Home > สินเชื่อ

เอ็กซ์สปริง จับมือ KTC ปฏิวัติวงการสินเชื่อ เทิร์นสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นวงเงินสดพร้อมใช้

เอ็กซ์สปริง จับมือ KTC ร่วมพันธมิตร ปฏิวัติวงการสินเชื่อ ชูโมเดลเทิร์นสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นวงเงินสดพร้อมใช้ ครั้งแรกหนึ่งเดียวในไทย มั่นใจโตสวนกระแส รุกตลาดช่วยเสริมสภาพคล่องนักลงทุน นางสาววรางคณา อัครสถาพร ผู้จัดการใหญ่ ของบริษัท เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ในเครือ XSpring กล่าวว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนในปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบต่อรายได้และทำให้ประชาชนบางส่วนประสบปัญหาการขาดสภาพคล่อง ทำให้แนวโน้มการเติบโตของสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลที่ยังคงขยายตัวได้ดีในครึ่งปีหลัง ทั้งนี้ เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) ในฐานะกลุ่มธุรกิจการเงินและหลักทรัพย์ ผู้ให้บริการทางการเงินครบวงจรที่ต่อยอดความเชี่ยวชาญโลกการเงินปัจจุบัน สู่โลกบริการทางการเงินดิจิทัลหรือ Digital Financial Service เล็งเห็นโอกาสขยายธุรกิจเพื่อเพิ่มช่องทางหารายได้ จึงได้ผนึกกำลังกับ “เคทีซี” ผู้นำสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคของไทย สร้างปรากฏการณ์พลิกโลกธุรกิจสินเชื่อ ด้วยการเตรียมปล่อยสินเชื่อเงินสดที่รองรับสินทรัพย์ทุกประเภทเป็นหลักประกัน เพื่อให้บุคคลทั่วไปสามารถเพิ่มสภาพคล่อง และเงินหมุนเวียนในชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น อีกทั้ง ปีนี้นับเป็นปีที่ท้าทายอย่างมากของธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล จากสถานการณ์ราคาของสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีแนวโน้มลดลง เอ็กซ์สปริง ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทเอ็กซ์สปริง อัลไลแอนส์ จำกัด จึงได้ประเดิมเฟสแรกของการก้าวเข้าสู่ธุรกิจปล่อยสินเชื่อเงินสดด้วยการเปิดให้บริการเทิร์นสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นวงเงินสดพร้อมใช้ ร่วมกับ

Read More

“เรือนแก้ว เกษมสวัสดิ์ศรี” กับภารกิจ ติดสปริง “เคทีซี พี่เบิ้ม” พร้อมโตแบบก้าวกระโดด

เคทีซีประกาศสร้างกำไรนิวไฮระลอกใหม่ ชู “เคทีซี พี่เบิ้ม” สินเชื่อมีหลักประกัน สู่การเป็น New S Curve พร้อมปรับเป้าการเติบโตแบบก้าวกระโดด จาก 1,000 ล้านบาท สู่ 11,500 ล้านบาทในปี 2565 ภายใต้การนำของผู้บริหารรุ่นใหม่อย่าง “เรือนแก้ว เกษมสวัสดิ์ศรี” แม้ว่าปีที่ผ่านมาเป็นอีกหนึ่งปีแห่งความท้าทายของภาคธุรกิจในยุคโควิด-19 แต่บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เคทีซี ยังคงขับเคลื่อนองค์กรก้าวข้ามความท้าทายและสามารถสร้างผลกำไรในระดับที่วางไว้ อีกทั้งยังประกาศเดินเครื่องธุรกิจในปี 2565 ตั้งเป้าดันพอร์ตเกินแสนล้านบาท เพื่อสร้างกำไรนิวไฮระลอกใหม่หลังวิกฤตโควิด-19 นายระเฑียร ศรีมงคล ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เคทีซี เชื่อมั่นว่าในอนาคตอันใกล้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดี และเป็นโอกาสที่จะผลักดันธุรกิจของเคทีซีให้เติบโตและมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างสถิติใหม่ของการทำกำไรสูงสุดมากกว่า 6 พันล้านบาท กับพอร์ตสินเชื่อที่เกินแสนล้านบาท โดยกลยุทธ์หลักในปีนี้จะเน้นขยายธุรกิจสินเชื่อมีหลักประกันอย่าง “เคทีซี พี่เบิ้ม” และพัฒนาแพลตฟอร์ม “MAAI BY KTC” ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ต่อยอดมาจากระบบคะแนนสะสมอย่าง KTC Forever ที่ถือเป็นจุดแข็งของเคทีซี

