Home > Cover Story (Page 81)

เศรษฐกิจถดถอย คนไทยต้องอดทน

หลังการแถลงตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2 ปี 2562 ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.3 เปอร์เซ็นต์ จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทว่าตัวเลขดังกล่าวกลับสะท้อนทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี เป็นการชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนที่ 2.8 เปอร์เซ็นต์ ครึ่งปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียง 2.6 เปอร์เซ็นต์ ฟันเฟืองในระบบเศรษฐกิจไทยทุกตัวอยู่ในภาวะชะงักงัน เครื่องจักรทางเศรษฐกิจไม่สามารถขับเคลื่อนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเฉกเช่นเดิม นั่นเพราะมีปัจจัยแวดล้อมหลายด้านทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ทั้งสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่ฟาดฟันกันด้วยกำแพงภาษีสินค้านำเข้าของทั้งสองประเทศ สร้างความไม่มั่นคงให้กับสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศต่อประเทศคู่ค้าอื่นๆ และทำให้ภาคการส่งออกของไทยหดตัวลงอย่างต่อเนื่องจนถึงขั้นติดลบ ผู้ประกอบการสินค้าเพื่อการส่งออกจำเป็นต้องปรับตัวด้วยการมองหาตลาดใหม่ในภาวะที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังระส่ำระสาย เพราะสงครามการค้าไม่ได้มีเพียงสองคู่อริอย่างจีนกับสหรัฐฯ เท่านั้น ยังมีสงครามการค้าระหว่างฝรั่งเศสกับสหรัฐฯ เรื่องภาษีดิจิทัล และสงครามการค้าระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ แม้ว่าตำแหน่งที่ไทยยืนอยู่บนเวทีโลกจะไม่สามารถเป็นคู่ชกกับประเทศใดได้ แต่กลับได้รับผลกระทบทางอ้อมจากทุกสงครามที่เกิดขึ้น สงครามการค้าที่เกิดขึ้น หลายฝ่ายอาจจะมองในแง่ที่ว่า ไทยอาจสร้างความได้เปรียบในสถานการณ์เช่นนี้ ทว่าเรื่องจริงกลับไม่สวยงามดังนิยาย เมื่ออิทธิพลของสงครามการค้าขยายไปสู่ภาคการลงทุน ผู้ประกอบการที่มีฐานการผลิตอยู่ในประเทศเหล่านี้อาจเลือกย้ายฐานการผลิตเพื่อหลีกเลี่ยงพิษสงกำแพงภาษีไปยังไปประเทศอื่น และแน่นอนว่าไทยมีข้อได้เปรียบมากมายที่อาจทำให้เข้าใจว่าอาจถูกเลือกเป็นฐานการผลิตใหม่ และนั่นหมายถึงเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่จะตามมา รวมไปถึงการจ้างงานที่จะเกิดขึ้นด้วย ทว่า อีกครั้งที่เหมือนการดับฝันภาคอุตสาหกรรมในไทย เมื่อเวียดนามกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำคัญให้กับผู้ประกอบการเหล่านี้ ทั้งความพร้อมด้านแรงงาน พื้นที่รองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ทำให้ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยเตรียมปักหมุดในเวียดนาม ที่เปรียบเสมือน “ตาอยู่” ในภูมิภาคนี้ แม้ว่ารัฐบาลไทยจะพยายามชูโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อหวังให้นักลงทุน ผู้ประกอบการ เล็งเห็นศักยภาพที่ภาครัฐกำลังนำเสนอและตัดสินใจย้ายฐานการผลิต หรือลงทุนในภาคอุตสาหกรรมบนพื้นที่ดังกล่าว แต่ถึงเวลานี้ด้วยปัจจัยแวดล้อมหลายประการ ทั้งความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพของรัฐบาล ค่าเงิน อาจทำให้นักลงทุนมองว่ายังมีประเทศอื่นที่น่าจะสร้างโอกาสได้ดีกว่า นอกจากสงครามการค้าปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อสภาพการณ์ของเศรษฐกิจไทยแล้ว

Read More

มาตรการแจกเงินไปเที่ยว ฟื้นเศรษฐกิจหรือร่วมกันอับปาง?

