Home > ค่าครองชีพ

สินค้าขึ้นราคาสวนทางรายได้ เพิ่มความเปราะบางต่อครัวเรือน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์ของเศรษฐกิจไทยในห้วงเวลาปัจจุบันอยู่ในภาวะยากลำบาก บางครอบครัวอาจมองว่านี่เป็นยุคข้าวยากหมากแพงก็ว่าได้ โดยก่อนหน้าที่สินค้าอุปโภคบริโภคบางรายการถูกปรับราคาให้สูงขึ้นในช่วงหนึ่ง เช่น ค่าไฟฟ้า ไข่ไก่ เนื้อหมู ซึ่งเกิดจากภาวะโรคระบาดในสุกรที่ส่งผลต่อกลไกตลาดโดยตรง ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าราคาเนื้อหมูและไข่ไก่เริ่มมีการปรับตัวลงและเข้าสู่ภาวะปกติ ทว่า ยังคงมีความกังวลจากภาคประชาชนอยู่ไม่น้อย เมื่อยังมีสินค้าอีกหลายรายการที่ปรับตัวไปแล้ว และบางรายการอาจจะทยอยปรับขึ้นในอนาคต โดยมีสาเหตุมาจากต้นทุนค่าขนส่งที่สูงขึ้น นั่นทำให้ค่าใช้จ่ายต่อภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นซึ่งสวนทางกับรายได้ของประชาชนในสถานการณ์ปัจจุบัน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แม้การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนช่วงหลังปีใหม่ จะไม่ได้ส่งผลให้เกิดการยกระดับมาตรการคุมเข้มการระบาด ผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจจึงมีจำกัด แต่อย่างไรก็ตามระดับราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้นทั้งอาหารสด เช่น เนื้อหมู รวมถึงราคาพลังงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องได้กดดันกำลังซื้อของภาคครัวเรือน ส่งผลให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในปัจจุบันลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 อยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 30.9 ขณะที่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 33.2 บ่งชี้ว่าครัวเรือนยังมีมุมมองว่าค่าครองชีพจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้จัดผลสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับมุมมองด้านระยะเวลาของระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้นกับวิธีรับมือของครัวเรือน ผลสำรวจบ่งชี้ว่าหากครัวเรือนมีมุมมองว่าระยะเวลาที่ระดับราคาสินค้าจะอยู่ในระดับสูงยิ่งนานจะยิ่งส่งผลให้ครัวเรือนลดค่าใช้จ่ายรายการที่ไม่จำเป็นออกไปเพิ่มมากขึ้น แต่หากมีมุมมองว่าระดับราคาสินค้าที่สูงจะเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ เช่น 1 เดือน ครัวเรือนจะนำเงินออมที่มีออกมาใช้ทดแทนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น บ่งชี้ว่าสถานการณ์ราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของครัวเรือนทั้งในปัจจุบันที่สะท้อนผ่านการนำเงินออมออกมาใช้และในระยะข้างหน้าที่จะมีการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง และในระยะข้างหน้าระดับราคาสินค้ามีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องหรืออย่างน้อยจนถึงสิ้นไตรมาสแรกของปี สาเหตุหลักมาจากการปรับเพิ่มขึ้นราคาพลังงานที่เป็นทั้งต้นทุนทางอ้อมของราคาสินค้าผ่านต้นทุนค่าขนส่ง การผลิต และทางตรงที่ส่งผลกระทบต่อครัวเรือนผ่านค่าโดยสารและสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานในชีวิตประจำวันต่างๆ ขณะที่ภาพรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ จะยังไม่สามารถกลับไปอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ดังนั้นมาตรการช่วยเหลือเยียวยาและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่จำเป็นจากภาครัฐยังมีความจำเป็นต่อเนื่องในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนยังมีความเปราะบางสูง นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยเมื่อไม่นานมานี้ว่า ทางกรมฯ ได้วิเคราะห์ถึงผลกระทบต้นทุนน้ำมันดีเซลต่อต้นทุนการผลิตสินค้า ตามคำสั่งของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

Read More

ค่าครองชีพ-เงินเฟ้อเพิ่ม เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ไทยรับศึกรอบด้าน

