ราคาข้าวทรุดต่ำหลังสิ้นยุคแห่งการประกันราคาและจำนำข้าว ที่ทำให้ถึงกับมีแนวความคิดจ้างชาวนาเลิกปลูกข้าวกันเลยทีเดียว แม้ว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมาหน่วยงานและสถาบันคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของรัฐจะพยายามเร่งระดมความเชื่อมั่นด้วยการระบุว่าภาวะเศรษฐกิจไทยกำลังดำเนินไปด้วยดี หรืออย่างน้อยก็กำลังกลับมาสู่ร่องรอยที่พึงประสงค์ จากผลของทิศทางและความชัดเจนทางการเมือง แต่ดูเหมือนว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าจะไม่ได้สื่อแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการไปในทางที่ดีอย่างที่กลไกรัฐพยายามประชาสัมพันธ์แต่อย่างใด และในทางกลับกันยิ่งสะท้อนภาพ “ม้าพยศ” ที่โพ้นไปจากความสามารถทางปัญญาที่จะควบคุมเสียอีกด้วย ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถึงกับระบุว่าจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าและต่ำกว่าที่คาดการณ์ รวมถึงส่งออกที่ชะลอตัว การท่องเที่ยวที่อาจจะต่ำกว่าประมาณการ การดำเนินนโยบายการเงิน ยังจำเป็นต้องผ่อนคลายเพื่อประคับประคองเศรษฐกิจไม่ให้มีความเสี่ยงต่อเสถียรภาพในระยะยาว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากก็คือกลไกรัฐอย่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ก็ตระหนักและออกจะเป็นกังวลในเรื่องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และอาจมีการผ่อนคลายเพิ่มเติม หากเศรษฐกิจไม่เป็นตามที่คาดการณ์ไว้ ทั้งที่ในปัจจุบันก็ดำเนินนโยบายการเงินผ่อนปรนอยู่แล้ว โดยดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันอยู่ที่ 2% เท่านั้น ความหมายของการผ่อนคลายนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเป็นการส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยซึ่งสะท้อนข้อเท็จจริงและเป็นการยอมรับโดยนัยว่าภาวะเศรษฐกิจไทยที่เป็นจริงไม่ใช่มายาภาพนั้น อยู่ในภาวะที่เรียกว่าไม่ดีจริงๆ ขณะที่งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ก็ตั้งไว้ไม่สูงเช่นกัน เพราะคงไม่สามารถหาเงินมาอุดหนุนงบประมาณได้ ความถดถอยทางเศรษฐกิจไทยในด้านหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ภาคการส่งออกไม่สามารถเติบโตได้อย่างเข้มแข็งในระดับ 2 digit มาอย่างต่อเนื่องเหมือนในอดีต และไม่มีความสามารถที่จะสร้างให้เกิดการเติบโตในระดับแม้เพียงเลขหลักเดียวด้วยซ้ำ โดยในปี 2557 คาดว่าภาคการส่งออกจะมีผลสรุปอยู่ที่การเติบโตติดลบ ซึ่งคงไม่ใช่ประเด็นที่ควรมองข้ามแน่นอน ประเด็นที่ควรพิจารณาต่อไปจึงอยู่ที่ว่า

Read More