Home > สงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ

พินิจภาคส่งออก ฟันเฟืองแห่งความหวังของเศรษฐกิจไทย

อย่างที่ทราบกันดีว่า การส่งออกเป็นฟันเฟืองตัวสำคัญของเศรษฐกิจไทย ปัจจุบันไทยพึ่งพิงรายได้จากการส่งออกประมาณ 70-75 เปอร์เซ็นต์ ของจีดีพี หรือผลิตภัณฑ์มวลรวม หมายความว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่สถานการณ์การค้าโลกอยู่ในภาวะระส่ำและกระทบต่อการส่งออก นั่นจะเป็นต้นเหตุแห่งปัจจัยลบของเศรษฐกิจไทย นับตั้งแต่สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนอุบัติขึ้น ไทยในฐานะประเทศคู่ค้าได้รับผลกระทบในทุกระนาบอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอีกหลายด้านที่สร้างให้เกิดภาวะเฉื่อยในภาคการส่งออกของไทย ทั้งกรณีที่ไทยถูกตัดสิทธิ GSP จากสหรัฐฯ หรือกรณีเขตการค้าเสรี FTA ที่ไทยยังอยู่ในขั้นตอนของการเร่งเจรจา มูลเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้ประเทศไทยประสบกับภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจอย่างไม่อาจต้านทานได้ แม้จะมีปัจจัยบวกจากด้านอื่นอยู่บ้าง ทว่า ไม่อาจช่วยให้ตัวเลขของการส่งออกบวกขึ้นได้ เมื่อตัวเลขการส่งออกของปี พ.ศ. 2562 ติดลบ 2.7% สถานการณ์วิกฤตที่กำลังรายล้อมอยู่รอบด้าน รวมไปถึงการสรุปผลตัวเลขการส่งออกปีที่ผ่านมา ทำให้กระทรวงพาณิชย์จำเป็นต้องปรับเป้าประมาณการการส่งออกในปี 2563 ว่าน่าจะมีโอกาสเติบโต 1-3% เท่านั้น ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ได้ประเมินภาคการส่งออกของไทยว่า น่าจะยังมีโอกาสเติบโตท่ามกลางมรสุมที่หลายชาติกำลังเผชิญ เพราะมองเห็นปัจจัยที่เอื้อให้เกิดกระแสธารเชิงบวก ได้แก่ การคาดการณ์จาก IMF (International Monetary Fund) ที่ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มจะขยายตัวได้ดีในปีนี้ถึง 3.3 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ปี 2562 ขยายตัวได้เพียง 2.9

Read More

ส่งออกติดลบ ฟันเฟืองเศรษฐกิจไทยตัวไหนทำงาน

สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนดูจะยังหลอกหลอน และสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างให้แก่อุตสาหกรรมการส่งออกของไทย ที่เป็นเสมือนฟันเฟืองสำคัญในระบบเศรษฐกิจ หากจะพินิจพิเคราะห์กันอย่างรอบด้านด้วยใจเป็นธรรมแล้ว สถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่กำลังถดถอยอยู่ในขณะนี้ ไทยไม่ได้เป็นประเทศเดียวที่กำลังเผชิญกับสถานการณ์อันเลวร้าย ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในภาวะชะลอตัว และอีกหลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบกับวิกฤตที่ไม่ต่างกันเท่าใดนัก แต่สำหรับระบบเศรษฐกิจไทยที่มีฟันเฟืองขับเคลื่อนให้เดินไปข้างหน้าได้เพียงไม่กี่ตัว ทำให้หลายฝ่ายแสดงความวิตกกังวลว่า ไทยจะหลุดพ้นจากสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ไปได้อย่างไร เมื่อสถานการณ์ส่งออกของไทยอยู่ในภาวะติดลบและขาดดุลในรอบหลายปี นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยว่า ส่งออกไทยในช่วงครึ่งปีหลังจะติดลบ 0.64 เปอร์เซ็นต์ โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกทั้งปี 2562 มีมูลค่า 251,338 ล้านเหรียญสหรัฐ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งออกไทยคือ สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะชะลอตัว สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทของไทยที่ยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง การทำเอฟทีเอระหว่างเวียดนามและสหภาพยุโรป ที่น่าจะมีผลกระทบต่อการส่งออกของไทย และกรณี Brexit ห้วงยามนี้ฟันเฟืองการส่งออกของไทยที่เคยเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจไทยดูจะอ่อนประสิทธิภาพลง และหากจะพิจารณาฟันเฟืองตัวอื่นๆ ทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การเกษตร และภาคอุตสาหกรรมล้วนแล้วแต่อยู่ที่ย่ำแย่จนถึงติดลบ แม้จะมีการขยายตัวอยู่บ้างในบางอุตสาหกรรม ทว่าเมื่อพิจารณาตัวเลขการขยายตัวยังไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าใดนัก ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเปิดเผยข้อมูลตัวเลข รายได้เกษตรกรที่แท้จริงในช่วงเดือนเมษายนหดตัว -3.0 เปอร์เซ็นต์ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเติบโตเพียง 3.3 เปอร์เซ็นต์ มูลค่าการส่งออกหดตัว -2.6 เปอร์เซ็นต์ ก่อนหน้านี้หลายฝ่ายให้ความเห็นว่า ความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลเป็นหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น แต่เวลานี้คงต้องพิจารณากันใหม่ว่า เมื่อรัฐบาลจัดตั้งเรียบร้อยแล้วจะยังสามารถเรียกความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนได้หรือไม่ เมื่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 มีมติเห็นชอบแต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์

