Home > อาเซียน

คนอาเซียนยังกังวล เศรษฐกิจฉุดกำลังซื้ออสังหาฯ หวัง “วัคซีนต้านไวรัส” เป็นอัศวินขี่ม้าขาว ช่วยกระตุ้นความมั่นใจซื้อบ้าน

แม้ภาครัฐในหลายประเทศแถบอาเซียนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อหวังฟื้นความเชื่อมั่นและกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศของตนให้กลับมา แต่แน่นอนว่าอิทธิพลจากปัจจัยต่าง ๆ ในตอนนี้ย่อมส่งผลให้ผู้บริโภคยังคงไม่มั่นใจในการใช้จ่ายมากพอ ข้อมูลจากรายงาน “Global Economic Prospects” ฉบับล่าสุดของธนาคารโลก เผยแนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกในระยะสั้นยังคงมีความไม่แน่นอนสูงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คาดว่าการฟื้นตัวจะไม่สม่ำเสมอและเปราะบาง ในขณะที่ความเสี่ยงด้านลบที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ภาคอสังหาริมทรัพย์ในอาเซียนยังคงได้รับผลกระทบ เนื่องจากการซื้อที่อยู่อาศัยถือเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูงและเป็นภาระทางการเงินระยะยาว เมื่อผู้บริโภคต้องเผชิญความท้าทายทั้งจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและได้รับผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงต้องวางแผนการเงินอย่างเข้มงวดและชะลอแผนการซื้ออสังหาฯ ออกไป ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัยในไทย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study ฉบับล่าสุด และผลสำรวจจากเว็บไซต์ในเครือ PropertyGuru Group (พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป) ในสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ชี้ให้เห็นว่าแม้กำลังซื้อผู้บริโภคในอาเซียนจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดฯ อย่างต่อเนื่อง แต่ความต้องการที่อยู่อาศัยยังมีแนวโน้มเติบโตในอนาคตแน่นอน เห็นได้จากแผนการใช้จ่ายของผู้บริโภคกลุ่ม Millennials (มิลเลนเนียล) หรือ Gen Y มากกว่าครึ่งในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทยที่ยังคงให้ความสำคัญไปที่การออมเงินเพื่อซื้อบ้านใน 1 ปีข้างหน้า

Read More

อาเซียนกับความหวัง RCEP จุดเปลี่ยนผ่านยุทธศาสตร์มหาอำนาจ

แม้ว่าการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35 (ASEAN Summit 35th) ซึ่งประเทศไทยรับหน้าที่เป็นประธานและเจ้าภาพการประชุมจะปิดฉากลงไปแล้วตั้งแต่เมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ท่ามกลางความพยายามของรัฐไทยที่โหมประโคมและมุ่งเน้นสื่อสารความคืบหน้าของการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค The Regional Comprehensive Economic Partnership หรือ RCEP ในฐานะที่เป็นประหนึ่งดัชนีบ่งชี้ถึงความสำเร็จในการประชุมครั้งนี้อย่างขะมักเขม้น การมุ่งเน้นกับความเป็นไปของ RCEP ของไทยดูจะทำให้ประเด็นแวดล้อมอื่นๆ ของอาเซียนในการประชุมครั้งสำคัญนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้ กรณีว่าด้วยผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา ที่สื่อต่างประเทศให้ความสนใจและนำเสนออย่างต่อเนื่อง หรือแม้แต่ประเด็นความร่วมมือด้านอื่นๆ ถูกกดทับไปจากการรับรู้ของสังคมไทยโดยสิ้นเชิง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจต่อเนื่องจากกรณีดังกล่าวอีกด้านหนึ่งก็คือ ความพยายามที่จะผลักดันการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่ยืดเยื้อยาวนานกว่า 7 ปี เพื่อผนึก 10 ประเทศอาเซียนและพันธมิตร 6 ประเทศที่มีทั้ง จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลกจากสงครามการค้า มิได้ดำเนินอยู่บนเส้นทางที่ราบเรียบไร้อุปสรรค ท่าทีของอินเดีย หนึ่งในสมาชิกของ RCEP ที่ขอเจรจาปรับรายการภาษีบางสินค้าใหม่ในช่วงสรุปผลการเจรจาใน 20 ประเด็นให้ได้ตามกำหนดเวลาเป้าหมาย ทำให้เหลือสมาชิก RCEP เพียง 15

