Home > อิปซอสส์

หนี้พุ่งเบรกนักชอป เมื่อสภาพคล่องเข้าขั้น “แย่”

หนี้ครัวเรือนยังเป็นปัญหารุนแรงและสาหัสมากขึ้นหลังการแพร่ระบาดโควิด-19 เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักส่งผลให้ผู้คนขาดรายได้ หรือรายได้หดหายไปนานเกือบปี ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาระบุว่า ไตรมาส 1 ของปี 2564 ยอดหนี้ครัวเรือนพุ่งสูงไปถึง 14.1 ล้านล้าน เท่ากับ 90.5% ของ GDP ส่งผลให้ตัวเลขหนี้เสีย (NPL) ในไตรมาส 2 สูงขึ้น โดยกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากและทำให้เกิด NPL คือ 1. กลุ่มค้าส่งและค้าปลีก จำนวน 127,338 ราย 2.กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต 121,150 ราย 3. กลุ่มการบริโภคส่วนบุคคล 150,369 ราย 4. กลุ่มที่อยู่อาศัย 94,250 ราย ด้านสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินครัวเรือนไตรมาส 1 ปี 2564 ที่เพิ่มสูงขึ้น 4.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่น่าสนใจคือ

Read More

อิปซอสส์ (Ipsos) เผยผลสำรวจผลกระทบในช่วงโควิด

คนไทย 1 ใน 3 ต้องการเงินช่วยเหลือจากรัฐฯ ถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดจะยืดเยื้อมากว่า 10 เดือนแล้ว ประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังคงมีความกังวลต่อการติดเชื้อไม่เสื่อมคลาย จากผลสำรวจพบว่าประเทศที่ประชาชนมีความกังวลต่อการติดเชื้อน้อยที่สุดคือสิงคโปร์ ตามมาด้วย ประเทศไทย ซึ่งในไทยนั่นมีประชาชนเพียง 30 % ที่ยังมีความกังวลต่อการติดเชื้อในระดับสูง ในขณะที่ 61 % ของประชากรมาเลเซีย และ 73% ของฟิลิปปินส์ หรือเกินครึ่งของประชากรทั้ง 2 ประเทศนั่นยังมีความกังวลและระแวดระวังต่อการติดเชื้อที่ยังอยู่ในระดับสูง การปรับตัวและมุมมองต่อสถานการณ์โควิด-19 ณ ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือราว 81% เชื่อว่าต้องรอจนถึงปี 2021 ก่อนที่วัคซีนจะสามารถผลิตและถูกแจกจ่ายถึงคนในวงกว้าง ระยะเวลาอันยาวนานนี้ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ต้องปรับตัว โดยมีประชากรถึง 37% ในภูมิภาคที่ได้ปรับตัวและมีความคุ้นชินต่อการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 แล้ว อย่างไรก็ตามประชากรกึ่งหนึ่งหรือราว 16% เริ่มเห็นสัญญาณว่ามาตรการล็อกดาวน์และรักษาความปลอดภัยต่างๆ จะค่อยๆ ถูกทยอยผ่อนคลายหรือยกเลิกในเร็ววัน หากดูภาพรวมของทั้งภูมิภาคแล้ว 1 ใน 2 ของประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รู้สึกค่อนข้างปลอดภัยที่จะไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหารนอกบ้าน ไปเยี่ยมบ้านเพื่อน หรือใช้บริการขนส่งสาธารณะ ซึ่งระดับความเชื่อมั่นนี้แตกต่างไปในแต่ละประเทศ ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ เช่น

Read More

ระวัง! เวฟ 2 “อิปซอสส์” เผย ธุรกิจไทยไม่ได้เคร่งมาตรการ 100%

ผลวิจัยของอิปซอสส์ชี้ ธุรกิจไทยยังไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรการด้านสุขอนามัยเท่าที่ควร โดยเฉพาะธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารจานด่วน (QSR: Quick Service Restaurants) ที่ปฏิบัติตามมาตรการเฉลี่ยไม่ถึง 70% ขณะที่หลายประเทศทั่วโลกเดินหน้าคลายล็อคดาวน์เพื่ออุ้มเศรษฐกิจ สัญญาณการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกที่สองก็เริ่มปรากฏในประเทศอย่างจีนและเกาหลีใต้ ความเสี่ยงในการกลับมาแพร่ระบาดซ้ำนี้ชี้ย้ำว่าประเทศไทยยังต้องระมัดระวังและปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดระลอกใหม่ เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดยังคงอยู่ ธุรกิจและประชาชนจึงยังไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ อิปซอสส์ (Ipsos) ได้เผยผลการศึกษาดัชนีสุขภาพและความปลอดภัย (Health and Safety Index) ที่เป็นการสำรวจสถานประกอบการทั่วประเทศของกว่า 22 แบรนด์ใน 5 ภาคธุรกิจ โดยคำนวณดัชนีรวมจากการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยของรัฐบาลและการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดต่าง ๆ เช่น การจำกัดจำนวนผู้เข้าใช้บริการ, การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และการสวมหน้ากากอนามัย เป็นต้น ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ธุรกิจไทยถึง 99.6% ให้ความร่วมมือกับมาตรการด้านสุขอนามัยของรัฐบาล โดยมีการให้ผู้บริโภคสแกนคิวอาร์โค้ดผ่านแอปพลิเคชัน ‘ไทยชนะ’ ก่อนเข้า-ออกร้าน อย่างไรก็ดีต้องยอมรับว่ายังคงมีหลายมาตรการที่ภาคธุรกิจไม่ได้ปฏิบัติตามเท่าที่ควร โดยจากผลสำรวจพบว่ามีเพียง 67.8% จากสถานประกอบการที่สำรวจทั้งหมดที่มีมาตรการจำกัดจำนวนผู้เข้าใช้บริการ และมีเพียง 79.5% เท่านั้นที่มีการตรวจวัดไข้ลูกค้าก่อนเข้าร้าน ในขณะเดียวกันหากมองจากฝั่งของลูกค้าแล้ว พบเหตุการณ์ที่ลูกค้าไม่ได้เว้นระยะห่างกันตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)

Read More