Read More

ทุนนอกไหลเข้าอาเซียน หวังหลบภัยสงครามการค้า

ความเป็นไปของอาเซียนโดยเฉพาะกรณีว่าด้วยการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) ดูจะเป็นประหนึ่งปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน เพราะไม่เพียงแต่จะมีส่วนส่งเสริมการขยายฐานการลงทุนแล้ว กรณีดังกล่าวยังเชื่อว่าจะเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยเพิ่มอัตราการจ้างงานภายในภูมิภาค ซึ่งที่ผ่านมาพัฒนาการและแนวโน้มด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้งขาเข้าและขาออกทั้งหมดภายในอาเซียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มูลเหตุหนึ่งที่ทำให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอาเซียน (ASEAN FDI) มีลักษณะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น นอกจากจะเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการลงทุนภายในอาเซียนเอง ที่เกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าธุรกรรมด้านการซื้อขายและควบรวมกิจการ (Merger & Acquisition: M&A) แล้ว การพัฒนาพื้นฐานทางเศรษฐกิจมหภาคและสภาพแวดล้อมด้านการลงทุนในระดับภูมิภาคก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเปิดโอกาสการลงทุนที่มากขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของการลงทุนจากแหล่งใหม่ (Emerging Sources) ที่มีจีนเป็นผู้เร่งปฏิกริยา การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในช่วงก่อนหน้านี้ ส่งผลให้มีการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) ไหลรินเข้าสู่ประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลของการอาศัยหลักการผลิตที่ได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ อัตราค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า ข้อได้เปรียบจากขนาดของการผลิต (economy of scale) และห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ในการผลิตสินค้า ส่งผลทำให้จีนเปลี่ยนจากประเทศที่รับจ้างผลิต มาเป็นผู้ส่งออกสินค้า และแปลงสถานะมาเป็นคู่ค้าที่ได้เปรียบประเทศอื่นๆ ในที่สุด สัดส่วนของการค้าและการลงทุนในประเทศจีนที่มากล้น จนมีมูลค่าและสัดส่วนของการลงทุนที่มากเกินกว่าจะขยายได้ในประเทศ ทำให้ในปัจจุบันไม่เพียงแต่จีนจะกลายมาเป็นผู้ส่งออกสินค้าให้กับโลกแล้ว ยังรวมไปถึงการส่งเงินทุนออกไปภายนอกประเทศ (Outward Foreign Direct

