Home > หนี้ครัวเรือน

รัฐ-สถาบันการเงิน เร่งออกมาตรการ สกัดหนี้ครัวเรือนพร้อมเสริมสภาพคล่อง

รัฐและสถาบันการเงินเร่งออกมาตรการเสริมสภาพคล่องทางเศรษฐกิจและสกัดหนี้ครัวเรือนที่กำลังอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะมีแนวโน้มดีขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อต่อวันเริ่มลดลง แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นยังคงยืดเยื้อและต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยว่า ไตรมาส 3/2564 ตลาดแรงงานไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ส่งผลให้อัตราการว่างงานสูงสุดตั้งแต่มีโควิด โดยมีผู้ว่างงาน 8.7 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานที่ 2.25% ในขณะที่หนี้ครัวเรือนยังขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รายงานจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนล่าสุดไตรมาส 2/2564 เติบโตต่อเนื่อง ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทยไตรมาส 2/2564 ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 14.27 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 89.3% ต่อ GDP ชะลอลงจากระดับ 90.6% ต่อ GDP สูงสุดในรอบ 18 ปี ที่ทำไว้ในไตรมาส 1/2564 สาเหตุหลักมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่สามารถขยายตัวได้ในระดับปกติ ซึ่งนั่นย่อมส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนและสภาพคล่องทางเศรษฐกิจโดยตรง ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2564 ที่ถือเป็นการระบาดของโควิด-19 ระลอกล่าสุด สถาบันการเงินทั้งธนาคารพาณิชย์ นอนแบงก์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมถึงภาครัฐ ต่างเร่งออกมาตรการเพื่อให้การช่วยเหลือลูกค้าและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยสินเชื่อเพิ่มติม พักชำระหนี้

Read More

หนี้พุ่งเบรกนักชอป เมื่อสภาพคล่องเข้าขั้น “แย่”

หนี้ครัวเรือนยังเป็นปัญหารุนแรงและสาหัสมากขึ้นหลังการแพร่ระบาดโควิด-19 เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักส่งผลให้ผู้คนขาดรายได้ หรือรายได้หดหายไปนานเกือบปี ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาระบุว่า ไตรมาส 1 ของปี 2564 ยอดหนี้ครัวเรือนพุ่งสูงไปถึง 14.1 ล้านล้าน เท่ากับ 90.5% ของ GDP ส่งผลให้ตัวเลขหนี้เสีย (NPL) ในไตรมาส 2 สูงขึ้น โดยกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากและทำให้เกิด NPL คือ 1. กลุ่มค้าส่งและค้าปลีก จำนวน 127,338 ราย 2.กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต 121,150 ราย 3. กลุ่มการบริโภคส่วนบุคคล 150,369 ราย 4. กลุ่มที่อยู่อาศัย 94,250 ราย ด้านสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินครัวเรือนไตรมาส 1 ปี 2564 ที่เพิ่มสูงขึ้น 4.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่น่าสนใจคือ

Read More

หนี้ครัวเรือนไทยพุ่งสูง เศรษฐกิจฟื้นตัวช้า ประชาชนขาดสภาพคล่อง

บ่อยครั้งที่ “ผู้จัดการ 360 องศา” นำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับหนี้ครัวเรือนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่ไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตโควิด ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจภาพรวมเกินคำว่าถดถอยไปมาก ปี พ.ศ. 2564 ล่วงเลยมาเป็นเวลากว่า 6 เดือนแล้ว ทว่าสถานการณ์ของผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังไม่ทุเลา ขณะที่รัฐบาลไทยต้องประกาศล็อกดาวน์อีกครั้ง และกลับไปใช้มาตรการที่เคยนำมาใช้เมื่อช่วงเดือนเมษายนของปีก่อน หลายฝ่ายคาดหวังว่า “เจ็บแต่จบ” ครั้งนี้จะเป็นของจริงเสียที ภาคเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงพิจารณาได้จากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือจีดีพี ที่ติดลบมาอย่างต่อเนื่องนับแต่ปีก่อนหน้า รวมไปถึงความสามารถในการจับจ่ายของภาคประชาชน ที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับ “หนี้ครัวเรือนไทย” ดูจะทำสถิติสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปีที่แล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดเผยรายงานตัวเลขหนี้ครัวเรือนของปี 2563 โดยไตรมาส 1 หนี้ครัวเรือนไทยสูงถึง 80.1% ต่อจีดีพี ในเวลานั้น สำนักข่าวส่วนใหญ่พาดหัวไปในลักษณะเดียวกันว่า หนี้ครัวเรือนไทยสูงเป็นประวัติการณ์ แต่ใครจะรู้ว่าสถิติในครั้งนั้นจะถูกทำลายลงในไตรมาสต่อมา ด้วยตัวเลขหนี้ครัวเรือนไทยที่ยังคงพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยไตรมาส 2/2563 พุ่งสูงขึ้นอยู่ที่ 83.8% ต่อจีดีพี ไตรมาส 3/2563 อยู่ที่ 86.8% ต่อจีดีพี และไตรมาส 4/2563 แตะ 89.3%