Read More

เคทีซีไปต่อ เขย่าแผนธุรกิจสู้โควิด-19 ดันกำไรครึ่งปี 3,352 ล้านบาท

เคทีซีไปต่อ เขย่าแผนธุรกิจสู้โควิด-19 ดันกำไรครึ่งปี 3,352 ล้านบาท เดินหน้าขยายขอบเขตธุรกิจสินเชื่อ รักษาฐานสมาชิกและช่วยเหลือผู้เดือดร้อน เคทีซีแจ้งกำไรสุทธิครึ่งปีแรกโต 20.1% เท่ากับ 3,352 ล้านบาท ส่วนของกำไรสุทธิไตรมาส 2 เท่ากับ 1,703 ล้านบาท แม้จะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ต่อเนื่องมาถึงระลอก 3 โดยใช้ประสบการณ์ปรับกลยุทธ์ในการทำธุรกิจเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้การดำเนินงานโดยรวมยังผ่านไปได้ดี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวมเพิ่มขึ้น ในขณะที่ NPL อยู่ในระดับใกล้เคียงเดิม พร้อมเดินหน้าครึ่งปีหลังขยายธุรกิจสินเชื่อมีหลักประกันให้ครบวงจร รักษาฐานสมาชิกและบริหารคุณภาพพอร์ตลูกหนี้ ช่วยเหลือผู้เดือดร้อนจากโควิด-19 ร่วมกับองค์กรการกุศลต่างๆ และขยายเวลาช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ตามมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ภาพรวมของอุตสาหกรรมสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในช่วง 6 เดือนของปีนี้ยังคงเติบโต ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนจากการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 สำหรับภาพรวมการดำเนินงานธุรกิจของเคทีซียังผ่านไปได้ดี โดยเรียนรู้จากประสบการณ์มาเป็นเข็มทิศในการปรับแผนกลยุทธ์เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยสิ้นเดือนพฤษภาคม

Read More

เคทีซีเตรียมทุ่ม 594.396 ล้านบาท ซื้อหุ้น 75.05% ในเคทีบี ลีสซิ่ง รุกสู้ศึกธุรกิจสินเชื่อมีหลักประกัน

เคทีซีเผยคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติอนุมัติให้เคทีซีเข้าซื้อหุ้นสามัญของเคทีบี ลีสซิ่ง ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ ในสัดส่วน 75.05% จากธนาคารกรุงไทย ด้วยมูลค่าการลงทุน 594.396 ล้านบาท เพื่อขยายธุรกิจในอนาคต สร้างโอกาสสู่การเป็นผู้นำในธุรกิจสินเชื่อที่ครบวงจรเบ็ดเสร็จ ทั้งสินเชื่อมีหลักประกันและสินเชื่อไม่มีหลักประกัน โดยจะขอมติอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ในเดือนเมษายน 2564 นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ วันนี้ (10 กุมภาพันธ์ 2564) ได้อนุมัติให้ “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เข้าลงทุนในบริษัท กรุงไทยธุรกิจ ลีสซิ่ง จำกัด หรือ “เคทีบี ลีสซิ่ง” ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ในเครือธนาคารกรุงไทย ด้วยการซื้อหุ้นสามัญจำนวนทั้งสิ้น 75,050,000 หุ้น (เจ็บสิบห้าล้านห้าหมื่นหุ้น) คิดเป็น

Read More

เคทีซีลดดอกเบี้ยฯ สินเชื่อบุคคล ช่วยสู้วิกฤติโควิด-19 เหลือ 0.93% ต่อเดือน

“เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) อยากเห็นคนไทยยิ้มสู้ ประกาศจัดแคมเปญพิเศษต่อเนื่อง ลดอัตราดอกเบี้ยฯ สินเชื่อบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” เหลือ 0.93% ต่อเดือน หรือ 19.99% ต่อปี เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระพนักงานประจำหรือเจ้าของกิจการที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินสดในการดำรงชีวิตหรือทำธุรกิจ ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังมีความผันผวนสูงจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ โดยผู้สมัครสินเชื่อและได้รับการอนุมัติภายในวันที่ 1 มกราคม 2564 – 30 เมษายน 2564 จะได้รับอัตราดอกเบี้ยฯ พิเศษ คำนวณแบบลดต้นลดดอกเพียง 19.99% ต่อปี หรือคำนวณเป็นอัตราดอกเบี้ยฯ คงที่แบบประมาณการ 0.93% ต่อเดือน นานสูงสุด 36 งวด เมื่อมียอดรับเงินโอนก้อนแรกตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป ผู้สมัครสินเชื่อฯ จะได้รับบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” พร้อม 4 ฟังก์ชั่นการใช้งานในบัตรเดียว