Read More

ทุนนอกไหลเข้าอาเซียน หวังหลบภัยสงครามการค้า

ความเป็นไปของอาเซียนโดยเฉพาะกรณีว่าด้วยการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) ดูจะเป็นประหนึ่งปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน เพราะไม่เพียงแต่จะมีส่วนส่งเสริมการขยายฐานการลงทุนแล้ว กรณีดังกล่าวยังเชื่อว่าจะเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยเพิ่มอัตราการจ้างงานภายในภูมิภาค ซึ่งที่ผ่านมาพัฒนาการและแนวโน้มด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้งขาเข้าและขาออกทั้งหมดภายในอาเซียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มูลเหตุหนึ่งที่ทำให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอาเซียน (ASEAN FDI) มีลักษณะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น นอกจากจะเกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการลงทุนภายในอาเซียนเอง ที่เกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าธุรกรรมด้านการซื้อขายและควบรวมกิจการ (Merger & Acquisition: M&A) แล้ว การพัฒนาพื้นฐานทางเศรษฐกิจมหภาคและสภาพแวดล้อมด้านการลงทุนในระดับภูมิภาคก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเปิดโอกาสการลงทุนที่มากขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของการลงทุนจากแหล่งใหม่ (Emerging Sources) ที่มีจีนเป็นผู้เร่งปฏิกริยา การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในช่วงก่อนหน้านี้ ส่งผลให้มีการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) ไหลรินเข้าสู่ประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลของการอาศัยหลักการผลิตที่ได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ อัตราค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า ข้อได้เปรียบจากขนาดของการผลิต (economy of scale) และห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ในการผลิตสินค้า ส่งผลทำให้จีนเปลี่ยนจากประเทศที่รับจ้างผลิต มาเป็นผู้ส่งออกสินค้า และแปลงสถานะมาเป็นคู่ค้าที่ได้เปรียบประเทศอื่นๆ ในที่สุด สัดส่วนของการค้าและการลงทุนในประเทศจีนที่มากล้น จนมีมูลค่าและสัดส่วนของการลงทุนที่มากเกินกว่าจะขยายได้ในประเทศ ทำให้ในปัจจุบันไม่เพียงแต่จีนจะกลายมาเป็นผู้ส่งออกสินค้าให้กับโลกแล้ว ยังรวมไปถึงการส่งเงินทุนออกไปภายนอกประเทศ (Outward Foreign Direct

Read More

ไทยในฐานะประธานอาเซียน ก้าวไปข้างหน้า หรือ ย่ำอยู่กับที่

แม้ว่าพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 วาระที่ 2 ตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 158 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 จะดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา หากแต่กำหนดเวลาว่าด้วยการจัดสรรตำแหน่งระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ที่จะต้องผ่านพิธีการเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณและการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา ก่อนที่สังคมไทยจะมีรัฐบาลใหม่ที่จะขับเคลื่อนเดินหน้าประเทศไทยอีกครั้ง ดูจะเป็นเรื่องที่ไกลออกไปอย่างน้อยก็อาจต้องใช้เวลานานรวมกว่าอีก 1 เดือนนับจากนี้ เป็นที่คาดหมายว่าการจัดสรรบุคลากรเพื่อจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่จะสามารถกระทำได้เสร็จสิ้นภายในเดือนมิถุนายน ก่อนที่จะได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งและเข้าพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม โดยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาน่าจะดำเนินการได้ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม เป็นลำดับถัดมา ภารกิจของรัฐบาลชุดใหม่ นอกเหนือจากการนำพาความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับทั้งผู้คนในสังคมไทยและประชาคมนานาชาติแล้ว ประเด็นปัญหาที่สังคมไทยเผชิญอยู่เบื้องหน้าว่าด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำและปัญหาปากท้องของประชาชนในระดับฐานรากแล้ว ยังผูกพันอยู่กับการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ที่เป็นประหนึ่งภาพสะท้อนในเชิงนโยบายและทิศทางที่รัฐไทยภายใต้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ประสงค์จะก้าวเดินเพื่อมุ่งหน้าสู่การรังสรรค์ประเทศไทย ให้มีที่อยู่ที่ยืนในประชาคมโลกอย่างสง่างามกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง ก็คือกรอบเวลาแห่งความเป็นไปของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ เกิดขึ้นท่ามกลางวาระและกำหนดการประชุมสุดยอดโดยคณะผู้นำจากสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งที่ 34 (34th ASEAN SUMMIT) ที่จะจัดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 20-23 มิถุนายน 2562 โดยมีประเทศไทยดำรงสถานะเป็นทั้งเจ้าภาพจัดการประชุมและเป็นประธานอาเซียน ตามระบบหมุนเวียนระหว่างสมาชิกอีกด้วย ก่อนหน้านี้ ผู้นำรัฐบาลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ประกาศในพิธีรับมอบตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากสิงคโปร์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2561 ถึงความพร้อมในการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนหรือ ASEAN SUMMIT และเสนอแนวคิดหลัก (theme) ของการเป็นประธานอาเซียนของไทยไว้ที่ “ร่วมมือ

