Home > Political

ความแนบแน่นระหว่างมาครงและซาร์โกซี

Column: From Paris เอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) เข้าสู่เวทีการเมืองในยุคประธานาธิบดีฟรองซัวส์ โอลลองด์ (François Hollande) ด้วยการแนะนำของฌาคส์ อัตตาลี (Jacques Attali) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของฝ่ายหลัง และเป็นผู้ค้นพบความปราดเปรื่องของฝ่ายแรกเมื่อได้ทำงานด้วยกัน โดยฟรองซัวส์ โอลลองด์แต่งตั้งให้เอ็มมานูเอล มาครงเป็นรองเลขาธิการทำเนียบเอลีเซ (Palais de l’Elysée) อันเป็นทำเนียบประธานาธิบดี และเมื่อตำแหน่งรัฐมนตรีงบประมาณว่างลง ฟรองซัวส์ โอลลองด์ไม่ยอมแต่งตั้งเอ็มมานูเอล มาครงตามความปรารถนาของเจ้าตัว จึงเป็นที่มาของการลาออก หลังจากว่างานอยู่ไม่กี่เดือน ก็ถึงคราวปรับคณะรัฐมนตรี เอ็มมานูเอล มาครงได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีเศรษฐกิจ อันเป็นตำแหน่งที่ใหญ่กว่าที่เคยปรารถนา ฟรองซัวส์ โอลลองด์จึงถือเอ็มมานูเอล มาครงเป็นเด็กสร้างของตน แต่แล้วเด็กสร้างก็ลาออกไปเพื่อเตรียมตัวลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2017 แรกทีเดียวประธานาธิบดีฟรองซัวส์ โอลลองด์ไม่เชื่อว่าเอ็มมานูเอล มาครงจะทาบรอยเท้า มิไยที่บรรดาคนสนิทจะเตือนก็ตาม และเมื่อเอ็มมานูเอล มาครงประกาศอย่างเป็นทางการจะลงสมัครรับเลือกตั้ง และมีทีท่าว่าจะได้รับการสนับสนุนมาก ประธานาธิบดีในตำแหน่งมักจะลงสมัครเป็นวาระที่สอง ทว่าคนสนิทของฟรองซัวส์ โอลลองด์แนะนำว่าไม่ควรลง เพราะความปราชัยมองเห็นชัด เมื่อคำนึงถึงคะแนนนิยมที่ตกต่ำมาก เมื่อเอ็มมานูเอล มาครงได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี

Read More

รัฐบาลใหม่ สังคมไทยคาดหวังอะไร??