Read More

แบงก์เข้มงวดสินเชื่อ ส่งอสังหาฯ ทรุดหนัก

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ภาคธุรกิจหลากหลายได้รับผลกระทบอย่างหนัก ขณะที่ความกังวลใจต่อการตั้งสำรองหนี้เสีย หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ทำให้สถาบันการเงินจัดวางมาตรการที่เข้มงวดในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นและกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการชะลอตัวในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างหนัก การหดตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน ในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศที่หดตัวลดลง ควบคู่กับการหายไปของกลุ่มลูกค้าต่างชาติ และการสะสมของปริมาณสินค้าในตลาดจำนวนมาก ขณะที่ปัจจัยลบที่สำคัญที่สุดอยู่ที่การเข้มงวดในการพิจารณาสินเชื่อที่อยู่อาศัยรายย่อยของสถาบันการเงิน ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมานาน และยิ่งทวีความเข้มงวดมากขึ้นในช่วงหลังๆ นับตั้งแต่การออกมาตรการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ (LTV) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขณะเดียวกันผลพวงของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ธุรกิจต่างๆ ต้องหยุดชะงัก ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจในประเทศหรือธุรกิจส่งออก ซึ่งทำให้ธุรกิจหลากหลายต้องปิดกิจการไป ส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้บริโภค ซึ่งเป็นพนักงานในธุรกิจเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการถูกลดเงินเดือนลงหรือขาดรายได้จากการตกงานเพราะถูกเลิกจ้าง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการพิจารณาสินเชื่อเมื่อผู้บริโภคยื่นขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย กรณีดังกล่าวเห็นได้ชัดจากยอดการปฏิเสธสินเชื่อที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา โดยล่าสุดอัตราการปฏิเสธสินเชื่อปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ในระดับร้อยละ 50-60 สำหรับกลุ่มที่อยู่อาศัยราคา 2-3 ล้านบาท ส่วนกลุ่มที่อยู่อาศัย 5-7 ล้านบาท ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 30-40 ขณะที่กลุ่มที่อยู่อาศัยระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไปอัตราการปฏิเสธสินเชื่ออยู่ที่ร้อยละ 10-15 ซึ่งถือว่าสูงมากที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 เป็นต้นมา ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการปฏิเสธสินเชื่อในอัตราที่สูงขึ้นดังกล่าวเกิดจากผลของการเข้มงวดการพิจารณาปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน และภาระการตั้งสำรองหนี้เสีย หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้น โดยในช่วง

Read More

เคทีซี เปิดตัว “เคทีซี พี่เบิ้ม” รุกชิงเค้กสินเชื่อทะเบียนรถ ชุจุดแข็งวงเงินใหญ่ อนุมัติไว

“เคทีซี พี่เบิ้ม” รุกชิงเค้กสินเชื่อทะเบียนรถ เจาะกลุ่มคนไม่ท้อทุกอาชีพ ชุจุดแข็งวงเงินใหญ่ อนุมัติไวถึงที่ รับเงินทันที เคทีซีเปิดตัวธุรกิจสินเชื่อใหม่อย่างเป็นทางการ “เคทีซี พี่เบิ้ม” ฝีมือสตาร์ทอัพคนรุ่นใหม่ นำเสนอบริการครอบคลุม “สินเชื่อทะเบียนรถยนต์” “สินเชื่อทะเบียนรถจักรยานยนต์” เป็นทางเลือกให้คนไม่ท้อทุกกลุ่มอาชีพ เข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างถูกต้อง โปร่งใส เป็นธรรม และสามารถใช้ชีวิตไปต่อได้อย่างที่ต้องการ โดดเด่นด้วย 3 จุดแข็ง วงเงินใหญ่ อนุมัติไวถึงที่และได้รับเงินทันที โดยใช้เทคโนโลยีผสมผสานคนทำงานในการอนุมัติสินเชื่อ ตั้งเป้าปี 2564 มีพอร์ตสินเชื่อ 1,000 ล้านบาท นางสาวเรือนแก้ว เกษมสวัสดิ์ศรี ผู้อำนวยการ – ธุรกิจสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม” บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงจุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถว่า “เคทีซีได้มองหาโอกาสทางธุรกิจที่จะเพิ่มแหล่งรายได้ใหม่ให้กับบริษัทฯ และเพื่อให้ตอบโจทย์กับโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงฉับไว จึงได้สร้างทีมเล็กๆ ขึ้นมาทำงานในลักษณะเดียวกับสตาร์ทอัพ โดยรวมตัวคน 6 คนจากหน่วยงานหลักต่างๆ ของเคทีซี ตามแผนกลยุทธ์การเป็นองค์กรคล่องตัว (Agile

