Home > Cover Story (Page 79)

อาเซียนกับความหวัง RCEP จุดเปลี่ยนผ่านยุทธศาสตร์มหาอำนาจ

แม้ว่าการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35 (ASEAN Summit 35th) ซึ่งประเทศไทยรับหน้าที่เป็นประธานและเจ้าภาพการประชุมจะปิดฉากลงไปแล้วตั้งแต่เมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ท่ามกลางความพยายามของรัฐไทยที่โหมประโคมและมุ่งเน้นสื่อสารความคืบหน้าของการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค The Regional Comprehensive Economic Partnership หรือ RCEP ในฐานะที่เป็นประหนึ่งดัชนีบ่งชี้ถึงความสำเร็จในการประชุมครั้งนี้อย่างขะมักเขม้น การมุ่งเน้นกับความเป็นไปของ RCEP ของไทยดูจะทำให้ประเด็นแวดล้อมอื่นๆ ของอาเซียนในการประชุมครั้งสำคัญนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้ กรณีว่าด้วยผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา ที่สื่อต่างประเทศให้ความสนใจและนำเสนออย่างต่อเนื่อง หรือแม้แต่ประเด็นความร่วมมือด้านอื่นๆ ถูกกดทับไปจากการรับรู้ของสังคมไทยโดยสิ้นเชิง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจต่อเนื่องจากกรณีดังกล่าวอีกด้านหนึ่งก็คือ ความพยายามที่จะผลักดันการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่ยืดเยื้อยาวนานกว่า 7 ปี เพื่อผนึก 10 ประเทศอาเซียนและพันธมิตร 6 ประเทศที่มีทั้ง จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลกจากสงครามการค้า มิได้ดำเนินอยู่บนเส้นทางที่ราบเรียบไร้อุปสรรค ท่าทีของอินเดีย หนึ่งในสมาชิกของ RCEP ที่ขอเจรจาปรับรายการภาษีบางสินค้าใหม่ในช่วงสรุปผลการเจรจาใน 20 ประเด็นให้ได้ตามกำหนดเวลาเป้าหมาย ทำให้เหลือสมาชิก RCEP เพียง 15

Read More

เท็กซัสชิคเก้นขยายฐานบุกปั๊ม แมคโดนัลด์งัดตำนานแฮปปี้มีล

ปตท. ใช้เวลากว่า 4 ปี ปลุกแบรนด์ “Texas Chicken” บุกสมรภูมิฟาสต์ฟู้ดไทย ล่าสุดตั้งเป้าหมายขยายสาขาครบ 45 แห่งภายในปีนี้ และวางแผนปีหน้าปูพรมไม่ต่ำกว่า 80 สาขา โดยเตรียมปฏิบัติการเร่งบุกสถานีบริการน้ำมันในเครือที่มีมากกว่า 1,800 แห่งทั่วประเทศ เพื่อเร่งสัดส่วนรายได้กลุ่มธุรกิจนอนออยล์ของบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ “โออาร์” รองรับแผนปูพรมแดงเข้าตลาดหลักทรัพย์อย่างเต็มตัว แน่นอนว่า หากย้อนรอยวันแรกที่แบรนด์ไก่ทอดยักษ์ใหญ่ระดับทอปทรีของโลก “เท็กซัสชิคเก้น (Texas Chicken)” ประกาศจับมือกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บุกตลาดเมืองไทยตามนโยบายบริษัทแม่ที่ต้องการรุกขยายแนวรบสู่อาเซียนและเอเชีย นั่นหมายถึงการเปิดสงครามแย่งชิงส่วนแบ่งจาก 2 คู่แข่งเจ้าตลาด ทั้ง “เคเอฟซี” และ “แมคโดนัลด์” ตามแผนเบื้องต้น ปตท. ในฐานะมาสเตอร์แฟรนไชส์ วางแผนผุดร้านไม่ต่ำกว่า 70 สาขา ภายในระยะเวลา 5-10 ปี เน้นทำเลพื้นที่ในห้างสรรพสินค้าและคอมมูนิตี้มอลล์

Read More

สิงห์-ช้าง รุกหนักขยายแนวรบ “ฟู้ดรีเทล”