ผลการลงมติเพื่อเลือกสรรผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของไทยในการประชุมร่วมรัฐสภาได้ผ่านพ้นไปแล้ว โดยไม่มีสิ่งใดผิดพลาดไปจากการคาดหมายด้วยคะแนนเสียงทั้งจากสมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับการแต่งตั้งและจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองที่ประกาศตัวเข้าร่วมรัฐบาลที่มีพรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำ ด้วยคะแนนเสียงรวม 500 คะแนน หากแต่ประเด็นที่น่าจับตามองนับจากนี้ นอกจากจะอยู่ที่การเจรจาตกลงเพื่อจัดสรรตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่กำลังจะมีขึ้นระหว่างพรรคการเมืองแต่ละพรรคว่าจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไรแล้ว การผนวกผสานนโยบายที่แต่ละพรรคการเมืองได้เคยนำเสนอระหว่างช่วงเวลาของการหาเสียงเลือกตั้งให้เกิดเป็นนโยบายสาธารณะที่จับต้องได้และมีผลในการผลักดันพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในห้วงเวลาจากนี้ ยังเป็นสิ่งที่น่าสนใจติดตามไม่น้อยเลย ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา สังคมไทยห่างหายจากกระบวนการตรวจสอบ ถ่วงดุล และร่วมแสดงความคิดเห็นในเชิงนโยบายไปโดยปริยาย ซึ่งการเกิดขึ้นของการเลือกตั้งเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตลอดจนถึงการลงมติเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ดูจะเป็นประหนึ่งบทเริ่มต้นของการกลับเข้าสู่กระบวนการรัฐสภา ที่ทำให้บุคคลในคณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบทางการเมืองและต่อสังคมหลังจากที่ก่อนหน้านี้มาตรฐานทางจริยธรรมที่เอ่ยอ้างดูจะเป็นเกราะกำบังให้โพ้นไปจากความรับผิดชอบเหล่านี้ ประเด็นปัญหาว่าด้วยเสถียรภาพของรัฐบาลใหม่และประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ดูจะเป็นสิ่งที่สังคมไทยให้ความสนใจไม่น้อย เพราะด้วยเหตุแห่งข้อเท็จจริงที่ว่าฝ่ายที่ร่วมรัฐบาลและฝ่ายค้านในสภามีคะแนนเสียงไม่แตกต่างกันมากนัก ซึ่งหมายความว่าการบริหารราชการแผ่นดิน การผลักดันนโยบายต่างๆ รวมถึงการออกกฎหมาย จะดำเนินไปท่ามกลางความยากลำบากไม่น้อย ขณะที่โอกาสของการเกิดปัญหาระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลจนนำไปสู่การยุบสภาในระยะเวลาอันใกล้ก็ดูจะมีความเป็นไปได้สูง ความน่ากังวลของการนำพารัฐนาวาในห้วงเวลานับจากนี้ อีกประการหนึ่งยังผูกพันกับข้อเท็จจริงที่ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจระดับนานาชาติอยู่ในภาวะชะลอตัว โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ต่ำสุดในรอบหลายปี ขณะที่ตลอดช่วงเวลา 5 ปี ของรัฐบาล คสช. โครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยยังไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับสถานการณ์ใหม่ และไม่ได้รับการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้มีความสามารถในการแข่งขันมากพอ นอกจากนี้ เหตุของข้อพิพาททางการค้าจีน-สหรัฐฯ กลายเป็นความท้าทายสำหรับรัฐบาลใหม่ เพราะไทยพึ่งพารายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยวสูงถึงในระดับร้อยละ 70-80 ของ GDP ภารกิจเร่งด่วนที่หลายฝ่ายเรียกร้องให้รัฐบาลใหม่เร่งดำเนินการในภาวะชะลอตัวของการส่งออกและท่องเที่ยวในขณะนี้ จึงมุ่งเป้าไปที่การเรียกคืนความเชื่อมั่นจากภาคธุรกิจ นักลงทุนและประชาชน เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ ผ่านการลงทุนภาคเอกชน และการบริโภค ซึ่งแม้จะดูเป็นกรณีสามัญและไม่น่าจะเป็นเรื่องยากที่รัฐบาลส่วนใหญ่พึงกระทำ