Read More

หนี้ครัวเรือน’63 สูง เงินเฟ้อมีนา’64 ติดลบ ข่าวร้ายและดีของเศรษฐกิจไทย

สถานการณ์โควิดในปัจจุบันคล้ายเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า เชื้อไวรัสตัวร้ายจะยังคงอยู่บนโลกนี้ไปอีกระยะหนึ่ง ตราบใดที่วัคซีนยังไม่ถูกแพร่กระจายและฉีดให้ประชากรอย่างทั่วถึงในเวลาอันรวดเร็ว แน่นอนว่าสัญญาณดังกล่าวย่อมส่งผลต่อเนื่องมายังเศรษฐกิจทั่วทั้งโลก แม้ว่าฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจบางตัวจะทำงานได้เกือบเต็มประสิทธิภาพแล้วก็ตาม แต่นั่นยังไม่อาจพลิกฟื้นสถานการณ์ที่เคยตกต่ำให้ฟื้นคืนได้ในทันที วิกฤตดังกล่าวส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจไทย และภาพสะท้อนที่บอกว่าเศรษฐกิจไทยอ่อนแอเป็นทุนเดิมก่อนโควิด-19 จะมาถึง และถูกฤทธิ์ไวรัสเข้าเล่นงาน คือ ตัวเลขจีดีพีในปี 2563 ที่หดตัว -6.1% ซึ่งเป็นตัวเลขต่ำสุดในรอบ 22 ปี นับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ขณะที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์ว่าจีพีดีปี 2564 จะขยายตัวอยู่ที่ 2.5-3.5% ซึ่งนั่นเป็นการคาดการณ์ตามกรอบและเงื่อนไขของการระบาดระลอกใหม่เมื่อช่วงต้นปี ทว่า เมื่อเริ่มต้นไตรมาส 2/2564 สถานการณ์โควิดในไทยเริ่มสร้างความหวาดวิตกให้แก่ประชาชนอีกครั้ง ด้วยการพบกลุ่มคลัสเตอร์ใหม่ และกระจายอยู่ในหลายวงการ เช่น วงการแพทย์ วงการบันเทิง การเมือง กลุ่มพริตตี้ เซเลบ ไฮโซ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความชะล่าใจของผู้คนในสังคม เมื่อได้รับรู้ถึงการมาถึงของวัคซีนโควิด-19 และเริ่มมีการฉีดให้กับกลุ่มคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง กระนั้นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังออกโรงเตือนอย่างต่อเนื่องว่า แม้จะได้รับวัคซีนแล้ว แต่ยังต้องหมั่นล้างมือ และสวมใส่หน้ากากอนามัยอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนล่าสุดไตรมาส 4/2563 บ่งชี้ว่า หนี้ครัวเรือนของไทยปิดสิ้นปี 2563 ด้วยจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 18 ปี โดยระดับหนี้ครัวเรือนทะลุ 14

