Home > Thailand economic

จับตาค่าเงินบาท ปัจจัยลบเศรษฐกิจไทย?

ความกังวลใจว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจไทยตลอดช่วงปีที่ผ่านมา ประเด็นหนึ่งที่ได้รับการกล่าวถึงดูจะอยู่ที่การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างมาก จนมาอยู่ในระดับแข็งค่ามากเป็นประวัติการณ์ในรอบ 6 ปีเมื่อช่วงวันสุดท้ายก่อนสิ้นปี 2562 และทำให้หลายฝ่ายพุ่งเป้าความสนใจจับตาการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทในช่วงปี 2563 ว่าจะมีทิศทางอย่างไร พร้อมกับประเมินผลกระทบที่กำลังจะเกิดขึ้นนับจากนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องจนมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 30 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐในช่วงวันที่ 30-31 ธันวาคม 2562 และในวันที่ 1 มกราคม 2563 จากระดับ 29.92 มาสู่ระดับ 29.87 และที่ระดับ 29.71 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐตามลำดับ ได้รับการอธิบายจากธนาคารแห่งประเทศไทยว่าเป็นผลที่เกิดจากการเร่งทำธุรกรรมก่อนสิ้นปีของผู้ประกอบการบางรายในสภาวะที่ตลาดมีสภาพคล่องต่ำ ความต้องการซื้อและขายเงินตราต่างประเทศไม่สมดุลในช่วงก่อนวันหยุดสิ้นปี นอกจากนี้ ยังเป็นผลจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐเทียบกับสกุลเงินภูมิภาคในช่วงปลายปีด้วย อย่างไรก็ดี ค่าเงินบาทมีทิศทางและแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ภายใต้ปัจจัยหลักมาจากโครงสร้างของประเทศไทยที่อยู่ในภาวะเกินดุลเดินสะพัด ขณะเดียวกันรายได้หลักของประเทศที่เดิมได้รับจากการส่งออกและการท่องเที่ยว ทำให้ประเด็นค่าเงินบาทแข็งค่าเป็นสิ่งที่ภาครัฐ เอกชน และประชาชนที่ทำธุรกิจเกี่ยวเนื่องกันจับตามองเป็นพิเศษ ทิศทางค่าเงินบาทไทยในปี 2563 ได้รับการคาดหมายว่าจะปรับตัวแข็งค่าขึ้นอีกเล็กน้อย โดยตลอดปี 2562 ที่ผ่านมาค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 7-8 ซึ่งเป็นการแข็งค่าขึ้นกว่าปกติแล้ว ขณะที่นักวิเคราะห์บางสำนักประเมินว่าเมื่อถึงสิ้นปี 2563 ค่าเงินบาทมีโอกาสแข็งค่าไปถึงระดับ

Read More

เศรษฐกิจไทย จากโครงสร้างสู่ฐานราก ยิ่งอัดฉีดยิ่งเหลื่อมล้ำ?

