Home > ภาวะเศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทยทรุดหนัก หนี้ครัวเรือนโตแซงจีดีพี

นอกจากสถานการณ์ฝุ่นพิษขนาดจิ๋ว หรือ PM2.5 ที่กำลังคุกคามความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมไทยอย่างหนักหน่วงแล้ว ดูเหมือนว่าภัยคุกคามทางเศรษฐกิจลูกใหม่กำลังก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ และพร้อมที่จะสร้างผลกระทบสั่นสะเทือนสังคม เศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปไม่น้อยเลย หนี้ครัวเรือนไทยในช่วงปี 2563 หรือระยะนับจากนี้ ได้รับการคาดหมายว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ใกล้เคียงหรือแม้กระทั่งมีโอกาสที่จะเติบโตเร็วกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยข้อมูลล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่าแม้หนี้ครัวเรือนของไทยในไตรมาส 3/2562 มียอดคงค้างที่ 13.239 ล้านล้านบาท ชะลอการเติบโตลงมาที่ร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ซึ่งนับว่าต่ำที่สุดในรอบ 6 ไตรมาส หากแต่หนี้ครัวเรือนที่ชะลอตัวลงดังกล่าว เป็นผลมาจากฐานเปรียบเทียบที่สูงในช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสต่อไตรมาส ยังคงเห็นยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนขยับขึ้นเร็วกว่าการเติบโตของมูลค่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกด้วยซ้ำ และมีความเป็นไปได้ที่จะเห็นสัดส่วนหนี้ครัวเรือนในปี 2563 ขยับขึ้นไปอยู่ในกรอบประมาณร้อยละ 80.0-81.5 ต่อจีดีพีเลยทีเดียว สถานการณ์หนี้ครัวเรือนในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เป็นผลทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีของไทยขยับไล่ระดับขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 79.1 ในไตรมาสที่ 3/2562 สูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี จากระดับร้อยละ 78.7 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ซึ่งสภาพการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับผลสำรวจสถานการณ์หนี้สินและเงินออมของครัวเรือนปี 2562 ซึ่งพบว่าร้อยละ 44 ของผู้กู้-ครัวเรือนที่มีหนี้ มีภาระหนี้หรือเป็นหนี้เพิ่มขึ้น แม้ว่าผลสำรวจดังกล่าวจะสะท้อนภาพและมีจุดเน้นอยู่ที่ครัวเรือนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นด้านหลัก

Read More

เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ฉุดไทยไปไม่พ้นภาวะชะงักงัน

แม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงต้นปี 2562 จะมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้น จากเหตุปัจจัยว่าด้วยกำหนดการเลือกตั้งที่คาดว่าได้สร้างความตื่นตัวทางเศรษฐกิจกว่า 5 หมื่นล้านบาทมาช่วยหนุน ควบคู่กับปริมาณนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เริ่มทยอยกลับมาสร้างสีสันให้กับการท่องเที่ยวไทยอีกครั้ง หากแต่ภายใต้สถานการณ์ความชะลอตัวทางเศรษฐกิจระดับนานาชาติที่ดำเนินต่อเนื่องจากเหตุของข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา รวมถึงกรณีว่าด้วยการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร หรือ BREXIT ที่ยังคงยืดเยื้อหาข้อสรุปที่พึงประสงค์ระหว่างกันไม่ได้ ได้กลายเป็นปัจจัยกดทับให้เศรษฐกิจไทยยังอยู่ในภาวะชะงักงันต่อเนื่องออกไปอีก ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ข้อพิพาทระหว่างจีน-สหรัฐอเมริกามีความผ่อนคลายลงจากการประกาศขยายเวลาการเก็บภาษีสินค้าจากจีนจากอัตราเดิมร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 25 ออกไปอีก 90 วันนับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2562 ซึ่งถือเป็นการประวิงเวลาให้ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมเจรจาเพื่อแสวงหาทางออกกันอีกครั้ง ซึ่งทำให้สงครามการค้าที่หลายฝ่ายกังวลใจยังไม่ขยายวงและบานปลายมากไปกว่าที่ผ่านมา แต่ความเคลื่อนไหวจากฝั่งฟากยุโรปกลับส่งสัญญาณเตือนถึงปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น โดยการประชุมธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้ระบุถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ปรับลดอัตราเร่งลงมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่แน่นอนที่ยังคงดำเนินต่อไปจากเหตุปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ ภัยคุกคามจากนโยบายกีดกันทางการค้า และความเปราะบางในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ล้วนส่งแรงกระทบต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจยูโรโซน ถ้อยแถลงของธนาคารกลางยุโรป ดำเนินไปท่ามกลางการอ่อนค่าลงของเงินยูโรจนมาสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 21 เดือนในช่วงต้นเดือนมีนาคม ในขณะที่สมาชิก 19 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรร่วมกันในกลุ่มประเทศยูโรโซน เผชิญแรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561 เมื่อเศรษฐกิจของอิตาลีประสบปัญหาจากประเด็นทางการเมืองภายใน และการเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ โดยอัตราขยายตัวของจีดีพีลดลงติดต่อกัน 2 ไตรมาส ขณะที่การถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (BREXIT) ของสหราชอาณาจักร ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนในหลายๆ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกันกับอียูโดยตรง โดยความวิตกกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่แน่นอนและไม่อาจคาดการณ์ได้

