Home > เศรษฐกิจโลก

เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว หนุนส่งออกไทยโตเป็นประวัติการณ์

ไทยกำลังเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาปากท้องประชาชน อันเนื่องมาจากสินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาแพงขึ้น ขณะที่อัตราค่าแรงยังคงอยู่ในระดับเดิม หากจะกล่าวว่าไทยกำลังเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อก็คงไม่ผิดนัก แต่นั่นยังคงอยู่ในการคาดการณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย และภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบันยังไม่รุนแรงมากนัก ปัจจุบันสินค้าบางรายการเริ่มส่งสัญญาณการปรับราคาลดลง โดยเฉพาะเนื้อหมูที่ประสบปัญหาอย่างหนักก่อนหน้า ขณะที่ข้อมูลล่าสุดพบว่าราคาหมูสดหน้าฟาร์มเริ่มปรับราคาลง ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อตลาดโดยรวม แม้ว่าเศรษฐกิจในประเทศกำลังอยู่ในภาวะที่ประชาชนต้องระวังในการจับจ่าย ทว่า เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศกลับเติบโตสวนทางอย่างเห็นได้ชัด การส่งออกในเดือนธันวาคมยังขยายตัวสูงต่อเนื่องที่ 24.7% และเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยการส่งออกหักทองคำและปรับฤดูกาลขยายตัว 4.2% จากเดือนพฤศจิกายน โดยมีมูลค่าส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขยายตัวในทุกหมวดสินค้าสำคัญและในทุกตลาดสำคัญจากการเร่งนำเข้าสินค้าในช่วงท้ายปีจากหลายประเทศ โดยเฉพาะส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาที่ขยายตัวถึง 36.5% และออสเตรเลียที่ 54.9% ที่มีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของการส่งออกรายสินค้า รถยนต์และส่วนประกอบ และสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เช่น น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากปัจจัยสนับสนุนของราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ภาพรวมของปี 2021 การส่งออกของไทยเติบโตได้ถึง 17.1% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดในรอบ 11 ปี (ตัวเลขในระบบศุลกากร) โดยแม้ว่าในบางช่วงจะได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงานเพื่อควบคุมการระบาดทั้งในประเทศไทยเองและประเทศที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตเดียวกัน รวมถึงปัญหาคอขวดอุปทานที่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่ยังเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งทั้งจากอานิสงส์ของปัจจัยฐานต่ำในปีก่อนหน้า ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดของ Covid-19 และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งนี้หากเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคจะพบว่า การส่งออกของไทยฟื้นตัวได้ในอัตราที่ต่ำกว่าในช่วงครึ่งแรกของปี แต่เร่งตัวขึ้นมาเกาะกลุ่มได้ในช่วงครึ่งหลังของปี อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาการขยายตัวของการส่งออกของไทยในช่วงท้ายปี

Read More

เศรษฐกิจโลกทรุด ต้นเหตุส่งออกไทยติดลบ?

ดูเหมือนว่าฟันเฟืองตัวสำคัญในระบบเศรษฐกิจไทยยากที่จะเข็นขึ้นเสียแล้ว เมื่อการวาดหวังว่าห้วงเวลาสุดท้ายของปี สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของไทยอาจจะกระเตื้องขึ้นบ้าง จะเห็นได้จากบรรยากาศสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เวลานี้ที่คลื่นลมสงบ นั่นเพราะทั้งสองฝ่ายต่างเห็นว่าการฟาดฟันกันด้วยกลยุทธ์ทางภาษีอาจไม่ใช่หนทางที่ดี และเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลทั้งสองฝ่ายต่างพยายามหาทางออกที่เหมาะสม การเว้นวรรคจากการห้ำหั่นกันของสองชาติมหาอำนาจไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศดีขึ้นเท่าใดนัก เมื่อหลายประเทศกำลังประสบกับสภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ หลายประเทศต้องออกมาตรการและนโยบายด้านการเงินและการคลัง โดยหวังว่าจะช่วยกระตุ้นชีพจรให้เครื่องจักรเศรษฐกิจทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อลองพิจารณาชาติมหาอำนาจอย่างจีนที่มีอัตราการเติบโตต่ำสุดในรอบเกือบ 30 ปี ตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าเป้าประสงค์ของรัฐบาลจีน นั่นเพราะปัจจัยทั้งภายในประเทศที่ทำให้ทางการจีนต้องออกมาตรการเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมาบ้าง ทว่า คงไม่ใช่แค่ประชากรในประเทศจีนเท่านั้นที่จะต้องติดตามว่ามาตรการทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่รัฐบาลจีนนำออกมาใช้จะเพียงพอให้เศรษฐกิจจีนหลุดพ้นจากภาวะชะงักงันได้หรือไม่ เมื่อยังมีความเสี่ยงภาคการเงินจากหนี้ที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งนั่นทำให้จีนต้องระวังที่จะใช้นโยบายทางการเงินมากพอสมควร ขณะที่ไทยเองยังต้องติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีน นั่นเพราะจีนถือว่าเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญ และไทยพึ่งพาเศรษฐกิจโลกในสัดส่วนที่สูง ทำให้การส่งออกเชิงดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคม ติดลบ 2.0 เปอร์เซ็นต์ แต่ในรูปเงินบาทหดตัวติดลบ 2.43 เปอร์เซ็นต์ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยออกมาคาดการณ์ว่าในไตรมาส 4/2562 ทางการจีนน่าจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้นโยบายการคลัง ส่งผลให้อัตราการเติบโตของจีนในไตรมาส 4/2562 น่าจะทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.0 และทั้งปี 2562 เศรษฐกิจจีนน่าจะเติบโตที่ร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน อย่างไรก็ดี ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มอ่อนแรงลง และในปี 2563 จะชะลอตัวต่ำลงกว่าในปีนี้ โดยอาจขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 6 ซึ่ง IMF ได้ปรับลดประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนเหลือ 5.8 แล้วในปีหน้า โดยความเสี่ยงจากสงครามการค้าที่ยืดเยื้อและประสิทธิผลในการดำเนินนโยบายแบบขยายตัวของทางการจีนที่น่าจะมีจำกัดมากขึ้นจะเป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อไป แม้สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ

Read More

เศรษฐกิจโลกทรุด! จับตาคลื่นผู้อพยพรอบใหม่

ความไม่แน่นอนของระบบเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มจะซบเซาต่อเนื่องยาวนาน กำลังส่งผลให้เกิดคลื่นการอพยพของผู้คนครั้งใหม่ในหลากหลายพื้นที่ทั่วโลก และเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมในระยะถัดจากนี้อย่างไม่อาจเลี่ยง การอพยพย้ายถิ่นของประชากรโลกในช่วงที่ผ่านมา อาจผูกพันอยู่กับประเด็นว่าด้วยสงครามและความขัดแย้ง ซึ่งนำไปสู่การย้ายถิ่นครั้งใหญ่ของประชากรทั้งจากภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือเข้าสู่ยุโรป ซึ่งติดตามมาด้วยวิกฤตผู้ลี้ภัยในปี 2015 ที่แม้ในปัจจุบันจำนวนผู้อพยพจะลดปริมาณลง แต่นั่นก็ไม่อาจทำให้สหภาพยุโรปและประเทศในยุโรปสามารถนิ่งนอนใจว่าการอพยพระลอกใหม่จะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต ก่อนหน้านี้ ประเทศในยุโรปหลายประเทศได้เรียกร้องให้มีมาตรการควบคุมคนเข้าเมืองที่รัดกุมยิ่งขึ้น ในขณะที่คณะกรรมการสหภาพยุโรปแจ้งว่าพร้อมยื่นมือให้ความช่วยเหลือผู้ประสบความเดือดร้อนจากความวุ่นวายทางการเมืองดังกล่าว โดยเฉพาะผู้อพยพย้ายถิ่นวัยหนุ่มสาวที่กำลังเผชิญปัญหาการว่างงานในประเทศแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาตอนเหนือเหล่านั้น เพราะประเด็นปัญหาว่าด้วยผู้อพยพในยุโรปไม่ได้เกิดขึ้นอย่างโดดเดี่ยว หากแต่ยังเต็มไปด้วยความอ่อนไหวเปราะบางที่เกี่ยวเนื่องกับภูมิทัศน์ทางการเมืองและการบริหารจัดการทรัพยากรสำหรับกลุ่มประชากรที่เป็นฐานเสียงสนับสนุนการเลือกตั้ง และต่อเนื่องสัมพันธ์ไปสู่บริบทของการเมืองระหว่างประเทศอีกด้วย ขณะเดียวกันภาพของคลื่นมนุษย์ที่รอคอยโอกาสในการเข้าเมืองไปแสวงหาอนาคตใหม่ในภูมิภาคละตินอเมริกา กลับให้ภาพที่แตกต่างออกไป เพราะประชาชนจำนวนไม่น้อยยินดีที่จะทิ้งถิ่นฐานบ้านเรือนเดินเท้าไปยังแนวพรมแดนของทั้งประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงหรือพรมแดนสหรัฐอเมริกา ได้สะท้อนภาวะแร้นแค้นจากสภาพเศรษฐกิจที่ล้มเหลว ซึ่งแผ่ซ่านไปทั่วทั้งภูมิภาคอย่างชัดเจนที่สุด การอพยพลี้ภัยหนีถิ่นฐานของผู้คนที่เกิดขึ้นจากผลของความล่มสลายทางเศรษฐกิจ ในภูมิภาคละตินอเมริกาและอเมริกากลาง ดูจะเป็นประเด็นที่ทั่วโลกกำลังจับตามองอย่างสนใจ และเร่งหาแนวทางในการแก้ไขอย่างกังวล โดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) ระบุว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสัญญาณเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่าภูมิภาคละตินอเมริกากำลังต้องการความช่วยเหลือ “ปัญหานี้อาจทวีความรุนแรงจนนำไปสู่วิกฤตการณ์ที่เราได้เห็นมาแล้วในหลายพื้นที่ของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สถานการณ์ที่ยากลำบากเช่นนี้อาจกลายเป็นวิกฤตการณ์ได้อย่างรวดเร็ว และเราต้องเตรียมรับมือ” IOM ระบุ ขณะที่รายงานขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) ระบุว่าแนวโน้มการอพยพย้ายถิ่นของประชากรโลกกำลังมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญ โดยประเทศต่างๆ พยายามเร่งฟื้นฟูการจ้างงานในประเทศ พร้อมกับสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง สะอาดและเท่าเทียมมากกว่าเดิม ซึ่งการวิเคราะห์การอพยพย้ายถิ่นฐานของประชากรโลกครั้งใหม่จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ประเด็นที่น่าสนใจจากรายงานของ OECD ดังกล่าวในด้านหนึ่งอยู่ที่การระบุว่าการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของผู้อพยพข้ามประเทศจำนวนมากกว่าร้อยละ

Read More