ความพยายามของรัฐบาลประยุทธ์ 2/1 ในการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย ท่ามกลางตัวเลขและดัชนีบ่งชี้ถึงสภาวะถดถอยอย่างต่อเนื่อง กำลังเป็นภาพสะท้อนถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับสังคมเศรษฐกิจไทย หลังจากที่กลไกภาครัฐพยายามโหมประโคมและเอ่ยอ้างผลงานว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวและรัฐบาลดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมาในทิศทางที่ถูกต้องแล้ว ก่อนที่หัวหน้าคณะรัฐบาลคนปัจจุบันจะออกมายอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังมีปัญหา ก็เมื่อความเป็นจริงได้เคลื่อนมาประจันหน้าแล้ว การประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมได้อนุมัติตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง เพื่อแจกเงินคนไทยจำนวน 10 ล้านคนที่ลงทะเบียนล่วงหน้า คนละ 1,000 บาท เพื่อใช้ในการท่องเที่ยว ซื้อสินค้าท้องถิ่น รับประทานอาหาร เข้าพักในโรงแรม และกิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ ข้ามจังหวัดของตัวเอง ภายใต้โครงการ “ชิมชอปใช้” โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินให้กับประชาชนผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) คนละ 1,000 บาท ให้ใช้จ่ายท่องเที่ยวในจังหวัดที่ไม่ใช่ถิ่นที่อยู่โดยพิจารณาจากบัตรประจำตัวประชาชน โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 10 ล้านคน หรือคิดเป็นวงเงินที่จะใช้ในมาตรการนี้รวม 1 หมื่นล้านบาท และจะเปิดให้ลงทะเบียนระหว่างวันที่ 1-22 กันยายนนี้ ซึ่งกระทรวงการคลังได้สั่งให้ธนาคารกรุงไทยเป็นผู้ดำเนินการ พร้อมกับเปิดแอปพลิเคชันเพื่อลงทะเบียนทั้งในฝั่งประชาชนและร้านค้า นอกจากนี้ ยังมีเงินสนับสนุนเงินชดเชย หรือ cash rebate จำนวนร้อยละ 15 จากยอดการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับค่าอาหารและเครื่องดื่ม

Read More

วิกฤตภัยแล้ง และการจัดการที่ล้มเหลว?

ภาพผืนดินแตกระแหง ชาวนานั่งกอดเข่าทอดตามองต้นข้าวยืนต้นตาย ที่เคยเป็นภาพจำในอดีต บัดนี้ภาพเหล่านั้นหวนกลับมาในโลกยุคดิจิทัล ยุคที่สามารถเชื่อมต่อสื่อสารกันได้เพียงปลายนิ้ว ยุคที่มนุษย์สามารถออกคำสั่งให้น้ำในแปลงเพาะปลูกพืช ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตามบนโลกนี้ เป็นยุคที่มนุษย์สามารถจะรับรู้และคาดการณ์ปริมาณน้ำฝน ว่าปีนี้ปริมาณน้ำฝนจะเพียงพอต่อการเพาะปลูกหรือไม่ รวมไปถึงปริมาณน้ำในเขื่อนที่จะสามารถจัดสรรสำหรับให้ประชาชนในพื้นที่ใช้อุปโภคบริโภค เป็นอีกปีที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตภัยแล้ง ที่หลายฝ่ายเตือนภาครัฐให้เฝ้าระวังและหามาตรการแก้ปัญหาความต้องการน้ำกินน้ำใช้ โดยเฉพาะสำหรับภาคการเกษตร เมื่อสถานการณ์ล่าสุดที่เกษตรกรไทยต้องเผชิญคือ วิกฤตภัยแล้งที่คาดว่าจะหนักสุดในรอบ 50 ปี โดยเฉพาะพื้นที่ในภาคเหนือและภาคอีสาน ที่นอกจากฝนจะทิ้งช่วงแล้วน้ำในเขื่อนหรือในอ่างเก็บน้ำหลายแห่งมีปริมาณไม่เพียงพอต่อการใช้อุปโภคบริโภค สมิทธ ธรรมสโรช ประธานมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ออกมาเปิดเผยถึงสถานการณ์ภัยแล้งในครั้งนี้ว่า ไทยจะเจอกับสภาพอากาศร้อนที่ยาวนานขึ้น และภัยแล้งหนักกว่าทุกปี หรือเรียกว่าแล้งผิดปกติ ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2562 ปริมาณฝนจะน้อยหรือทิ้งช่วง อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เพียงประเทศไทยเท่านั้นที่กำลังประสบกับภาวะภัยแล้ง ประเทศในแถบเอเชีย เช่น อินเดีย ปากีสถาน พม่า ต่างประสบวิบากกรรมไม่ต่างกัน แน่นอนว่าภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่แต่เพียงผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรเท่านั้น ที่น้ำเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเพาะปลูก เมื่อปริมาณน้ำน้อยพืชผลการเกษตรย่อมมีจำนวนน้อยลง สินค้าเกษตรบางชนิดจะมีราคาสูงขึ้นเมื่อมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด นับเป็นงานหนักสำหรับรัฐบาลที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่ง เมื่อต้องเข้ามาทำงานด้วยการแก้ปัญหาวิกฤตต่างๆ ซึ่งการแก้ปัญหาภัยแล้งนอกฤดูเป็นเรื่องที่เหนือการควบคุมไม่น้อย เมื่อส่วนหนึ่งของภัยแล้งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางธรรมชาติ ทว่า ปัญหาการขาดแคลนน้ำหรือปริมาณน้ำในเขื่อนไม่เพียงพอนั้น เป็นเรื่องของการจัดการทรัพยากรที่มีจำกัด ว่าจะทำอย่างไรให้เพียงพอต่อความต้องการ เมื่อไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และพืชผลการเกษตรคือสินค้าส่งออกหลักของประเทศ ล่าสุด รัฐบาลได้ประชุมเพื่อติดตามและแก้ปัญหาภัยแล้ง ซึ่ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม

Read More

จากกรุงเทพฯ ถึงฮ่องกง บทเรียนและราคาที่ต้องจ่าย?!

การชุมนุมประท้วงของชาวฮ่องกงที่ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นสัปดาห์ที่ 10-11 และทวีความตึงเครียดขึ้นไปเมื่อมีการบุกรุกเข้าไปยังสนามบินนานาชาติ จนเป็นเหตุให้ต้องมีการยกเลิกเที่ยวบินทั้งขาเข้าและขาออกในช่วงก่อนหน้านี้ โดยที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะก้าวไปสู่บทสรุปสุดท้ายอย่างไร ทำให้หลายฝ่ายเริ่มประเมินถึงผลกระทบจากกรณีดังกล่าวไปในทิศทางที่เป็นลบ และกังวลว่าอาจเป็นฟางอีกเส้นที่ส่งให้เศรษฐกิจในภูมิภาคถดถอยลงกว่าที่เป็นอยู่ เนื่องเพราะการชุมนุมประท้วงที่ยืดเยื้อในฮ่องกงส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจนำเงินเข้าไปลงทุนในฮ่องกงของบรรดานักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนชาวฮ่องกงโดยตรง ขณะที่การชุมนุมประท้วงที่ส่งสัญญาณความรุนแรงมากขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ก่อนที่จะนำไปสู่การปิดสนามบินในช่วงกลางเดือน นับเป็นการท้าทายต่ออำนาจของทางการและรัฐบาลจีนในกรุงปักกิ่งอย่างไม่อาจเลี่ยง การชุมนุมที่มีจุดเริ่มต้นจากการคัดค้านการที่คณะผู้ปกครองฮ่องกงเตรียมนำเสนอและผ่านร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนจากฮ่องกงไปจีน ก่อนที่จะยกระดับไปสู่การชุมนุมที่สนามบินจนเป็นเหตุให้ต้องปิดการจราจรทางอากาศ ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในฮ่องกง กลายเป็นการชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สหราชอาณาจักรส่งมอบอธิปไตยของฮ่องกงคืนให้กับจีนเมื่อปี 2540 เค้าลางแห่งความไม่พึงพอใจจนนำไปสู่การชุมนุมประท้วงยืดเยื้อ ในด้านหนึ่งเป็นผลพวงมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า สถานะของฮ่องกงหลังการส่งมอบคืนจีนเมื่อปี 2540 นั้น ดำเนินไปภายใต้ข้อตกลงพิเศษระหว่างจีนและสหราชอาณาจักร ที่ทำให้แม้ฮ่องกงจะเป็นส่วนหนึ่งของจีน แต่ก็ยังมีสิทธิปกครองตนเอง แบบ “1 ประเทศ 2 ระบบ” โดยสิทธิพิเศษและเสรีภาพที่ฮ่องกงได้รับนี้จะสิ้นสุดลงในปี 2590 ซึ่งดูเหมือนว่ารัฐบาลจีนไม่ต้องการรอจนถึงเวลานั้น ขณะที่ประชาชนชาวฮ่องกงจำนวนไม่น้อยก็เริ่มกังวลใจต่ออนาคตที่กำลังคืบคลานใกล้เข้ามา ความพยายามที่จะประท้วง คัดค้าน และแสดงออกซึ่งเสรีภาพทางการเมืองของชาวฮ่องกง เป็นกรณีที่เกิดขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่เมื่อปี 2546 โดยชาวฮ่องกงจำนวนหลายแสนคนประสบความสำเร็จในการประท้วงและสามารถล้มร่างกฎหมายที่ห้ามวิจารณ์จีนได้สำเร็จ และต่อมาเมื่อปี 2557 ชาวฮ่องกงหลายหมื่นคนก็ปักหลักชุมนุมยืดเยื้อหลายสัปดาห์ เพื่อต่อต้านจีน ที่ใช้อิทธิพลต่อการเลือกตั้งของฮ่องกง ซึ่งประชาชนจำนวนมากใช้ร่มเป็นอุปกรณ์ป้องกันฤทธิ์ของแก๊สน้ำตา จนถูกขนานนามว่า “การเคลื่อนไหวร่ม” (Umbrella Movement) ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจและเกิดขึ้นในช่วง 2 ทศวรรษหลังจากที่ฮ่องกงกลับคืนสู่อ้อมอกของจีนอยู่ที่คนหนุ่มสาวชาวฮ่องกงเริ่มตระหนักและตื่นตัวเรื่องการเมืองเพิ่มขึ้นในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา โดยอัตราการลงทะเบียนเลือกตั้งของคนอายุ