Read More

ภาวะเศรษฐกิจไทยปีหน้า ธปท. เตือน 3 ปัจจัยเสี่ยง

ช่วงเวลาไตรมาสสุดท้ายของศักราชนี้ดูจะดำเนินไปด้วยจังหวะเร้าที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนไปในทิศทางที่หลายฝ่ายตั้งความหวัง เพราะหากผลสรุปตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวม การขยายตัวด้านการส่งออก การลงทุนภาคเอกชน เป็นบวก นั่นหมายความว่า ความพยายามอย่างสุดกำลังในเฮือกสุดท้ายของภาครัฐสัมฤทธิผลอย่างเหลือเชื่อ แม้ว่าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จะออกมาแสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจไทยหลายต่อหลายครั้งว่า ทิศทางเศรษฐกิจไทยไร้ปัญหา และยังมีกำลังขับเคลื่อนที่ดีขึ้น กระนั้นถ้อยแถลงของภาครัฐดูจะย้อนแย้งกับสถานการณ์ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เมื่อกระแสเสียงบ่นจากชาวบ้านร้านตลาดกลับเห็นต่าง พร้อมกับโอดครวญถึงความยากลำบากในการทำมาค้าขายในสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นไปได้หรือไม่ว่า ความพยายามของภาครัฐที่พยายามขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และหวังให้ฟันเฟืองทุกตัวหมุนไปพร้อมๆ กันนั้น เป็นเพียงภาพฝันที่สร้างขึ้นเพื่อปลุกปลอบตัวเองไปวันๆ ล่าสุด วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แสดงทัศนะเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจไทยในศักราชหน้า ในงานสัมมนาเศรษฐกิจประจำปี 2561 ว่า “แม้เศรษฐกิจไทยจะสะท้อนการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง กระนั้นยังต้องเฝ้าระวัง 3 ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ มาตรการกีดกันทางการค้า ความผันผวนตลาดเงินตลาดทุนโลก และวัฏจักรดอกเบี้ยที่จะปรับขึ้น” แม้ว่าก่อนหน้านี้ ภาคการส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบจากสงครามทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ อยู่บ้าง แต่ดูเหมือนว่าความขัดแย้งระหว่าง 2 ประเทศมหาอำนาจจะไม่ได้สร้างผลเสียต่อภาคส่งออกของไทยไปเสียทั้งระบบ จะมีก็เพียงสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า กลุ่มซัปพลายเชน ของไทยที่อาจจะติดร่างแหจากมาตรการกีดกันทางการค้าครั้งนี้ เวลานี้แม้สงครามการค้าจะยังไม่สิ้นสุด แต่ไทยอาจได้รับอานิสงส์ โดยเฉพาะด้านการลงทุนในสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีซับซ้อน เพราะไทยนับว่ามีศักยภาพในการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงในเวทีโลก นอกจากนี้สินค้าที่ไทยมีความได้เปรียบทางด้านวัตถุดิบอย่างการแปรรูปยางพารา ซึ่งจีนนำเข้าวัตถุดิบจากไทยเพื่อไปผลิตต่อและส่งออกไปสหรัฐฯ อาจมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยเพิ่มมากขึ้น โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ผลบวกทางตรงของการกระจายฐานการผลิตสินค้าขั้นปลายน้ำ และสินค้าขั้นกลางที่ซับซ้อนในไทยกับการกระจายการลงทุนในกลุ่มสินค้าที่ไทยมีความได้เปรียบด้านวัตถุดิบโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นบรรษัทต่างชาติที่ประกาศเจตนารมณ์แล้ว และบางส่วนที่มีแนวโน้มย้ายฐานมาไทยเพิ่มจากสงครามการค้าอาจช่วยเพิ่มมูลค่า FDI

