Home > Economic (Page 2)

หนี้ครัวเรือนพุ่ง วิกฤตที่ไทยต้องเผชิญ

ภัยพิบัติที่ไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้เหมือนซ้ำเติมสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่หาหนทางตะเกียกตะกายขึ้นมายืนอยู่ขอบเหวแทบไม่เจอ ให้ตกต่ำและทับถมจมลงไปก้นเหวลึกกว่าเดิม เมื่อเวลานี้ตัวเลขหนี้ครัวเรือนของไทยเพิ่มสูงขึ้นจนกลายเป็นประวัติการณ์ แม้คำว่า “หนี้” จะหมายถึงการมีภาระผูกพันที่ต้องชดใช้คืน ทว่า นัยความหมายของหนี้ครัวเรือนในอีกมิติ คือภาพสะท้อนที่ชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจกำลังขับเคลื่อนไปในทิศทางใด ทั้งนี้ดูได้จากตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่สอดคล้องกับระดับรายได้ของประชาชน หากหลังจากชำระหนี้สินแล้วยังมีความสามารถในการจับจ่ายใช้สอย นั่นหมายถึงเศรษฐกิจสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้เป็นอย่างดี แต่หากภาระหนี้ครัวเรือนมากกว่ารายได้ครัวเรือนแล้ว สิ่งที่ตามมาคือการถดถอยทางเศรษฐกิจ ที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในครัวเรือนใดครัวเรือนหนึ่งเท่านั้น แต่นั่นเป็นการบ่งชี้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในระดับมหภาคของประเทศนั้นๆ ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันอยู่ในภาวะชะลอตัวในทุกมิติ โดยมีปัจจัยที่สร้างผลกระทบทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ โดยปัจจัยภายนอกคืออิทธิพลจากกระแสของสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่กำลังโรมรันห้ำหั่นกันอย่างต่อเนื่อง สงครามการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ส่งผลต่อภาคการส่งออกของไทยในแง่ของความต้องการสินค้าและภาคการผลิต ไม่ต่างจากระลอกคลื่นที่ถาโถมเข้าฝั่งที่ไร้ปราการป้องกัน นั่นย่อมเกิดความสูญเสียได้ง่าย รวมไปถึงความเป็นไปได้ของการหาทางออกอื่น ในที่นี้หมายถึงตลาดใหม่ แม้ว่าจะยังไม่สายที่จะมองหาตลาดใหม่สำหรับภาคการส่งออก แต่ต้องยอมรับว่าหลายประเทศได้รับผลกระทบไม่ต่างจากที่ไทยกำลังเผชิญมากนัก นั่นทำให้การรุกตลาดใหม่ของภาคส่งออกทำได้ยากมากขึ้น เมื่อภาคการส่งออกเดินทางมาถึงขั้นวิกฤต ย่อมส่งผลต่อภาคการผลิตในประเทศ เมื่อสินค้าที่ปกติสามารถระบายออกไปได้อย่างต่อเนื่อง กลับกระจุกและช่องทางการกระจายสินค้าไปยังแหล่งอื่นเป็นไปได้ยาก นั่นทำให้รายได้ของผู้ประกอบการลดลง กำไรลดลง ขณะที่ยังต้องแบกภาระต้นทุนอยู่ตลอดเวลา สถานการณ์เช่นนี้ย่อมสร้างให้เกิดความไม่มั่นใจในทิศทางเศรษฐกิจทั้งของไทยและเศรษฐกิจโลก ทางออกอาจเป็นไปได้ทั้งชะลอการลงทุนใหม่ในรายของผู้ประกอบการที่กำลังมีแผนในการขยายงานหรือขยายตลาด ขณะที่ทางออกของผู้ประกอบการบางรายอาจจบลงที่หยุดประกอบกิจการและจบลงด้วยการเลิกจ้าง แม้ว่าในปัจจุบันจะมีข่าวการประกาศเลิกจ้างให้ได้ยิน ได้อ่านอยู่บ้างประปราย ทว่าไม่ได้เกิดจากสถานการณ์จากเศรษฐกิจที่กำลังถดถอยในปัจจุบันขณะ ส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากกระแสธารที่เปลี่ยนแปลงไปของการบริโภคในปัจจุบัน เพราะเป็นเรื่องยากมากขึ้นที่แบรนด์ต่างๆ จะรักษาความจงรักภักดีในตัวแบรนด์หรือ Brand Loyalty ของผู้บริโภคเอาไว้ได้ตลอดไป แน่นอนว่า เมื่อเกิดการเลิกจ้าง หรือภาวะการว่างงานมีสูงขึ้น ส่งผลถึงความไม่มั่นคงทางรายได้และหนี้ครัวเรือนที่จะต้องเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยผลการสำรวจภาวะการว่างงานเดือนกรกฎาคม 2562 ว่า มีผู้ว่างงาน 4.36 แสนคน