Read More

โอกาสไทยที่เสียไป กับรัฐบาลใหม่ที่มาช้า

ความเปราะบางทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา ดูจะเพิ่มระดับความน่ากังวลและเต็มไปด้วยความไม่ชัดเจนแน่นอน โดยตลอด 2 สัปดาห์แห่งความคลุมเครือว่าด้วยผลการเลือกตั้งและวิธีการคิดคำนวณสัดส่วนสมาชิกแบบปาร์ตี้ลิสต์ที่แต่ละพรรคพึงมี ได้ฉุดให้ความพยายามในการจับขั้วทางการเมืองเพื่อเริ่มกระบวนการจัดตั้งรัฐบาลใหม่เป็นไปได้อย่างยากลำบากยิ่งขึ้น สถานการณ์ทางการเมืองที่เต็มไปด้วยความเลื่อนไหลคลุมเครือ นอกจากจะนำพาให้เกิดความกังวลใจในหมู่ประชาชนคนไทยที่ได้ออกไปใช้สิทธิออกเสียงตามกระบวนการประชาธิปไตยที่ห่างหายไปนานกว่า 8 ปีแล้ว ในอีกด้านหนึ่งกำลังสร้างความไม่มั่นใจให้กับนักลงทุนจากต่างประเทศ ที่มุ่งหมายที่จะเห็นประเทศไทยกลับเข้าสู่หนทางการเมืองแบบประชาธิปไตยพร้อมกับรัฐบาลชุดใหม่ที่มีเสถียรภาพและได้รับการยอมรับจากทั้งประชาชนในประเทศและสร้างความเชื่อมั่นในระดับนานาชาติอีกครั้ง แต่ความคาดหวังเช่นที่ว่านี้ นอกจากจะยังไม่เกิดขึ้นในห้วงเวลาที่ผ่านมาแล้ว สถานการณ์ในห้วงเวลานี้ ดูจะยิ่งผลักให้อยู่ไกลออกไปจากการจับต้องและรับรู้มากขึ้นไปอีก ซึ่งดูเหมือนว่าภายใต้กรอบเวลาที่หลายฝ่ายคาดการณ์ ความชัดเจนว่าด้วยรัฐบาลชุดใหม่จากผลของการเลือกตั้งจะเกิดมีขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน ซึ่งเท่ากับว่ารัฐบาลใหม่จะเกิดมีขึ้นได้เมื่อผ่านไตรมาสที่ 2 หรือเมื่อผ่านครึ่งปีไปแล้วเท่านั้น ความคลุมเครือในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของประเทศเท่านั้น หากแต่ยังดำเนินไปท่ามกลางข้อเท็จจริงที่ว่าพรรคการเมืองที่จะเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลในแต่ละขั้วการเมืองมีคะแนนเสียงใกล้เคียงกัน ซึ่งอาจส่งผลกับการพิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่จะเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน และอาจนำไปสู่ปัญหาว่าด้วยเสถียรภาพของรัฐบาลในช่วงเวลาจากนี้ได้ไม่ยาก ประเด็นว่าด้วยเสถียรภาพของรัฐบาลชุดใหม่ ที่ได้รับการประเมินว่าอาจเป็นอุปสรรคต่อการพิจารณาออกกฎหมาย และผลักดันนโยบายทางเศรษฐกิจสังคม นอกจากจะสั่นคลอนความเชื่อมั่นของผู้คนแล้ว สิ่งสำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ มาตรการของรัฐบาลใหม่ที่อาจเป็นการสลับร่างจากผู้กุมอำนาจชุดเดิมจะดำเนินไปภายใต้มาตรการเฉพาะหน้าที่ได้เคยสัญญาไว้ในรูปของการแจกแถม แต่ไม่ได้เน้นเรื่องการปรับแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ทั้งในมิติของการลดความเหลื่อมล้ำ ลดการผูกขาด หรือแม้แต่การปฏิรูปภาษี ในขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวภายใต้กรอบที่ไม่ต่างจากเดิมที่ผ่านมา โดยที่สังคมด้านล่างได้รับอานิสงส์อย่างเบาบางเช่นเดิม ระยะเวลาที่ทอดยาวเนิ่นนานออกไปดังกล่าว ทำให้ความเป็นไปทางเศรษฐกิจของไทยดูจะต้องยอมรับสภาพชะงักงันไปตลอดทั้งปี 2562 โดยปริยาย และทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมใจกันปรับลดการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2562 ลงมา โดยระบุว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศหรือจีดีพีในปีหมูจะมีอัตราการเติบโตเหลือเพียงร้อยละ 3.8 จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4.0 ในช่วงก่อนหน้านี้ การปรับลดประมาณการดังกล่าว เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่า แม้สถานการณ์ทางการเมืองจะยังมีความคลุมเครือในเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล

Read More

ภาระหนักรัฐบาลใหม่ ผลักดันอนาคตเศรษฐกิจไทย

แม้ว่าการเลือกตั้งทั่วไป 2562 จะผ่านพ้นไปแล้ว และได้เห็นเค้าลางของผู้ชนะผู้แพ้ในสนามเลือกตั้งกันไปพอสมควร หากแต่ทิศทางการเมืองไทยและโฉมหน้ารัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศกลับตกอยู่ในภาวะคลุมเครือ และยากที่จะสรุปอย่างชัดเจนว่าจะดำเนินไปอย่างไร ซึ่งอาจเนิ่นนานไปตามกำหนดเวลาของการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่คาดว่าจะมีขึ้นอย่างเร็วที่สุดในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมไปแล้ว ความคาดหวังของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจเอกชนว่าด้วยความเชื่อมั่นและแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ภายหลังการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นความคาดหวังที่ผูกโยงอยู่กับทัศนะเชิงบวกและการกระตุ้นปลอบเร้า ด้วยหวังว่ารัฐบาลใหม่จะสามารถเร่งระดมปลุกปั้นเศรษฐกิจไทยให้กลับมาฟื้นคืนและแข็งแกร่งอีกครั้ง ดูจะอ่อนแรงลงไปอย่างช้าๆ เมื่อประเมินจากข้อเท็จจริงที่ว่า ความชัดเจนและระยะเวลาของการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่ทอดยาวออกไปกำลังก่อให้เกิด “ภาวะเสียโอกาสซ้ำซาก” ที่อาจฉุดให้เศรษฐกิจไทยต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันไปจนถึงสิ้นสุดไตรมาสที่ 2 และอาจต่อเนื่องไปสู่ไตรมาสที่ 3 ของปีเลยทีเดียว บรรยากาศแห่งความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ปกคลุมอยู่ในห้วงเวลาปัจจุบัน กลายเป็นปัจจัยที่พร้อมจะแช่แข็งเศรษฐกิจไทยไปโดยปริยาย แม้ว่าในการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนไทยก่อนหน้านี้จะพบว่าประชาชนในสัดส่วนมากถึงร้อยละ 63.64 แสดงความมั่นใจว่าภายหลังการเลือกตั้ง เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 32.27 ระบุว่าเศรษฐกิจไทยจะยังดำเนินอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่เหมือนเดิม โดยมีอีกร้อยละ 4.09 ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะแย่ลงกว่าที่เคยเป็นอยู่ในช่วงก่อนมีการเลือกตั้ง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนก่อนการเลือกตั้งดังกล่าวอยู่ที่ประชาชนส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 45.73 ประเมินว่าไม่มีพรรคการเมืองใดเลยที่มีนโยบายในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชนได้อย่างจริงจัง แม้ว่าจะมีประชาชนบางส่วนชื่นชอบแนวนโยบายเศรษฐกิจของแต่ละพรรคการเมืองในสัดส่วนที่ลดหลั่นกันไป ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนจำนวนไม่น้อยตระหนักว่าปัญหาเศรษฐกิจปากท้องของประชาชน ไม่ใช่ปัญหาที่จะแก้ไขได้โดยง่าย ขณะเดียวกันภายใต้สถานการณ์ที่ผลักให้รัฐบาลชุดใหม่มีแนวโน้มที่จะเป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค การนำนโยบายเศรษฐกิจที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคนำเสนอในช่วงหาเสียงเลือกตั้งมาผนวกผสานเพื่อสร้างให้เป็นกรอบโครงนโยบายสาธารณะของรัฐบาล ดูจะเป็นสิ่งที่ห่างไกลจากข้อเท็จจริงที่ประชาชนจะคาดหวังได้ ความเป็นไปทางการเมืองที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าว่าด้วยการช่วงชิงบทบาทนำในการเป็นแกนกลางในการจัดตั้งรัฐบาลที่กำลังดำเนินอยู่อย่างเข้มข้น ท่ามกลางการเจรจาต่อรองผลประโยชน์ทั้งในมิติของอำนาจและตำแหน่งแห่งที่ในคณะรัฐบาลที่กำลังจะเกิดมีขึ้นในอนาคต ยังเป็นการเน้นย้ำให้เห็นถึงความเปราะบางทางการเมืองของไทยที่ทำให้การผลักดันมาตรการทางเศรษฐกิจสังคมนับจากนี้ ถูกผูกโยงเข้ากับวิถีของการแบ่งปันผลประโยชน์ของผู้มีบทบาททางการเมืองแต่ละส่วน มากกว่าที่จะเกิดขึ้นจากการประสานข้อเด่น-ด้อยของนโยบายที่แต่ละฝ่ายมี มาสกัดและสังเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ในทางสาธารณะสำหรับประชาชนซึ่งเป็นผู้ออกเสียงลงคะแนนและเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของสังคมไทยอย่างแท้จริง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กลไกภาครัฐพยายามที่จะบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจไทยเติบโตขึ้น โดยล่าสุดได้นำเสนอตัวเลขทางเศรษฐกิจไทยรวมทั้งปี 2561 ว่าขยายตัวร้อยละ