Read More

เสี่ยเจริญดัน BJC บุกจีน ปักหมุดบิ๊กซี ยึดอาเซียน

บิ๊กซี ภายใต้การบริหารของบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC ได้เวลาเปิดฉากรุกตลาดอาเซียนอย่างเป็นทางการตามแผนขยายอาณาจักรค้าปลีกของเจริญ สิริวัฒนภักดี หลังจากใช้เวลากว่า 2 ปี ปรับกระบวนทัพต่างๆ โดยเตรียมปักหมุดห้างบิ๊กซีไฮเปอร์มาร์เก็ต 3 สาขาแรก ในประเทศมาเลเซีย กัมพูชา และลาว เพื่อสร้างเครือข่ายการกระจายสินค้าที่กว้างขวางและเชื่อมต่อจาก “อาเซียน” สู่ประเทศยักษ์ใหญ่อย่าง “จีน” ด้วย เบื้องต้น ทั้ง 3 สาขาจะเปิดตัวภายในปี 2562 หรืออย่างช้าไม่เกินต้นปี 2563 พร้อมๆ กับแผนขยายสาขาธุรกิจค้าปลีกแบรนด์ต่างๆ ในเครือ ซึ่งบีเจซีลุยปักหมุดไว้อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดในเวียดนาม บีเจซีผุดห้างค้าปลีกค้าส่ง เอ็มเอ็ม เมกะมาร์เก็ต (MM Mega Market) มากถึง 19 สาขา และร้านสะดวกซื้อบีสมาร์ท (B’s Mart) อีก 144

