Home > ประยุทธ์ จันทร์โอชา

บิ๊กตู่ลุยไฟศึกอภิปราย พิษเศรษฐกิจรอบด้าน

19 กรกฎาคมนี้ พรรคร่วมฝ่ายค้านจะเปิดฉากศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ 11 รัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ภายใต้ยุทธการ “เด็ดหัวนายกฯ สอยนั่งร้าน” หวังขยี้แผลเปิดหลักฐานการบริหารประเทศที่ผิดพลาด การทุจริตคอร์รัปชั่น และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ตรงจุด โดยเฉพาะมาตรการบรรเทาค่าครองชีพฝ่าวิกฤตข้าวของแพงและราคาน้ำมันที่ยังมีแนวโน้มพุ่งยาวถึงสิ้นปี ยิ่งไปกว่านั้นคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เตรียมพิจารณาปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) งวดใหม่ ช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม 2565 และมีแนวโน้มพุ่งสูงถึง 90-100 สตางค์ต่อหน่วย เนื่องจากต้นทุนค่าเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) สูงขึ้นต่อเนื่อง อาจทำให้ค่าไฟฟ้ารวมต้องปรับเพิ่มเกือบ 5 บาทต่อหน่วย เทียบงวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม อยู่ที่ 4 บาทต่อหน่วย ล่าสุด กกพ. พลิกกลยุทธ์ใหม่เปิดช่องทางขอรับฟังความเห็นชาวบ้านผ่านเว็บไซต์ www.erc.or.th ก่อนชี้ขาดขั้นสุดท้ายใน 3 แนวทาง กรณีแรก เรียกเก็บค่าเอฟที 93.43 สตางค์ต่อหน่วย เพิ่มขึ้นตามการประมาณการต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่เกิดขึ้นจริง 93.43 สตางค์ต่อหน่วย กรณีที่ 2 เรียกเก็บค่าเอฟที 139.13 สตางค์ต่อหน่วย

Read More

พิษโอไมครอนชี้ชะตา “บิ๊กตู่” เดิมพันพลิกฟื้นเศรษฐกิจ

รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังเจอบททดสอบอีกครั้งกับการเร่งสกัดการระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่ “โอไมครอน” ที่ลุกลามไปมากกว่า 21 ประเทศทั่วโลกแล้ว ท่ามกลางความหวังการพลิกฟื้นประเทศ ผลักดันเศรษฐกิจช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2564 เพื่อเพิ่มแรงส่งต่อเนื่องไปถึงปี 2565 ล่าสุด คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้นัดประชุมหารือกันในวันที่ 8 ธันวาคมนี้ เพื่อประเมินผลกระทบด้านต่าง ๆ และยังเชื่อว่า การระบาดใหม่จะไม่ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจทันที แต่ปี 2565 มีความไม่แน่นอนสูง เนื่องจากต้องรอดูสถานการณ์ช่วงรอยต่อเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ซึ่งเป็นมหกรรมหยุดยาวและนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย จะพบผู้ติดเชื้อหรือไม่ ระบบการตรวจสอบของทางการจะเข้มข้นหรือไม่ จะพบผู้ติดเชื้อและจะเกิดการแพร่ระบาดหรือไม่ สำหรับประเทศที่ตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนล่าสุด ได้แก่ แอฟริกาใต้ บอตสวานา เบลเยียม ฮ่องกง อิสราเอล เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ออสเตรเลีย แคนาดา สาธารณรัฐเชก โปรตุเกส สหราชอาณาจักร สวีเดน ญี่ปุ่น สเปน

Read More

นายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสนาม โครงการลมหายใจเดียวกัน 120 เตียง ใหญ่ที่สุดในประเทศ

มุ่งเพิ่มขีดความสามารถรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นถึงขั้นวิกฤต และผู้ป่วยเสี่ยงสูงที่ต้องฟอกไต จากการผนึกกำลังของกลุ่ม ปตท. ภาครัฐ และพันธมิตรทางการแพทย์ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสนาม ICU สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ระดับสีแดง ในโครงการลมหายใจเดียวกัน กลุ่ม ปตท. บนพื้นที่ 4 ไร่ ด้านหน้าโรงพยาบาลปิยะเวท เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ พร้อมด้วย นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ ประธานกรรมการ ปตท. นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พญ.เจรียง จันทรกมล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารโรงพยาบาลในเครือบางปะกอก-ปิยะเวท

