Home > พิษโควิด-19

จับชีพจรตลาดอสังหาฯ ไทย หวัง “วัคซีนต้านไวรัส” ช่วยบรรเทาพิษโควิด-19

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกล่าสุด ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของภาพรวมเศรษฐกิจไทยต่อเนื่อง แม้จะมีมาตรการจากภาครัฐมาช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการและประชาชนที่ได้รับผลกระทบ แต่ยังไม่เพียงพอที่จะขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจในช่วงปิดประเทศ ด้านตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอตัวตามกำลังซื้อผู้บริโภค กลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ยังคงมีความต้องการที่อยู่อาศัยแต่ไม่มีความพร้อมด้านการเงิน หวังความชัดเจนของแผนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตัวแปรสำคัญเข้ามาพลิกฟื้นความเชื่อมั่นและกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคให้กลับคืนมา ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Index เผยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 190 จุด จาก 197 จุด หรือลดลง 4% จากไตรมาสก่อน ถือเป็นดัชนีราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 15 ไตรมาส (นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2560) แม้เคยคาดการณ์ว่าตลาดอสังหาฯ จะมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ในปีนี้ แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ อย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรก ทำให้มีความเป็นไปได้ยาก คาดว่าตลาดจะมีทิศทางเติบโตอีกครั้งเมื่อภาครัฐสามารถควบคุมการแพร่ระบาดฯ ได้ และมีการฉีดวัคซีนมากเพียงพอที่จะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในประเทศ นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า

Read More

AWC เจ้าสัวเจริญมองไกล ตั้งกองทุนหมื่นล้านซื้อโรงแรม

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างมาก เพราะจากสถิติการท่องเที่ยวของไทยในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยว 3 ล้านล้านบาท และประมาณ 63 เปอร์เซ็นต์เป็นรายได้ที่มาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือ 1.9 ล้านล้านบาท ตัวเลขดังกล่าวเป็นเครื่องยืนยันว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยจำเป็นต้องพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติ รายได้ที่หดหายไปส่งผลกระทบต่อธุรกิจโรงแรมและแรงงานในภาคการบริการอย่างมาก ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมบางรายประกาศปิดกิจการชั่วคราวไปจนถึงขั้นประกาศขายกิจการ ข้อมูลจากสมาคมโรงแรมไทยพบว่า ธุรกิจโรงแรมเลิกจ้างพนักงานไปแล้วประมาณ 1 ล้านคน พร้อมทั้งวอนขอให้รัฐช่วยเหลือด้วยการออกมาตรการทางการเงินเพื่อเสริมสภาพคล่อง ค่าจ้างงาน ค่าสาธารณูปโภค เมื่อยังไม่มีวัคซีนออกมาและยังไม่มีใครตอบได้ว่า การแพร่ระบาดจะสิ้นสุดลงเมื่อใด แม้ผู้ติดเชื้อในประเทศไทยจะอยู่ในสถานะที่ควบคุมได้ และคนไทยสามารถเดินทางท่องเที่ยวกันได้แล้วก็ตาม ทว่า สถานการณ์การท่องเที่ยวของคนไทยยังคงเงียบเหงา อันเป็นผลมาจากการระมัดระวังในการใช้จ่าย เพราะเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในภาวะเปราะบาง กำลังซื้ออ่อนแอ แม้ภาครัฐจะมีมาตรการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย โดยเฉพาะเรื่องการท่องเที่ยว อย่างโครงการ “เที่ยวด้วยกัน” แต่สัดส่วนที่เกิดขึ้นยังมีจำนวนไม่มาก ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมที่สายป่านไม่ยาวพอจำเป็นต้องตัดสินใจขายกิจการทิ้งเพื่อความอยู่รอด กระทั่งนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของกลุ่มทุน บริษัท จำกัด (มหาชน) หรือ AWC มองการณ์ไกลด้วยการจัดตั้งกองทุนที่มีวงเงินสูงถึงหมื่นล้านบาท เพื่อเตรียมซื้อโรงแรมที่มีผู้เสนอขาย วัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป

Read More

หนี้ครัวเรือนพุ่งสูงรอบ 18 ปี  ทำเศรษฐกิจไทยบอบช้ำรุนแรง

คงไม่มีปาฏิหาริย์ใดที่จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นขึ้นได้ในช่วงเวลานี้ เมื่อดัชนีสำคัญที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าไปได้ ยังคงถูกล้อมกรอบไปด้วยปัจจัยลบหลายด้าน ทั้งกำลังซื้อของภาคประชาชนที่อ่อนกำลังลงเป็นทุนเดิม การขยายตัวของอุตสาหกรรมหรือธุรกิจบางประเภทจนทำให้เกิดภาวะโอเวอร์ซัปพลาย ผนวกกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยิ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเปราะบางยิ่งขึ้น ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ที่ติดลบทั้งสองไตรมาสที่ผ่านมา น่าจะอธิบายความได้ดีเกี่ยวกับสถานการณ์ของเศรษฐกิจไทยในเวลานี้ แม้ว่าเชื้อไวรัสโควิดจะเป็นเสมือนจุดเปลี่ยนที่สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ทุกอย่างดูเลวร้ายลง แต่ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงขาลงมาตั้งแต่ปีก่อนหน้า ซึ่งตัวเลขจีดีพีค่อยๆ ไต่ระดับลงอย่างต่อเนื่อง และเรื่องที่น่ากังวลมากที่สุดคือสัญญาณบ่งบอกความบอบช้ำทางเศรษฐกิจที่รุนแรงขึ้น นั่นคือ ระดับ “หนี้ครัวเรือน” ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานออกมาอยู่ที่ 84 เปอร์เซ็นต์ ต่อตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงสุดในรอบ 18 ปี นับตั้งแต่มีการเก็บสถิติ อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับหนี้ครัวเรือนของไตรมาสก่อนหน้า จะเห็นได้ว่าสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาเพียง 3.8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นั่นหมายความว่ามูลหนี้ไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นมากมายอะไร ทว่า สิ่งที่น่ากังวลคือ การปรับลดลงของจีดีพีที่ติดลบเพิ่มขึ้น หรือเข้าใจง่ายๆ นั่นคือรายได้ของประชาชนลดลง ทั้งจากปัญหาการว่างงานและการถูกลดจำนวนชั่วโมงการทำงาน ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติแสดงตัวเลขของตลาดแรงงานในช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 พบว่า มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวแตะระดับ 7.5 แสนคน และจำนวนผู้เสมือนว่างงาน คือกลุ่มคนที่ยังมีงานทำแต่ชั่วโมงการทำงานน้อยกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มขึ้นใกล้เคียง 5.4 ล้านคน แม้ว่าจำนวนผู้เสมือนว่างงานจะลดลงเหลือ

Read More

สึนามิเศรษฐกิจ วิกฤตล้มละลายลามหนัก

นับถอยหลังโฉมหน้ารัฐบาล “ประยุทธ์ 2/2” ทุกฝ่ายต่างจับจ้องทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ เพื่อเข้ามาแก้ปัญหาผลพวงจากพิษโควิด-19 โดยเฉพาะรอบนี้หนักหนาสาหัสยิ่งกว่าวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” และอาจลุกลามกลายเป็น “สึนามิเศรษฐกิจ” ลูกใหญ่ซัดกระหน่ำทั่วทั้งโลก สิ่งที่สะท้อนให้เห็นชัดเจน ก็คือ สถานการณ์การล้มละลายต่อเนื่องเหมือนโดมิโน ตั้งแต่ระดับยักษ์ใหญ่จนถึงกลุ่มธุรกิจขนาดกลางขนาดเล็ก ในต่างประเทศ กลุ่มออยเลอร์เฮอร์เมส (Euler Hermes) บริษัทประกันสินเชื่อที่มีสำนักงานใหญ่ในกรุงปารีสของฝรั่งเศส เผยแพร่ผลการศึกษาล่าสุดว่า การระบาดของโรคโควิด-19 สร้างระเบิดเวลาการล้มละลายและคาดการณ์จำนวนบริษัทล้มละลายทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 35% ระหว่างปี 2562-2564 และราวครึ่งหนึ่งของประเทศทั่วโลกจะมีบริษัทล้มละลายสูงสุดเป็นสถิติใหม่นับตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกปี 2552 ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกาจะมีบริษัทล้มละลายเพิ่มขึ้นมากที่สุด คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 57% ในปี 2564 เทียบกับปี 2562 ขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น บราซิลจะมีบริษัทล้มละลายเพิ่มขึ้น 45% สหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้น 43% สเปนเพิ่มขึ้น 41% ส่วนจีนอยู่ที่ 20% ผลวิจัยย้ำด้วยว่า ยิ่งบริษัทยื่นล้มละลายมีขนาดใหญ่เท่าไร ความเสี่ยงที่จะเกิด “Domino Effect” ยิ่งสูงขึ้น โดยมี 2 ภาวการณ์ที่จะเร่งการล้มละลายสูงขึ้น

Read More