Home > Cover Story (Page 80)

บจธ. เร่งจัดตั้งธนาคารที่ดิน เพิ่มโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ

ที่ดินเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและมีบทบาทสำคัญ ทั้งเป็นปัจจัยการผลิตและศูนย์รวมของความเป็นครอบครัวและชุมชน การขาดแคลนที่ดินทำกินและไม่สามารถเข้าถึงที่ดินอันเกิดจากการกระจุกตัวในการถือครองที่ดินจึงสร้างความเหลื่อมล้ำและปัญหาให้เกิดขึ้นในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดินของภาคการเกษตรอันเป็นรากฐานของประเทศไทย ประเทศไทยมีเนื้อที่ประมาณ 321 ล้านไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทำการเกษตร 102.5 ล้านไร่ จากจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ มีผู้ถือครองที่ดินเพียง 15 ล้านราย โดยที่ 20% แรกของกลุ่มผู้ร่ำรวยที่ดินเหล่านั้น ถือครองที่ดินรวมกันเกือบ 80% ของโฉนดที่ดินทั้งประเทศ บางรายครอบครองที่ดินมากถึง 600,000 ไร่ ขณะที่คนส่วนใหญ่อีก 80% ถือครองที่ดินรวมกันเพียง 20% เท่านั้น ปัญหาขาดแคลนที่ดินทำกินและโอกาสในการเข้าถึงที่ดิน ส่วนหนึ่งเกิดจากการกระจุกตัวของการถือครองและปัญหาการเก็งกำไรที่ดิน ทำให้ที่ดินถูกทิ้งร้างและไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ สูญเสียพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการทำการเกษตร เกษตรกรจำนวนไม่น้อยไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง บางรายต้องเช่าที่ดินจากนายทุน บางรายมีที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์อยู่เพียงเล็กน้อย เมื่อประสบกับปัญหาผลผลิตและนโยบายภาคการเกษตรที่ล้มเหลว ผลผลิตล้นตลาด ราคาตก ก่อให้เกิดภาวะหนี้สิน นำมาซึ่งการสูญเสียที่ดินทำกินในที่สุด เกษตรกรส่วนหนึ่งจำต้องละทิ้งถิ่นฐานและอาชีพเดิม เพื่อเข้ามาหางานทำในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร ชาวนาชาวไร่ที่ประสบปัญหาต่างเรียกร้องให้รัฐบาลผู้มีบทบาทหน้าที่โดยตรงเข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ถือเป็นปัญหาสำคัญ เร่งด่วน และเป็นโจทย์หินของทุกรัฐบาล ที่ผ่านมาภาครัฐพยายามหาหนทางแก้ไข โดยผ่านกระบวนการจัดสรรที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรรายย่อยและผู้ยากไร้ ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับที่ดิน ทั้งรูปแบบการให้เอกสารสิทธิ์ในการถือครองที่ดินแบบพิเศษ การให้สิทธิ์ในการใช้ที่ดินแบบมีเงื่อนไข การให้เช่าซื้อหรือผ่อนส่งระยะยาว ให้สิทธิ์เช่าที่ดินในราคาถูก โดยการนำที่ดินของรัฐบาล ที่สาธารณประโยชน์

Read More

เศรษฐกิจโลกทรุด ต้นเหตุส่งออกไทยติดลบ?