Read More

เศรษฐกิจถดถอย คนไทยต้องอดทน

หลังการแถลงตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2 ปี 2562 ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.3 เปอร์เซ็นต์ จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทว่าตัวเลขดังกล่าวกลับสะท้อนทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี เป็นการชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนที่ 2.8 เปอร์เซ็นต์ ครึ่งปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียง 2.6 เปอร์เซ็นต์ ฟันเฟืองในระบบเศรษฐกิจไทยทุกตัวอยู่ในภาวะชะงักงัน เครื่องจักรทางเศรษฐกิจไม่สามารถขับเคลื่อนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเฉกเช่นเดิม นั่นเพราะมีปัจจัยแวดล้อมหลายด้านทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ทั้งสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่ฟาดฟันกันด้วยกำแพงภาษีสินค้านำเข้าของทั้งสองประเทศ สร้างความไม่มั่นคงให้กับสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศต่อประเทศคู่ค้าอื่นๆ และทำให้ภาคการส่งออกของไทยหดตัวลงอย่างต่อเนื่องจนถึงขั้นติดลบ ผู้ประกอบการสินค้าเพื่อการส่งออกจำเป็นต้องปรับตัวด้วยการมองหาตลาดใหม่ในภาวะที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังระส่ำระสาย เพราะสงครามการค้าไม่ได้มีเพียงสองคู่อริอย่างจีนกับสหรัฐฯ เท่านั้น ยังมีสงครามการค้าระหว่างฝรั่งเศสกับสหรัฐฯ เรื่องภาษีดิจิทัล และสงครามการค้าระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ แม้ว่าตำแหน่งที่ไทยยืนอยู่บนเวทีโลกจะไม่สามารถเป็นคู่ชกกับประเทศใดได้ แต่กลับได้รับผลกระทบทางอ้อมจากทุกสงครามที่เกิดขึ้น สงครามการค้าที่เกิดขึ้น หลายฝ่ายอาจจะมองในแง่ที่ว่า ไทยอาจสร้างความได้เปรียบในสถานการณ์เช่นนี้ ทว่าเรื่องจริงกลับไม่สวยงามดังนิยาย เมื่ออิทธิพลของสงครามการค้าขยายไปสู่ภาคการลงทุน ผู้ประกอบการที่มีฐานการผลิตอยู่ในประเทศเหล่านี้อาจเลือกย้ายฐานการผลิตเพื่อหลีกเลี่ยงพิษสงกำแพงภาษีไปยังไปประเทศอื่น และแน่นอนว่าไทยมีข้อได้เปรียบมากมายที่อาจทำให้เข้าใจว่าอาจถูกเลือกเป็นฐานการผลิตใหม่ และนั่นหมายถึงเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่จะตามมา รวมไปถึงการจ้างงานที่จะเกิดขึ้นด้วย ทว่า อีกครั้งที่เหมือนการดับฝันภาคอุตสาหกรรมในไทย เมื่อเวียดนามกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำคัญให้กับผู้ประกอบการเหล่านี้ ทั้งความพร้อมด้านแรงงาน พื้นที่รองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ทำให้ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยเตรียมปักหมุดในเวียดนาม ที่เปรียบเสมือน “ตาอยู่” ในภูมิภาคนี้ แม้ว่ารัฐบาลไทยจะพยายามชูโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อหวังให้นักลงทุน ผู้ประกอบการ เล็งเห็นศักยภาพที่ภาครัฐกำลังนำเสนอและตัดสินใจย้ายฐานการผลิต หรือลงทุนในภาคอุตสาหกรรมบนพื้นที่ดังกล่าว แต่ถึงเวลานี้ด้วยปัจจัยแวดล้อมหลายประการ ทั้งความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพของรัฐบาล ค่าเงิน อาจทำให้นักลงทุนมองว่ายังมีประเทศอื่นที่น่าจะสร้างโอกาสได้ดีกว่า นอกจากสงครามการค้าปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อสภาพการณ์ของเศรษฐกิจไทยแล้ว