Read More

ไทยเบฟในอาเซียน คู่ปรับขนาบข้าง ศึกนี้ไม่ง่าย

ความพยายามที่จะขยายอาณาจักรธุรกิจให้แผ่กว้างครอบคลุมบริบทของอาเซียนภายใต้วิสัยทัศน์ 2020 ของไทยเบฟเวอเรจ ดูจะไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่นไร้อุปสรรคหากแต่เต็มไปด้วยความท้าทาย ซึ่งมีทั้งคู่แข่งขันที่เป็นทั้งคู่ปรับเก่าที่เคยฝากรอยแผลทางธุรกิจและคู่ต่อสู้ที่ประเมินอาเซียนในฐานะที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำทางธุรกิจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน การเข้าซื้อหุ้นโรงงานเบียร์ในเวียดนามด้วยเงินลงทุนกว่า 1.6 แสนล้านบาทโดยกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ เมื่อไม่นานมานี้ อาจให้ภาพของจังหวะก้าวและการรุกคืบไปในอนาคตตามแผนที่วางไว้ ตลาดเบียร์อาเซียนยังมีผู้ประกอบการระดับนานาชาติที่ร่วมแสดงบทบาทนำในภูมิภาคแห่งนี้ และต่างมีสรรพกำลังที่พร้อมจะบดบังและทำลายจังหวะโอกาสของไทยเบฟเวอเรจไม่น้อยเลย บทบาทของ Carlsberg และ Heineken ในห้วงเวลาหลังจากการรุกคืบของไทยเบฟเวอเรจเป็นกรณีที่น่าสนใจติดตามอย่างยิ่ง เพราะแม้ผู้ผลิตเบียร์ระดับนำของโลกทั้งสองรายนี้ ต่างเคยมีประสบการณ์และรอยอดีตเกี่ยวเนื่องให้จดจำไทยเบฟเวอเรจในมิติที่ต่างกัน หากแต่ความเป็นไปในทางธุรกิจ ต้องถือว่านี่เป็นการขับเคี่ยวแข่งขันในสมรภูมิที่เดิมพันสูงย่อมไม่มีใครประสงค์จะเพลี่ยงพล้ำ Carlsberg บริษัทผู้ผลิตเบียร์สัญชาติเดนมาร์ก เคยเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยผ่านอดีตพันธมิตรและเครือข่ายของเจริญ สิริวัฒนภักดี ก่อนจะนำไปสู่การร่วมจัดตั้งคาร์ลสเบอร์ก ประเทศไทย ก่อนที่จะมีกรณีพิพาท เมื่อ Carlsberg ยกเลิกการเป็นหุ้นส่วนกับเบียร์ช้างในปี 2003 โดยระบุว่าเบียร์ช้างไม่ได้ทำตามพันธะผูกพันซึ่งระบุไว้ในข้อตกลงร่วมลงทุน โดยฝ่ายเบียร์ช้างของเจริญ สิริวัฒนภักดี ตอบโต้ด้วยการเรียกร้องค่าชดเชยเป็นมูลค่า 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการที่ Carlsberg บอกเลิกและฉีกสัญญาร่วมลงทุนในครั้งนั้น ผลจากการยกเลิกการร่วมทุนกับเบียร์ช้างดังกล่าว ทำให้ชื่อของ Carlsberg เลือนหายไปจากการรับรู้ของนักดื่มชาวไทยไปอย่างช้าๆ หากแต่ในอีกด้านหนึ่ง Carlsberg กลับลงหลักปักฐานในเอเชียและอาเซียนอย่างต่อเนื่อง หากกล่าวเฉพาะในอาเซียน Carlsberg ลงทุนทั้งในเวียดนามผ่าน Hue Brewery และ Hanoi

Read More

สมรภูมิอาเซียน ความท้าทายบนฟองเบียร์

ข่าวการเข้าซื้อหุ้นของโรงงานเบียร์ในเวียดนามด้วยเงินลงทุนขนาดมหึมากว่า 1.6 แสนล้านบาทโดยกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ นอกจากจะเป็นการตอกย้ำความมุ่งหมายตามยุทธศาสตร์แห่งวิสัยทัศน์ 2020 ของไทยเบฟเวอเรจแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังสะท้อนข้อเท็จจริงของตลาดเบียร์ในอาเซียนในฐานะที่เป็นสมรภูมิทางธุรกิจที่มีความหอมหวานและเย้ายวนผู้ประกอบการแต่ละรายให้เข้ามาร่วมช่วงชิงแบ่งปันผลประโยชน์ที่อยู่เบื้องหน้าอย่างชัดเจน ความพยายามของผู้ประกอบการท้องถิ่นที่มุ่งหมายจะขยายธุรกิจให้ครอบคลุมตลาดประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนในฐานะที่เป็นประหนึ่งสนามหลังบ้าน ย่อมไม่ได้เกิดขึ้นอย่างไร้แรงเสียดทาน หากแต่ดำเนินควบคู่ไปพร้อมกับการรุกเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีสถานะไม่แตกต่างมหาอำนาจที่พรั่งพร้อมด้วยเงินทุนและความหลากหลายของแบรนด์สินค้าที่เป็นสรรพกำลังในการดูดซับอุปสงค์ของการบริโภคในตลาดแห่งนี้ การเติบโตขึ้นด้วยอัตราเร่งของการบริโภคเบียร์ในอาเซียน ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะภูมิอากาศที่ร้อนชื้นหรือรสชาติอาหารที่เผ็ดร้อนจนต้องดื่มเบียร์เย็นๆ ระงับอาการหรือดับกระหาย หากแต่เป็นผลจากข้อเท็จจริงที่ว่า อาเซียน ยังอุดมด้วยประชากรในวัยหนุ่มสาว และความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจที่ทำให้การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปรับเปลี่ยนไปจากการเป็นเพียงเครื่องดื่ม มาสู่การเป็น สัญญะ ทางสังคมอีกด้วย นอกจากนี้ความจำเริญเติบโตของอาเซียนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ส่งผลให้ภูมิภาคแห่งนี้ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการในธุรกิจหลากหลาย ในฐานะที่เป็นทั้งแหล่งลงทุนเพื่อการผลิตและเป็นตลาดที่มีศักยภาพและการเติบโตในอัตราเร่งทดแทนความอิ่มตัวที่เกิดขึ้นในระดับสากล ตัวเลขจากการสำรวจตลาดเบียร์ใน 6 ประเทศอาเซียนที่ประกอบด้วย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ในช่วงปี 2015 ที่ผ่านมา พบว่าตลาดที่มีการบริโภคเบียร์มากถึง 7.66 ล้านกิโลลิตรแห่งนี้ ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดสามารถครอบครองตลาดระดับภูมิภาคนี้ได้อย่างมั่นคงชัดเจน ส่วนหนึ่งเนื่องเพราะผู้ประกอบการแต่ละรายต่างมีความโดดเด่นจำกัดอยู่เฉพาะในเขตพื้นที่ของประเทศตัวเองเป็นสำคัญ ดังกรณีที่เกิดขึ้นในบริบทของ San Miguel ซึ่งแม้จะครองส่วนแบ่งในระดับร้อยละ 20.5 แต่ตัวเลขดังกล่าวก็เป็นผลมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า San Miguel มีส่วนแบ่งการตลาดมากถึงร้อยละ 91-95 ในฟิลิปปินส์โดยลำพัง เช่นเดียวกับกรณีของผู้ประกอบการสัญชาติไทย ทั้งบุญรอด บริวเวอรี่ ที่ครองส่วนแบ่งในระดับ 14.5