ดูเหมือนว่าฟันเฟืองตัวสำคัญในระบบเศรษฐกิจไทยยากที่จะเข็นขึ้นเสียแล้ว เมื่อการวาดหวังว่าห้วงเวลาสุดท้ายของปี สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของไทยอาจจะกระเตื้องขึ้นบ้าง จะเห็นได้จากบรรยากาศสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เวลานี้ที่คลื่นลมสงบ นั่นเพราะทั้งสองฝ่ายต่างเห็นว่าการฟาดฟันกันด้วยกลยุทธ์ทางภาษีอาจไม่ใช่หนทางที่ดี และเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลทั้งสองฝ่ายต่างพยายามหาทางออกที่เหมาะสม การเว้นวรรคจากการห้ำหั่นกันของสองชาติมหาอำนาจไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศดีขึ้นเท่าใดนัก เมื่อหลายประเทศกำลังประสบกับสภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ หลายประเทศต้องออกมาตรการและนโยบายด้านการเงินและการคลัง โดยหวังว่าจะช่วยกระตุ้นชีพจรให้เครื่องจักรเศรษฐกิจทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อลองพิจารณาชาติมหาอำนาจอย่างจีนที่มีอัตราการเติบโตต่ำสุดในรอบเกือบ 30 ปี ตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าเป้าประสงค์ของรัฐบาลจีน นั่นเพราะปัจจัยทั้งภายในประเทศที่ทำให้ทางการจีนต้องออกมาตรการเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมาบ้าง ทว่า คงไม่ใช่แค่ประชากรในประเทศจีนเท่านั้นที่จะต้องติดตามว่ามาตรการทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่รัฐบาลจีนนำออกมาใช้จะเพียงพอให้เศรษฐกิจจีนหลุดพ้นจากภาวะชะงักงันได้หรือไม่ เมื่อยังมีความเสี่ยงภาคการเงินจากหนี้ที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งนั่นทำให้จีนต้องระวังที่จะใช้นโยบายทางการเงินมากพอสมควร ขณะที่ไทยเองยังต้องติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีน นั่นเพราะจีนถือว่าเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญ และไทยพึ่งพาเศรษฐกิจโลกในสัดส่วนที่สูง ทำให้การส่งออกเชิงดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคม ติดลบ 2.0 เปอร์เซ็นต์ แต่ในรูปเงินบาทหดตัวติดลบ 2.43 เปอร์เซ็นต์ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยออกมาคาดการณ์ว่าในไตรมาส 4/2562 ทางการจีนน่าจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้นโยบายการคลัง ส่งผลให้อัตราการเติบโตของจีนในไตรมาส 4/2562 น่าจะทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.0 และทั้งปี 2562 เศรษฐกิจจีนน่าจะเติบโตที่ร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน อย่างไรก็ดี ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มอ่อนแรงลง และในปี 2563 จะชะลอตัวต่ำลงกว่าในปีนี้ โดยอาจขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 6 ซึ่ง IMF ได้ปรับลดประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนเหลือ 5.8 แล้วในปีหน้า โดยความเสี่ยงจากสงครามการค้าที่ยืดเยื้อและประสิทธิผลในการดำเนินนโยบายแบบขยายตัวของทางการจีนที่น่าจะมีจำกัดมากขึ้นจะเป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อไป แม้สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ

Read More

อนาคตแรงงานไทย บนยุคแห่งการเปลี่ยนผ่าน

สาเหตุการขอปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ คงไม่ใช่สาเหตุความไม่แน่นอนในอนาคตของแรงงานไทยเท่านั้น เมื่อยังมีอีกหลายปัจจัยที่อาจสร้างผลกระทบต่อเหล่ามดงานไทยได้ ทั้งภาคการผลิตของไทยที่กำลังเริ่มมีการปรับเปลี่ยน และหยิบจับเอาเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์มาใช้มากขึ้น การลดจำนวนลงของโรงงานอุตสาหกรรม และนโยบายของภาครัฐที่ต้องการนำไทยให้เข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเหมือนเป็นการบังคับให้แรงงานต้องรู้จักปรับตัว เพื่อให้พร้อมรับกับกระแสของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปทุกขณะ ถ้าไม่อยากถูกทิ้งให้ล้าหลัง ทว่า คำถามคือ แรงงานไทยในปัจจุบันพร้อมแล้วหรือยังที่จะปรับตัวเพื่อ move on หรือสุดท้ายแล้วคือ move on เป็นวงกลม และกลับมาที่ข้อเรียกร้องให้รัฐบาลหาทางแก้ไข เยียวยาในทุกๆ เรื่องไป ข้อมูลจากกระทรวงแรงงานระบุว่า ตลาดแรงงานของไทยมีจำนวนเฉลี่ยราว 37.6 ล้านคน หรือ 56.5 เปอร์เซ็นต์ของประชากรไทย (ข้อมูล ณ 31 ธันวาคม 2561) และแรงงานส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในภาคเอกชนประมาณ 21-22 ล้านคน ในจำนวนดังกล่าวเป็นแรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 จำนวน 11 ล้านคน และประกันสังคมมาตรา 39 และมาตรา 40 รวมกัน 4.242 ล้านคน

Read More

มาตรการภาครัฐ กู้วิกฤตอสังหาไทย?

เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของศักราชนี้ หน่วยงานและองค์กรต่างๆ มักจะจัดงานระดมสมองวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ที่กำลังอุบัติขึ้น อีกทั้งมีการคาดคะเนสิ่งต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อหาแนวทางการรับมือหรือวางแผนการทำงานในศักราชถัดไป แวดวงอสังหาริมทรัพย์ไทยก็เช่นกัน สมาคมที่เกี่ยวกับอสังหาฯ ต่างจัดงานเสวนาเพื่อถกประเด็นและร่วมแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์ผู้ประกอบการและผู้บริโภค เมื่อปัจจุบันแนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยของไทยเรียกได้ว่าอยู่ในสภาวะชะลอตัวจนอาจถึงขั้นถดถอย หากจะว่ากันตามจริงตลาดอสังหาฯ ส่งสัญญาณชะลอตัวตั้งแต่ปีก่อน ทว่าความชัดเจนกลับปรากฏชัดในปีนี้ ซึ่งเป็นห้วงยามที่สถานการณ์เศรษฐกิจไทยและทั่วโลกอยู่ในภาวะที่ต่างต้องหาทางออกเพื่อให้พ้นวิกฤตไม่ต่างกัน จนบรรดาผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยต่างปรับเป้ายอดขายรวมไปถึงผลกำไรที่คาดหวังลง กระนั้นหลายค่ายก็ยังบอกว่าสถานการณ์ธุรกิจของตนยังไม่ย่ำแย่ เพียงแต่มีกำไรลดลงเท่านั้น หากจะพิจารณาจากจำนวนยูนิตเหลือขายที่ยังคงค้างอยู่ในตลาดเวลานี้ คือ 152,149 ยูนิต คำว่า “กระอัก” อาจเหมาะสมที่สุด เมื่อตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงยอดที่ถูกสำรวจจากพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น อีกทั้งยังเป็นเพียงยอดจากการคำนวณแค่ครึ่งปีแรกอีกด้วย จากจำนวนยูนิตที่เหลือดังกล่าว สามารถแบ่งเป็นยอดบ้านแฝด 10,952 ยูนิต หรือ 7.2 เปอร์เซ็นต์ บ้านเดี่ยว 25,717 ยูนิต หรือ 16.5 เปอร์เซ็นต์ ทาวน์เฮาส์ 47,946 ยูนิต หรือ 31.5 เปอร์เซ็นต์ อาคารชุด 64,969 ยูนิต หรือ 42.7 เปอร์เซ็นต์ และอื่นๆ 3,111

Read More

คอนวีเนียนคาเฟ่ เดือด “แฟมิลี่มาร์ท-ลอว์สัน” เร่งผุด

สงครามกาแฟในกลุ่มคอนวีเนียนสโตร์ร้อนเดือดขึ้นหลายเท่า เมื่อเทสโก้โลตัสประกาศบุกธุรกิจกาแฟสดชงในร้านเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส โฉมใหม่ 44 สาขา และตั้งเป้าปูพรมขยายอีก 1,000 สาขาทั่วประเทศภายใน 3 ปี ชนิดที่ว่า ทั้ง “ออลคาเฟ่” ของค่ายเซเว่นอีเลฟเว่น “อาริกาโตะ” ของแฟมิลี่มาร์ท และ “ลอว์สันคาเฟ่” ในร้านลอว์สัน 108 ต้องเร่งปรับกลยุทธ์อัดโปรโมชั่น เพื่อยึดฐานลูกค้าอย่างเหนียวแน่น ขณะเดียวกัน ประมาณการกันว่า ตลาดกาแฟทั้งประเทศไทยมีมูลค่ากว่า 64,700 ล้านบาท เป็นตลาดที่บริโภคนอกบ้าน (Out of Home) ราว 26,000 ล้านบาท และในจำนวนนี้เป็นตลาดร้านกาแฟสูงถึง 17,000 ล้านบาท อัตราเติบโต 15-16% โดยมีแนวโน้มขยายตัวทั้งในแง่กลุ่มลูกค้าและผู้เล่นในตลาดเพิ่มขึ้นทุกปี ที่สำคัญ เคาน์เตอร์กาแฟในคอนวีเนียนสโตร์กลายเป็นตลาดที่มีศักยภาพการเติบโตสูง เนื่องจากสามารถเจาะขยายฐานจากกลุ่มลูกค้าประจำของร้านและราคาจับต้องได้มากกว่าร้านระดับพรีเมียม เป็นเกมบุกกินรวบตลาดระดับกลาง โดยเฉพาะในยุคเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว ลูกค้าหลายรายปรับพฤติกรรมจากการดื่มกาแฟแก้วละร้อยกว่าบาทมาเป็นกาแฟคุณภาพราคากลางๆ เพิ่มขึ้น หากเปรียบเทียบแต่ละค่าย ผู้นำตลาดอย่าง “ออลคาเฟ่ (ALL