Read More

โควิดระลอกใหม่กระทบหนี้ครัวเรือน ซ้ำเติมความเปราะบางทางเศรษฐกิจ

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยเริ่มฟื้นตัวนับตั้งแต่สถานการณ์ของผู้ติดเชื้อภายในประเทศเป็นศูนย์ และพบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อในปัจจุบัน เป็นกลุ่มผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศเท่านั้น ความฝัน ความหวังของผู้คนในหลายแวดวงเริ่มปรากฏแจ่มชัดขึ้น เมื่อเริ่มมองเห็นสัญญาณอันดี จากสถานการณ์การติดเชื้อที่ลดลงภายในประเทศ ภาครัฐจึงเร่งประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ลงลึกในระดับฐานรากมากขึ้น โดยมุ่งหวังให้คนในประเทศช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่หยุดชะงักไป ให้กลับมาเดินหน้าได้อีกครั้ง ซึ่งต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมหาศาลเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ แม้เครื่องจักรทางเศรษฐกิจกำลังเดินเครื่องไปข้างหน้าอย่างช้าแต่ก็เป็นสัญญาณที่ดี ทว่า ทุกสิ่งกลับพังครืนลงมาก่อนศักราชใหม่จะเริ่มขึ้น จุดเริ่มต้นการระบาดระลอกใหม่มาจากกลุ่มคนที่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน ทั้งการลักลอบนำแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามายังประเทศไทย โดยไม่ผ่านระบบตรวจคัดกรองโรค รวมไปถึงกลุ่มคนไทยที่เดินทางออกนอกประเทศเพื่อทำกิจกรรมในบ่อนพนันในต่างประเทศ และหลบหนีกลับเข้ามาหลังพบการติดเชื้อเพิ่มขึ้นในบ่อน ขณะที่คนในประเทศตั้งการ์ดสูง ด้วยความพยายามอย่างสุดกำลังที่จะดึงกราฟผู้ติดเชื้อในประเทศให้เป็นศูนย์ และรอคอยวัคซีนที่เป็นตัวแปรสำคัญในการหยุดวงจรการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสครั้งนี้ เมื่อการระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้นและขยายวงกว้างมากกว่าเดิม ส่งผลให้ภาครัฐต้องออกคำสั่งหยุดดำเนินกิจการ กิจกรรมบางจำพวก เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัส แม้จะส่งผลดีต่อการควบคุมด้านสาธารณสุข แต่กลับส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจในภาพรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับฐานราก รายได้ที่หดตัวอยู่ในช่วงพีคของการระบาดระลอกแรก กำลังกลับสู่สภาพเกือบปกติจากการดำเนินกิจการได้หลังการผ่อนคลายมาตรการในปีที่ผ่านมา แต่การระบาดระลอกใหม่ส่งผลเสียต่อสถานการณ์ทางการเงินหนักกว่าเดิม เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะชะลอตัวมาอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนลดลงจำนวนมาก จีดีพีของประเทศลดลงอย่างต่อเนื่องหลายไตรมาสติดต่อกัน และตัวที่ชี้วัดสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงทางเศรษฐกิจของไทยคือ สัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยที่ค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น กระทั่งไตรมาส 3/2563 ที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 18 ปีที่ 86.6 เปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพี จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย แน่นอนว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ระลอกแรก และความเปราะบางทางเศรษฐกิจที่มีอยู่เป็นทุนเดิม ต้องยอมรับว่าความแข็งแรงด้านสภาพการเงินของครัวเรือนไทยดำเนินไปภายใต้กรอบโครงของการขอใช้สินเชื่อทั้งจากในระบบและนอกระบบ ในขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชนบางส่วนค่อยๆ ลดลงไปตามลำดับ ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ณ ปัจจุบัน ตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นส่งผลโดยตรงกับสภาพคล่องด้านการเงินของประชากรไทย สถานการณ์ในปัจจุบันกลายเป็นตัวซ้ำเติมปัญหาที่เปราะบางเป็นทุนเดิมให้สาหัสมากขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า มีความเป็นไปได้ที่หนี้ครัวเรือนของไทยอาจเพิ่มขึ้นมาที่

Read More

ภาระหนี้ครัวเรือน แผลเรื้อรังสังคมไทย

ปัญหาว่าด้วยภาระหนี้ครัวเรือนของสังคมไทยเป็นประเด็นที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งติดตามมาด้วยภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจซึ่งส่งผลให้รายได้ของแต่ละครัวเรือนหดหาย ท่ามกลางค่าใช้จ่ายปกติและภาระหนี้ที่ยังดำรงอยู่ทำให้เกิดการสั่งสมของปัญหากลายเป็นบาดแผลที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ บาดแผลทางเศรษฐกิจของไทยที่เกิดขึ้นจากผลของการแพร่ระบาด COVID-19 นอกจากจะอยู่ที่ประเด็นว่าด้วยประสิทธิภาพของมาตรการภาครัฐแล้ว ข้อเท็จจริงว่าด้วยโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่พึ่งพาสัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวและการส่งออก ได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำนวนมากต้องทยอยปิดหรือเลิกกิจการ ก่อให้เกิดการเลิกจ้างแรงงานจำนวนมาก และนำไปสู่ปัญหาการว่างงานติดตามมาอย่างไม่อาจเลี่ยง และจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศในอนาคต ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังจะต้องเผชิญกับบาดแผล จากปัญหาหนี้ครัวเรือนในระดับสูงที่ได้สะสมมาก่อนหน้า และกลายเป็นบาดแผลเรื้อรังที่ยังไม่ได้รับการรักษาเยียวยาอย่างจริงจัง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจ ก็คือหนี้ครัวเรือนไม่ใช่ปัญหาใหม่ของเศรษฐกิจไทย เพราะก่อนการแพร่ระบาด COVID-19 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยก็อยู่ที่ระดับร้อยละ 80.2 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่สูงที่สุดในบรรดากลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอยู่แล้ว และเมื่อมีการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ในไตรมาสที่ 2 สัดส่วนของหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP จึงได้ปรับตัวสูงขึ้นไปสู่ระดับที่ร้อยละ 83.8 ซึ่งถือเป็นสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในระดับสูงสุดของประเทศไทยเท่าที่เคยมีมา หลังจากเคยเร่งตัวต่อเนื่องในช่วงปี 2552 จนถึง 2558 จนไปสู่ระดับร้อยละ 81.2 ในไตรมาสที่ 4 ปี 2558 ก่อนจะปรับลดลงเล็กน้อยและค่อนข้างทรงตัวในช่วง 4

