Home > ค่าใช้จ่ายเปิดเทอมใหม่

ค่าใช้จ่ายเปิดเทอมใหม่ ภาระหนักครัวเรือนไทย?

ภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไร้ข้อสรุปว่าด้วยการเกิดมีขึ้นของรัฐบาลชุดใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งจนถึงขณะปัจจุบันคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ได้วางกรอบงบประมาณจัดการเลือกตั้งไว้สูงถึง 5,800 ล้านบาท ยังไม่สามารถดำเนินการประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการได้ และกลายเป็นประหนึ่งกับดักหลุมพรางที่ทำให้องคาพยพของสังคมด้านอื่นต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันของหล่มปลักไปด้วยโดยปริยาย ก่อนหน้านี้นักธุรกิจและบรรดาผู้สันทัดกรณีทางเศรษฐกิจต่างโหมประโคมความมั่นใจว่าภายหลังการเลือกตั้งซึ่งควรจะติดตามมาด้วยความชัดเจนของการจับขั้วทางการเมืองและการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ภายหลังยุคสมัยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เศรษฐกิจไทยน่าจะกระเตื้องขึ้นได้พร้อมกับความมั่นใจของผู้ประกอบการลงทุนต่างชาติ หากแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในปัจจุบันคือ เศรษฐกิจไทยกำลังถอยหลังอย่างที่ไม่รู้ว่าจะไปสิ้นสุดที่ใด ทัศนะเช่นว่านี้ย่อมไม่ใช่คำกล่าวหาที่เลื่อนลอย หากแต่เป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ควบคุมกลไกอำนาจรัฐในห้วงปัจจุบันตระหนักและพยายามประคับประคองสถานการณ์ด้วยหวังว่าหากมีโอกาสกลับมามีบทบาทอีกครั้งจะสามารถเอ่ยอ้างต่อยอดผลงานที่เป็นประหนึ่งฟองครีมที่อยู่บนผืนหน้าเค้กที่ประดับประดาด้วยสิ่งเล็กน้อยที่ทำให้ความขมขื่นของสังคมกลายเป็นความหอมหวานที่เคลือบแฝงด้วยภัยร้ายในระยะยาว ความพยายามที่จะนำเสนอมาตรการพยุงเศรษฐกิจรอบใหม่ในช่วงรอยต่อของรัฐบาล คสช. กับรัฐบาลชุดใหม่ที่ยังมองไม่เห็นว่าจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ที่ดำเนินผ่านมาตรการภาษีว่าด้วยการหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่อาศัย เพื่อกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงการควมคุมราคาสินค้า หรือแม้กระทั่งการแจกคูปองการท่องเที่ยว ภายใต้แนวคิดที่ว่ามาตรการเหล่านี้จะช่วยรักษาโมเมนตัมทางเศรษฐกิจให้ไม่ชะลอตัวลงมากไปกว่าที่เป็นอยู่ มาตรการที่ฝ่ายควบคุมกลไกอำนาจอยู่ในปัจจุบันเชื่อว่าจะรักษาการเติบโตของเศรษฐกิจไว้ได้ในระดับที่เรียกว่า “ไฮอิมแพ็กต์” แต่ไม่ถึงกับต้องใช้ยาแรงนี้ เน้นไปที่มาตรการที่เกี่ยวข้องกับด้านการบริโภค การกระตุ้นการท่องเที่ยว การลงทุน ด้านอสังหาริมทรัพย์ และการใช้จ่ายของประชาชนที่ยากจน เกิดขึ้นควบคู่กับปัจจัยเศรษฐกิจโลกที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพิ่งปรับลดประมาณการขยายตัว มีผลกระทบต่อการส่งออกของไทย ซึ่งทำให้ต้องออกมาตรการมาพยุงในช่วงรอยต่อในครั้งนี้ ในขณะเดียวกันก็เร่งผลักดันกฎหมายสรรพากรที่จะช่วยให้จัดเก็บภาษีค้าขายออนไลน์ให้ได้มากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับรัฐ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาสแรกกับไตรมาส 2 ปีนี้จะเติบโตเพียงร้อยละ 3 ซึ่งทำให้รัฐจำเป็นต้องพยุงการเติบโตไว้ หากปล่อยให้ชะลอลงมาก เวลาจะดึงขึ้นต้องใช้ทรัพยากรมาก และนำมาสู่มาตรการเบื้องต้น ทั้งมาตรการด้านการบริโภค เงินอุดหนุนให้ท่องเที่ยวเมืองรอง และการให้หักลดหย่อนภาษีกรณีค่าใช้จ่ายจากการท่องเที่ยวทั่วประเทศ ขณะที่มาตรการด้านการใช้จ่ายของประชาชน จะมีมาตรการด้านภาษีเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายสำหรับซื้อเสื้อผ้า เครื่องใช้

Read More