Home > เงินเฟ้อ

เงินเฟ้ออ่วม โลกเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ ส่องโอกาสที่ไทยคว้าได้

ภายหลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 75% สู่ระดับ 1.5-1.75% เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ที่ผ่านมา นับว่าเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 1994 หรือในรอบ 28 ปี ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ มีเป้าหมายที่จะสกัดภาวะเงินเฟ้อที่กำลังทวีความรุนแรงอยู่ในขณะนี้ ในห้วงยามนี้ทุกประเทศกำลังประสบกับสภาวะเงินเฟ้อ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างสหรัฐฯ โดยสถานการณ์เงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคมของสหรัฐฯ ยังคงเร่งตัวต่อเนื่องที่ 8.6% และยังไม่มีทีท่าว่าจะชะลอตัว ประกอบกับมีการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อระยะยาวของภาคครัวเรือนที่จัดทำโดย University of Michigan ยังปรับสูงขึ้นเป็น 3.3% ในเดือนมิถุนายน จึงทำให้ Fed กังวลว่าจะไม่สามารถควบคุมคาดการณ์เงินเฟ้อได้ และจะทำให้ปัญหาลุกลามมากขึ้น นอกจากนี้ คาดการณ์ดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ยังบ่งชี้ถึงการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 1.75% ในปีนี้ โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.4% ในสิ้นปีนี้ และ 3.8% ในสิ้นปีหน้า ก่อนปรับลดลงสู่ 3.4% ในปี 2024 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์

Read More

เงินเฟ้อพุ่ง ราคาพลังงาน-อาหารสูง เศรษฐกิจโลกติดลบ

สถานการณ์เงินเฟ้อในปัจจุบัน คงต้องเรียกว่าสาหัส เมื่อนายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ออกแถลงตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 7.1% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันกับปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดในรอบ 13 ปี นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2551 เงินเฟ้อที่สูงขึ้นครั้งนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับอีกหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา หรือประเทศในแถบยุโรป ซึ่งเป็นผลมาจากราคาพลังงานและอาหาร ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เงินเฟ้อในประเทศไทยถูกผลักดันจากราคาพลังงานกว่า 60% และราคาอาหารประมาณ 17% ซึ่งหากหักพลังงานและอาหารออก ตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 2.28% แน่นอนว่าปัจจุบันคนไทยเริ่มมีอาการร้อนๆ หนาวๆ และพยายามเร่งปรับตัว หลายครัวเรือนปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อให้อยู่รอดในสถานการณ์อันยากลำบากนี้ ทว่า จำนวนเงินที่มีอยู่ในกระเป๋าแม้จะมีเท่าเดิม แต่มูลค่ากลับลดลงอย่างต่อเนื่อง หากภาวะเงินเฟ้อยังคงเป็นเช่นนี้ นอกจากค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่สูงขึ้น คนไทยจะต้องแบกรับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น จากการที่ภาครัฐยกเลิกการตรึงราคาก๊าซหุงต้ม และทยอยปรับขึ้นแบบเป็นขั้นบันได การปรับขึ้นค่าเอฟที (FT) ของค่าไฟฟ้า ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ปรับขึ้นต่อเนื่อง ทั้งเนื้อสัตว์และอาหารแปรรูป สินค้ากลุ่มพลังงานที่มีการปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น 37.24% สินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 6.18% ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนระหว่างเดือนเมษายนกับเดือนพฤษภาคม ภาพรวมค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 246 บาท ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าระดับเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับสูงต่อไปในช่วงครึ่งหลังของปี โดยจะมีระดับสูงสุดในช่วงไตรมาส

Read More

ค่าครองชีพ-เงินเฟ้อเพิ่ม เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ไทยรับศึกรอบด้าน