Read More

50 ปี ASEAN การเดินทางข้ามฝั่งฝัน

นับถอยหลังไปอีกไม่กี่ชั่วโมงในวันที่ 8 สิงหาคม 2560 ต้องถือเป็นหมุดหมายสำคัญสำหรับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) ที่จะครบรอบวาระการก่อตั้งเป็นปีที่ 50 ซึ่งหากพิจารณาองค์กรระดับภูมิภาคแห่งนี้ในฐานะที่เป็นบุคคลที่มีชีวิต ก็ต้องถือว่าองค์กรแห่งนี้กำลังก้าวสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบสูงมากขึ้นตามวัย ภายใต้คำขวัญ “One Vision One Identity One Community” ที่พยายามรักษาจุดร่วมสงวนจุดต่าง เพื่อสร้างประชาคมที่มีความร่วมมือทั้งในมิติการเมืองความมั่นคง (Political-Security Community) ความร่วมมือทางด้านสังคม-วัฒนธรรม (Socio-Cultural Community) และประชาคมเศรษฐกิจ (Economic Community) ความเป็นไปขององค์กรภูมิภาคแห่งนี้ก็ดูจะก้าวหน้าไปจากวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และปฏิญญากรุงเทพฯ ซึ่งถือเป็นปฐมบทของการเริ่มต้นอาเซียนไปมากพอสมควร หากแต่ด้วยสภาพข้อเท็จจริงของสังคม การเมือง เศรษฐกิจในระดับนานาชาติในปัจจุบัน การดำรงอยู่ขององค์กรระดับภูมิภาคแห่งนี้ดูจะเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ที่พร้อมจะสั่นคลอน ประชาคมอาเซียน ที่มีประชากรรวมกว่า 630 ล้านคน และมี GDP รวมกันสูงกว่า 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

Read More

ยุทธศาสตร์ “C asean” ต่อยอด-แตกไลน์ธุรกิจ

 ศูนย์ C asean เปิดตัวและกลายเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของ “ไทยเบฟเวอเรจ” ภายใต้แผน Vision 2020 ซึ่งฐาปน สิริวัฒนภักดี ประกาศเป้าหมายการก้าวขึ้นเป็นบริษัทเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดและมีผลกำไรสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยล่าสุดวางแผนต่อยอดรุกธุรกิจใหม่ “FOOD of ASIA” ดึง “อัตลักษณ์” ของทุกชนชาติในอาเซียน สร้าง “จุดต่าง” จากคู่แข่งและ “กลยุทธ์” ต่อยอดจากตลาดไทย  เป็นเกมที่ฐาปนต้องการขยายอาณาจักรธุรกิจอาหารและไม่ได้เจาะเฉพาะกลุ่มเออีซีที่มีประชากรมากกว่า 600 ล้านคน แต่วางแผนระยะยาวสยายปีกสู่ประเทศอื่นๆ ในเอเชียด้วย  สำหรับบริษัท Food of ASIA (FOA) ก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อต้นปี 2558 โดยดึงมือมาร์เก็ตติ้งด้านตลาดคิวเอสอาร์ หรือร้านอาหารบริการด่วน “นงนุช บูรณะเศรษฐกุล” อดีตผู้บริหารทีมสร้างแบรนด์ “พิซซ่าฮัท” ให้บริษัท ยัม เรสเทอรองต์ส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ทำงานอยู่กับยัมฯ นานเกือบ 10 ปี ก่อนหน้านั้นยังเคยร่วมงานกับ “แมคโดนัลด์”