Read More

สัญญาณส่งออกหดตัว ระเบิดเวลาเศรษฐกิจไทย

ท่ามกลางความอึมครึมของสงครามการค้าระหว่าง 2 มหาอำนาจระดับนำทั้งสหรัฐอเมริกาและจีน ที่กำลังส่งผ่านคลื่นแห่งความกังวลใจและพร้อมจะฉุดรั้งให้เศรษฐกิจของโลกเข้าสู่ภาวะชะลอตัว ดูเหมือนว่าดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจไทยในช่วงตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปีได้แสดงอาการอ่อนไหวและตอบรับ “ภาวะซึมไข้” แล้วอย่างช้าๆ แนวโน้มแห่งอาการซึมไข้ทางเศรษฐกิจของไทยไม่ได้ปรากฏให้เห็นเฉพาะจากตัวเลขในไตรมาสที่ 3 เท่านั้นหากนักวิเคราะห์จำนวนไม่น้อยต่างระบุว่าห้วงเวลานับจากนี้ เศรษฐกิจของไทยกำลังดำเนินไปในทิศทางชะลอตัวต่อเนื่องทั้งในช่วงไตรมาสที่ 4 ส่งท้ายปี และส่งผลซบเซาเลยไปสู่ภาวะเศรษฐกิจในช่วงปี 2562 อีกด้วย ข้อมูลที่นำไปสู่การคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในเชิงลบส่วนหนึ่งตั้งอยู่บนข้อเท็จจริงที่ว่า ตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนกันยายนที่ผ่านมาปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 5.2 ซึ่งนับเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 19 เดือน โดยมีประเด็นว่าด้วยข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาเป็นปัจจัยหลักในการกดทับภาวการณ์เช่นนี้ นักวิเคราะห์จำนวนไม่น้อยประเมินว่าข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในสินค้าหลายประเภท โดยเฉพาะสินค้าส่งออกที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานการผลิตของจีน ขณะเดียวกันก็อาจได้รับผลจากทิศทางการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีนอีกด้วย ความเป็นไปในอีกด้านหนึ่งอยู่ที่ตัวเลขเศรษฐกิจจีนในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2561 ขยายตัวในทิศทางที่ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.5 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2552 แม้ว่าผลของการเร่งการผลิตของภาคอุตสาหกรรมนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2/2561 มาช่วยประคองภาพรวมของการส่งออกในไตรมาสที่ 3/2561 ให้ยังคงขยายตัวร้อยละ 11.2 โดยเฉพาะการเร่งส่งออกของจีนไปยังสหรัฐฯ ซึ่งช่วยประคับประคองเศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 3/2561 ให้ยังเติบโตได้ร้อยละ 6.5 หากแต่ท่ามกลางประเด็นข้อพิพาททางการค้าที่มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ประกอบกับการบริโภคภาคครัวเรือนมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2/2561 ส่งผลให้การผลิตในภาคอุตสาหกรรม (Industrial production) ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องและทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในไตรมาส

Read More

ย้อนพินิจ 4 ปี คสช. เศรษฐกิจไทยในร่างแห??

ความเป็นไปของภาวะเศรษฐกิจไทยในยุคสมัยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ซึ่งดำรงสถานะและดำเนินต่อเนื่องมาจนครบ 4 ปี ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ดูเหมือนจะได้รับการโหมประโคมว่าดำเนินมาอย่างถูกทิศถูกทางและกำลังปรับฟื้นตัวขึ้นอย่างมีอนาคตสดใส ควบคู่กับการเปิดเผยตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2561 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่ามีอัตราขยายตัวที่ระดับร้อยละ 4.8 ซึ่งเป็นการเติบโตที่สูงที่สุดในรอบ 5 ปี หากแต่ภายใต้ตัวเลขสวยหรูที่หน่วยงานภาครัฐพยายามฉายภาพให้สังคมได้รับรู้ กลับยิ่งสะท้อนความเป็นไปที่ขัดต่อความรู้สึกนึกคิดและแตกต่างจากข้อเท็จจริงที่ประชาชนทั่วไปได้สัมผัสอย่างไม่อาจเทียบเคียงกันได้เลย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คืออัตราการขยายตัวทางภาวะเศรษฐกิจของไทยที่รวบรวมโดยธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยนับตั้งแต่ปี 2555 อยู่ในระดับร้อยละ 6.5 ก่อนที่จะถดถอยลงมาเหลือการขยายตัวเพียงร้อยละ2.9 ในปี 2556 และตกต่ำลงไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.8 ในปี 2557 และปรับขึ้นมาเป็นร้อยละ 2.9 ในปี 2559 และร้อยละ 3.2 ในปี 2559 ขณะที่รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2560 ระบุว่ามีการขยายตัวขึ้นร้อยละ 3.9 ตามการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยว สอดคล้องกับเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวชัดเจนและกระจายตัวมากขึ้น อุปสงค์ในประเทศขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากภาครัฐชะลอลงจากปีก่อน เศรษฐกิจไทยขยายตัวดีโดยได้รับแรงส่งสำคัญตลอดทั้งปีจากการส่งออกสินค้าที่ดีขึ้นทั้งในมิติของประเภทสินค้าและตลาด ตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและปริมาณการค้าโลกที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ความมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจไทยของหน่วยงานภาครัฐได้รับการตอกย้ำหนักแน่นยิ่งขึ้นจากตัวเลขล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่นอกจากจะระบุว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1

Read More