Read More

คีรี กาญจนพาสน์ เปิดฉาก “ยูซิตี้” รุกโค้งน้ำเจ้าพระยา

ระยะเวลาเพียงเดือนเศษๆ คีรี กาญจนพาสน์ ในฐานะประธานคณะกรรมการ บริษัท ยู ซิตี้ จำกัด (มหาชน) เปิดฉากผุดบิ๊กโปรเจกต์รุกขยายอาณาจักรธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเริ่มต้นคิกออฟโครงการพัฒนาที่ราชพัสดุแปลงที่ตั้งโรงภาษีร้อยชักสาม ย่านเจริญกรุง เพราะถือเป็นการเจาะแนวรบใหม่ริมฝั่งน้ำเจ้าพระยาที่มีกลุ่มทุนรายใหญ่ยึดครองพื้นที่รอบด้าน ไม่ว่าจะเป็น “เอเชียทีค” ของกลุ่มทีซีซีกรุ๊ป “ไอคอนสยาม” ที่กลุ่มสยามพิวรรธน์จับมือกับเครือซีพี และ “ล้ง 1919” ของตระกูลหวั่งหลี  ตามแผนเบื้องต้น ยู ซิตี้ และกรมศิลปากรจะเร่งลงพื้นที่สำรวจทางโบราณคดีและสเกตช์ภาพเพื่อบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ รูปแบบโครงสร้างดั้งเดิมของตัวอาคารศุลกสถาน (The Custom House) หรือโรงภาษีร้อยชักสามอย่างละเอียด ซึ่งขั้นตอนการสำรวจจะเสร็จสิ้นในช่วงต้นปี 2563 จากนั้นนำข้อมูลทั้งหมดมาประกอบการบูรณะอาคารโบราณสถาน ก่อสร้างอาคารใหม่และพัฒนาอาคารประวัติศาสตร์อายุกว่า 130 ปี พร้อมพื้นที่โดยรอบ ประมาณ 5 ไร่ ในรูปแบบมิกซ์ยูส เพื่อสร้าง New Destination ด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แห่งใหม่ภายในปี 2568 ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับเอเชียทีคและล้ง 1919 ต้องถือว่า โรงภาษีร้อยชักสาม มี

Read More

“กระทิงแดง” อัดฉีดยกกลุ่ม เดินหน้าชนเป้าแสนล้าน

ระยะเวลากว่า 2 ปี หลัง สราวุฒิ อยู่วิทยา ประกาศยกเครื่องโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ ตั้งกลุ่มธุรกิจ TCP เดินหน้าแผนการลงทุน 5 ปี (ปี 2561-2565) เม็ดเงินกว่า 10,000 ล้านบาท โดยเฉพาะปีนี้ กลุ่มธุรกิจ TCP เปิดเกมรุกสมรภูมิเครื่องดื่มทุกแบรนด์ เร่งขยายพอร์ตโฟลิโอกว้างขวางและหลากหลาย เพื่อกวาดกลุ่มเป้าหมายทุกเพศทุกวัยและคนรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดเพื่อผลักดันรายได้แตะ 100,000 ล้านบาท ทำให้กลุ่มธุรกิจ TCP เป็น House of Brand ผลิตสินค้าและสร้างแบรนด์ที่ทรงพลังมากที่สุด จะว่าไปแล้ว ธุรกิจกลุ่มกระทิงแดงจากยุคนายเฉลียว อยู่วิทยา สู่ยุคเจเนอเรชันใหม่ มีความพยายามขยายไลน์สินค้าตั้งแต่ปี 2552 เริ่มจากการเปิดตัวเครื่องดื่มให้พลังงาน “เรดดี้” เจาะตลาดพรีเมียมมากขึ้น โดยชูจุดขายส่วนผสมเสริมสร้างบุคลิกภาพ ทั้งรูปแบบขวด สี และมีหลากหลายรสชาติ พร้อมๆ กับชิมลางรุกธุรกิจอาหาร ส่ง “ซันสแนค” เมล็ดทานตะวันเคลือบธัญพืช อบกรอบ

Read More

ภาวะเศรษฐกิจไทย เมื่อถึงคราวเครื่องยนต์ดับ!