ความเป็นไปของเศรษฐกิจไทยในช่วงใกล้วันเลือกตั้ง ดูเหมือนจะกลายเป็นกรณีที่ฟากฝ่ายผู้กุมอำนาจรัฐไม่ค่อยอยากจะกล่าวถึง เพราะตลอดระยะเวลาที่มีโอกาสคุมกลไกและออกมาตรการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจมากว่า 5 ปี กลับไม่ปรากฏผลสัมฤทธิ์ให้ประจักษ์อย่างน่าพึงพอใจ และในความรับรู้ของผู้คนทั่วไปดูจะยิ่งทรุดหนักไปกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำ แม้ว่าในช่วงระยะเวลา 1 ทศวรรษที่ผ่านมาภาพรวมของเศรษฐกิจไทยที่ประเมินจากตัวเลขสถิติต่างๆ จะมีพัฒนาการไปในทิศทางที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของรายได้ต่อหัวจากระดับ 1.4 แสนบาทต่อปีในปี 2551 มาสู่ระดับ 2.2 แสนบาทในปี 2560 หรือเติบโตขึ้นถึงร้อยละ 55 ขณะที่เสถียรภาพของประเทศก็ดูจะมีความเข้มแข็งมากขึ้น ทั้งในมิติของการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องกันถึง 5 ปี หากแต่ความท้าทายหลักที่กำลังสั่นคลอนโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยยังอยู่ที่การพัฒนาด้านผลิตภาพ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่สุดที่จะกำหนดศักยภาพของเศรษฐกิจ ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาผลิตภาพของเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ซึ่งมีสาเหตุมาจากข้อเท็จจริงที่ว่าแรงงานจำนวนมากมีผลิตภาพต่ำ ขาดการพัฒนาและไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปสู่ภาคที่มีผลิตภาพที่สูงขึ้นได้ โดยแรงงานถึง 1 ใน 3 ของประเทศอยู่ในภาคเกษตรกรรมซึ่งเป็นภาคที่มีผลิตภาพต่ำที่สุด ขณะที่นโยบายภาครัฐเข้าไปช่วยเหลือ โดยเน้นการดูแลราคา การประกันรายได้ และการให้เงินอุดหนุน หรือการพักหนี้เกษตรกร ซึ่งช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในระยะสั้น แต่ไม่ช่วยพัฒนาผลิตภาพในระยะยาว ขณะเดียวกัน แรงงานไทยยังมีทักษะไม่ตรงกับความต้องการของตลาด โดยที่ผ่านมาพบว่าผู้ประกอบการจำนวนมากประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ ถือว่าปัญหาดังกล่าวเป็นอุปสรรคลำดับต้นๆ ของการดำเนินธุรกิจและเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับธุรกิจต่างชาติในการตัดสินใจมาลงทุนในประเทศไทย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ การลงทุนของเศรษฐกิจไทยอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชียที่ระดับการลงทุนที่แท้จริงของทั้งภาครัฐและเอกชนรวมกันยังต่ำกว่าช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 และไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ส่วนแบ่งเงินลงทุนสุทธิจากต่างประเทศจากเงินลงทุนทั้งโลกลดลง