Read More

หนี้ครัวเรือนพุ่งสูงรอบ 18 ปี  ทำเศรษฐกิจไทยบอบช้ำรุนแรง

คงไม่มีปาฏิหาริย์ใดที่จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นขึ้นได้ในช่วงเวลานี้ เมื่อดัชนีสำคัญที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าไปได้ ยังคงถูกล้อมกรอบไปด้วยปัจจัยลบหลายด้าน ทั้งกำลังซื้อของภาคประชาชนที่อ่อนกำลังลงเป็นทุนเดิม การขยายตัวของอุตสาหกรรมหรือธุรกิจบางประเภทจนทำให้เกิดภาวะโอเวอร์ซัปพลาย ผนวกกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยิ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเปราะบางยิ่งขึ้น ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ที่ติดลบทั้งสองไตรมาสที่ผ่านมา น่าจะอธิบายความได้ดีเกี่ยวกับสถานการณ์ของเศรษฐกิจไทยในเวลานี้ แม้ว่าเชื้อไวรัสโควิดจะเป็นเสมือนจุดเปลี่ยนที่สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ทุกอย่างดูเลวร้ายลง แต่ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงขาลงมาตั้งแต่ปีก่อนหน้า ซึ่งตัวเลขจีดีพีค่อยๆ ไต่ระดับลงอย่างต่อเนื่อง และเรื่องที่น่ากังวลมากที่สุดคือสัญญาณบ่งบอกความบอบช้ำทางเศรษฐกิจที่รุนแรงขึ้น นั่นคือ ระดับ “หนี้ครัวเรือน” ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานออกมาอยู่ที่ 84 เปอร์เซ็นต์ ต่อตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงสุดในรอบ 18 ปี นับตั้งแต่มีการเก็บสถิติ อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับหนี้ครัวเรือนของไตรมาสก่อนหน้า จะเห็นได้ว่าสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาเพียง 3.8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นั่นหมายความว่ามูลหนี้ไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นมากมายอะไร ทว่า สิ่งที่น่ากังวลคือ การปรับลดลงของจีดีพีที่ติดลบเพิ่มขึ้น หรือเข้าใจง่ายๆ นั่นคือรายได้ของประชาชนลดลง ทั้งจากปัญหาการว่างงานและการถูกลดจำนวนชั่วโมงการทำงาน ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติแสดงตัวเลขของตลาดแรงงานในช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 พบว่า มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวแตะระดับ 7.5 แสนคน และจำนวนผู้เสมือนว่างงาน คือกลุ่มคนที่ยังมีงานทำแต่ชั่วโมงการทำงานน้อยกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มขึ้นใกล้เคียง 5.4 ล้านคน แม้ว่าจำนวนผู้เสมือนว่างงานจะลดลงเหลือ

