Home > เปิดประเทศ

ภาคเอกชน-ประชาชนเชื่อมั่นบวก เข็นจีดีพีไทยขึ้นภูเขา

นโยบายเปิดประเทศ และการปลดล็อกมาตรการต่างๆ ที่เคยนำมาใช้ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายรอคอย ทั้งภาคเอกชนและประชาชน จากมุมมองที่ว่านโยบายและมาตรการที่รัฐบาลพึงใช้ในยามนี้น่าจะเป็นการสร้างให้เกิดแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในช่วงปลายปีได้เป็นอย่างดี เมื่อดูจากจำนวนเที่ยวบินที่เกิดขึ้นในวันที่เปิดประเทศ (1 พ.ย. 2564) พบว่ามีสายการบินแจ้งทำการบินประมาณ 260 เที่ยวบิน และเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 91 เที่ยวบิน มีผู้โดยสารเดินทางมาที่สนามบินสุวรรณภูมิจำนวน 20,083 คน ซึ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 6,613 คน นอกจากนี้ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิยังคาดการณ์ว่าตลอดเดือนพฤศจิกายนน่าจะมีเที่ยวบินประมาณ 12,133 เที่ยวบิน เป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 6,501 เที่ยวบิน สำหรับผู้โดยสารคาดว่าจะมีมากกว่า 7 แสนคน ผู้โดยสารระหว่างประเทศอาจจะมีประมาณ 2.7 แสนคน แม้ว่าการเดินทางของประชาชน กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากภาคเอกชนหลังประกาศใช้นโยบายดังกล่าว เสมือนเป็นการคลายความอัดอั้นของคนไทยจำนวนหนึ่ง แต่ต้องยอมรับว่าพฤติกรรมของผู้บริโภค และผู้ประกอบการส่วนหนึ่งเกิดจากความความเชื่อมั่นในมาตรการของรัฐที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ แน่นอนว่าส่งผลโดยตรงต่อการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจทุกระดับในท้ายที่สุด นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า

Read More

ดีเดย์ “เปิดประเทศ” โค้งสุดท้ายเศรษฐกิจไทย

มาตรการคลายล็อก อันนำไปสู่การเปิดประเทศ คงเป็นสิ่งที่หลายคนรอคอย เพราะนั่นเป็นสัญญาณว่าเครื่องจักรเศรษฐกิจที่สำคัญกำลังพร้อมที่จะขับเคลื่อนอีกครั้ง หลังจากจอดนิ่งสนิทมาอย่างยาวนาน ซึ่งอุตสาหกรรมที่เป็นเสมือนฟันเฟืองหลักของเศรษฐกิจไทยอย่างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในสภาวการณ์ปกติรายได้จากภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวคิดเป็นกว่า 20% ของจีดีพี อีกทั้งรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติยังสูงถึง 2 ใน 3 ของรายได้ทั้งหมด แน่นอนว่าเมื่อทั่วโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประเทศที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวจึงต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ธุรกิจในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดหยุดชะงัก แม้ว่านโยบายการเปิดประเทศจะเป็นเสมือนโอกาสในห้วงสุดท้ายของศักราชนี้ ที่จะสร้างเม็ดเงินเพื่อทดแทนรายได้ที่สูญเสียไปให้กลับคืนมา ทว่า ประชาชนภายในประเทศเองยังมีความกังวลอยู่ไม่น้อย โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยผลอนามัยโพลเปิดเมือง เปิดประเทศ 1 พฤศจิกายน 2564 และพบว่าประชาชนร้อยละ 92.4 พื้นที่ท่องเที่ยวใน 17 จังหวัด ยังกังวลกับการเปิดประเทศ พร้อมเน้นย้ำให้ทุกคนเข้มตามมาตรการ Universal Prevention เพื่อลดเสี่ยงการแพร่กระจายของโควิด-19 นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากสถานการณ์การติดและแพร่เชื้อโควิด-19 มีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น ด้วยผู้ติดเชื้อรายใหม่มีจำนวนในระดับคงที่ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง และผู้ป่วยได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้น การเปิดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว 17 จังหวัดจึงเป็นปัจจัยเอื้อให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้าประเทศได้มากขึ้น เป็นการกระตุ้นในระบบเศรษฐกิจและการจ้างงานในภาพรวมของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจท่องเที่ยวและภาคบริการที่เกี่ยวเนื่อง แต่จากข้อมูลการสำรวจอนามัยโพล พบว่า ประชาชนในพื้นที่นำร่องท่องเที่ยวใน 17 จังหวัด