Read More

ไร้สัญญาณบวก! เศรษฐกิจไทยรอขยับหลังเลือกตั้ง

ภายใต้เงื่อนไขว่าด้วยกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในปี 2562 ที่กำลังขยับใกล้เข้ามาทุกขณะ แต่ดูเหมือนว่าภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในห้วงเวลาปัจจุบันดำเนินไปอย่างไร้ปัจจัยบวก เพื่อมาเกื้อหนุนพลวัตให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างที่หลายฝ่ายคาดหวัง มิหนำซ้ำศักยภาพและแนวคิดว่าด้วยการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของรัฐบาล คสช. ก็ดูจะตีบแคบลงจนหัวหน้าคณะ คสช. ถึงกับต้องเอ่ยปากให้ประชาชนพึ่งพาตนเองและปรับตัวรับกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่นี้เองด้วย แม้ว่าหน่วยงานภาครัฐจะประเมินว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการส่งออกสินค้าและบริการที่เติบโตต่อเนื่อง โดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีการขยายตัวดีด้วยแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ หากแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏก็คือ กำลังซื้อภาคครัวเรือนมีการปรับตัวอย่างเชื่องช้า ซึ่งเป็นผลมาจากภาระหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง และปัญหาเชิงโครงสร้างในตลาดแรงงาน ความกังวลใจว่าด้วยทิศทางเศรษฐกิจไทยภายหลังการเลือกตั้ง นอกจากจะอยู่ที่รูปร่างหน้าตาของคณะรัฐบาลว่าจะมีการจัดตั้งภายใต้พรรคการเมืองใดเป็นแกนนำ และจะมีเสถียรภาพในการนำพานโยบายทางเศรษฐกิจ สังคมของไทยให้ก้าวหน้าไปได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งต้องติดตามผลการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดมีขึ้นแล้ว บรรยากาศระหว่างการเลือกตั้งที่กำลังดำเนินอยู่ในห้วงเวลาปัจจุบันอาจช่วยกระตุ้นให้เกิดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจและการเมืองไทยในระยะสั้น ปรับตัวดีขึ้นบ้าง และช่วยให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนมกราคม 2562 ซึ่งสำรวจโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน และคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะถัดจากนี้ ปัจจัยทางจิตวิทยาเชิงบวกและข้อเท็จจริงจากประสบการณ์ของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านๆ มา ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าในระหว่างที่มีการรณรงค์หาเลือกตั้ง จะมีเม็ดเงินสะพัดและสร้างความคึกคักให้เกิดขึ้นทั่วประเทศไม่น้อยกว่า 3-5 หมื่นล้านบาท ซึ่งปริมาณเม็ดเงินที่หมุนเวียนเข้าสู่ระบบเหล่านี้ จะมีส่วนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 2562 ขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4 แต่นั่นก็เป็นเพียงการคาดการณ์ที่มีข้อสงวนในเงื่อนไขและเหตุปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้อีกมากมาย ประเด็นที่น่าสนใจติดตามนอกเหนือจากสภาพการเมืองไทยหลังจากทราบผลการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลว่าจะมีเสถียรภาพอย่างไรแล้ว ยังมีปัจจัยว่าด้วยเศรษฐกิจระดับมหภาคและสถานการณ์การค้าโลก ที่ดำเนินผ่านคู่ขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ที่กำลังกดทับให้เศรษฐกิจการค้าโลกมีแนวโน้มที่ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง สอดรับกับข้อมูลขององค์กรการค้าโลก WTO ที่ระบุว่าสถานการณ์การค้าโลกในห้วงปัจจุบันตกต่ำหนักที่สุดในรอบ 9 ปี ซึ่งเป็นผลมาจากความตึงเครียดของข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา ขณะที่การถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ (BREXIT) ก็กลายเป็นปัจจัยลบที่สั่นคลอนความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจระดับโลก ท่ามกลางปัจจัยลบทางเศรษฐกิจโลกที่ดำเนินอยู่รอบด้าน ค่าเงินบาทกลับแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว

Read More

เศรษฐกิจไทยในอนาคต ความหวังที่รัฐบาลใหม่ต้องแบกรับ

สถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี จากมุมมองของหลายฝ่ายดูจะสวนทางกันอย่างเห็นได้ชัด เมื่อสภาพัฒน์แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศในช่วงไตรมาส 3 ปี 2561 ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.3 เปอร์เซ็นต์ จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แสดงให้เห็นว่ามีการชะลอตัวลงจาก 4.6 เปอร์เซ็นต์ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ผู้นำรัฐบาลมักมีวาทกรรมว่า “เศรษฐกิจดีขึ้นทุกด้าน” หากจะว่าไปคงไม่ผิดนักหากนายกฯ จะมีถ้อยแถลงต่อเรื่องเศรษฐกิจเช่นนั้นเสมอ เมื่อผู้คนที่แวดล้อมอยู่รอบตัวประสานเสียงและให้ข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน สวนทางกับเสียงโอดครวญของประชาชนที่ทำมาค้าขาย หาเช้ากินค่ำ กลับบ่นกันระงม ถึงความยากลำบากในสภาวการณ์เช่นนี้ และที่น่าฉงนใจอย่างยิ่งคือ เสียงบ่นจากประชาชนกลับดูบางเบา รวมไปถึงข้อเท็จจริงที่อาจส่งไม่ถึงฝ่ายบริหารประเทศได้เลย ถึงเวลานี้หลายคนคงได้แค่ตั้งความหวังต่อรัฐบาลชุดใหม่ที่จะมาจากการเลือกตั้งซึ่งจะเกิดขึ้นในศักราชหน้า ว่านอกจากจะนำพาเอาความสงบสุขมาสู่ประเทศแล้ว ยังต้องพลิกฟื้นสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่ใช่เพียงแต่เศรษฐกิจในระดับมหภาคเท่านั้น ยังต้องทำให้ทุกฟันเฟืองขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะเศรษฐกิจจุลภาคด้วย และนั่นต้องไม่ใช่เพียงการสร้างภาพลวงตาหลอกสังคมโลกและตัวเอง เพราะเมื่อฟันเฟืองทุกตัวขับเคลื่อนได้จริง ไม่ใช่แค่เพียงภาพมโนที่ปั้นแต่งขึ้นเพื่อสร้างกระแสการเติบโตทางเศรษฐกิจที่หวังผลเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติเท่านั้น นั่นจะเป็นปัจจัยสำคัญที่น่าจะทำให้ไทยหลุดพ้นจากการเป็นมือวางอันดับหนึ่งเรื่องความเหลื่อมล้ำลงได้ แม้ประชาชนบางส่วนจะยังมีข้อสงสัยว่า การเลือกตั้งที่หลายฝ่ายกำลังโหมโรงอยู่ขณะนี้จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ก็ตาม ล่าสุด ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย นำโดย ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์ เปิดเผยถึงการปรับประมาณการคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในปีหน้าใหม่อีกครั้งช่วงเดือนมกราคม หลังจากปัจจัยทางเศรษฐกิจในตลาดโลกมีความชัดเจนมากขึ้น กรณีนี้หมายถึงสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย ซึ่งหอการค้าไทยมองว่า ปี 2562 มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวอยู่ที่ระดับ 4-4.5 เปอร์เซ็นต์ และหากสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสองชาติมหาอำนาจคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นภายในเดือนมีนาคม ราคาน้ำมันไม่ปรับตัวสูงขึ้น มีโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ถึง 4.3-4.5 เปอร์เซ็นต์