Read More

ฟรองซัวส์ โอลลองด์ หลังหมดวาระ

Column: From Paris เมื่อลิโอเนล โจสแปง (Lionel Jospin) ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยประธานาธิบดี ฟรองซัวส์ มิตแตรองด์ (François Mitterrand) ผู้มาแทนเขาในตำแหน่งเลขาธิการพรรคสังคมนิยมคือ ฟรองซัวส์ โอลองด์ (François Hollande) ตั้งแต่ปี 1997 จนถึง 2008 ในฐานะเลขาธิการพรรคสังคมนิยม ฟรองซัวส์ โอลลองด์สามารถสมัครเป็นตัวแทนพรรคลงเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2007 แต่เนื่องจากเซโกแลน รัวยาล (Ségolène Royal) คู่ชีวิตที่กำลังระหองระแหง หาเสียงจนได้รับเลือกเป็นตัวแทนพรรคในปีนั้น แต่พ่ายแพ้แก่นิโกลาส์ ซาร์โกซี (Nicolas Sarkozy) พรรคสังคมนิยมมีตัวเลือกมากมายที่มุ่งหมายตำแหน่งประธานาธิบดีที่โดดเด่นมากคือ โดมินค สโตรส-กาห์น (Dominique Strauss-Kahn) ซึ่งเป็นผู้อำนวยการ IMF ในขณะนั้น แต่ต้องสะดุดขาตัวเองเสียก่อนด้วยความมักมากในกามคุณ ถูกตำรวจนิวยอร์กจับและขึ้นศาล เป็นโอกาสให้ฟรองซัวส์ โอลลองด์เดินหน้าหาเสียงเพื่อเป็นตัวแทนพรรค คราวนี้เขาไม่พลาด จนได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีในปี 2012 ฟรองซัวส์ โอลลองด์เป็นประธานาธิบดีที่ชาวฝรั่งเศสไม่ปลื้มที่สุด ถูกวิพากษ์ว่าไม่กล้าตัดสินใจ ไม่ดำเนินนโยบายตามที่หาเสียงไว้

Read More

ครม. ใหม่ ส่งท้ายปีระกา บนความคาดหวังแห่งปีจอ

การปรับคณะรัฐมนตรีภายใต้การกำกับดูแลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในนาม “ประยุทธ์ 5” แม้จะมีการปรับเปลี่ยนรวมมากถึง 18 ตำแหน่ง หากแต่ดูเหมือนว่าจะไม่ได้สะท้อนภาพความแตกต่างในเชิงนโยบายหรือมาตรการในการนำพาประเทศไปสู่หนทางใหม่ และดูจะเป็นเพียงการปรับเพื่อผลัดเปลี่ยนบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งเท่านั้น ขณะเดียวกันการปรับ ครม. ครั้งล่าสุดยังได้รับการประเมินว่าเป็นความพยายามของประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่จะกอบกู้ศรัทธาและความเชื่อมั่นของรัฐบาลที่กำลังทรุดตัวตกต่ำต่อเนื่อง รวมถึงความพยายามที่จะปูทางไปสู่การสานต่อเพื่อการดำรงอยู่ในอำนาจภายหลังการเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีขึ้นในช่วงปลายปี 2561 อีกด้วย คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่พยายามลดทอนจำนวนขุนทหารและเติมเต็มเข้ามาด้วยบุคลากรภาคพลเรือนและนักวิชาการ อาจช่วยให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลดูดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคณะรัฐมนตรีชุดก่อนหน้า หากแต่ในความเป็นจริง กรณีดังกล่าวกลับสะท้อนภาพความล้มเหลวและปัญหาในการบริหารจัดการที่ดำเนินมากว่า 3 ปีของ คสช. ไปในคราวเดียวกัน กระนั้นก็ดี การฝากความหวังไว้กับทีมเศรษฐกิจที่มีสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นหัวเรือใหญ่ และยังดำเนินนโยบายเศรษฐกิจตามกรอบโครงนโยบายและความคิดเดิม ทำให้เกิดคำถามว่า ประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจที่สังคมไทยเผชิญอยู่ในขณะนี้ ได้รับการประเมินบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงอย่างไร และจะดำเนินไปสู่หนไหน แม้ว่าการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุดจะเป็นประจักษ์พยานว่าสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ยังคงมีบทบาทนำ และ คสช. สมัครใจที่จะเชื่อฝีมือของขุนพลทางเศรษฐกิจรายนี้อย่างมากก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาล คสช. พยายามฉายภาพรวมตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ประกอบส่วนไปด้วยมูลค่าการส่งออกและรายได้จากการท่องเที่ยว ในฐานะที่เป็นผลงานเชิดหน้าชูตารัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง หากแต่การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุดกลับมีการปรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ให้พ้นจากตำแหน่ง คำถามที่ติดตามมาจึงอยู่ที่ว่ารัฐมนตรีที่ถูกปรับออกนี้ มีประเด็นว่าด้วยความฉ้อฉลไม่โปร่งใส หรือเป็นการยอมรับไปโดยปริยายของรัฐบาลว่า ตัวเลขและผลงานที่พยายามเอ่ยอ้างมาโดยตลอดนั้นเป็นเพียงการปรับขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การท่องเที่ยวก็สดใสจากเทรนด์ของโลก ไม่ได้เกิดขึ้นจากความสามารถในการบริหารจัดการของภาครัฐแต่อย่างใด ประเด็นที่น่าสนใจในเชิงเศรษฐกิจที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง อยู่ที่มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่รัฐบาลพยายามโหมประโคมและมอบสิทธิประโยชน์พิเศษเพื่อเชิญชวนนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น