บทวิเคราะห์และการประเมินจากนักวิทยาศาสตร์ นักไวรัสวิทยา เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า นี่อาจเป็นจุดสิ้นสุดของโรคร้ายและนำไปสู่การเป็นโรคประจำถิ่นในที่สุด ถือเป็นความหวังที่ค่อยๆ เรืองรองของประชากรโลก ที่จะได้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ หรือกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามเดิม ทว่า ปัจจุบันดูเหมือนปัญหาใหม่กำลังเริ่มขึ้น โดยเฉพาะคนไทยที่กำลังต้องรับมือกับภาระทางเศรษฐกิจที่ดูจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในสายตาของประชาชนในระดับฐานรากอาจมองว่าสถานการณ์ครั้งนี้เริ่มเข้าขั้นวิกฤต สถานการณ์ข้าวยากหมากแพงที่กำลังเกิดขึ้นในห้วงยามนี้ ดูเหมือนจะเป็นการซ้ำเติมความชอกช้ำที่ยังไม่ทันจางหายไป ให้มีอาการทรุดหนักลงอีก เมื่อสินค้าอุปโภคบริโภคหลายรายการทยอยขึ้นราคาอย่างต่อเนื่อง เช่นที่กำลังเป็นประเด็นถกเถียงกันตั้งแต่เริ่มต้นศักราชใหม่คือ ปัญหาเนื้อหมูราคาแพง ชนิดที่ว่าร้านอาหารจำนวนไม่น้อยที่ต้องขอยุติกิจการชั่วคราวเพราะไม่อาจแบกรับต้นทุนจากเนื้อหมูไหว และไม่ต้องการที่จะผลักภาระให้แก่ผู้บริโภคที่อยู่ปลายน้ำได้ ในขณะที่ผู้บริโภคเองมีตัวเลือกที่หลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อหมูได้ นอกจากเนื้อหมูที่ปรับราคาสูงขึ้นแล้ว สินค้าอื่นๆ ต่างทยอยปรับราคาไปแล้วเช่นกัน เช่น ไข่ไก่ น้ำมันพืช เครื่องปรุงรส นอกจากสินค้าอุปโภคบริโภคแล้ว ประชาชนยังต้องแบกรับค่าสาธารณูปโภคและค่าเดินทางที่ปรับขึ้นมาแล้ว เช่น ค่าไฟฟ้า และค่าน้ำมัน ค่าขนส่งสาธารณะ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสำรวจพบว่า คนกรุงเทพฯ ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 ต่อเดือน เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เมื่อเทียบกับกลุ่มรายได้อื่น ซึ่งราว 36% มองว่า มีค่าใช้จ่ายปรับเพิ่มขึ้นกว่า 20% เมื่อเทียบกับช่วงปลายปีก่อนที่จะมีการปรับขึ้นราคาสินค้าต่างๆ ขณะที่คนกรุงเทพฯ ที่มีรายได้ปานกลางถึงสูงจะได้รับผลกระทบที่น้อยกว่าโดยเปรียบเทียบและสามารถรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวได้มากกว่า ทั้งนี้ ค่าครองชีพที่ทยอยปรับสูงขึ้น ส่งผลให้ในระยะสั้น คนกรุงเทพฯ

Read More

หนี้ครัวเรือน’63 สูง เงินเฟ้อมีนา’64 ติดลบ ข่าวร้ายและดีของเศรษฐกิจไทย

สถานการณ์โควิดในปัจจุบันคล้ายเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า เชื้อไวรัสตัวร้ายจะยังคงอยู่บนโลกนี้ไปอีกระยะหนึ่ง ตราบใดที่วัคซีนยังไม่ถูกแพร่กระจายและฉีดให้ประชากรอย่างทั่วถึงในเวลาอันรวดเร็ว แน่นอนว่าสัญญาณดังกล่าวย่อมส่งผลต่อเนื่องมายังเศรษฐกิจทั่วทั้งโลก แม้ว่าฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจบางตัวจะทำงานได้เกือบเต็มประสิทธิภาพแล้วก็ตาม แต่นั่นยังไม่อาจพลิกฟื้นสถานการณ์ที่เคยตกต่ำให้ฟื้นคืนได้ในทันที วิกฤตดังกล่าวส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจไทย และภาพสะท้อนที่บอกว่าเศรษฐกิจไทยอ่อนแอเป็นทุนเดิมก่อนโควิด-19 จะมาถึง และถูกฤทธิ์ไวรัสเข้าเล่นงาน คือ ตัวเลขจีดีพีในปี 2563 ที่หดตัว -6.1% ซึ่งเป็นตัวเลขต่ำสุดในรอบ 22 ปี นับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ขณะที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์ว่าจีพีดีปี 2564 จะขยายตัวอยู่ที่ 2.5-3.5% ซึ่งนั่นเป็นการคาดการณ์ตามกรอบและเงื่อนไขของการระบาดระลอกใหม่เมื่อช่วงต้นปี ทว่า เมื่อเริ่มต้นไตรมาส 2/2564 สถานการณ์โควิดในไทยเริ่มสร้างความหวาดวิตกให้แก่ประชาชนอีกครั้ง ด้วยการพบกลุ่มคลัสเตอร์ใหม่ และกระจายอยู่ในหลายวงการ เช่น วงการแพทย์ วงการบันเทิง การเมือง กลุ่มพริตตี้ เซเลบ ไฮโซ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความชะล่าใจของผู้คนในสังคม เมื่อได้รับรู้ถึงการมาถึงของวัคซีนโควิด-19 และเริ่มมีการฉีดให้กับกลุ่มคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง กระนั้นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังออกโรงเตือนอย่างต่อเนื่องว่า แม้จะได้รับวัคซีนแล้ว แต่ยังต้องหมั่นล้างมือ และสวมใส่หน้ากากอนามัยอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนล่าสุดไตรมาส 4/2563 บ่งชี้ว่า หนี้ครัวเรือนของไทยปิดสิ้นปี 2563 ด้วยจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 18 ปี โดยระดับหนี้ครัวเรือนทะลุ 14

Read More