Read More

สำรวจตลาดท่องเที่ยวเพื่อนบ้าน ASEAN ไทยยังเป็นอันดับหนึ่งจริงหรือ?

  ความเป็นไปว่าด้วยการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนในห้วงยามที่กำลังคืบใกล้เข้าสู่การเปิดประชาคม AEC ดูเหมือนว่าประเทศไทย ซึ่งแต่เดิมเชื่อว่ามีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวโดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคกำลังเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ที่อาจทำให้ต้องสูญเสียทั้งตลาดและความน่าสนใจในระยะยาวอย่างยากที่จะสร้างให้กลับมาได้เปรียบดังเดิมได้อีก การเติบโตขึ้นของตลาดการท่องเที่ยวในประเทศเพื่อนบ้าน ดำเนินควบคู่กับข้อเท็จจริงที่ว่าทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวของแต่ละประเทศที่อยู่รายล้อมประเทศไทยมีความหลากหลายและอุดมมั่งคั่งอย่างยิ่ง หากแต่ช่วงเวลาที่ผ่านมา ยังไม่ได้รับการพัฒนาหรือส่งเสริมอย่างเป็นระบบเท่าที่ควรเท่านั้น การเปิดประเทศเพื่อเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลกทำให้โอกาสในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวของทั้งกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม หรือประเทศ CLMV บนอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงดำเนินไปด้วยอัตราเร่ง ที่พร้อมจะดึงดูดความสนใจจากทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวให้หลั่งไหลเข้าชื่นชมความงามของธรรมชาติ และเรียนรู้วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของผู้คนท้องถิ่นนี้ด้วย กัมพูชาเปิดตัวออกสู่ตลาดการท่องเที่ยวระดับนานาชาติภายใต้คำขวัญ “Kingdom of Wonder” พร้อมด้วยจุดขายว่าด้วยศิลปวัฒนธรรมที่มีรากฐานยาวนานนับพันปี และปรากฏเป็นแหล่งโบราณคดีที่ได้รับการยอมรับเป็นมรดกโลก ควบคู่กับแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์ ซึ่งทำให้ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมากัมพูชามีจำนวนนักท่องเที่ยวเติบโตเพิ่มมากขึ้นถึงกว่า 400% จากระดับ 1 ล้านคนในปี 2004 มาสู่ระดับ 4.5 ล้านคนในปี 2014 และยังมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอีกในอนาคต ที่สำคัญก็คือมีนักเดินทางเพื่อธุรกิจเพิ่มขึ้น เข้าสู่กัมพูชามากขึ้นถึงกว่าร้อยละ47 ซึ่งสะท้อนภาพการเป็นแหล่งลงทุนแห่งใหม่ของกัมพูชา ที่อาจนำไปสู่กระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ไม่ได้มีจุดเน้นเรื่องการท่องเที่ยวโดยลำพังในระยะยาวนับจากนี้อีกด้วย ขณะที่เวียดนามกำลังก้าวขึ้นมาเป็นตลาดการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพและการเติบโตสูงมากอีกแห่งหนึ่งของอาเซียนหลังจากที่ผ่อนปรนข้อบังคับและเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางต่างๆ ได้อย่างเสรียิ่งขึ้นตั้งแต่ปี 1997 ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าสู่เวียดนามมากขึ้นเป็นลำดับจาก 1.7 ล้านคนในปี 1997 มาสู่ 3.5 ล้านคนในปี 2006 และเพิ่มมากขึ้นถึงกว่า 100%

Read More