Read More

ย้อนพินิจ 4 ปี คสช. เศรษฐกิจไทยในร่างแห??

ความเป็นไปของภาวะเศรษฐกิจไทยในยุคสมัยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ซึ่งดำรงสถานะและดำเนินต่อเนื่องมาจนครบ 4 ปี ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ดูเหมือนจะได้รับการโหมประโคมว่าดำเนินมาอย่างถูกทิศถูกทางและกำลังปรับฟื้นตัวขึ้นอย่างมีอนาคตสดใส ควบคู่กับการเปิดเผยตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2561 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่ามีอัตราขยายตัวที่ระดับร้อยละ 4.8 ซึ่งเป็นการเติบโตที่สูงที่สุดในรอบ 5 ปี หากแต่ภายใต้ตัวเลขสวยหรูที่หน่วยงานภาครัฐพยายามฉายภาพให้สังคมได้รับรู้ กลับยิ่งสะท้อนความเป็นไปที่ขัดต่อความรู้สึกนึกคิดและแตกต่างจากข้อเท็จจริงที่ประชาชนทั่วไปได้สัมผัสอย่างไม่อาจเทียบเคียงกันได้เลย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คืออัตราการขยายตัวทางภาวะเศรษฐกิจของไทยที่รวบรวมโดยธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยนับตั้งแต่ปี 2555 อยู่ในระดับร้อยละ 6.5 ก่อนที่จะถดถอยลงมาเหลือการขยายตัวเพียงร้อยละ2.9 ในปี 2556 และตกต่ำลงไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.8 ในปี 2557 และปรับขึ้นมาเป็นร้อยละ 2.9 ในปี 2559 และร้อยละ 3.2 ในปี 2559 ขณะที่รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2560 ระบุว่ามีการขยายตัวขึ้นร้อยละ 3.9 ตามการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยว สอดคล้องกับเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวชัดเจนและกระจายตัวมากขึ้น อุปสงค์ในประเทศขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากภาครัฐชะลอลงจากปีก่อน เศรษฐกิจไทยขยายตัวดีโดยได้รับแรงส่งสำคัญตลอดทั้งปีจากการส่งออกสินค้าที่ดีขึ้นทั้งในมิติของประเภทสินค้าและตลาด ตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและปริมาณการค้าโลกที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ความมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจไทยของหน่วยงานภาครัฐได้รับการตอกย้ำหนักแน่นยิ่งขึ้นจากตัวเลขล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่นอกจากจะระบุว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1

