Home > ธปท.

รัฐ-สถาบันการเงิน เร่งออกมาตรการ สกัดหนี้ครัวเรือนพร้อมเสริมสภาพคล่อง

รัฐและสถาบันการเงินเร่งออกมาตรการเสริมสภาพคล่องทางเศรษฐกิจและสกัดหนี้ครัวเรือนที่กำลังอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะมีแนวโน้มดีขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อต่อวันเริ่มลดลง แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นยังคงยืดเยื้อและต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยว่า ไตรมาส 3/2564 ตลาดแรงงานไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ส่งผลให้อัตราการว่างงานสูงสุดตั้งแต่มีโควิด โดยมีผู้ว่างงาน 8.7 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานที่ 2.25% ในขณะที่หนี้ครัวเรือนยังขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รายงานจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนล่าสุดไตรมาส 2/2564 เติบโตต่อเนื่อง ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทยไตรมาส 2/2564 ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 14.27 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 89.3% ต่อ GDP ชะลอลงจากระดับ 90.6% ต่อ GDP สูงสุดในรอบ 18 ปี ที่ทำไว้ในไตรมาส 1/2564 สาเหตุหลักมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่สามารถขยายตัวได้ในระดับปกติ ซึ่งนั่นย่อมส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนและสภาพคล่องทางเศรษฐกิจโดยตรง ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2564 ที่ถือเป็นการระบาดของโควิด-19 ระลอกล่าสุด สถาบันการเงินทั้งธนาคารพาณิชย์ นอนแบงก์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมถึงภาครัฐ ต่างเร่งออกมาตรการเพื่อให้การช่วยเหลือลูกค้าและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยสินเชื่อเพิ่มติม พักชำระหนี้

Read More

แบงก์เข้มงวดสินเชื่อ ส่งอสังหาฯ ทรุดหนัก

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ภาคธุรกิจหลากหลายได้รับผลกระทบอย่างหนัก ขณะที่ความกังวลใจต่อการตั้งสำรองหนี้เสีย หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ทำให้สถาบันการเงินจัดวางมาตรการที่เข้มงวดในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นและกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการชะลอตัวในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างหนัก การหดตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน ในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศที่หดตัวลดลง ควบคู่กับการหายไปของกลุ่มลูกค้าต่างชาติ และการสะสมของปริมาณสินค้าในตลาดจำนวนมาก ขณะที่ปัจจัยลบที่สำคัญที่สุดอยู่ที่การเข้มงวดในการพิจารณาสินเชื่อที่อยู่อาศัยรายย่อยของสถาบันการเงิน ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมานาน และยิ่งทวีความเข้มงวดมากขึ้นในช่วงหลังๆ นับตั้งแต่การออกมาตรการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ (LTV) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขณะเดียวกันผลพวงของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ธุรกิจต่างๆ ต้องหยุดชะงัก ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจในประเทศหรือธุรกิจส่งออก ซึ่งทำให้ธุรกิจหลากหลายต้องปิดกิจการไป ส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้บริโภค ซึ่งเป็นพนักงานในธุรกิจเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการถูกลดเงินเดือนลงหรือขาดรายได้จากการตกงานเพราะถูกเลิกจ้าง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการพิจารณาสินเชื่อเมื่อผู้บริโภคยื่นขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย กรณีดังกล่าวเห็นได้ชัดจากยอดการปฏิเสธสินเชื่อที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา โดยล่าสุดอัตราการปฏิเสธสินเชื่อปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ในระดับร้อยละ 50-60 สำหรับกลุ่มที่อยู่อาศัยราคา 2-3 ล้านบาท ส่วนกลุ่มที่อยู่อาศัย 5-7 ล้านบาท ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 30-40 ขณะที่กลุ่มที่อยู่อาศัยระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไปอัตราการปฏิเสธสินเชื่ออยู่ที่ร้อยละ 10-15 ซึ่งถือว่าสูงมากที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 เป็นต้นมา ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการปฏิเสธสินเชื่อในอัตราที่สูงขึ้นดังกล่าวเกิดจากผลของการเข้มงวดการพิจารณาปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน และภาระการตั้งสำรองหนี้เสีย หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้น โดยในช่วง

Read More

สถาบันการเงินปรับตัว เสริมสภาพคล่อง ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน

สภาพเศรษฐกิจปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงชะงักงัน อันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงไม่คลี่คลาย และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อัตราการว่างงานพุ่งสูงขึ้น ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการรายเล็กและเอสเอ็มอี หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งสถาบันการเงินและภาครัฐต่างเร่งเสริมสภาพคล่องเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงที่มีอยู่รอบด้าน สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ แถลงสภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ของปี 2563 พบจีดีพี -12.2% ต่อปี ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 1 ที่ผ่านมา และคาดว่าทั้งปีจะปรับตัวลดลง -7.8% ถึง -7.3% ซึ่งลดลงจากเดิมที่คาดไว้ว่าจะหดตัวอยู่ที่ -5.5% ต่อปี สถานการณ์การจ้างงานไตรมาส 2 ผู้มีงานทำมีจำนวน 37.1 ล้านคน โดยตัวเลขการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 7.5 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.95% เพิ่มขึ้น 1 เท่าจากอัตราว่างงานปกติ ถือเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 11 ปี นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2552 โดยสาเหตุหลักมาจากการเลิกจ้างและธุรกิจปิดกิจการ ฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจไตรมาส 2

Read More