Read More

ภาวะหนี้ครัวเรือนสูง สัญญาณความอ่อนแอเศรษฐกิจไทย

ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเศรษฐกิจประเทศไทยอยู่ในภาวะชะลอตัวจนไปถึงขั้นชะงักงัน ทั้งปัจจัยภายในที่ประชาชนมีกำลังซื้อลดลง ความขัดแย้งทางการเมืองที่มีผลต่อความไม่มั่นใจด้านการลงทุน หรือปัจจัยภายนอกอย่างสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่สร้างคลื่นระลอกใหญ่ส่งผลกระทบไปยังอีกหลายประเทศทั่วโลก แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะเผชิญกับภาวะวิกฤตมาได้ระยะหนึ่ง กำลังหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเริ่มอ่อนแรงลงอย่างเห็นได้ชัด ทว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กลายเป็นสัญญาณความอ่อนแอของเศรษฐกิจไทย ที่ทำลายระบบเศรษฐกิจตั้งแต่ฐานรากเป็นวงกว้างขึ้น นักวิเคราะห์จากสถาบันการเงินต่างๆ วิเคราะห์ไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของไทยค่อยๆ ไต่อันดับลงอย่างต่อเนื่องทุกไตรมาส บทวิเคราะห์เศรษฐกิจจึงเป็นไปในทิศทางที่ว่า เศรษฐกิจไทยต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี ถึงจะพ้นจากวิกฤตและสามารถฟื้นฟูไปถึงขั้นเติบโตได้อีกครั้ง ความง่อนแง่นของเศรษฐกิจไทยส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศไทย เห็นได้จากความสามารถในการจับจ่ายซื้อสินค้าในปริมาณที่ลดลง และใช้จ่ายแต่เฉพาะที่จำเป็น รวมไปถึงภาวะหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่ค่อยๆ สูงขึ้น ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยด้านสัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยต่อจีดีพีใน 3 ปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง โดยในปี 2560 หนี้ครัวเรือนไทยมีสัดส่วนต่อจีดีพีอยู่ที่ 78.1 เปอร์เซ็นต์ และเพิ่มขึ้นเป็น 78.4 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2561 ในปีถัดมา 2562 เพิ่มขึ้นเป็น 79.8 เปอร์เซ็นต์ กระทั่งมาถึงปี 2563 ในไตรมาสแรกที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นไปแตะระดับ 80.1 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขดังกล่าวเป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนว่า ภาคครัวเรือนของไทยกำลังรับมือกับปัญหาการหดตัวของรายได้ ซึ่งเร็วกว่าการชะลอตัวของการกู้ยืม ทั้งนี้ แม้ภาพดังกล่าวจะตอกย้ำปัญหาเชิงโครงสร้างที่ไทยกำลังเผชิญ แต่ท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงในระยะ 1.2 ปีข้างหน้านี้

Read More

เศรษฐกิจไทยทรุดหนัก หนี้ครัวเรือนโตแซงจีดีพี

นอกจากสถานการณ์ฝุ่นพิษขนาดจิ๋ว หรือ PM2.5 ที่กำลังคุกคามความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมไทยอย่างหนักหน่วงแล้ว ดูเหมือนว่าภัยคุกคามทางเศรษฐกิจลูกใหม่กำลังก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ และพร้อมที่จะสร้างผลกระทบสั่นสะเทือนสังคม เศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปไม่น้อยเลย หนี้ครัวเรือนไทยในช่วงปี 2563 หรือระยะนับจากนี้ ได้รับการคาดหมายว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ใกล้เคียงหรือแม้กระทั่งมีโอกาสที่จะเติบโตเร็วกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยข้อมูลล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่าแม้หนี้ครัวเรือนของไทยในไตรมาส 3/2562 มียอดคงค้างที่ 13.239 ล้านล้านบาท ชะลอการเติบโตลงมาที่ร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ซึ่งนับว่าต่ำที่สุดในรอบ 6 ไตรมาส หากแต่หนี้ครัวเรือนที่ชะลอตัวลงดังกล่าว เป็นผลมาจากฐานเปรียบเทียบที่สูงในช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสต่อไตรมาส ยังคงเห็นยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนขยับขึ้นเร็วกว่าการเติบโตของมูลค่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกด้วยซ้ำ และมีความเป็นไปได้ที่จะเห็นสัดส่วนหนี้ครัวเรือนในปี 2563 ขยับขึ้นไปอยู่ในกรอบประมาณร้อยละ 80.0-81.5 ต่อจีดีพีเลยทีเดียว สถานการณ์หนี้ครัวเรือนในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เป็นผลทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีของไทยขยับไล่ระดับขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 79.1 ในไตรมาสที่ 3/2562 สูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี จากระดับร้อยละ 78.7 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ซึ่งสภาพการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับผลสำรวจสถานการณ์หนี้สินและเงินออมของครัวเรือนปี 2562 ซึ่งพบว่าร้อยละ 44 ของผู้กู้-ครัวเรือนที่มีหนี้ มีภาระหนี้หรือเป็นหนี้เพิ่มขึ้น แม้ว่าผลสำรวจดังกล่าวจะสะท้อนภาพและมีจุดเน้นอยู่ที่ครัวเรือนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นด้านหลัก