Read More

Rare earth หมัดเด็ดของสีจิ้นผิง? ในศึกสงครามการค้า

หากติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของสองประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ และจีน ที่ตอบโต้กันบนเวทีโลก โดยเฉพาะประเด็นการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าแต่ละยกในศึกครั้งนี้ดูจะไม่มีใครยอมใคร แม้ว่าทั้งสองจะมีโอกาสได้จับมือกันต่อหน้ากล้อง พบปะพูดคุยกันอยู่บ้าง รวมไปถึงการหารือเพื่อเจรจาในข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ อีกทั้งกระแสข่าวที่ถูกตีแผ่ว่า มีความเป็นไปได้ว่าทั้งสองประเทศอาจบรรลุข้อตกลงระหว่างกันในการยุติความขัดแย้งครั้งนี้ ทว่า จนถึงขณะนี้ข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายจะทำร่วมกันเพื่อยุติสงครามการค้าครั้งนี้ กลับไม่มีท่าทีที่จะประสบความสำเร็จแต่อย่างใด ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นกับความพยายามที่จะทำข้อตกลงร่วมกันกลายเป็นภาพชินตาของผู้คนทั่วโลก และท้ายที่สุด จากสงครามการค้าทรานฟอร์มสู่สงครามเทคโนโลยี เมื่อโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หงายไพ่ใบใหม่เพื่อกดดันจีนด้วยการเล่นงานบริษัทหัวเว่ย โดยมีกูเกิลขานรับนโยบายนี้ทันที ซึ่งจะส่งผลให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของหัวเว่ยไม่สามารถอัพเดตหรือเข้าถึงแอปยอดนิยมอย่างกูเกิลได้ นโยบายดังกล่าวสร้างความวิตกกังวลอย่างมากให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งบริษัทคู่ค้ากับหัวเว่ย ผู้บริโภคที่ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ของหัวเว่ย ทว่า ความกังวลนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับซีอีโอของหัวเว่ยแต่อย่างใด เมื่อ Ren Zhengfei กล่าวเพียงว่า หัวเว่ยจะไม่ได้รับผลกระทบจากการประกาศแบนของสหรัฐฯ และนักการเมืองสหรัฐฯ ประเมินความสามารถของหัวเว่ยต่ำเกินไป แม้ว่าคำสั่งดังกล่าวจะถูกระงับไว้เป็นการชั่วคราวอย่างน้อย 90 วัน โดยสหรัฐฯ ให้เหตุผลว่า เพื่อไม่ให้เกิดสภาวะสะดุดระหว่างบริษัทเอกชนสัญชาติอเมริกาที่ทำธุรกิจกับหัวเว่ย ที่ผ่านมา นโยบายและมาตรการต่างๆ ของสหรัฐฯ จะเป็นสิ่งที่ประเทศคู่ค้าไม่ยอมรับ และมีการโต้กลับในรูปแบบที่ไม่แตกต่างกัน เช่น เมื่อสหรัฐฯ ปรับอัตราการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน ขณะที่จีนไม่นิ่งนอนใจและขึ้นอัตราการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ในอัตราที่เท่าเทียมกัน และเมื่อสหรัฐฯ ปรับหมากเดินเกม รวมไปถึงเป็นผู้เปลี่ยนหน้าเกมในศึกครั้งนี้ จากสงครามการค้า สู่สงครามเทคโนโลยี โดยมุ่งเล่นงานที่บริษัทหัวเว่ย ในมุมมองของนักการเมืองฟากฝั่งโดนัลด์

Read More

สงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ กับหมากตัวใหม่ของทรัมป์

การฟาดฟันด้วยกำแพงภาษีระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เริ่มขึ้นตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2561 ภายใต้การนำทัพของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งสหรัฐฯ เพิ่มอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเป็น 25% มูลค่า 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำให้จีนต้องตอบโต้กลับด้วยอัตราภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ ด้วยมูลค่าที่เท่ากัน การตอบโต้กันระหว่างสองประเทศยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีการพูดคุยเจรจาระหว่างสองผู้นำยามที่ต้องเข้าร่วมประชุมในระดับนานาชาติ แต่ดูเหมือนว่าการเจรจาในแต่ละครั้งจะให้ผลที่หาความแน่นอนไม่ได้ นโยบายการปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน หรือจากประเทศคู่ค้าอื่นๆ ของสหรัฐฯ นั้น ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายในช่วงหาเสียงของทรัมป์ ที่ต้องการสร้างงานให้เกิดขึ้นในประเทศ ภายใต้แนวความคิดที่ว่า “America First” ด้วยหวังว่าผู้ประกอบการจะย้ายฐานการผลิตเข้ามาในสหรัฐฯ จากมาตรการดังกล่าวที่สหรัฐฯ ประกาศใช้ ส่งผลให้มีผู้ประกอบการบางรายกำลังตัดสินใจที่จะย้ายฐานการผลิตมายังสหรัฐฯ ทว่าก็ยังไม่ใช่ทั้งหมด นอกจากนี้ การขึ้นอัตราภาษีสินค้านำเข้าของสหรัฐฯ เป็นเพราะความต้องการที่จะสร้างสมดุลทางการค้า เพราะก่อนหน้านี้สหรัฐฯ มีปัญหาการขาดดุลการค้า โดยทรัมป์มองว่าสหรัฐฯ ไม่ได้รับความเป็นธรรมเรื่องการค้าระหว่างประเทศ และอีกเหตุผลหนึ่งที่ทรัมป์ยังคงดำเนินการสร้างกำแพงภาษีอย่างต่อเนื่อง น่าจะเป็นเพราะความพยายามสร้างผลงานก่อนการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในศักราชหน้า จนถึงตอนนี้สหรัฐฯ รีดอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นคิดเป็นมูลค่าราว 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการโต้กลับของจีนด้วยการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ เป็นมูลค่ารวม 110,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงจุดนี้ การรีดภาษีสินค้านำเข้าจากจีนของสหรัฐฯ ดูจะยังไม่สิ้นสุดลงง่ายๆ แม้ทั้งสองฝ่ายจะมีความพยายามเจรจาเพื่อหาข้อยุติกรณีพิพาทดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และสหรัฐฯ อาจเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าในอัตราที่สูงขึ้น

Read More