Read More

สถาบันการเงินปรับตัว เสริมสภาพคล่อง ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน

สภาพเศรษฐกิจปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงชะงักงัน อันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงไม่คลี่คลาย และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อัตราการว่างงานพุ่งสูงขึ้น ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการรายเล็กและเอสเอ็มอี หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งสถาบันการเงินและภาครัฐต่างเร่งเสริมสภาพคล่องเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงที่มีอยู่รอบด้าน สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ แถลงสภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ของปี 2563 พบจีดีพี -12.2% ต่อปี ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 1 ที่ผ่านมา และคาดว่าทั้งปีจะปรับตัวลดลง -7.8% ถึง -7.3% ซึ่งลดลงจากเดิมที่คาดไว้ว่าจะหดตัวอยู่ที่ -5.5% ต่อปี สถานการณ์การจ้างงานไตรมาส 2 ผู้มีงานทำมีจำนวน 37.1 ล้านคน โดยตัวเลขการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 7.5 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.95% เพิ่มขึ้น 1 เท่าจากอัตราว่างงานปกติ ถือเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 11 ปี นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2552 โดยสาเหตุหลักมาจากการเลิกจ้างและธุรกิจปิดกิจการ ฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจไตรมาส 2

Read More

ระเบิดเศรษฐกิจปลุกผี หนี้นอกระบบฟื้นคืนชีพ

ผลพวงจากพิษเศรษฐกิจกำลังปลุกผีเจ้าหนี้นอกระบบฟื้นคืนชีพอย่างแข็งแกร่งอีกครั้ง แผ่นโฆษณาแปะติดทั่วเสาไฟฟ้าตามโรงงาน สะพานลอยและหว่านเจาะเข้าถึงหน้าประตูบ้านสะท้อนสัญญาณอันตราย จำนวนคนที่ตัดสินใจฆ่าตัวตายหนีหนี้ ตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่พุ่งกระฉูดต่อเนื่อง และที่สำคัญ ระเบิดเศรษฐกิจ 3 ลูกใหญ่ที่รัฐบาลยังแก้ไม่ตกกลายเป็นต้นตอที่สามารถก่อวิกฤตครั้งใหญ่ได้ทุกเมื่อ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนา “2020 ปีแห่งการลงทุน : ทางออกประเทศไทย” เมื่อปลายสัปดาห์ก่อน ยอมรับว่าประเทศไทยในขณะนี้ยังหาคำตอบที่เหมาะสมไม่ได้ เนื่องจากเจอพายุเป็นเหมือนระเบิดถล่มหนัก 3 ลูก ลูกแรกเป็นระเบิดเหนือน้ำ เรื่องการส่งออกที่ค่อยๆ ชะลอตัวลงจากสงครามการค้าสหรัฐฯ กับจีน ทำให้การส่งออกติดลบถึง 7.7% เมื่อเดือน พ.ย. 2562 เมื่อโลกสะเทือนจึงควบคุมไม่ได้เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยพึ่งพาส่งออกถึง 70% ของจีดีพี ระเบิดลูกที่ 2 อยู่ใต้น้ำและมีหลายลูก เช่น โครงการลงทุนขนาดใหญ่เคลื่อนตัวช้าเกินไป งบประมาณแผ่นดินล่าช้า ที่สำคัญงบลงทุนแทบใช้ไม่ได้ ล่าสุดมีการใช้จ่ายงบลงทุนเพียง 50,000 ล้านบาท ส่งผลให้งบประมาณที่เคยเป็นตัวขับเคลื่อนใหญ่ของประเทศหยุดชะงัก ระเบิดลูกที่ 3 ค่าเงินบาท เพราะไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่า เกิดจากโครงสร้างเศรษฐกิจไทย การส่งออกติดลบ ขณะที่การนำเข้าลดลงมากกว่า