Read More

เศรษฐกิจไทยชะลอตัว ปัจจัยความเชื่อมั่นผู้บริโภคลด

แม้ว่าประเทศไทยจะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ไปเมื่อวันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา ทว่านายกคนใหม่หน้าเดิม ยังไม่อาจเรียกความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นได้ เมื่อยังไม่ได้ข้อสรุปของตำแหน่งรัฐมนตรีที่จะเข้ามาสานงานต่อจากรัฐบาลชุดปัจจุบัน หลายฝ่ายที่เฝ้ารอโฉมหน้าของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่จะเข้ามาทำงานเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งไพร่ฟ้าหน้าใส นักลงทุนชาวไทยและต่างชาติ หรือแม้แต่ฝ่ายตรงข้ามอย่างพรรคที่ต้องมาเป็นฝ่ายค้านในสภา ดูเหมือนสถานการณ์ความเป็นไปของเศรษฐกิจประเทศไทยในปัจจุบันจะเป็นงานหนักของรัฐบาลชุดใหม่ไม่น้อย เมื่อมีปัญหาหลายด้านที่ต้องเร่งมือแก้ไขเพื่อเรียกความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นทั้งกับนักลงทุน และผู้บริโภคคนไทย โดยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ธนวรรน์ พลวิชัย เปิดเผยถึงผลการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนพฤษภาคม 2562 ว่า มีการปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 77.7 ซึ่งเป็นการปรับตัวต่ำสุดในรอบ 19 เดือน นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2560 และเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ปัจจัยที่ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงมาจากหลายปัจจัย ได้แก่ 1. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เผยตัวเลขเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/2562 ขยายตัวเพียง 2.8 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 17 ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาส 4/2557 และลดลงจาก 3.6 เปอร์เซ็นต์ ในไตรมาสก่อนหน้า จากสาเหตุที่การส่งออกลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า และจากปัญหาสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ 2. สศช. ปรับประมาณการอัตราเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2562 จะโตที่

Read More

ส่งออกไทยติดลบย่อยยับ เศรษฐกิจไทยพร้อมพับฐาน

ความเป็นไปของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปี 2562 ดูจะดำเนินไปในทิศทางที่ถดถอยลงไปอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับคำขวัญและความมุ่งมั่นในเชิงวาทกรรมของกลไกภาครัฐว่าด้วยความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ไปอย่างสิ้นเชิงและทำให้ถ้อยแถลงประชาสัมพันธ์ผลงานของกลไกรัฐในช่วงที่ผ่านมาดูจะไม่ใกล้เคียงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเบื้องหน้าเสียเลย ตัวเลขที่บ่งชี้ถึงข้อเท็จจริงว่าด้วยเศรษฐกิจไทยที่สะท้อนออกมาในห้วงเวลาปัจจุบันอยู่ที่สถานการณ์การส่งออกของประเทศไทยที่อยู่ในภาวะถดถอยอย่างเห็นได้ชัด โดยตัวเลขการส่งออกในเดือนเมษายนที่ผ่านมา หดตัวติดลบร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยคิดเป็นเม็ดเงินมูลค่า 18,555.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 5.8 แสนล้านบาท ส่งผลให้เฉพาะเดือนเมษายนที่ผ่านมา ประเทศไทยขาดดุลการค้าถึง 1,457.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือติดลบประมาณ 54,396.5 ล้านบาท ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/2562 การส่งออกของไทยก็ติดลบอยู่ที่ร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าอีกด้วย ความตกต่ำลงของการส่งออกไทยในด้านหนึ่งนอกจากจะเผชิญแรงกดดันจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาที่มีแนวโน้มจะยืดเยื้อต่อเนื่องยาวนาน และต่างเป็นตลาดส่งออกหลักของสินค้าไทยแล้ว การส่งออกสินค้าไทยไปยังสหภาพยุโรป (EU) ก็อยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียพื้นที่ตลาดให้กับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นไปอีก เพราะในขณะที่การเจรจากรอบการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปยังอยู่ในภาวะชะงักงันมาตลอดระยะเวลา 5 ปีของรัฐบาล คสช. ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนกลับดำเนินการเจรจาและสามารถบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปได้สำเร็จ ความเคลื่อนไหวว่าด้วย FTA สหภาพยุโรปกับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน ส่งผลต่อความกังวลใจให้กับผู้ประกอบการในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เพราะผลจากข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรปกับเวียดนาม ทำให้ภาษีนำเข้าสินค้าเครื่องนุ่งห่มจากเวียดนามเข้าสู่ตลาดยุโรป ที่เดิมมีอัตราภาษีอยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ

Read More

รัฐบาลใหม่ สังคมไทยคาดหวังอะไร??