Read More

ห้างลุ้นกำลังซื้ออีกเฮือก มึนม็อบดาวกระจายลาม

แม้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตัดสินใจออกพระราชกฤษฎีกาเปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ ในวันที่ 26-27 ตุลาคม 2563 ให้มีการอภิปรายทั่วไป โดยไม่มีการลงมติตามมาตรา 165 ของรัฐธรรมนูญ เพื่อผ่าทางตันของประเทศ แต่นั่นเป็นเพียงการเริ่มต้นที่ยังต้องแลกกับความเสียหายทางเศรษฐกิจ เนื่องจากพิษการเมืองส่งผลเต็มๆ ต่อความมั่นใจและกำลังซื้อของประชาชน ทั้งที่กลุ่มห้างค้าปลีกต่างคาดหวังการฟื้นรายได้อย่างเต็มที่ในช่วงไตรมาสสุดท้าย หลังปัญหาโควิด-19 คลี่คลาย ที่สำคัญ 3 ข้อเรียกร้องของกลุ่มคณะราษฎร 2563 และแนวร่วมธรรมศาสตร์ และการชุมนุม คือ 1. ให้ พล.อ.ประยุทธ์ ลาออก พร้อมทั้งคณะรัฐมนตรี 2. เปิดสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญตามข้อเสนอของประชาชน และ 3. ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ รวมถึงสั่งปล่อยตัวและไม่ดำเนินคดีใด ๆ กับกลุ่มผู้ถูกจับกุมอีก ล้วนเป็นการเรียกร้องที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้โดยง่าย เกมนี้จึงเหมือนหนังเรื่องยาว ต้องดูท่าทีของแต่ละฝ่าย แต่ต้องยอมรับว่าการงัดกลยุทธ์ม็อบดาวกระจายตามจุดสำคัญทั่วกรุงเทพฯ สามารถกดดันรัฐบาลอย่างได้ผล เนื่องจากเลือกจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ โดยประเดิมหมุดแรกย่านราชประสงค์ ศูนย์กลางการท่องเที่ยว ช้อปปิ้งสตรีท มีห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ไล่ไปตั้งแต่เซ็นทรัลเวิลด์ เกษรวิลเลจ สยามพารากอน อัมรินทร์พลาซ่า

Read More

ครม. ใหม่ ส่งท้ายปีระกา บนความคาดหวังแห่งปีจอ

การปรับคณะรัฐมนตรีภายใต้การกำกับดูแลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในนาม “ประยุทธ์ 5” แม้จะมีการปรับเปลี่ยนรวมมากถึง 18 ตำแหน่ง หากแต่ดูเหมือนว่าจะไม่ได้สะท้อนภาพความแตกต่างในเชิงนโยบายหรือมาตรการในการนำพาประเทศไปสู่หนทางใหม่ และดูจะเป็นเพียงการปรับเพื่อผลัดเปลี่ยนบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งเท่านั้น ขณะเดียวกันการปรับ ครม. ครั้งล่าสุดยังได้รับการประเมินว่าเป็นความพยายามของประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่จะกอบกู้ศรัทธาและความเชื่อมั่นของรัฐบาลที่กำลังทรุดตัวตกต่ำต่อเนื่อง รวมถึงความพยายามที่จะปูทางไปสู่การสานต่อเพื่อการดำรงอยู่ในอำนาจภายหลังการเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีขึ้นในช่วงปลายปี 2561 อีกด้วย คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่พยายามลดทอนจำนวนขุนทหารและเติมเต็มเข้ามาด้วยบุคลากรภาคพลเรือนและนักวิชาการ อาจช่วยให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลดูดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคณะรัฐมนตรีชุดก่อนหน้า หากแต่ในความเป็นจริง กรณีดังกล่าวกลับสะท้อนภาพความล้มเหลวและปัญหาในการบริหารจัดการที่ดำเนินมากว่า 3 ปีของ คสช. ไปในคราวเดียวกัน กระนั้นก็ดี การฝากความหวังไว้กับทีมเศรษฐกิจที่มีสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นหัวเรือใหญ่ และยังดำเนินนโยบายเศรษฐกิจตามกรอบโครงนโยบายและความคิดเดิม ทำให้เกิดคำถามว่า ประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจที่สังคมไทยเผชิญอยู่ในขณะนี้ ได้รับการประเมินบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงอย่างไร และจะดำเนินไปสู่หนไหน แม้ว่าการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุดจะเป็นประจักษ์พยานว่าสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ยังคงมีบทบาทนำ และ คสช. สมัครใจที่จะเชื่อฝีมือของขุนพลทางเศรษฐกิจรายนี้อย่างมากก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาล คสช. พยายามฉายภาพรวมตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ประกอบส่วนไปด้วยมูลค่าการส่งออกและรายได้จากการท่องเที่ยว ในฐานะที่เป็นผลงานเชิดหน้าชูตารัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง หากแต่การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุดกลับมีการปรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ให้พ้นจากตำแหน่ง คำถามที่ติดตามมาจึงอยู่ที่ว่ารัฐมนตรีที่ถูกปรับออกนี้ มีประเด็นว่าด้วยความฉ้อฉลไม่โปร่งใส หรือเป็นการยอมรับไปโดยปริยายของรัฐบาลว่า ตัวเลขและผลงานที่พยายามเอ่ยอ้างมาโดยตลอดนั้นเป็นเพียงการปรับขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การท่องเที่ยวก็สดใสจากเทรนด์ของโลก ไม่ได้เกิดขึ้นจากความสามารถในการบริหารจัดการของภาครัฐแต่อย่างใด ประเด็นที่น่าสนใจในเชิงเศรษฐกิจที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง อยู่ที่มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่รัฐบาลพยายามโหมประโคมและมอบสิทธิประโยชน์พิเศษเพื่อเชิญชวนนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น

Read More