Read More

ท่องเที่ยวลุ้น 2 เดือนผ่านฉลุย กรุยทางรายได้ 1 ล้านล้าน

ธุรกิจท่องเที่ยวเร่งนับถอยหลังการเปิดประเทศแบบไม่ต้องกักตัว ดีเดย์ 1 พฤศจิกายนนี้ หวังพลิกฟื้นสถานการณ์หลังเจอวิกฤตโควิดแพร่ระบาดยาวนานกว่า 3 ปี สูญเม็ดเงินรายได้หลายแสนล้านบาท และต้องถือเป็น 2 เดือนสุดท้ายของปีก่อนเข้าสู่เทศกาลเคานต์ดาวน์และปีใหม่ หากทุกอย่างผ่านฉลุยพร้อมๆ กับยอดผู้ติดเชื้อลดลงต่อเนื่อง นักท่องเที่ยวทั้งไทย-เทศ มีความมั่นใจกับมาตรการด้านสาธารณสุขบวกกับแผนกระตุ้นต่างๆ โดยเฉพาะแผนการทาบทาม ลิซ่า แบล็คพิงก์ และอันเดรอา โบเชลลี ร่วมงานเคานต์ดาวน์ปีใหม่ 2022 เพื่อปลุกกระแสครั้งใหญ่ นั่นย่อมหมายถึงการกลับมาเติบโตอย่างมั่นคงได้อีกครั้ง โดยเฉพาะเม็ดเงินรายได้จากกลุ่มทัวร์ต่างชาติ ทั้งนี้ ตามแผนการเปิดประเทศโดยไม่ต้องกักตัว มีเงื่อนไขสำคัญ คือต้องได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม หรือครบโดส และมีหลักฐานผลการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ที่รับรองผลด้วยประเทศต้นทางไม่เกิน 72 ชั่วโมง และมีการตรวจหาเชื้ออีกครั้ง เมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย หากผลเป็นลบ (negative) จะสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ โดยไม่ต้องกักตัว 14 วัน หรือ 7 วัน เหมือนในอดีต ขณะที่การเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่

Read More

ธุรกิจเรียงคิวจี้ปลดล็อก ลดเคอร์ฟิวแลกเลิกจ้าง

ต้องจับตาการประชุมศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) หรือ ศบค. ชุดเล็กนัดต่อไปจะมีท่าทีอย่างไรกับการผ่อนคลายกิจการเพิ่มเติมและปรับเวลาเคอร์ฟิว เพื่อนำเสนอ ศบค. ชุดใหญ่ หลังหลายๆ ธุรกิจแห่ยื่นข้อเรียกร้องกดดันอย่างต่อเนื่อง โดยอ้างถึงผลกระทบต่อแรงงานนับแสนที่มีสิทธิ์ถูกเลิกจ้างได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ หากดูประเภทกิจการที่ ศบค. เปิดไฟเขียวเพิ่มเติมจากการประชุมนัดก่อน ได้แก่ ร้านทำเล็บ ธุรกิจสปา ร้านนวด ธุรกิจโรงภาพยนตร์ และการเล่นดนตรีในร้านอาหาร จำนวนนักดนตรีไม่เกิน 3 คน แต่ดูเหมือนการผ่อนคลายยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะกลุ่มร้านอาหารออกมาเคลื่อนไหวผลักดันให้รัฐบาลเร่งลดช่วงเวลาเคอร์ฟิวลงอีก จากปัจจุบันกำหนดช่วงเวลาระหว่าง 22.00-04.00 น. ธนากร คุปตจิตต์ เลขาธิการสมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย (TABBA) ระบุว่า จากการติดตามสอบถามธุรกิจร้านอาหารและอาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น นักดนตรี พนักงานต้อนรับ หลังผ่อนคลายกิจการเพิ่มเติมและลดเวลาเคอร์ฟิวอีก 1 ชั่วโมง จากเวลา 21.00 น.-04.00 น เป็น 22.00-04.00 น. ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับผลบวกใดๆ

Read More

ท่องเที่ยวไทยไร้ทางรอด เอกชนหวังเร่งเปิดประเทศ

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งให้ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวของไทยซึ่งถือเป็นจักรกลสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันด้วยเหตุที่นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางเข้าออกประเทศได้อย่างอิสระ รวมถึงการปิดประเทศ ทำให้แหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งร้างไร้ผู้คน จนธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องต่างขาดรายได้ไปโดยปริยาย ภาพถนนข้าวสารที่เคยคึกคักและคลาคล่ำด้วยนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมาก จนทำให้เป็นประหนึ่งถนนที่ไม่มีวันหลับ หากแต่เมื่อเกิดการแพร่ระบาด COVID-19 ซึ่งติดตามมาด้วยการปิดเมืองในช่วงปลายเดือนมีนาคมเป็นต้นมา ทำให้ถนนที่เป็นสัญลักษณ์ของการท่องเที่ยวไทยต้องร้างไร้ไม่มีนักท่องเที่ยว และเป็นเหตุให้ร้านค้า ร้านอาหาร บริษัทให้บริการท่องเที่ยว และโรงแรมต่างปิดตัวลงเป็นจำนวนมาก โดยมีการประเมินว่ารายได้ในส่วนนี้หดหายไปมากกว่าร้อยละ 70-80 อีกด้วย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กลไกที่เกี่ยวข้องพยายามกระตุ้นการท่องเที่ยวแบบ “ไทยเที่ยวไทย” เพื่อชดเชยรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไปจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะพยุงภาคการท่องเที่ยวที่เคยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 2.9 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 20 ของ GDP และมีการจ้างงานรวมมากกว่า 8.3 ล้านตำแหน่งในปี 2562 ได้ มูลเหตุสำคัญที่ทำให้มาตรการ “ไทยเที่ยวไทย” ไม่สามารถพยุงภาคการท่องเที่ยวโดยรวมได้มากนักเกิดจากข้อเท็จจริงที่ว่ารายได้ในลักษณะของ “ไทยเที่ยวไทย” โดยปกติมีสัดส่วนเพียง 1 ใน 3 ของรายได้ภาคท่องเที่ยวทั้งหมดเท่านั้น ขณะที่ปัจจุบันการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวยังกระจุกตัวในบางจังหวัดและบางช่วงเวลา ยังไม่นับรวมประเด็นว่าด้วยผลของมาตรการกระตุ้นไทยเที่ยวไทยยังเป็นไปอย่างจำกัด ข้อเรียกร้องสำคัญที่ผู้ประกอบการในธุรกิจการท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมาว่าด้วยการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาในประเทศไทยจึงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่เป็นมาตรการจำเป็นต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและพยุงธุรกิจท่องเที่ยวให้รอดพ้นจากความล่มสลายจากผลของ COVID-19 อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการแต่ละรายต่างเชื่อว่าการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในห้วงเวลาจากนี้ ต้องเป็นไปอย่างระมัดระวังเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ที่คุ้มกับความเสี่ยง

Read More

เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ความหวังสุดท้ายกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

มติของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. ที่เห็นชอบมาตรการเปิดประเทศ สำหรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ (Special Tourist VISA: STV) แบบ “จำกัดจำนวน” ตามที่กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ โดยจะเป็นการเปิดประเทศแบบจำกัด ด้วยการจำกัดเฉพาะนักท่องเที่ยวประเภท “พิเศษ” ที่จะมาพำนักอยู่ในประเทศไทยระยะยาวไม่ต่ำกว่า 90-270 วัน ในด้านหนึ่งอาจถือเป็นจุดเริ่มต้นของการออกเดินหน้าเพื่อฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจท่องเที่ยวของไทยให้ดำเนินต่อไปได้ หลังจากที่ต้องหยุดชะงักมานานเพราะการระบาดของไวรัส COVID-19 หากแต่ในอีกมิติหนึ่ง มติดังกล่าวดูจะตั้งอยู่ท่ามกลางการเล็งผลเลิศที่อาจไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของสถานการณ์โดยรอบ เพราะหลังจากที่มีการเปิดเผยว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวจีนจากมณฑลกว่างโจวเดินทางมาประเทศไทย ในวันที่ 8 ตุลาคม 2563 ซึ่งนับเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มแรกที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรหลังจากไทยผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะมีการประกาศเลื่อนการเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศไทยไปเป็นวันที่ 25 ตุลาคมแทน ความสับสนในการออกมาตรการที่ดำเนินไปท่ามกลางเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติหากต้องการจะเดินทางมายังประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นความประสงค์จะเดินทางมาพำนักระยะยาว หรือลองสเตย์ ภายในประเทศไทย การยอมรับที่จะปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข ที่ประกาศใช้ภายในประเทศไทย และตกลงยินยอมกักตัวในห้องพักจำนวน 14 วัน รวมถึงการมีหลักฐานสถานที่พักอาศัยระยะยาวภายในประเทศไทย โดยเฉพาะหลักฐานการชำระเงินค่าโรงแรมที่พัก หรือโรงพยาบาลที่พักภายในประเทศไทย ดูจะเป็นเงื่อนไขที่ไม่ได้สอดรับกับความพร้อมของทั้งผู้ประกอบการและความกังวลใจของประชาชนในพื้นที่ การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจควรคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนในแต่ละพื้นที่ เพราะประชาชนในจังหวัดท่องเที่ยว อาจไม่ได้เห็นด้วยกับการเปิดรับนักท่องเที่ยวทั้งหมด ความกังวลใจของพวกเขายังผูกพันอยู่กับมายาภาพที่ ศบค. ได้สร้างไว้ตลอดระยะเวลา 6-7

Read More

จับตาแผนเปิดประเทศ ดึงท่องเที่ยวปลุกกำลังซื้อสุดฤทธิ์

ในที่สุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจเตรียมเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในเดือนตุลาคม โดยออกมายอมรับว่า ถ้าไม่ทำอะไรเลย สถานการณ์จะหนักกว่านี้ สถานประกอบการปิด ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง ขณะที่รัฐบาลไม่มีเม็ดเงินช่วยเหลือประชาชนได้ทั้งหมด มิหนำซ้ำกำลังเจอวิกฤตรายได้ประเทศ การเก็บภาษีหลุดเป้าหมาย สาเหตุสำคัญมาจากแผนกระตุ้นกำลังภายในประเทศส่อแววล้มเหลว แม้มีการแจกเงินช่วยเหลือให้ประชาชนหลายกลุ่ม แต่เป็นการชดเชยผลกระทบจากโควิด-19 กำลังซื้อไม่ได้เพิ่มขึ้น เพราะคนส่วนใหญ่ขาดรายได้มากว่า 4-5 เดือน ทั้งการปิดกิจการชั่วคราวและการเลิกจ้าง ขณะเดียวกันโครงการปลุกการท่องเที่ยวในประเทศ “เราเที่ยวด้วยกัน” ที่เปิดให้ลงทะเบียนผ่าน http://www.เราเที่ยวด้วยกัน.com ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม มีผู้ลงทะเบียนราว 4.92 ล้านคน ลงทะเบียนสำเร็จ 4.67 ล้านคน แต่มีการจองโรงแรมและจ่ายเงิน 625,606 ห้อง จากจำนวนสิทธิ์ทั้งหมด 5 ล้านสิทธิ์ คิดเป็นเม็ดเงินเพียง 1,874.9 ล้านบาท จนกระทั่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้องอัดฉีดเพิ่มวันพักจากเดิม 5 วัน เป็น 10 วัน และช่วยเหลือค่าตั๋วเครื่องบินจากเดิมไม่เกินคนละ 1,000 บาท เป็นคนละไม่เกิน

Read More