Read More

อสังหาฯ ไทยระส่ำ กับวิกฤตใหม่ที่ต้องเผชิญ

หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศใช้มาตรการ LTV ไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เพื่อควบคุมการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน นับเป็นกระบวนการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในระบบ เพราะปัญหาของอสังหาริมทรัพย์เป็นชนวนเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก ทิศทางการขยายตัวของธุรกิจอสังหาฯ ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งเห็นได้จากซัปพลายที่เข้ามาในตลาดจำนวนมากเมื่อเทียบกับความต้องการของผู้บริโภคหรือขีดความสามารถในการผ่อนชำระของผู้ซื้อที่ลดลง ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัว และยังต้องอาศัยอานิสงส์จากความเป็นไปของเศรษฐกิจโลกซึ่งอยู่ในสภาวะถดถอยไม่ต่างกัน จึงไม่น่าแปลกใจที่ตัวเลขของตลาดอสังหาฯ จะตกวูบ บางค่ายมีจำนวนยูนิตเหลือขายสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเหตุมาจากการที่ผู้ซื้อไม่ได้รับอนุมัติการปล่อยสินเชื่อ ในมุมของผู้ประกอบการอาจจะมองว่า ผลพวงจากการหดตัวของตลาดอสังหาฯ และจำนวนหน่วยที่เหลือขายนั้นเกิดจากการบังคับใช้มาตรการ LTV ที่แบงก์ชาติมองเห็นและคาดสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตถึงจำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ทว่าในอีกมิติที่ผู้ประกอบการต้องนำมาพิจารณาคือ การขยายตัวของจำนวนอสังหาริมทรัพย์ในตลาดที่มีความเป็นไปได้ว่าจะมีมากจนเกินความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค เพราะต้องยอมรับว่าผู้บริโภคบางส่วนซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อเก็งกำไร แม้จะมีบางส่วนที่ซื้อเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยหลังแรกก็ตาม ห้วงยามนี้ที่ฟันเฟืองในระบบเศรษฐกิจทุกตัวชะลอการทำงาน การท่องเที่ยวกำลังประสบปัญหาหนัก เมื่อนักท่องเที่ยวจีนที่เคยสร้างรายได้ให้กับภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวลดจำนวนลง อีกทั้งไทยไม่อาจต้านกระแสธารจากสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ได้ รวมไปถึงการถดถอยของเศรษฐกิจโลก แน่นอนว่ามีปัจจัยแวดล้อมมากมายที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งจากภายในประเทศและนอกประเทศ โดยเฉพาะปัจจัยในประเทศเกี่ยวกับหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่กราฟสูงขึ้นทุกปี กระทั่งแบงก์ชาติเตรียมใช้มาตรการใหม่เพื่อควบคุมการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินอีกครั้ง มาตรการใหม่ที่ว่านี้จะเป็นการคำนวณภาระการผ่อนชำระหนี้โดยเทียบกับรายได้ (Debt Service Ratio: DSR) เพื่อป้องกันและลดตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือ NPL ในกลุ่มเสี่ยง เช่น กลุ่มผู้มีรายได้ไม่แน่นอน กลุ่มคนเริ่มต้นทำงาน กลุ่มคนใกล้เกษียณ และกลุ่มเด็กจบใหม่ โดยหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยนับตั้งแต่ปี 2551 คือ 52.4 เปอร์เซ็นต์