Read More

Gen Y กับวลี ‘ของมันต้องมี’ หนี้ครัวเรือนก็ต้องมา

นับเป็นอีกปีที่ไทยต้องเผชิญมรสุมที่พัดกระหน่ำมาจากรอบด้าน งานหนักของรัฐไทยชุดปัจจุบันที่ต้องนำพารัฐนาวาให้ผ่านพ้นวิกฤตเลวร้ายไปให้ได้ แม้ว่าผู้ใหญ่ในรัฐบาลหลายคนจะเอื้อนเอ่ยถ้อยคำที่คล้ายให้กำลังใจตนเองมากกว่าว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่ถดถอย ไม่วิกฤต เพียงแต่ไร้แรงขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างเต็มกำลัง ส่วนหนึ่งของต้นเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจไทยไร้แรงขับเช่นในปัจจุบัน นั่นเพราะสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะชะงักงัน และอิทธิพลของสงครามการค้าที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นมูลเหตุของปัจจัย แน่นอนว่า จีนไม่ใช่ประเทศที่จะยอมอ่อนข้อหรือเป็นผู้ถูกกระทำอยู่ฝ่ายเดียว เราจึงได้เห็นการโต้ตอบชนิดที่เรียกว่า สวนกันหมัดต่อหมัดบนเวทีการค้าโลก กระนั้นการระรานของสหรัฐฯ ยังขยายอิทธิพลไปในอีกหลายประเทศทั่วโลก และไทยเองที่เป็นเพียงประเทศคู่ค้า เหมือนจะถูกระลอกคลื่นของสงครามครั้งนี้ในทุกระนาบ ประกอบกับสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง เครื่องจักรที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยหลายตัวที่หากไม่ดับสนิท แต่ก็ไม่สามารถกู้สัญญาณชีพให้ฟื้นขึ้นมาได้ในเร็ววัน ทั้งภาคการส่งออก การท่องเที่ยว การชะลอตัวของการลงทุนภาครัฐ ที่ส่งผลต่อการลงทุนของภาคเอกชนไปโดยปริยาย ปัญหาสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันไม่ได้เกิดขึ้นในระดับบนของระบบเท่านั้น ทว่าปัญหากลับแทรกซึมเข้าสู่เนื้อในของเครื่องจักร ทำให้แม้แต่ฟันเฟืองตัวเล็กๆ ก็ยากที่จะขับเคลื่อนได้เฉกเช่นวิกฤตที่ผ่านๆ มา ปีนี้นับเป็นอีกปีที่ภาคเอกชนเรียกร้องให้ภาครัฐเร่งหามาตรการออกมาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทว่า ไทยยังต้องเผชิญกับยุคเข็ญทางเศรษฐกิจไปอีกพักใหญ่ เมื่อยังต้องอาศัยอานิสงส์จากกระแสลมบวกจากภายนอกเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่ารัฐจะหามาตรการใดออกมาใช้ แต่ดูเหมือนว่าชีพจรที่ควรจะฟื้นกลับมาเต็มสูบ ทำได้เพียงแผ่วเบา มีเพียงลมหายใจรวยรินที่ยังประคองชีพให้อยู่ไปได้แบบวันต่อวัน ขณะที่สิ่งที่น่ากังวลสำหรับเศรษฐกิจไทยในห้วงยามนี้ น่าจะเป็นปัญหาหนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และสัดส่วนที่ส่งผลให้หนี้ครัวเรือนของไทยสูงขึ้นนั้นมาจากกลุ่มคน Gen Y นี่เป็นอีกประเด็นที่สร้างความวิตกกังวลให้กับนักเศรษฐศาสตร์ไทย เมื่อคน Gen Y เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลในสังคมปัจจุบันในหลายแง่มุม Gen Y เป็นคนที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2523-2540 ปัจจุบันคนกลุ่มนี้อยู่ในวัยที่ต้องการสร้างฐานะและความมั่นคง มีอิสระทางความคิด มั่นใจในตัวเอง เข้าถึงเทคโนโลยี ซึ่งกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของกลุ่มธุรกิจหรือนักการตลาด เพราะมีรายได้ค่อนข้างสูง แม้ตัวเลขรายจ่ายต่อเดือนจะวิ่งควบตามหลังรายได้มาติดๆ การใช้จ่ายของ Gen

Read More