Read More

เศรษฐกิจไทย ปีหมา 2561 บนความหวังของ “อีอีซี”

ความพยายามของกลไกภาครัฐที่จะโหมประโคมความก้าวหน้าในนโยบายเศรษฐกิจว่าประสบผลสำเร็จและกำลังดำเนินไปท่ามกลางการฟื้นตัวขึ้น ดูจะเป็นข่าวดีที่ต้องรีบประชาสัมพันธ์ ไม่ต่างจากการโฆษณาสินค้าชั้นดีที่ต้องเร่งทำตลาด เพราะประเด็นดังกล่าวผูกพันอยู่กับดัชนีความเชื่อมั่น ไม่ว่าข้อเท็จจริงของสภาพการณ์ที่ปรากฏจะสอดรับกับความมุ่งหมายของรัฐหรือไม่ก็ตาม รายงานตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงปี 2560 ที่นำเสนอโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ซึ่งระบุว่าในปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวร้อยละ 3.9 ดูจะสร้างความเชื่อมั่นและสร้างความพึงพอใจให้กับสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล คสช. ไม่น้อย ก่อนที่จะระบุว่า เป้าหมายการเติบโตของปี 2561 ที่กำหนดไว้ในระดับร้อยละ 4.1 ดูจะเป็นเป้าหมายที่ทุกฝ่ายมั่นใจว่าจะผ่านไปได้อย่างไม่ลำบากนัก เป็นการโหมประโคมข่าวดีอย่างกึกก้อง ไม่ต่างจากเสียงสนั่นของประทัดแห่งการเฉลิมฉลองต้อนรับปีหมา ในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่เพิ่งผ่านมา สอดรับกับดัชนีตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ได้รับการตีความว่าเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของหลากหลายสำนัก กระนั้นก็ดี ประเด็นหลักสำคัญของกลไกในการบรรลุสู่เป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยนับจากนี้ อยู่ที่การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการปรับฐานอุตสาหกรรมเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นกระแสโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะสินค้าส่งออกที่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบเพื่อขยายฐานการส่งออกให้ได้มากกว่าที่เป็นอยู่ ความมั่นใจของทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลในด้านหนึ่งผูกพันอย่างแนบแน่นกับความพยายามผลักดันโครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ซึ่งมีร่างพระราชบัญญัติเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. … หรือกฎหมายอีอีซีได้ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เป็นประหนึ่งแรงกระตุ้นที่ทำให้เชื่อว่าโครงการอีอีซี ซึ่งเป็นความหวังใหม่ของไทยในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและดึงดูดการลงทุนในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้าจะสามารถเดินหน้าได้อย่างเต็มรูปแบบ ความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจไทยดังกล่าว ดูจะเป็นความเชื่อมั่นที่วางเดิมพันไว้กับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง จับต้องไม่ได้ และอาจต้องรอให้โครงการ EEC ที่หวังจะเป็นประหนึ่งหัวรถจักรที่จะลากจูงองคาพยพเศรษฐกิจไทยให้เคลื่อนผ่านหลักไมล์และเส้นทางยากลำบากไปถึงฝั่งฝัน ด้วยแรงขับเคลื่อนแห่งความหวังท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วรอบข้าง ได้เริ่มต้นทำงานอย่างมีรูปธรรมเสียก่อน ความหวังที่เกิดขึ้นจากการคาดการณ์ผลสำเร็จจากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่โครงการพัฒนา EEC

Read More

เศรษฐศาสตร์แห่งเทศกาล แรงกระตุ้นเศรษฐกิจไทย?