2 ยักษ์ใหญ่ธุรกิจเครื่องดื่ม “สิงห์-ช้าง” กำลังเร่งขยายแนวรบธุรกิจร้านอาหารอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะเกมการไล่ล่าซื้อกิจการ เพิ่มแบรนด์ในพอร์ต สร้างเครือข่ายอาณาจักรให้แข็งแกร่งที่สุด เพื่อช่วงชิงเม็ดเงินในตลาดที่มีมากกว่า 4 แสนล้านบาท ที่สำคัญ ธุรกิจร้านอาหารกลายเป็นทั้งพระเอก ตัวชูโรงและจิ๊กซอว์เชื่อมโยงตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งเครื่องดื่ม อาหาร สแน็ก ซอส และยังหมายถึงแผนรุกเครือข่ายช่องทางสมัยใหม่ ตั้งแต่หน้าร้าน บริการเดลิเวอรี่ และแอปพลิเคชันสั่งอาหาร ถือเป็นบลูโอเชียนที่บรรดาคู่แข่งขันต้องรีบวางโครงสร้างธุรกิจครอบคลุม 360 องศา เพราะหากใครทำได้เหนือกว่าย่อมหมายถึงโอกาสการต่อยอดเติบโตไม่รู้จบ สำหรับค่ายสิงห์ หรือกลุ่มบุญรอดบริวเวอรี่ หลังจากปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่ภายใต้ธุรกิจ 6 เสาหลัก 1. ธุรกิจเบียร์ โซดา และน้ำดื่ม 2. ธุรกิจบรรจุภัณฑ์บางกอกกล๊าส 3. ธุรกิจระดับภูมิภาค (รีจินัล) ภายใต้กลุ่มสิงห์ เอเชีย โฮลดิ้ง 4. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยสิงห์เอสเตท 5. ธุรกิจซัปพลายเชน ภายใต้บุญรอดซัพพลายเชน และ 6. ธุรกิจอาหาร โดยฟู้ด แฟคเตอร์

Read More

“โออาร์” เร่งปลุกภาพลักษณ์ ปูพรมแดงเข้าตลาดหลักทรัพย์

ยักษ์ใหญ่ ปตท. ถือฤกษ์ 1 พฤศจิกายน 2562 เปิดตัวบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ “โออาร์” อย่างเป็นทางการ ภายใต้แนวคิดหลัก TOGETHER FOR BETTERMENT พร้อมๆ กับประกาศเดินหน้าเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในฐานะบริษัทเรือธง (Flagship) ด้านการดำเนินธุรกิจน้ำมันและธุรกิจค้าปลีกทั้งในประเทศและยกระดับเป็นแบรนด์ไทยชั้นนำระดับโลก ที่สำคัญ โออาร์ต้องการตอบโจทย์ใหญ่อีก 3 ข้อ ซึ่งรัฐบาลกำหนดเป็นเงื่อนไขการเข้าระดมทุน ข้อ 1 การสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน ข้อ 2 การดูแลสนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากตามนโยบายหลักของรัฐบาล และ ข้อ 3 การเข้าตลาดของโออาร์ สร้างความแข็งแกร่งในตลาดต่างประเทศ พาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เติบโตได้ นั่นทำให้การเปิดตัวบริษัทไม่ได้เน้นหนักเฉพาะแผนการขยายอาณาจักรธุรกิจ แต่ทีมผู้บริหาร โดยเฉพาะนายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานกรรมการ และนางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่

Read More

ชุมชนมีวนา มีคน มีป่า มีกิน เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน

ปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ 171.2 ล้านไร่ จากพื้นที่ประเทศไทยทั้งสิ้น 321 ล้านไร่ แต่ชั่วระยะเวลาเพียง 50 ปี พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายไปมากกว่า 98 ล้านไร่ ซึ่งการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ที่เกิดขึ้นนั้น นอกจากการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าที่ยังคงปรากฏเป็นข่าวให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการพื้นที่ในการทำเกษตรกรรมของชาวบ้านด้วยเช่นกัน ความต้องการพื้นที่ทำกินของเกษตรกรเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการรุกล้ำพื้นที่ป่าและนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่พิทักษ์ป่า ซึ่งไม่เพียงทำให้พื้นที่ป่าไม้ลดลงจนส่งผลต่อระบบนิเวศ เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงเท่านั้น แต่วิถีการเกษตรที่ใช้สารเคมีดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบันยังส่งผลกระทบต่อธรรมชาติโดยรวม เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีในแหล่งน้ำ ส่งผลต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง ปัจจุบันปัญหาการลดจำนวนลงของพื้นที่ป่า ตลอดจนการใช้สารเคมีในแวดวงการเกษตรที่ส่งผลต่อธรรมชาติเริ่มเป็นที่ตระหนักรู้ของสังคมมากขึ้น ประชาชน ภาครัฐ รวมถึงภาคเอกชนต่างเล็งเห็นความสำคัญและพยายามหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว “โครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่า” หรือที่รู้จักในชื่อ “กาแฟมีวนา” คือหนึ่งในความเคลื่อนไหวภาคเอกชนที่ไม่เพียงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าเท่านั้น แต่ยังต้องการส่งเสริมความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้อยู่ดีกินดีอย่างยั่งยืนอีกด้วย ปี พ.ศ. 2553 มูลนิธิสายใยแผ่นดินได้เริ่มโครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่าขึ้นที่ป่าต้นน้ำแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นหนึ่งของภาคเอกชนที่เล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าและปัญหาสิ่งแวดล้อม ป่าต้นน้ำแม่ลาวถือเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดของจังหวัดเชียงราย วิถีดั้งเดิมของชาวบ้านคือการปลูกชาทำเมี่ยงเพื่อเลี้ยงชีพ แต่เมื่อการเกษตรแบบใหม่ที่นิยมใช้สารเคมีเข้ามา บวกกับความต้องการของตลาดทำให้ชาวบ้านหันมาปลูกเสาวรสซึ่งเป็นไม้เลื้อยและต้องการแสงในการเจริญเติบโตสูง ชาวบ้านต้องตัดไม้ทำลายป่าเพื่อเปิดพื้นที่รับแสง อีกทั้งการปลูกเสาวรสยังต้องใช้สารเคมีอย่างมากในการดูแลรักษาให้ปลอดโรคและแมลง ทำให้ป่าต้นน้ำแม่ลาวอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง มูลนิธิสายใยแผ่นดินพยายามศึกษาเพื่อหาทางแก้ไข พบว่า “กาแฟ” เป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน และสามารถปลูกอยู่ร่วมกับป่าได้โดยไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่า เพราะกาแฟเป็นพืชที่ต้องการร่มเงาสูง เติบโตได้ดีในพื้นที่ใต้ร่มไม้ จึงได้ริเริ่มโครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่าขึ้นที่ป่าต้นน้ำแม่ลาว เป็นอันดับแรก