Read More

บิ๊กไบเทคดันซัมเมอร์ลาซาล เปิดคอมมูนิตี้มอลล์ Sunny

หลังจากปลุกปั้นออฟฟิศบิลดิ้งสไตล์ตึกสูงเกรดพรีเมียม “ภิรัชทาวเวอร์ แอท เอ็มควอเทียร์” รูปแบบมิกซ์ยูสร่วมกับศูนย์การค้า ดิ เอ็มควอเทียร์ ใจกลางย่านสุขุมวิท-พร้อมพงษ์ และภิรัชทาวเวอร์ แอท ไบเทค อาคารสำนักงานเกรดเอร่วมสมัย ย่านสุขุมวิท-บางนา ล่าสุด ปิติภัทร บุรี ทายาทหนุ่มกลุ่มบริษัทภิรัชบุรี เจ้าของอาณาจักรไบเทค กำลังเร่งเครื่องโครงการ “ซัมเมอร์ลาซาล” และเตรียมเปิดตัวคอมมูนิตี้มอลล์ “SUNNY at Summer Lasalle” ที่เน้นความเป็นคอมมูนิตี้อย่างแท้จริง ที่สำคัญ “ซัมเมอร์ลาซาล” ถือเป็นโครงการสไตล์ใหม่สมบูรณ์แบบของภิรัชบุรี ที่ต่างจากอดีต ตั้งแต่ยุคบุกเบิกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เจาะตลาดอาคารสำนักงานเมื่อ 30-40 ปีก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เน้นอาคารสูงขนาดใหญ่ มีเพียงเพื้นที่ให้เช่าและต่างคนต่างทำงานในแต่ละบริษัทเท่านั้น ปิติภัทร บุรี กรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท ภิรัชบุรี กล่าวว่า ตามแผนทั้งหมดของโครงการซัมเมอร์ลาซาล (Summer Lasalle) มีที่ดินรองรับมากกว่า 60 ไร่ จะเป็นการพัฒนาอาคารสำนักงานแนวราบ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ออฟฟิศแคมปัส” ซึ่งบริษัทเคยทำโปรเจกต์นำร่องในโครงการภิรัช ทาวเวอร์