ความเป็นไปทางเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายปลายปี ดูจะดำเนินไปท่ามกลางกระแสข่าวดีที่เสริมสร้างความมั่นใจให้กับทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง จากเหตุที่ในช่วงปลายปีเช่นว่านี้ มีกิจกรรมที่ส่งเสริมและกระตุ้นการจับจ่ายอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ออกพรรษา มาสู่ฤดูกฐิน เทศกาลกินเจ และไล่เรียงไปสู่ลอยกระทง ควบคู่กับกิจกรรมส่งเสริมการขาย ไม่ว่าจะเป็นมหกรรมหนังสือระดับชาติ (Book Expo 2017) ในช่วง 18-29 ตุลาคม และมอเตอร์เอ็กซ์โป 30 พฤศจิกายน ถึง 11 ธันวาคม ซึ่งคาดว่าจะกระตุ้นสภาวะทางเศรษฐกิจได้ไม่น้อยเลย แม้ว่าบรรยากาศโดยทั่วไปของสังคมไทยจะยังอยู่ในความโศกเศร้าและโหยหาอาลัยต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใกล้กำหนดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ หากแต่ในอีกมิติหนึ่ง คลื่นมหาชนที่เปี่ยมด้วยความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ได้ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนตัวทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เป็นอานิสงส์ที่แผ่ซ่านครอบคลุมทุกแขนงธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมที่พักบริเวณโดยรอบเกาะรัตนโกสินทร์ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงและพระบรมมหาราชวัง ที่มีอัตราการจองห้องพักล่วงหน้าเต็มตั้งแต่ช่วง 2-3 เดือนก่อนหน้านี้แล้ว ขณะเดียวกันการเดินทางของมหาชนผู้ภักดีจากทั่วทุกสารทิศที่เดินทางเข้ามาถวายสักการะอาลัย ได้หนุนนำภาคการขนส่งให้ดำเนินไปด้วยอัตราเร่งอย่างต่อเนื่องมาตลอดทั้งปี ยังไม่นับรวมผลต่อเนื่องจากกิจกรรมอื่นๆ ที่ช่วยหนุนนำการสะพัดของเงินตราทั้งโดยทางตรงและโดยอ้อมอีกนับประเมินมูลค่ามิได้ การกระจายรายรับรายได้จากกิจกรรมทางสังคมที่ดำเนินต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี ทำให้กลไกภาครัฐประวิงเวลาในการนำเสนอมาตรการใหม่ๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเหตุที่เชื่อมั่นว่า กลไกและสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจที่ดำเนินอย่างเป็นธรรมชาตินี้จะมีแรงส่งที่มากเพียงพอให้เศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีบรรลุสู่เป้าหมายที่กำหนดวางไว้ได้ ความมั่นใจของกลไกภาครัฐจากตัวเลขประมาณการทางเศรษฐกิจที่หลั่งไหลเข้ามาในช่วงนี้ ซึ่งต่างประเมินสถานการณ์เชิงบวกต่อเนื่องนำไปสู่ดัชนีความมั่นใจของผู้บริโภคและนักลงทุน และกลายเป็นประกายความหวังให้รัฐเชื่อมั่นในทิศทางการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดำเนินอยู่ หากแต่ภายใต้ข้อเท็จจริงที่ว่าระบบการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาทั้งในมิติของสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าและการวางยุทธศาสตร์ระยะยาว ยังเป็นประเด็นที่สั่นคลอนและท้าทายศักยภาพการบริหารของรัฐไทยมาอย่างต่อเนื่อง และอาจทำให้ตัวเลขประมาณการที่มีแนวโน้มสดใส อาจไม่ปรากฏขึ้นจริงในระยะถัดไปจากนี้ ความคาดหมายที่เชื่อว่าภาคการส่งออกจะเติบโตและเป็นจักรกลที่ช่วยหนุนนำพัฒนาการทางเศรษฐกิจในช่วงปีที่กำลังจะมาถึง ยังผูกพันอยู่กับธุรกิจอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปพืชผลทางการเกษตร ในขณะที่ภาวะน้ำท่วมนาแล้งกลายเป็นวัฏจักรที่ไร้ทิศทางการบริหารที่มีรูปธรรมในทางปฏิบัติ ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้สินค้าส่งออกในกลุ่มนี้ขาดเสถียรภาพในเชิงปริมาณแล้ว ยังเป็นปัจจัยหนุนเสริมให้เกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบในเชิงราคาสำหรับการแข่งขันกับต่างประเทศอีกด้วย การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของกลไกภาครัฐในช่วงที่ผ่านมากลายเป็นกรณีที่ก่อให้เกิดคำถามและเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความสำเร็จ-ล้มเหลวอยู่พอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