ผลการลงมติเพื่อเลือกสรรผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของไทยในการประชุมร่วมรัฐสภาได้ผ่านพ้นไปแล้ว โดยไม่มีสิ่งใดผิดพลาดไปจากการคาดหมายด้วยคะแนนเสียงทั้งจากสมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับการแต่งตั้งและจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองที่ประกาศตัวเข้าร่วมรัฐบาลที่มีพรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำ ด้วยคะแนนเสียงรวม 500 คะแนน หากแต่ประเด็นที่น่าจับตามองนับจากนี้ นอกจากจะอยู่ที่การเจรจาตกลงเพื่อจัดสรรตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่กำลังจะมีขึ้นระหว่างพรรคการเมืองแต่ละพรรคว่าจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไรแล้ว การผนวกผสานนโยบายที่แต่ละพรรคการเมืองได้เคยนำเสนอระหว่างช่วงเวลาของการหาเสียงเลือกตั้งให้เกิดเป็นนโยบายสาธารณะที่จับต้องได้และมีผลในการผลักดันพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในห้วงเวลาจากนี้ ยังเป็นสิ่งที่น่าสนใจติดตามไม่น้อยเลย ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา สังคมไทยห่างหายจากกระบวนการตรวจสอบ ถ่วงดุล และร่วมแสดงความคิดเห็นในเชิงนโยบายไปโดยปริยาย ซึ่งการเกิดขึ้นของการเลือกตั้งเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตลอดจนถึงการลงมติเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ดูจะเป็นประหนึ่งบทเริ่มต้นของการกลับเข้าสู่กระบวนการรัฐสภา ที่ทำให้บุคคลในคณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบทางการเมืองและต่อสังคมหลังจากที่ก่อนหน้านี้มาตรฐานทางจริยธรรมที่เอ่ยอ้างดูจะเป็นเกราะกำบังให้โพ้นไปจากความรับผิดชอบเหล่านี้ ประเด็นปัญหาว่าด้วยเสถียรภาพของรัฐบาลใหม่และประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ดูจะเป็นสิ่งที่สังคมไทยให้ความสนใจไม่น้อย เพราะด้วยเหตุแห่งข้อเท็จจริงที่ว่าฝ่ายที่ร่วมรัฐบาลและฝ่ายค้านในสภามีคะแนนเสียงไม่แตกต่างกันมากนัก ซึ่งหมายความว่าการบริหารราชการแผ่นดิน การผลักดันนโยบายต่างๆ รวมถึงการออกกฎหมาย จะดำเนินไปท่ามกลางความยากลำบากไม่น้อย ขณะที่โอกาสของการเกิดปัญหาระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลจนนำไปสู่การยุบสภาในระยะเวลาอันใกล้ก็ดูจะมีความเป็นไปได้สูง ความน่ากังวลของการนำพารัฐนาวาในห้วงเวลานับจากนี้ อีกประการหนึ่งยังผูกพันกับข้อเท็จจริงที่ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจระดับนานาชาติอยู่ในภาวะชะลอตัว โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ต่ำสุดในรอบหลายปี ขณะที่ตลอดช่วงเวลา 5 ปี ของรัฐบาล คสช. โครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยยังไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับสถานการณ์ใหม่ และไม่ได้รับการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้มีความสามารถในการแข่งขันมากพอ นอกจากนี้ เหตุของข้อพิพาททางการค้าจีน-สหรัฐฯ กลายเป็นความท้าทายสำหรับรัฐบาลใหม่ เพราะไทยพึ่งพารายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยวสูงถึงในระดับร้อยละ 70-80 ของ GDP ภารกิจเร่งด่วนที่หลายฝ่ายเรียกร้องให้รัฐบาลใหม่เร่งดำเนินการในภาวะชะลอตัวของการส่งออกและท่องเที่ยวในขณะนี้ จึงมุ่งเป้าไปที่การเรียกคืนความเชื่อมั่นจากภาคธุรกิจ นักลงทุนและประชาชน เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ ผ่านการลงทุนภาคเอกชน และการบริโภค ซึ่งแม้จะดูเป็นกรณีสามัญและไม่น่าจะเป็นเรื่องยากที่รัฐบาลส่วนใหญ่พึงกระทำ

