Home > ปัญหาหนี้ครัวเรือน

เศรษฐกิจไทยทรุดหนัก หนี้ครัวเรือนโตแซงจีดีพี

นอกจากสถานการณ์ฝุ่นพิษขนาดจิ๋ว หรือ PM2.5 ที่กำลังคุกคามความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมไทยอย่างหนักหน่วงแล้ว ดูเหมือนว่าภัยคุกคามทางเศรษฐกิจลูกใหม่กำลังก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ และพร้อมที่จะสร้างผลกระทบสั่นสะเทือนสังคม เศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปไม่น้อยเลย หนี้ครัวเรือนไทยในช่วงปี 2563 หรือระยะนับจากนี้ ได้รับการคาดหมายว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ใกล้เคียงหรือแม้กระทั่งมีโอกาสที่จะเติบโตเร็วกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยข้อมูลล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่าแม้หนี้ครัวเรือนของไทยในไตรมาส 3/2562 มียอดคงค้างที่ 13.239 ล้านล้านบาท ชะลอการเติบโตลงมาที่ร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ซึ่งนับว่าต่ำที่สุดในรอบ 6 ไตรมาส หากแต่หนี้ครัวเรือนที่ชะลอตัวลงดังกล่าว เป็นผลมาจากฐานเปรียบเทียบที่สูงในช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสต่อไตรมาส ยังคงเห็นยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนขยับขึ้นเร็วกว่าการเติบโตของมูลค่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกด้วยซ้ำ และมีความเป็นไปได้ที่จะเห็นสัดส่วนหนี้ครัวเรือนในปี 2563 ขยับขึ้นไปอยู่ในกรอบประมาณร้อยละ 80.0-81.5 ต่อจีดีพีเลยทีเดียว สถานการณ์หนี้ครัวเรือนในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เป็นผลทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีของไทยขยับไล่ระดับขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 79.1 ในไตรมาสที่ 3/2562 สูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี จากระดับร้อยละ 78.7 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ซึ่งสภาพการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับผลสำรวจสถานการณ์หนี้สินและเงินออมของครัวเรือนปี 2562 ซึ่งพบว่าร้อยละ 44 ของผู้กู้-ครัวเรือนที่มีหนี้ มีภาระหนี้หรือเป็นหนี้เพิ่มขึ้น แม้ว่าผลสำรวจดังกล่าวจะสะท้อนภาพและมีจุดเน้นอยู่ที่ครัวเรือนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นด้านหลัก

Read More

ภาระหนี้ครัวเรือน ภัยร้ายเศรษฐกิจไทย

ความเป็นไปว่าด้วยภาระหนี้ครัวเรือนของไทยที่กำลังไต่ระดับเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) กำลังสะท้อนความเปราะบางทางเศรษฐกิจโดยรวมของชาติอย่างยากจะปฏิเสธ และเป็นเหตุให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแสดงความกังวลต่อสัญญาณลบที่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ ข้อมูลตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเห็นได้จากแนวโน้มหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่ปรับตัวขึ้นจากร้อยละ 77.7 ในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2561 มาสู่ที่ระดับร้อยละ 77.8 เมื่อสิ้นสุดไตรมาสที่ 3 โดยอัตราหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีของไทยปรับสูงขึ้นเป็นร้อยละ 78.6 เมื่อสิ้นปี 2561 และมียอดคงค้าง 12.8 ล้านล้านบาท ขณะที่สถานการณ์ในปี 2562 คาดว่าหนี้ครัวเรือนมีโอกาสที่จะปรับสูงขึ้นไปสู่ระดับร้อยละ 79.5 อีกด้วย ภาระหนี้ครัวเรือนที่ปรับตัวขึ้นส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากภาระหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบัตรเครดิตและการขยายธุรกิจ ซึ่งในระยะนับจากนี้หนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก เมื่อพิจารณาจากสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากกรณีที่ภาครัฐส่งเสริมให้การกู้นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น ซึ่งถือเป็นกรณีที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและต้องมีการศึกษารายละเอียดให้ชัดเจนว่าการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนเป็นหนี้ที่สร้างมูลค่า มีสินทรัพย์ หรือใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคเท่านั้น เพราะอาจมีผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ ประเด็นที่น่าสนใจของการเปลี่ยนหนี้จากนอกระบบเข้ามาในระบบอยู่ที่แม้สถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นจะเป็นผลมาจากการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินเพื่อรับบริการทางการเงินและสินเชื่อซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดีต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวม เนื่องจากสามารถลดภาระดอกเบี้ยจากสินเชื่อนอกระบบที่มีการคิดอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าในระบบมาก โดยในปัจจุบันสินเชื่อในระบบคิดอัตราดอกเบี้ยในระดับร้อยละ 28 ต่อปีสำหรับการบริการสินเชื่อบุคคล และร้อยละ 36 ต่อปีสำหรับนาโนไฟแนนซ์ ขณะเดียวกันการเข้าถึงสินเชื่อในระบบที่สามารถทำได้สะดวกขึ้น จากการใช้ข้อมูลต่างๆ เข้ามาร่วมในการวิเคราะห์ให้สินเชื่อ นอกเหนือจากการใช้เพียงรายการเดินบัญชีของธนาคารเท่านั้น ยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า ผู้ขับจักรยานยนต์รับจ้าง และผู้ประกอบอาชีพอิสระมากขึ้น อย่างไรก็ดี ภายใต้สถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ในอัตราที่ต่ำมาเป็นเวลานาน ได้กลายเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดการก่อหนี้ที่สูงขึ้น เพราะต้นทุนการกู้ต่ำ ขณะที่การออมก็ได้รับผลตอบแทนต่ำจึงไม่จูงใจให้เกิดการออม

Read More

เร่งเครื่อง Debt Clinic ภารกิจล้างหนี้แสนล้าน

รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา งัดปฏิบัติการล้างหนี้นอกระบบและลดหนี้ครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเปิดโครงการสินเชื่อรายย่อยเพื่อผู้ประกอบอาชีพ (นาโนไฟแนนซ์) โครงการสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (พิโกไฟแนนซ์) จนล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตัดสินใจกดปุ่มเริ่มงาน “คลินิกแก้หนี้ (Debt Clinic)” เมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยตั้งเป้าแก้ปัญหาหนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด และหนี้ส่วนบุคคลของลูกหนี้ที่มีหนี้หลายทางและค้างชำระเกิน 3 เดือน หวังล้างหนี้ครั้งใหญ่ของลูกหนี้จำนวน 5 แสนราย มูลค่ามากกว่า 1 แสนล้านบาท ตามแผนของ ธปท. “คลินิกแก้หนี้” มีบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (SAM) หรือ บสส.ทำหน้าที่บริหารจัดการทั้งหมด หรือ “One Stop Service” เชื่อมโยงระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้แบบครบวงจร ตั้งแต่ตรวจคุณสมบัติลูกหนี้ที่ยื่นเข้าโครงการ เจรจาหารือ พิจารณาปรับปรุงโครงสร้างหนี้-รับชำระหนี้ การติดตามรายงานผลต่อเจ้าหนี้ รวมถึงเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาความรู้ ปรับพฤติกรรมการใช้จ่าย เพื่อสร้างวินัยทางการเงิน นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ

Read More