Read More

ปิติภัทร บุรี เจาะ “ออฟฟิศแคมปัส” สู้วิกฤต

“การสร้างออฟฟิศไม่ใช่แค่ตึกสูงอย่างเดียว...” “เหมือนโรงแรมที่ไม่ใช่มีแค่ 1 ดาว 2 ดาว แต่มี 1-5 ดาว หลากหลาย ตั้งแต่สไตล์บูทีค เรียบง่าย จนถึงบริการเต็มที่ เป็นอาคารสำนักงานที่ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย ใกล้ชิดชุมชน เทรนด์นี้จะเป็นออฟฟิศในอนาคต” ปิติภัทร บุรี กรรมการบริหารกลุ่มบริษัท ภิรัชบุรี กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ในร้านกาแฟ Roots at Sathon พาร์ตเนอร์ที่เข้ามาเติมเต็มความเป็นอาคารสำนักงานแนวใหม่ บรรยากาศเรียบง่ายสบายตา มี Open Bar ส่วนกลางที่เหล่าบาริสต้าสร้างสรรค์เครื่องดื่มแก้วพิเศษ แน่นอนว่า ในร้านเต็มไปด้วยคนทำงานรุ่นใหม่ที่เข้ากันกับสถานที่ เหมือนต่างฝ่ายต่างมีจุดร่วมกันอย่างเหมาะเจาะ ปิติภัทรเล่าว่า ที่ผ่านมา กลุ่มภิรัชบุรีมีอาคารสำนักงาน ภิรัชทาวเวอร์ แอท เอ็มควอเทียร์ ซึ่งไปได้ดีมากกับห้างสรรพสินค้า ภิรัชทาวเวอร์ แอท ไบเทค เป็นอาคารใหญ่ แต่ตอนนี้บริษัทจะทำอาคารสำนักงานรูปแบบแคมปัส สร้างอาคารเล็ก เป็น Village เล็กๆ และกลับมาให้ความสำคัญกับพื้นที่ส่วนกลางมากขึ้น

Read More

นับถอยหลัง “สามย่านมิตรทาวน์” ปลุกกระแส One Bangkok

นับถอยหลัง วันที่ 20 กันยายนนี้ โครงการมิกซ์ยูส “สามย่านมิตรทาวน์” จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการตามแผนขยายอาณาจักรอสังหาริมทรัพย์กินรวบทำเลทองย่านพระราม 4 ของกลุ่มทีซีซีกรุ๊ป หลังจากเริ่มต้นปักหมุดแรก “เอฟวายไอ เซ็นเตอร์” ยึดแยกพระราม 4-รัชดาภิเษก และเร่งเดินหน้าอีก 3 โปรเจกต์ โดยเฉพาะอภิมหาโครงการ วัน แบงค็อก (One Bangkok) บริเวณแยกสวนลุมพินี-สาทร ที่จะเผยโฉมอย่างอลังการในปี 2566 แน่นอนว่า หากรวมเม็ดเงินที่กลุ่มทีซีซีกรุ๊ปทุ่มทุนมากกว่า 2 แสนล้านบาท ถือเป็นเดิมพันธุรกิจครั้งใหญ่ของเจริญ สิริวัฒนภักดี โดยเฉพาะเป้าหมายการปลุกปั้นเขตธุรกิจใจกลางเมืองเทียบชั้นเส้นสุขุมวิทตลอดสายและ “สามย่านมิตรทาวน์” คือ จิ๊กซอว์ชิ้นล่าสุดที่จะพิสูจน์ฝีมือความเชี่ยวชาญ ท่ามกลางการแข่งขันของบรรดายักษ์อสังหาฯ ที่ต่างพุ่งเป้าผุดโครงการ “มิกซ์ยูส” ทั้งหมด ธนพล ศิริธนชัย ประธานอำนวยการ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ ในเครือทีซีซีกรุ๊ป กล่าวว่า