บทวิเคราะห์และการประเมินจากนักวิทยาศาสตร์ นักไวรัสวิทยา เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า นี่อาจเป็นจุดสิ้นสุดของโรคร้ายและนำไปสู่การเป็นโรคประจำถิ่นในที่สุด ถือเป็นความหวังที่ค่อยๆ เรืองรองของประชากรโลก ที่จะได้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ หรือกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามเดิม ทว่า ปัจจุบันดูเหมือนปัญหาใหม่กำลังเริ่มขึ้น โดยเฉพาะคนไทยที่กำลังต้องรับมือกับภาระทางเศรษฐกิจที่ดูจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในสายตาของประชาชนในระดับฐานรากอาจมองว่าสถานการณ์ครั้งนี้เริ่มเข้าขั้นวิกฤต สถานการณ์ข้าวยากหมากแพงที่กำลังเกิดขึ้นในห้วงยามนี้ ดูเหมือนจะเป็นการซ้ำเติมความชอกช้ำที่ยังไม่ทันจางหายไป ให้มีอาการทรุดหนักลงอีก เมื่อสินค้าอุปโภคบริโภคหลายรายการทยอยขึ้นราคาอย่างต่อเนื่อง เช่นที่กำลังเป็นประเด็นถกเถียงกันตั้งแต่เริ่มต้นศักราชใหม่คือ ปัญหาเนื้อหมูราคาแพง ชนิดที่ว่าร้านอาหารจำนวนไม่น้อยที่ต้องขอยุติกิจการชั่วคราวเพราะไม่อาจแบกรับต้นทุนจากเนื้อหมูไหว และไม่ต้องการที่จะผลักภาระให้แก่ผู้บริโภคที่อยู่ปลายน้ำได้ ในขณะที่ผู้บริโภคเองมีตัวเลือกที่หลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อหมูได้ นอกจากเนื้อหมูที่ปรับราคาสูงขึ้นแล้ว สินค้าอื่นๆ ต่างทยอยปรับราคาไปแล้วเช่นกัน เช่น ไข่ไก่ น้ำมันพืช เครื่องปรุงรส นอกจากสินค้าอุปโภคบริโภคแล้ว ประชาชนยังต้องแบกรับค่าสาธารณูปโภคและค่าเดินทางที่ปรับขึ้นมาแล้ว เช่น ค่าไฟฟ้า และค่าน้ำมัน ค่าขนส่งสาธารณะ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสำรวจพบว่า คนกรุงเทพฯ ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 ต่อเดือน เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เมื่อเทียบกับกลุ่มรายได้อื่น ซึ่งราว 36% มองว่า มีค่าใช้จ่ายปรับเพิ่มขึ้นกว่า 20% เมื่อเทียบกับช่วงปลายปีก่อนที่จะมีการปรับขึ้นราคาสินค้าต่างๆ ขณะที่คนกรุงเทพฯ ที่มีรายได้ปานกลางถึงสูงจะได้รับผลกระทบที่น้อยกว่าโดยเปรียบเทียบและสามารถรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวได้มากกว่า ทั้งนี้ ค่าครองชีพที่ทยอยปรับสูงขึ้น ส่งผลให้ในระยะสั้น คนกรุงเทพฯ