Read More

โอกาสและการเติบโต ธุรกิจกาแฟในไทย

เมล็ดกาแฟที่ผ่านการคั่วด้วยความร้อน ส่งกลิ่นโชยกรุ่น ปล่อยสารเคมีที่ชื่อว่า “กาเฟอีน” ปลุกผู้คนให้ตื่นจากภวังค์และการหลับใหลได้เป็นอย่างดี การบริโภคกาแฟของคนไทยไม่ใช่เพียงเพื่อใช้คุณสมบัติจากเครื่องดื่มชนิดนี้ เพื่อปลุกให้ตื่นจากความง่วงงุนยามเช้าหรือยามบ่ายเท่านั้น ทว่า กาแฟยังเป็นเครื่องดื่มที่บ่งบอกรสนิยมและความชอบของผู้บริโภคได้ชัดเจน และตัวเลขที่บอกว่า คนไทยบริโภคกาแฟประมาณ 300 แก้วต่อคนต่อปี หรือราว 0.5-1 กิโลกรัม ต่อคนต่อปี น่าจะทำให้เข้าใจอัตราการขยายตัวและเติบโตของธุรกิจกาแฟในไทยได้สูงถึง 15-30 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าตลาดการบริโภคกาแฟในไทยจะมีตัวเลขสูงขึ้นทุกๆ ปี แต่แท้จริงแล้วคนไทยยังมีการบริโภคกาแฟน้อยกว่าประเทศอื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น อย่างสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ฯลฯ ถึงจะชัดเจนเรื่องปริมาณการบริโภคกาแฟของคนไทยที่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงนัก แต่ด้วยมูลค่าธุรกิจร้านกาแฟในไทยนับตั้งแต่ปี 2560 ที่มีมูลค่าสูงถึง 2.12 หมื่นล้านบาท และสูงขึ้นอีกในปี 2561 ที่ 2.34 หมื่นล้านบาท สำหรับปี 2562 ที่มีการคาดการณ์กันว่ามูลค่าธุรกิจร้านกาแฟอาจสูงถึง 2.58 หมื่นล้านบาท (ข้อมูลจากศูนย์อัจฉริยะ เพื่ออุตสาหกรรมอาหาร) แต่กลับมีผู้เล่นทั้งหน้าเก่า หน้าใหม่ พร้อมกระโจนเข้าร่วมแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง ด้วยมูลค่าตลาดกาแฟที่สูงถึงหมื่นล้านบาท อาจจะเป็นสาเหตุให้นักลงทุนหันมาจับธุรกิจนี้มากขึ้น ส่งผลให้แบรนด์กาแฟทั้งจากต่างประเทศและโลคอลแบรนด์ ตบเท้าเข้ามาในตลาด และมีร้านกาแฟ หรือคาเฟ่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกมุมของเมือง

Read More

บจธ. เร่งจัดตั้งธนาคารที่ดิน เพิ่มโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ

ที่ดินเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและมีบทบาทสำคัญ ทั้งเป็นปัจจัยการผลิตและศูนย์รวมของความเป็นครอบครัวและชุมชน การขาดแคลนที่ดินทำกินและไม่สามารถเข้าถึงที่ดินอันเกิดจากการกระจุกตัวในการถือครองที่ดินจึงสร้างความเหลื่อมล้ำและปัญหาให้เกิดขึ้นในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดินของภาคการเกษตรอันเป็นรากฐานของประเทศไทย ประเทศไทยมีเนื้อที่ประมาณ 321 ล้านไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทำการเกษตร 102.5 ล้านไร่ จากจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ มีผู้ถือครองที่ดินเพียง 15 ล้านราย โดยที่ 20% แรกของกลุ่มผู้ร่ำรวยที่ดินเหล่านั้น ถือครองที่ดินรวมกันเกือบ 80% ของโฉนดที่ดินทั้งประเทศ บางรายครอบครองที่ดินมากถึง 600,000 ไร่ ขณะที่คนส่วนใหญ่อีก 80% ถือครองที่ดินรวมกันเพียง 20% เท่านั้น ปัญหาขาดแคลนที่ดินทำกินและโอกาสในการเข้าถึงที่ดิน ส่วนหนึ่งเกิดจากการกระจุกตัวของการถือครองและปัญหาการเก็งกำไรที่ดิน ทำให้ที่ดินถูกทิ้งร้างและไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ สูญเสียพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการทำการเกษตร เกษตรกรจำนวนไม่น้อยไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง บางรายต้องเช่าที่ดินจากนายทุน บางรายมีที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์อยู่เพียงเล็กน้อย เมื่อประสบกับปัญหาผลผลิตและนโยบายภาคการเกษตรที่ล้มเหลว ผลผลิตล้นตลาด ราคาตก ก่อให้เกิดภาวะหนี้สิน นำมาซึ่งการสูญเสียที่ดินทำกินในที่สุด เกษตรกรส่วนหนึ่งจำต้องละทิ้งถิ่นฐานและอาชีพเดิม เพื่อเข้ามาหางานทำในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร ชาวนาชาวไร่ที่ประสบปัญหาต่างเรียกร้องให้รัฐบาลผู้มีบทบาทหน้าที่โดยตรงเข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ถือเป็นปัญหาสำคัญ เร่งด่วน และเป็นโจทย์หินของทุกรัฐบาล ที่ผ่านมาภาครัฐพยายามหาหนทางแก้ไข โดยผ่านกระบวนการจัดสรรที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรรายย่อยและผู้ยากไร้ ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับที่ดิน ทั้งรูปแบบการให้เอกสารสิทธิ์ในการถือครองที่ดินแบบพิเศษ การให้สิทธิ์ในการใช้ที่ดินแบบมีเงื่อนไข การให้เช่าซื้อหรือผ่อนส่งระยะยาว ให้สิทธิ์เช่าที่ดินในราคาถูก โดยการนำที่ดินของรัฐบาล ที่สาธารณประโยชน์