Read More

อนาคตปาล์มน้ำมันไทย บนมาตรฐานใหม่ของ EU

ความพยายามของกลไกรัฐภายใต้รัฐบาลประยุทธ์ 2 ในการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก โดยเฉพาะการแก้ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ดูจะเป็นหนึ่งในมาตรการเร่งด่วนที่ต้องได้รับการแก้ไขและเสริมเติมให้สังคมเศรษฐกิจไทยพลิกฟื้นจากอาการป่วยไข้ที่ดำเนินต่อเนื่องและซบเซามาเนิ่นนานตลอดห้วงเวลาการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เพิ่งพ้นสภาพและละจากอำนาจไปหลังจากที่รัฐบาลประยุทธ์ 2 แถลงนโยบายรัฐบาลต่อที่ประชุมรัฐสภา เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเด็นว่าด้วยราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ กลายเป็นหัวข้อและกระทู้ถาม ซึ่งนอกจากจะสะท้อนสภาพปัญหาของภาคการเกษตรไทยที่มีร่วมกันในแต่ละผลิตภัณฑ์แล้ว ยังมีนัยแฝงถึงการเรียกร้องให้กลไกรัฐเร่งแสวงหาและดำเนินมาตรการเพื่อลดทอนความยากลำบากของเกษตรกรผู้ประกอบการ และวางมาตรการระยะยาวเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต การกล่าวถึงบทบาทของพืชพลังงานในนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล นอกจากจะเป็นไปเพื่อการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยกระจายชนิดของเชื้อเพลิงทั้งจากฟอสซิลและจากพลังงานทดแทนอย่างเหมาะสมแล้ว กรณีดังกล่าวยังมีเนื้อหาที่มุ่งส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20 และ B100 เพื่อเพิ่มการใช้และดูดซับน้ำมันปาล์มดิบ (Crude Palm Oil: CPO) ด้วยหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยยกระดับราคาน้ำมันปาล์มให้สูงขึ้นได้ ท่วงทำนองแห่งมาตรการดังกล่าวได้รับการขับเน้นขึ้นอีก หลังจากที่การประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งมี สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธาน มีมติขยายระยะเวลาให้ระดับราคาขายปลีกน้ำมันไบโอดีเซลบี 20 ต่ำกว่าดีเซลปกติ (บี 7) ที่อัตรา 5 บาทต่อลิตร จากเดิมที่มาตรการดังกล่าวจะสิ้นสุดอายุในวันที่ 31 กรกฎาคม ออกไปอีก 2 เดือน

Read More

นโยบายพลังงาน เฟืองตัวใหม่ปลุกเศรษฐกิจไทย?

ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจไทยที่ดัชนีชี้วัดหลากหลายสะท้อนภาพความตกต่ำไม่ว่าจะเป็นตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การส่งออกที่ติดลบ การชะลอตัวลงของกำลังซื้อในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่สถานการณ์ราคาพืชผลทางการเกษตรก็ยังไม่มีแนวโน้มจะกระเตื้องขึ้น หรือแม้กระทั่งการท่องเที่ยวที่ซบเซาจากผลของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น จนนำไปสู่ข้อกังขาว่ารัฐบาลประยุทธ์ 2 จะนำพารัฐนาวาฝ่าคลื่นลมของปัญหาทางเศรษฐกิจที่รุมเร้า ไม่ให้เกิดเป็นวิกฤตได้อย่างไร ความเคลื่อนไหวของกลไกรัฐภายหลังการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ซึ่งเป็นประหนึ่งการเริ่มต้นบริหารราชการแผ่นดินอย่างเป็นทางการของรัฐบาลประยุทธ์ 2 จึงได้รับการจับตามองเป็นพิเศษว่าจะนำเสนอมาตรการหรือขับเคลื่อนองคาพยพของสังคมเศรษฐกิจไทยไปในแนวทางที่ได้แถลงนโยบายไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถก่อให้เกิดพัฒนาการที่เป็นรูปธรรมให้จับต้องได้มากน้อยเพียงใด ประการสำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือจะสามารถพยุงหรือฉุดสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซานี้ให้ตื่นฟื้นขึ้นมาได้หรือไม่ การประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ด้วยการระบุว่ากำลังจะปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 2561-2580 (Power Development Plan: PDP2018) ทั้งที่แผนดังกล่าวเพิ่งผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2562 และผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 จึงเป็นจังหวะก้าวที่น่าสนใจไม่น้อยสำหรับการปรับกระบวนทัศน์ของรัฐบาลประยุทธ์ 2 ที่อาจมีผลเกี่ยวเนื่องกับความเป็นไปของทั้งพลังงานและเศรษฐกิจไทยในอนาคต ก่อนหน้านี้ สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และประธานคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้แสดงบทบาทนำในการใช้กลไกของนโยบายด้านพลังงานเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ด้วยการขยายระยะเวลาในการตรึงราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ภาคครัวเรือน (กลุ่มร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร) และตรึงราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) สำหรับรถโดยสารสาธารณะต่อไปอีก 2 เดือน (สิงหาคม-กันยายน

Read More