Read More

จีดีพี หดตัว-อสังหาฯ ซบเซา สัญญาณร้ายเศรษฐกิจไทย

ความเป็นไปของเศรษฐกิจไทยที่สะท้อนผ่านตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจล่าสุด ดูจะเป็นประจักษ์พยานและดัชนีชี้วัดความสำเร็จ-ล้มเหลวของการบริหารงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลคณะรักษาความสงบห่งชาติ (คสช.) ในช่วงระยะเวลาตลอด 5 ปีหลังเข้ายึดอำนาจเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่สถานะใหม่ในรัฐบาลชุดหน้า หลังสิ้นวาระลงจากผลของการเลือกตั้งและการเปิดประชุมรัฐสภาที่จะมีขึ้นในเร็ววันนี้ ความตกต่ำย่ำแย่ทางเศรษฐกิจที่ได้รับการแถลงยืนยันโดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งระบุว่า การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในช่วงไตรมาส 1/2562 เติบโตในระดับร้อยละ 2.8 ซึ่งนับเป็นการเติบโตในอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 17 ไตรมาส บ่งบอกถึงทิศทางเศรษฐกิจไทยในช่วงการบริหารงานของ คสช. ที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี แม้ว่าตลอดระยะเวลาก่อนหน้ากลไกรัฐจะพยายามสื่อสารกับสาธารณะว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวและอยู่ในสภาพที่ดีขึ้นก็ตาม ความจำเริญแบบถดถอยลงทางเศรษฐกิจไทยในลักษณะที่เกิดขึ้นดังกล่าว ส่งผลให้ต้องมีการปรับลดประมาณการทางเศรษฐกิจลงอีก จากเดิมที่คาดว่าจะคงการเติบโตตลอดทั้งปีไว้ได้ที่ระดับร้อยละ 4 มาเหลือเพียงการเติบโตในระดับร้อยละ 3.3-3.8 ในปี 2562 เท่านั้น ยังไม่นับรวมปัจจัยอื่นๆ ที่อาจฉุกกระชากให้ต้องมีการปรับลดเป้าการเติบโตอีกสำหรับอนาคต มูลเหตุสำคัญที่ทำให้จีดีพีของไทยในไตรมาส 1/2562 ตกต่ำกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ ได้รับการอธิบายในลักษณะที่เกือบจะกลายเป็นสูตรสำเร็จว่าเป็นผลจากการที่การส่งออกของไทยชะลอตัวลงจากแรงกดดันของสงครามทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ควบคู่กับการลงทุนภาครัฐที่ชะลอตัวลง ขณะเดียวกันก็คาดหวังว่า ปัจจัยทางการเมืองว่าด้วยการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ จะช่วยให้เกิดการผลักดันการเบิกจ่ายงบประมาณครั้งใหม่ ที่อาจช่วยคลี่คลายสถานการณ์ตกต่ำทางเศรษฐกิจนี้ได้บ้าง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในระดับร้อยละ 2.8 ในไตรมาส 1/2562 ที่ฉุดให้คาดว่าตลอดทั้งปีเศรษฐกิจไทยจะเติบโตในระดับร้อยละ 3.3-3.8 นับเป็นการขยายตัวเติบโตในระดับต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนประเทศอื่นๆ ซึ่งขยายตัวในระดับเฉลี่ยร้อยละ

Read More

ค่าใช้จ่ายเปิดเทอมใหม่ ภาระหนักครัวเรือนไทย?

ภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไร้ข้อสรุปว่าด้วยการเกิดมีขึ้นของรัฐบาลชุดใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งจนถึงขณะปัจจุบันคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ได้วางกรอบงบประมาณจัดการเลือกตั้งไว้สูงถึง 5,800 ล้านบาท ยังไม่สามารถดำเนินการประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการได้ และกลายเป็นประหนึ่งกับดักหลุมพรางที่ทำให้องคาพยพของสังคมด้านอื่นต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันของหล่มปลักไปด้วยโดยปริยาย ก่อนหน้านี้นักธุรกิจและบรรดาผู้สันทัดกรณีทางเศรษฐกิจต่างโหมประโคมความมั่นใจว่าภายหลังการเลือกตั้งซึ่งควรจะติดตามมาด้วยความชัดเจนของการจับขั้วทางการเมืองและการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ภายหลังยุคสมัยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เศรษฐกิจไทยน่าจะกระเตื้องขึ้นได้พร้อมกับความมั่นใจของผู้ประกอบการลงทุนต่างชาติ หากแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในปัจจุบันคือ เศรษฐกิจไทยกำลังถอยหลังอย่างที่ไม่รู้ว่าจะไปสิ้นสุดที่ใด ทัศนะเช่นว่านี้ย่อมไม่ใช่คำกล่าวหาที่เลื่อนลอย หากแต่เป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ควบคุมกลไกอำนาจรัฐในห้วงปัจจุบันตระหนักและพยายามประคับประคองสถานการณ์ด้วยหวังว่าหากมีโอกาสกลับมามีบทบาทอีกครั้งจะสามารถเอ่ยอ้างต่อยอดผลงานที่เป็นประหนึ่งฟองครีมที่อยู่บนผืนหน้าเค้กที่ประดับประดาด้วยสิ่งเล็กน้อยที่ทำให้ความขมขื่นของสังคมกลายเป็นความหอมหวานที่เคลือบแฝงด้วยภัยร้ายในระยะยาว ความพยายามที่จะนำเสนอมาตรการพยุงเศรษฐกิจรอบใหม่ในช่วงรอยต่อของรัฐบาล คสช. กับรัฐบาลชุดใหม่ที่ยังมองไม่เห็นว่าจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ที่ดำเนินผ่านมาตรการภาษีว่าด้วยการหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่อาศัย เพื่อกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงการควมคุมราคาสินค้า หรือแม้กระทั่งการแจกคูปองการท่องเที่ยว ภายใต้แนวคิดที่ว่ามาตรการเหล่านี้จะช่วยรักษาโมเมนตัมทางเศรษฐกิจให้ไม่ชะลอตัวลงมากไปกว่าที่เป็นอยู่ มาตรการที่ฝ่ายควบคุมกลไกอำนาจอยู่ในปัจจุบันเชื่อว่าจะรักษาการเติบโตของเศรษฐกิจไว้ได้ในระดับที่เรียกว่า “ไฮอิมแพ็กต์” แต่ไม่ถึงกับต้องใช้ยาแรงนี้ เน้นไปที่มาตรการที่เกี่ยวข้องกับด้านการบริโภค การกระตุ้นการท่องเที่ยว การลงทุน ด้านอสังหาริมทรัพย์ และการใช้จ่ายของประชาชนที่ยากจน เกิดขึ้นควบคู่กับปัจจัยเศรษฐกิจโลกที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพิ่งปรับลดประมาณการขยายตัว มีผลกระทบต่อการส่งออกของไทย ซึ่งทำให้ต้องออกมาตรการมาพยุงในช่วงรอยต่อในครั้งนี้ ในขณะเดียวกันก็เร่งผลักดันกฎหมายสรรพากรที่จะช่วยให้จัดเก็บภาษีค้าขายออนไลน์ให้ได้มากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับรัฐ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาสแรกกับไตรมาส 2 ปีนี้จะเติบโตเพียงร้อยละ 3 ซึ่งทำให้รัฐจำเป็นต้องพยุงการเติบโตไว้ หากปล่อยให้ชะลอลงมาก เวลาจะดึงขึ้นต้องใช้ทรัพยากรมาก และนำมาสู่มาตรการเบื้องต้น ทั้งมาตรการด้านการบริโภค เงินอุดหนุนให้ท่องเที่ยวเมืองรอง และการให้หักลดหย่อนภาษีกรณีค่าใช้จ่ายจากการท่องเที่ยวทั่วประเทศ ขณะที่มาตรการด้านการใช้จ่ายของประชาชน จะมีมาตรการด้านภาษีเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายสำหรับซื้อเสื้อผ้า เครื่องใช้

