Home > ธนาคารออมสิน

รัฐ-สถาบันการเงิน เร่งออกมาตรการ สกัดหนี้ครัวเรือนพร้อมเสริมสภาพคล่อง

รัฐและสถาบันการเงินเร่งออกมาตรการเสริมสภาพคล่องทางเศรษฐกิจและสกัดหนี้ครัวเรือนที่กำลังอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะมีแนวโน้มดีขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อต่อวันเริ่มลดลง แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นยังคงยืดเยื้อและต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยว่า ไตรมาส 3/2564 ตลาดแรงงานไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ส่งผลให้อัตราการว่างงานสูงสุดตั้งแต่มีโควิด โดยมีผู้ว่างงาน 8.7 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานที่ 2.25% ในขณะที่หนี้ครัวเรือนยังขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รายงานจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนล่าสุดไตรมาส 2/2564 เติบโตต่อเนื่อง ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทยไตรมาส 2/2564 ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 14.27 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 89.3% ต่อ GDP ชะลอลงจากระดับ 90.6% ต่อ GDP สูงสุดในรอบ 18 ปี ที่ทำไว้ในไตรมาส 1/2564 สาเหตุหลักมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่สามารถขยายตัวได้ในระดับปกติ ซึ่งนั่นย่อมส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนและสภาพคล่องทางเศรษฐกิจโดยตรง ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2564 ที่ถือเป็นการระบาดของโควิด-19 ระลอกล่าสุด สถาบันการเงินทั้งธนาคารพาณิชย์ นอนแบงก์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมถึงภาครัฐ ต่างเร่งออกมาตรการเพื่อให้การช่วยเหลือลูกค้าและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยสินเชื่อเพิ่มติม พักชำระหนี้

Read More

เศรษฐกิจไทยยังไร้สัญญาณชีพ รัฐเร่งระดมมาตรการกระตุ้นซ้ำ

  สัญญาณชีพของเศรษฐกิจไทยหลังผ่านพ้นไตรมาสที่ 1 ดูเหมือนจะยังไม่มีวี่แววการฟื้นตัวให้ได้เห็นหรือจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่ภาวะภัยแล้งกลายเป็นปัจจัยลบที่ท่วมทับเศรษฐกิจฐานรากให้เผชิญกับวิกฤตหนักหน่วงขึ้นอีก ไม่นับรวมเทศกาลเปิดเทอมที่ขยับใกล้เข้ามาเพิ่มเติมภาระค่าใช้จ่ายแต่ละครัวเรือนอย่างไม่อาจเลี่ยง ความเป็นไปของปรากฏการณ์โดยรอบที่กล่าวมานี้ ในด้านหนึ่งคงไม่สามารถปล่อยให้ดำเนินไปอย่างไร้การใส่ใจดูแลเพราะนอกจากจะเป็นประเด็นแหลมคมที่พร้อมจะขยายผลลุกลามกลายเป็นวิกฤตการณ์ครั้งใหม่แล้ว ดูเหมือนว่ากลไกภาครัฐก็ตระหนักถึงความหนักหน่วงของปัญหาดังกล่าวไม่น้อยเลย ความพยายามส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้าครั้งล่าสุด ปรากฏให้เห็นเมื่อสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจรัฐบาลปัจจุบัน ร่วมการประชุมธนาคารเฉพาะกิจ 3 แห่ง ที่ประกอบด้วย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา “ปัญหาหนี้ครัวเรือน ถือเป็นประเด็นที่น่าเป็นห่วง และได้สั่งการให้ธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส. ดูแลปัญหานี้อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม โดยสั่งการให้ ธ.ก.ส. และธนาคารออมสินสำรวจประชาชนว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนเกิดจากสาเหตุใด ถ้ามาจากเรื่องธุรกิจการค้า และบ้านที่อยู่อาศัยก็ไม่น่าห่วง แต่ถ้าเกิดจากการจับจ่ายใช้สอยก็ต้องรีบดูแลโดยด่วน” ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะเป็นผู้จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ครัวเรือน โดยให้จำแนกว่าเป็นหนี้เพื่อธุรกิจหรือเพื่อการประกอบอาชีพสัดส่วนเท่าใด เป็นหนี้ที่เกิดจากการบริโภคสัดส่วนเท่าใด หากเป็นหนี้เพื่อธุรกิจหรือประกอบอาชีพที่จะทำให้ประชาชนมีรายได้ภายในอนาคตก็ถือว่าเป็นเรื่องจำเป็น ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และหาแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นและป้องกันการก่อหนี้เกินตัว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือฐานรายได้ของประชากรในห้วงเวลาปัจจุบันไม่สอดคล้องกับความเป็นไปของค่าครองชีพ ขณะเดียวกันความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของกลุ่มประชากรนี้เป็นไปอย่างจำกัด และทำให้ต้องพึ่งพาเงินทุนนอกระบบ ซึ่งยิ่งเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์หนี้และทับถมให้พอกพูนอย่างที่ยากจะแก้ไขหรือขจัดให้หนี้สินหมดไปได้จริงๆ มาตรการที่กำลังจะได้รับการนำเสนอในอนาคตจึงอยู่ที่การสั่งการให้ทั้งกระทรวงการคลังและธนาคารออมสินคิดหาและกำหนดรูปแบบการให้สินเชื่อที่สะดวกขึ้น เพื่อให้สินเชื่อรูปแบบใหม่นี้เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการกู้เงินของประชาชน โดยกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยสูงสุดให้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบ ส่วนจะอยู่ที่ระดับใดขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของกระทรวงการคลัง และธนาคารเฉพาะกิจ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้ ขณะที่ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ระบุว่าการปล่อยสินเชื่อในรูปแบบใหม่ที่ได้รับการสั่งการนั้นต้องรอรูปแบบและวิธีการปล่อยสินเชื่อจากกระทรวงการคลังก่อน เพราะ รมว.

Read More