Read More

หวังส่งออกอาหาร ดันเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว

สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2561 กำลังได้รับความคาดหวังว่าจะดำเนินไปสู่ทิศทางที่สดใสจากปัจจัยแรงส่ง ว่าด้วยการส่งออก ที่ตลอดช่วง 9 เดือนแรกของปี 2560 (มกราคม-กันยายน) มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคการส่งออกสินค้าอาหารไทย ที่สามารถมีมูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ในระดับร้อยละ 9.4 จนเกือบแตะระดับ 8 แสนล้านบาท และคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกอาหารไทยรวมตลอดทั้งปีในระดับที่เกินกว่า 1 ล้านล้านบาทด้วย ก่อนหน้านี้ กระทรวงพาณิชย์รายงานตัวเลขการส่งออกเดือนสิงหาคม 2560 ว่ามีมูลค่า 21,224 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7 แสนล้านบาท ขยายตัว 13.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการส่งออกในระดับสูงสุดในรอบ 55 เดือน ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 19,134 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6.3 แสนล้านบาท ขยายตัว 14.9% ส่งผลให้ไทยมีการค้าเกินดุล 2,090 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมกับคาดการณ์ว่าภาพรวมการส่งออกทั้งปี 2560 ที่ประมาณว่าจะขยายตัวร้อยละ 7 น่าจะเป็นไปได้

Read More

จากแรงส่งสู่แรงเฉื่อย รัฐหมดมุกกระตุ้นเศรษฐกิจ?

ปี 2017 กำลังเดินทางเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปี ควบคู่กับการเป็นจุดเริ่มต้นของงบประมาณก้อนใหม่ ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ที่มีมูลค่ารวม 2.9 พันล้านล้านบาท หากแต่สถานการณ์โดยรวมทางเศรษฐกิจของไทยดูจะไม่ได้ดำเนินไปตามที่กลไกภาครัฐพยายามที่จะโหมประโคมว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวขึ้นแล้วมากนัก ตลอดปี 2017 ที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐดูจะทุ่มเทความพยายามในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ การเร่งลงทุนในส่วนของรัฐวิสาหกิจ และการใช้นโยบายด้านภาษี ที่หลายฝ่ายเชื่อว่ามาตรการหลากหลายดังกล่าวได้ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่องและเกินกว่าเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ ภายใต้แรงส่งจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดำเนินมาก่อนหน้า และทำให้ในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2017 หรือในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ไม่จำเป็นต้องนำเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใดๆ อีก ตรรกะวิธีคิดดังกล่าวในด้านหนึ่งเป็นผลจากกระบวนทัศน์ที่ฝากความหวังไว้กับการเบิกจ่ายงบลงทุนจากเงินงบประมาณประจำปีงวดใหม่ ที่เป็นงบประมาณขาดดุล ที่เชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐและเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เศรษฐกิจไทยในช่วงท้ายของปีกระเตื้องขึ้นอีก ตัวเลขประมาณการภาพรวมเศรษฐกิจถูกนำมาอ้างอิงอย่างต่อเนื่องในฐานะภาพสะท้อนเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาโดยต่างระบุว่า เศรษฐกิจไทยได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากผลของการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวเกินกว่าที่ประมาณการไว้และอาจทำให้ตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปรับไปสู่ร้อยละ 3.8 จากเดิมที่ประเมินการขยายตัวทางเศรษฐกิจไว้ที่ระดับร้อยละ 3.4 เท่านั้น ความมั่นใจของกลไกภาครัฐจากความสำเร็จในการกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว ที่ดำเนินผ่านตัวเลขทางเศรษฐกิจในด้านหนึ่งกลับสะท้อนความตีบตันของมาตรการที่จะนำเสนอในอนาคต เพราะในขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาจะดีขึ้น แต่ในภาพที่เล็กลงไปในระดับจุลภาค ผลของเศรษฐกิจกลับมีแนวโน้มไปในทิศทางตรงกันข้าม หรือได้รับผลอย่างไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ยังเผชิญความยากลำบาก และเป็นประเด็นที่ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังต้องคำนึงและให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง มาตรการของภาครัฐที่มีรูปธรรมในทางปฏิบัติล่าสุด ในนามของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือที่เรียกขานโดยทั่วไปว่าบัตรสวัสดิการคนจน ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ในด้านหนึ่งได้สะท้อนข้อเท็จจริงที่ว่าสังคมไทยยังมีผู้มีรายได้น้อยมาขึ้นทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการดังกล่าวมากถึง 10-14 ล้านคน ซึ่งดูเหมือนว่าความมุ่งหมายที่จะนำพาประเทศไทยให้ “ก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง”