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 นอกจากจะปราศจากสัญญาณเชิงบวกที่จะช่วยผลักดันให้เกิดความหวังว่าด้วยการฟื้นตัวอย่างที่หลายฝ่ายเฝ้าติดตามแล้ว ดูเหมือนว่าผลกระทบว่าด้วยการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและระดับนานาชาติ ยังมีผลให้ภาคการผลิตของไทยได้รับผลกระทบต่อเนื่องจนอาจจะเป็นเหตุให้เกิดการจ้างงานในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย การส่งออกของไทยที่ตกต่ำลงจะอยู่ในภาวะติดลบต่อเนื่องในระดับร้อยละ 1.5-2.0 ส่งผลให้เกิดภาวะชะลอตัวในการจ้างแรงงานในภาคการผลิต โดยเฉพาะการผลิตเพื่อการส่งออก โลจิสติกส์ ค้าปลีกและค้าส่ง ที่ส่งสัญญาณชะลอตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนอย่างมาก สัญญาณการจ้างงานที่ลดต่ำลง ในด้านหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้ประกอบการบางส่วนปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิต ไปสู่กระบวนการผลิตที่มีวิทยาการสูงขึ้น รวมถึงการใช้หุ่นยนต์หรือ AI เข้ามาประกอบส่วน ซึ่งกรณีเช่นว่านี้กลายเป็นความเสี่ยงต่อตลาดแรงงานโดยเฉพาะนักศึกษาจบใหม่ที่กำลังจะเข้าสู่ระบบในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน 2563 อีกประมาณ 5.24 แสนคน ซึ่งกำลังจะกลายเป็นอีกหนึ่งในมิติของปัญหาทางเศรษฐกิจสังคมที่สังคมไทยจะต้องเผชิญ เพราะจะทำให้สังคมไทยต้องแบกหนักและประสบปัญหาภาวะว่างงานสูงขึ้น ขณะที่กลไกรัฐจำเป็นต้องออกมาตรการประคับประคองสถานการณ์และกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดการบริโภคภายในก่อนที่จะทรุดหนักไปมากกว่านี้ ความหนักหน่วงของสถานการณ์การเลิกจ้างแรงงานสามารถประเมินได้จากสัญญาณจากมาตรการขึ้นต้นว่าด้วยการเริ่มไม่รับพนักงานใหม่เพิ่มเข้าสู่กระบวนการผลิตแทนตำแหน่งที่ว่าง การใช้หุ่นยนต์หรือเครื่องจักรอัตโนมัติในกระบวนการผลิตมากขึ้น ไปสู่การเลิกจ้างบริษัทภายนอกเกี่ยวกับแรงงาน การลดค่าล่วงเวลา การลดชั่วโมงการทำงาน ไปจนสู่การปิดไลน์การผลิต และการปิดสาขาหรือโรงงานการผลิตที่ไม่จำเป็น จนถึงการปลดออกแรงงานในที่สุด ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับตลาดแรงงานไทยในห้วงเวลาปัจจุบันอยู่ที่แรงงานไทยในทุกภาคการผลิตมีอยู่ประมาณ 37.6 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 56.5 ของประชากรทั้งหมด ขณะที่กลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักทั้งการส่งออก การลงทุน การบริโภคลดลง มีเพียงภาคการท่องเที่ยวที่เติบโตในปี 2562 ซึ่งกลายเป็นปัจจัยกดดันการจ้างงานปีนี้และต่อเนื่องถึงปี 2563 โดยเฉพาะช่วงไตรมาสแรกถึงไตรมาสสองของปีหน้าอีกด้วย ปัจจัยลบที่จะมีผลต่อตลาดแรงงานในระยะต่อไป นอกเหนือจากการเริ่มเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่เน้นเทคโนโลยีแทนคนเพิ่มขึ้นแล้ว เงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุนที่เน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมถึงเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในวัฏจักรชะลอตัว กำลังจะส่งผลให้เกิดการว่างงานอย่างกว้างขวาง แต่ด้วยเหตุที่แรงงานไทยจำนวนไม่น้อยเป็นแรงงานนอกระบบ ทำให้ดูเหมือนว่าประเทศไทยมีอัตราการว่างงานอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