Read More

ค่าครองชีพพุ่งรับปีเสือ ภาระที่คนไทยต้องแบก

นับเป็นอีกหนึ่งปีที่คนไทยต้องเผชิญกับฝันร้ายในความเป็นจริง ที่ไม่ใช่เพียงแค่โรคระบาดอย่างไวรัสโควิดที่ดูจะพัฒนาเชื้อและกลายพันธุ์ได้อย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดสายพันธุ์โอมิครอนกลายเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่หลายประเทศต้องเฝ้าระวัง เมื่อมีผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้ว่าอาการเบื้องต้นจะไม่รุนแรงเท่าสายพันธุ์เดลตา ทั้งนี้ นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งวิเคราะห์ไปในทิศทางเดียวกันว่า นี่อาจเป็นปลายทางของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทว่า คนไทยยังต้องพบกับฝันร้ายที่เริ่มเห็นชัดเจนขึ้น แม้จะเริ่มเห็นสัญญาณมาตั้งแต่ปีก่อน นั่นคือราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ที่ค่อยๆ ปรับตัวสูงขึ้นจากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยภายในประเทศและภายนอกประเทศ ซึ่งส่งผลให้ค่าครองชีพของคนไทยในปีเสือมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ นอกเหนือไปจากอัตราค่าไฟฟ้าที่เตรียมปรับเพิ่มขึ้นอีกเกือบ 5 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ โดยจะเป็นการปรับแบบขั้นบันได ซึ่งจะทำให้ค่าเอฟทีประจำงวดเดือนมกราคมถึงเมษายน 2565 อยู่ที่ 16.71 สตางค์ เป็นผลให้อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.78 บาทต่อหน่วย หลังจากที่ตรึงราคาค่าเอฟทีมานานกว่า 2 ปี ขณะที่ราคาน้ำมันที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา แม้จะมีการเรียกร้องจากผู้ประกอบการรถบรรทุกให้รัฐบาลช่วยพยุงราคาน้ำมันดีเซลให้อยู่ที่ 25 บาทต่อลิตร แต่ยังไม่เป็นผล ราคาขายปลีกน้ำมันต่อลิตรที่ปรับตัวสูงขึ้นย่อมส่งผลต่อราคาต้นทุนสินค้าไปโดยปริยาย นั่นไม่ใช่เพียงแต่ผู้ประกอบการที่ต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น หากแต่ผู้บริโภคย่อมต้องได้รับผลกระทบเพราะเป็นผู้ที่อยู่ปลายน้ำ เมื่อราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคค่อยๆ ปรับตัวสูงขึ้นแม้จะยังไม่เห็นความแตกต่างที่ชัดเจน กระทั่งล่าสุด การปรับราคาของเนื้อหมูที่เริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 160-200 บาทต่อกิโลกรัม ปัจจุบันหมูเนื้อแดงราคาอยู่ที่ 200-250 บาทต่อกิโลกรัม สาเหตุที่ทำให้ราคาเนื้อหมูในปัจจุบันสูงขึ้นมีด้วยกันหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้ความต้องการของผู้บริโภค บริโภคเนื้อหมูลดลง

Read More

เมอร์เซอร์ เผยผลสำรวจค่าครองชีพประจำปีครั้งที่ 25 ชี้เมืองในเอเชียมีค่าครองชีพสูงที่สุดสำหรับชาวต่างชาติ

องค์กรข้ามชาติต่างมุ่งวางกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลด้วยการโยกย้ายพนักงานไปประจำในต่างประเทศ เพื่อผลักดันความก้าวหน้าในสายอาชีพและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในระดับโลก - กรุงเทพฯ มีค่าครองชีพสูงติดอันดับที่ 40 ของโลก - ฮ่องกงยังคงครองตำแหน่งเมืองที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดในโลก - 8 ใน 10 เมืองที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดในโลกอยู่ในเอเชีย เมอร์เซอร์ เผยผลการสำรวจอัตราค่าครองชีพประจำปีครั้งที่ 25 พบว่าในการจัดอันดับ 10 เมืองที่มีอัตราค่าครองชีพสูงที่สุดในโลก 8 เมืองจาก 10 เมืองอยู่ในเอเชีย ซึ่งเป็นผลจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้น และราคาที่อยู่อาศัยที่มีการผันผวนอย่างต่อเนื่อง ฮ่องกง ยังคงครองตำแหน่งเมืองที่มีอัตราค่าครองชีพสูงที่สุดในโลกต่อเนื่องเป็นปีที่สอง ซึ่งเป็นผลจากราคาที่อยู่อาศัยที่สูงเกินเอื้อม สำหรับเมืองอื่น ๆ ใน 10 อันดับแรก ได้แก่ โตเกียว (2) สิงคโปร์ (3) โซล (4) ซูริค (5) เซี่ยงไฮ้ (6) อาชกาบัต (7) ปักกิ่ง (8) นิวยอร์ก (9) และเซินเจิ้น (10) โดยเมืองอาชกาบัต ประเทศเติร์กเมนิสถาน

Read More