Read More

Gen Y กับวลี ‘ของมันต้องมี’ หนี้ครัวเรือนก็ต้องมา

นับเป็นอีกปีที่ไทยต้องเผชิญมรสุมที่พัดกระหน่ำมาจากรอบด้าน งานหนักของรัฐไทยชุดปัจจุบันที่ต้องนำพารัฐนาวาให้ผ่านพ้นวิกฤตเลวร้ายไปให้ได้ แม้ว่าผู้ใหญ่ในรัฐบาลหลายคนจะเอื้อนเอ่ยถ้อยคำที่คล้ายให้กำลังใจตนเองมากกว่าว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่ถดถอย ไม่วิกฤต เพียงแต่ไร้แรงขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างเต็มกำลัง ส่วนหนึ่งของต้นเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจไทยไร้แรงขับเช่นในปัจจุบัน นั่นเพราะสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะชะงักงัน และอิทธิพลของสงครามการค้าที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นมูลเหตุของปัจจัย แน่นอนว่า จีนไม่ใช่ประเทศที่จะยอมอ่อนข้อหรือเป็นผู้ถูกกระทำอยู่ฝ่ายเดียว เราจึงได้เห็นการโต้ตอบชนิดที่เรียกว่า สวนกันหมัดต่อหมัดบนเวทีการค้าโลก กระนั้นการระรานของสหรัฐฯ ยังขยายอิทธิพลไปในอีกหลายประเทศทั่วโลก และไทยเองที่เป็นเพียงประเทศคู่ค้า เหมือนจะถูกระลอกคลื่นของสงครามครั้งนี้ในทุกระนาบ ประกอบกับสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง เครื่องจักรที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยหลายตัวที่หากไม่ดับสนิท แต่ก็ไม่สามารถกู้สัญญาณชีพให้ฟื้นขึ้นมาได้ในเร็ววัน ทั้งภาคการส่งออก การท่องเที่ยว การชะลอตัวของการลงทุนภาครัฐ ที่ส่งผลต่อการลงทุนของภาคเอกชนไปโดยปริยาย ปัญหาสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันไม่ได้เกิดขึ้นในระดับบนของระบบเท่านั้น ทว่าปัญหากลับแทรกซึมเข้าสู่เนื้อในของเครื่องจักร ทำให้แม้แต่ฟันเฟืองตัวเล็กๆ ก็ยากที่จะขับเคลื่อนได้เฉกเช่นวิกฤตที่ผ่านๆ มา ปีนี้นับเป็นอีกปีที่ภาคเอกชนเรียกร้องให้ภาครัฐเร่งหามาตรการออกมาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทว่า ไทยยังต้องเผชิญกับยุคเข็ญทางเศรษฐกิจไปอีกพักใหญ่ เมื่อยังต้องอาศัยอานิสงส์จากกระแสลมบวกจากภายนอกเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่ารัฐจะหามาตรการใดออกมาใช้ แต่ดูเหมือนว่าชีพจรที่ควรจะฟื้นกลับมาเต็มสูบ ทำได้เพียงแผ่วเบา มีเพียงลมหายใจรวยรินที่ยังประคองชีพให้อยู่ไปได้แบบวันต่อวัน ขณะที่สิ่งที่น่ากังวลสำหรับเศรษฐกิจไทยในห้วงยามนี้ น่าจะเป็นปัญหาหนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และสัดส่วนที่ส่งผลให้หนี้ครัวเรือนของไทยสูงขึ้นนั้นมาจากกลุ่มคน Gen Y นี่เป็นอีกประเด็นที่สร้างความวิตกกังวลให้กับนักเศรษฐศาสตร์ไทย เมื่อคน Gen Y เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลในสังคมปัจจุบันในหลายแง่มุม Gen Y เป็นคนที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2523-2540 ปัจจุบันคนกลุ่มนี้อยู่ในวัยที่ต้องการสร้างฐานะและความมั่นคง มีอิสระทางความคิด มั่นใจในตัวเอง เข้าถึงเทคโนโลยี ซึ่งกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของกลุ่มธุรกิจหรือนักการตลาด เพราะมีรายได้ค่อนข้างสูง แม้ตัวเลขรายจ่ายต่อเดือนจะวิ่งควบตามหลังรายได้มาติดๆ การใช้จ่ายของ Gen

Read More