Read More

อุตสาหกรรมยานยนต์กระอัก พิษสงครามการค้า-เศรษฐกิจโลกทรุด

แม้พิษจากสงครามการค้าระหว่างสองประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างและในหลายระนาบต่อประเทศคู่ค้า โดยที่ทั้งสองประเทศจะให้เหตุผลในการฟาดฟันกันด้วยกลยุทธ์ทางภาษีว่า ต้องการทวงถามความยุติธรรมทางการค้าระหว่างกันก็ตาม กระนั้นไทยในฐานะประเทศคู่ค้าและไม่ได้มีบทบาทสำคัญในศึกการค้าครั้งนี้กลับได้รับผลกระทบไม่น้อย เมื่อสินค้าหลายชนิดถูกชะลอการสั่งซื้อ นั่นทำให้ตัวเลขการส่งออกของไทยลดลงอย่างน่าใจหาย ผลกระทบเป็นระลอกคลื่นนี้สะท้อนกลับมาภายในประเทศอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แน่นอนว่า ไม่ใช่เพียงปัจจัยภายนอกจากสงครามการค้าเท่านั้นที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม เมื่อปัจจัยภายในประเทศอย่างกำลังซื้อของคนไทยที่ลดลง ความขัดแย้งทางการเมืองที่ส่งผลต่อความไม่มั่นใจของนักลงทุน หนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้น และความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการอนุมัติสินเชื่อ เป็นมูลเหตุที่ดูจะซ้ำเติมให้สถานการณ์แย่ลง แม้ว่าภาครัฐจะพยายามหาแนวทางการแก้ปัญหาด้วยการเติมเงินเข้ามาในระบบ โดยมุ่งหวังให้ฟันเฟืองทางเศรษฐกิจทุกตัวสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้บ้าง ทว่า ผลที่ได้รับกลับเป็นเพียงการสปาร์กให้เครื่องยนต์ติดและทำงานได้เพียงระยะสั้นๆ เท่านั้น และสิ่งที่น่ากังวลใจในเวลานี้ น่าจะเป็นภาคการผลิตที่เริ่มแสดงอาการของปัญหาชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ยอดการผลิตและยอดการส่งออกลดลง โดยสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ยังน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะยอดการผลิตและการส่งออกรถยนต์ของไทยในปีนี้มีโอกาสที่จะหลุดจากเป้าหมายเดิม หลังมีปัจจัยลบรุมเร้าทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะปัญหาจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน รวมไปถึงการขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตจากยุโรป ที่ทำให้ยอดขายรถยนต์ทั่วโลกรวมถึงไทยปรับตัวลดลง ทว่าข้อมูลที่น่าสนใจคือรายงานยอดขายรถยนต์ของโลกในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ติดลบ 5.7 เปอร์เซ็นต์ และมียอดการผลิตติดลบ 5.8 เปอร์เซ็นต์ และสำหรับประเทศไทยตัวเลขการส่งออกรถยนต์ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ติดลบ 20 เปอร์เซ็นต์ โดยยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปเดือนสิงหาคม 2562 อยู่ที่ 81,549 คัน ลดลง 20.45

Read More

40 ปี โรบินสัน ได้ฤกษ์เจาะแนวรบบุกเมือง

“โรบินสัน” ฉลองครบรอบ 40 ปี งัดแคมเปญใหญ่ ROBINSON 40th ANNIVERSARY ยาวถึงวันที่ 10 พ.ย. และต้องถือเป็นช่วงจังหวะการเปลี่ยนผ่านตามแผนปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ของกลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งประกาศจะนำบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ “CRC” เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แทนหุ้น ROBINS เพื่อจัดกระบวนทัพค้าปลีก โดยเฉพาะการผนึกความแข็งแกร่งของห้างสรรพสินค้าทั้งสองแบรนด์ “เซ็นทรัล-โรบินสัน” ที่มีส่วนแบ่งรวมกันมากกว่า 50% ให้ชัดเจนมากขึ้น ที่สำคัญ โรบินสันประกาศเปิดเกมรุกสงครามห้างส่งท้ายปี 2562 เตรียมเผยโฉมสาขาลาดกระบัง ซึ่งถือเป็นรูปแบบศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์แห่งแรกในเขตกรุงเทพฯ หลังจากทยอยผุดสาขาไลฟ์สไตล์บุกจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ และนำร่องเจาะปริมณฑล 2 สาขา คือ สาขาศรีสมาน นนทบุรี และสาขาสมุทรปราการ รวมทั้งซุ่มวางแผนผุดสาขารูปแบบคอมมูนิตี้มอลล์ เพื่อเจาะเขตเมืองมากขึ้น ทั้งนี้ หากย้อนรอยเส้นทางกว่า 40 ปี ของ “โรบินสัน” เริ่มแรกใช้ชื่อ บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

Read More