Read More

เศรษฐกิจไทยอ่วม ส่งออกติดลบ อสังหาฯ ชะลอตัว

แม้ว่าการเลือกตั้งทั่วไปของไทยจะจบและสิ้นสุดไปราวเดือนเศษ ทว่าความชัดเจนที่หลายฝ่ายตั้งตารอคอย ว่าใครจะได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล ดูเหมือนคำตอบยังถูกหมอกควันปกคลุม และยังเป็นปริศนาอยู่ในขณะนี้ คำถามที่ยังไม่มีคำตอบมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติอยู่พอสมควร เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ต้องการให้เกิดความต่อเนื่อง และแนวนโยบายของภาครัฐที่มีต่อเศรษฐกิจ การลงทุน แม้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ส่วนหนึ่งจะมีปัจจัยมาจากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยภายนอกประเทศที่มีผลโดยตรงต่อความเป็นไปทางเศรษฐกิจไทยด้วยเช่นกัน นั่นคือ สถานการณ์เศรษฐกิจโลก เมื่อไทยยังต้องพึ่งพิงทิศทางของเศรษฐกิจโลก ที่มีจีนและสหรัฐฯ ที่เป็นเสมือนผู้กำหนดทิศทางกระแสลมทางเศรษฐกิจ ทั้งจากมาตรการทางภาษีการค้าที่ทั้งสองประเทศยังหาข้อสรุปไม่ได้ แม้ว่าจะมีการผ่อนปรนมาตรการภาษีในบางช่วงหลังจากมีการประชุมเจรจาข้อตกลงกัน ทว่า การค้าโลกก็ดำเนินไปในทิศทางที่ชะลอตัวลง ซึ่งส่งผลให้ตัวเลขการส่งออกของประเทศคู่ค้าลดลงและถึงขั้นติดลบ โดยตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีมูลค่าอยู่ที่ 21,440.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ทำให้ตัวเลขการส่งออกสินค้าไทยในไตรมาสแรกของปี 2562 ลดลงร้อยละ 1.6 ทั้งนี้ ก็เป็นไปตามการคาดการณ์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่ได้คาดไว้ว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้การส่งออกของไทยลดลง มาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เมื่อตลาดคู่ค้าสำคัญของไทยอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (28 ประเทศ) และจีน ล้วนหดตัว ยกเว้นการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นที่ยังมีการขยายตัวได้ดีร้อยละ 7.4 ในเดือนมีนาคม 2562 จากการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและไก่แปรรูปเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ยอดขายคอมพิวเตอร์โลกที่ปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาส 1/2562 มีส่วนสำคัญที่ทำให้การส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบของไทยในเดือนมีนาคม 2562 ติดลบมากถึงร้อยละ

Read More

ปรับเป้าส่งออก ย้ำเศรษฐกิจไทยขาลง

ภาวะเศรษฐกิจไทยในปีหมู ซึ่งหลายฝ่ายเคยเชื่อและฝากความหวังไว้ว่าจะมีความสดใสเรืองรองกว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุที่เชื่อว่าภายหลังการเลือกตั้งจะได้เห็นความชัดเจนในเชิงนโยบาย และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ที่จะช่วยปลุกให้เศรษฐกิจไทยโดยรวมกลับมากระเตื้องขึ้นจากภาวะซบเซาที่ดำเนินมายาวนานได้บ้าง หากแต่ปัจจัยทางการเมืองว่าด้วยการเลือกตั้งดูจะไม่ได้ส่งผลในทางบวกต่อเศรษฐกิจไทยมากนัก มิหนำซ้ำข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจของไทยที่ถูกกดทับด้วยปัจจัยเสี่ยงรอบด้านทั้งภาวะชะลอตัวลงของเศรษฐกิจในระดับนานาชาติ ยิ่งทำให้เศรษฐกิจไทยที่พึ่งพิงการส่งออกในฐานะที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบเชิงลบไปโดยปริยาย เป้าหมายการส่งออกของไทยที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เคยตั้งเป้าไว้ว่าจะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 8 ในปี 2562 จากที่ในปี 2561 มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ระดับ 252,486 ล้านเหรียญสหรัฐ กำลังถูกท้าทายอย่างหนักหน่วง เมื่อข้อเท็จจริงในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2562 ปรากฏว่ามูลค่าการส่งออกของไทยมีมูลค่าในระดับ 40,548 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นการขยายตัวในอัตราร้อยละ 0.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเท่านั้น ตัวเลขการส่งออกที่ไม่ค่อยโสภาดังกล่าวนี้ ในด้านหนึ่งอาจได้รับคำอรรถาธิบายว่าเป็นไปตามวงรอบปกติของการส่งออก ที่จะพบว่าตัวเลขส่งออกในช่วงไตรมาสแรกของแต่ละปีอาจจะไม่ดีนัก และจะกลับมาคึกคักในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ก่อนที่จะอยู่ในภาวะชะลอตัวอีกครั้งในช่วงไตรมาส 4 จากที่ได้มีคำสั่งซื้อล่วงหน้าไปแล้ว คงเหลือเพียงการส่งมอบสินค้า กระนั้นก็ดี ความเคลื่อนไหวของสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย หรือสภาผู้ส่งออก ที่ได้ปรับลดคาดการณ์การส่งออกของไทยในปีนี้จากระดับร้อยละ 5 ลงเหลือร้อยละ 3 โดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับคาดการณ์ส่งออกลงเหลือร้อยละ 3-5