Read More

จับสัญญาณบวกเศรษฐกิจไทย ครึ่งปีหลัง 2560 กำลังจะฟื้นตัว

ความพยายามของกลไกภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะโหมประโคมสัญญาณบวกทางเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา ดูจะได้รับการขานรับในระดับที่น่าสนใจไม่น้อยเลย โดยเฉพาะการคาดหมายที่เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่าในช่วงที่ผ่านมาภาพรวมเศรษฐกิจยังไม่ค่อยดีนัก แต่มี 3 ปัจจัยหลักที่อาจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงเวลานับจากนี้ให้กระเตื้องขึ้นมาบ้าง โดยหลายฝ่ายเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว 3 ปัจจัยหรือสัญญาณเชิงบวกที่ได้รับการกล่าวถึงในด้านหนึ่งอยู่ที่การคาดการณ์ว่าจะมีการจับจ่ายใช้สอยจากงบประมาณภาครัฐมากขึ้น โดยเฉพาะงบประมาณการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีความพยายามที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่เป็นระยะ ซึ่งอาจได้ผลระยะสั้นและเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า รวมถึงปัจจัยว่าด้วยการส่งออกที่มีตัวเลขในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาบ่งชี้แนวโน้มเชิงบวกในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม และมีการนำเข้าวัตถุดิบมาผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาพรวมของการค้าชายแดนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยเมียนมา กัมพูชา สปป.ลาว มีการนำเข้าสินค้าจากไทยมากขึ้น ก่อนหน้านี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2560 อยู่ที่ 3.4% จากการส่งออกและการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่หนุนเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีแรกให้โตกว่าที่คาด ในขณะที่เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังยังมีความท้าทาย จากแนวโน้มราคาน้ำมันที่โน้มอ่อนลง ส่งผลต่อการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกที่คาดว่าจะช้าลงกว่าในช่วงครึ่งปีแรก รายได้เกษตรกรที่เริ่มชะลอลงจากผลผลิตที่ออกมาสู่ตลาดมาก โดยการใช้จ่ายภาครัฐและการท่องเที่ยวยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2560 พร้อมกับระบุว่าการประกาศใช้ พ.ร.ก. การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ในช่วงที่ผ่านมา น่าจะส่งผลกระทบในปี 2560 ในขอบเขตจำกัด หรือคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 12,400 ล้านบาท จากการที่ยืดระยะเวลาการบังคับใช้กฎหมายให้ทอดยาวออกไปอีก 6 เดือน ซึ่งน่าจะเพียงพอให้แรงงานต่างด้าวหมุนเวียนกันไปจัดการเรื่องเอกสารใบอนุญาตทำงานได้ โดยไม่ทำให้ธุรกิจต้องหยุดชะงักยาวนาน โดยเบื้องต้นประเมินผลกระทบที่จะส่งผ่านไปที่ตัวเลข GDP ราว 0.03% แต่ข้อเท็จจริงสำหรับผู้ประกอบการอีกด้านหนึ่ง

Read More