Read More

ขวบปีของท่านผู้นำ

 Column: AYUBOWAN วันเวลาหมุนผ่านและแปรเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วเหลือเกินนะคะ ผู้เขียนขออนุญาตกล่าวสวัสดีปีใหม่กับท่านผู้อ่านในโอกาสขึ้นปีใหม่ 2559 ขอขอบพระคุณที่ติดตามและให้ความอนุเคราะห์คอลัมน์ AYUBOWAN และผู้จัดการ 360  ํ ด้วยดีตลอดมานะคะ สำหรับศรีลังกา ขวบปีที่ผ่านมา ดำเนินไปท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของขั้วอำนาจเก่า-ใหม่ ด้วยการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีของ Maithripala Sirisena ที่มีชัยชนะเหนือ Mahinda Rajapaksa ในการเลือกตั้งเมื่อเดือนมกราคม 2015 อย่างพลิกความคาดหมายของผู้สังเกตการณ์และผู้สันทัดกรณีทางการเมืองไม่น้อย ขวบปีที่ผ่านมาของ Maithripala Sirisena เริ่มต้นด้วยความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางกฎหมายให้สามารถรองรับกับพัฒนาการทางสังคมใหม่ๆ และเปิดโอกาสให้มีกลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจและการคานอำนาจที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะกระบวนการพัฒนาทางการเมืองของศรีลังกาในช่วงที่ผ่านมา ได้รับการประเมินว่าเปิดช่องทางให้มีการใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางที่มิชอบ ไม่ว่าจะเป็นการกลั่นแกล้งหรือแม้กระทั่งขจัดคู่แข่งขันทางการเมือง การใช้อำนาจเอื้อหรือแสวงประโยชน์จากกลุ่มทุนที่กำลังรุกคืบเข้ามาในศรีลังกาผ่านโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ยังไม่นับรวมถึงความพยายามที่จะส่งผ่านและสืบต่ออำนาจในกลุ่มเครือข่ายที่ใกล้ชิดนักการเมืองด้วย ความคาดหมายของสาธารณชนต่อบทบาทและผลงานของ Maithripala Sirisena มิได้จำกัดอยู่เฉพาะประเด็นว่าด้วยการกระตุ้นภาพรวมทางเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนดำเนินต่อไปได้ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมทั้งในมิติของสังคม เศรษฐกิจที่ครอบงำสังคมของศรีลังกามาอย่างยาวนานหลายทศวรรษ แผนการปฏิรูป 100 วันของ Maithripala Sirisena ที่ประกาศหลังเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี ล่าช้าผิดเป้าหมายไปท่ามกลางความกังวลว่าถึงที่สุดแล้ว การสร้างวัฒนธรรมการเมืองใหม่ให้กับศรีลังการวมถึงคำมั่นสัญญาหลากหลายที่ Maithripala Sirisena ได้ประกาศในช่วงรณรงค์หาเสียงอาจกลายเป็นเพียงสายลมพัดผ่านที่ไม่สามารถจับต้องได้ Maithripala Sirisena อาจเริ่มต้นดำเนินกิจกรรมทางการเมืองตามแผนปฏิรูปที่วางไว้ได้ช้าไปสักหน่อย เพราะผู้คนที่เคยคุ้นชินกับระบอบเดิมต่างไม่แน่ใจว่าหนทางใหม่ที่ Maithripala Sirisena

Read More