Read More

โอกาสไทยที่เสียไป กับรัฐบาลใหม่ที่มาช้า

ความเปราะบางทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา ดูจะเพิ่มระดับความน่ากังวลและเต็มไปด้วยความไม่ชัดเจนแน่นอน โดยตลอด 2 สัปดาห์แห่งความคลุมเครือว่าด้วยผลการเลือกตั้งและวิธีการคิดคำนวณสัดส่วนสมาชิกแบบปาร์ตี้ลิสต์ที่แต่ละพรรคพึงมี ได้ฉุดให้ความพยายามในการจับขั้วทางการเมืองเพื่อเริ่มกระบวนการจัดตั้งรัฐบาลใหม่เป็นไปได้อย่างยากลำบากยิ่งขึ้น สถานการณ์ทางการเมืองที่เต็มไปด้วยความเลื่อนไหลคลุมเครือ นอกจากจะนำพาให้เกิดความกังวลใจในหมู่ประชาชนคนไทยที่ได้ออกไปใช้สิทธิออกเสียงตามกระบวนการประชาธิปไตยที่ห่างหายไปนานกว่า 8 ปีแล้ว ในอีกด้านหนึ่งกำลังสร้างความไม่มั่นใจให้กับนักลงทุนจากต่างประเทศ ที่มุ่งหมายที่จะเห็นประเทศไทยกลับเข้าสู่หนทางการเมืองแบบประชาธิปไตยพร้อมกับรัฐบาลชุดใหม่ที่มีเสถียรภาพและได้รับการยอมรับจากทั้งประชาชนในประเทศและสร้างความเชื่อมั่นในระดับนานาชาติอีกครั้ง แต่ความคาดหวังเช่นที่ว่านี้ นอกจากจะยังไม่เกิดขึ้นในห้วงเวลาที่ผ่านมาแล้ว สถานการณ์ในห้วงเวลานี้ ดูจะยิ่งผลักให้อยู่ไกลออกไปจากการจับต้องและรับรู้มากขึ้นไปอีก ซึ่งดูเหมือนว่าภายใต้กรอบเวลาที่หลายฝ่ายคาดการณ์ ความชัดเจนว่าด้วยรัฐบาลชุดใหม่จากผลของการเลือกตั้งจะเกิดมีขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน ซึ่งเท่ากับว่ารัฐบาลใหม่จะเกิดมีขึ้นได้เมื่อผ่านไตรมาสที่ 2 หรือเมื่อผ่านครึ่งปีไปแล้วเท่านั้น ความคลุมเครือในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของประเทศเท่านั้น หากแต่ยังดำเนินไปท่ามกลางข้อเท็จจริงที่ว่าพรรคการเมืองที่จะเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลในแต่ละขั้วการเมืองมีคะแนนเสียงใกล้เคียงกัน ซึ่งอาจส่งผลกับการพิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่จะเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน และอาจนำไปสู่ปัญหาว่าด้วยเสถียรภาพของรัฐบาลในช่วงเวลาจากนี้ได้ไม่ยาก ประเด็นว่าด้วยเสถียรภาพของรัฐบาลชุดใหม่ ที่ได้รับการประเมินว่าอาจเป็นอุปสรรคต่อการพิจารณาออกกฎหมาย และผลักดันนโยบายทางเศรษฐกิจสังคม นอกจากจะสั่นคลอนความเชื่อมั่นของผู้คนแล้ว สิ่งสำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ มาตรการของรัฐบาลใหม่ที่อาจเป็นการสลับร่างจากผู้กุมอำนาจชุดเดิมจะดำเนินไปภายใต้มาตรการเฉพาะหน้าที่ได้เคยสัญญาไว้ในรูปของการแจกแถม แต่ไม่ได้เน้นเรื่องการปรับแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ทั้งในมิติของการลดความเหลื่อมล้ำ ลดการผูกขาด หรือแม้แต่การปฏิรูปภาษี ในขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวภายใต้กรอบที่ไม่ต่างจากเดิมที่ผ่านมา โดยที่สังคมด้านล่างได้รับอานิสงส์อย่างเบาบางเช่นเดิม ระยะเวลาที่ทอดยาวเนิ่นนานออกไปดังกล่าว ทำให้ความเป็นไปทางเศรษฐกิจของไทยดูจะต้องยอมรับสภาพชะงักงันไปตลอดทั้งปี 2562 โดยปริยาย และทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมใจกันปรับลดการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2562 ลงมา โดยระบุว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศหรือจีดีพีในปีหมูจะมีอัตราการเติบโตเหลือเพียงร้อยละ 3.8 จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4.0 ในช่วงก่อนหน้านี้ การปรับลดประมาณการดังกล่าว เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่า แม้สถานการณ์ทางการเมืองจะยังมีความคลุมเครือในเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล

Read More