Read More

เศรษฐกิจโลกทรุด ต้นเหตุส่งออกไทยติดลบ?

ดูเหมือนว่าฟันเฟืองตัวสำคัญในระบบเศรษฐกิจไทยยากที่จะเข็นขึ้นเสียแล้ว เมื่อการวาดหวังว่าห้วงเวลาสุดท้ายของปี สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของไทยอาจจะกระเตื้องขึ้นบ้าง จะเห็นได้จากบรรยากาศสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เวลานี้ที่คลื่นลมสงบ นั่นเพราะทั้งสองฝ่ายต่างเห็นว่าการฟาดฟันกันด้วยกลยุทธ์ทางภาษีอาจไม่ใช่หนทางที่ดี และเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลทั้งสองฝ่ายต่างพยายามหาทางออกที่เหมาะสม การเว้นวรรคจากการห้ำหั่นกันของสองชาติมหาอำนาจไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศดีขึ้นเท่าใดนัก เมื่อหลายประเทศกำลังประสบกับสภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ หลายประเทศต้องออกมาตรการและนโยบายด้านการเงินและการคลัง โดยหวังว่าจะช่วยกระตุ้นชีพจรให้เครื่องจักรเศรษฐกิจทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อลองพิจารณาชาติมหาอำนาจอย่างจีนที่มีอัตราการเติบโตต่ำสุดในรอบเกือบ 30 ปี ตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าเป้าประสงค์ของรัฐบาลจีน นั่นเพราะปัจจัยทั้งภายในประเทศที่ทำให้ทางการจีนต้องออกมาตรการเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมาบ้าง ทว่า คงไม่ใช่แค่ประชากรในประเทศจีนเท่านั้นที่จะต้องติดตามว่ามาตรการทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่รัฐบาลจีนนำออกมาใช้จะเพียงพอให้เศรษฐกิจจีนหลุดพ้นจากภาวะชะงักงันได้หรือไม่ เมื่อยังมีความเสี่ยงภาคการเงินจากหนี้ที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งนั่นทำให้จีนต้องระวังที่จะใช้นโยบายทางการเงินมากพอสมควร ขณะที่ไทยเองยังต้องติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีน นั่นเพราะจีนถือว่าเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญ และไทยพึ่งพาเศรษฐกิจโลกในสัดส่วนที่สูง ทำให้การส่งออกเชิงดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคม ติดลบ 2.0 เปอร์เซ็นต์ แต่ในรูปเงินบาทหดตัวติดลบ 2.43 เปอร์เซ็นต์ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยออกมาคาดการณ์ว่าในไตรมาส 4/2562 ทางการจีนน่าจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้นโยบายการคลัง ส่งผลให้อัตราการเติบโตของจีนในไตรมาส 4/2562 น่าจะทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.0 และทั้งปี 2562 เศรษฐกิจจีนน่าจะเติบโตที่ร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน อย่างไรก็ดี ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มอ่อนแรงลง และในปี 2563 จะชะลอตัวต่ำลงกว่าในปีนี้ โดยอาจขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 6 ซึ่ง IMF ได้ปรับลดประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนเหลือ 5.8 แล้วในปีหน้า โดยความเสี่ยงจากสงครามการค้าที่ยืดเยื้อและประสิทธิผลในการดำเนินนโยบายแบบขยายตัวของทางการจีนที่น่าจะมีจำกัดมากขึ้นจะเป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อไป แม้สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ

Read More

อนาคตแรงงานไทย บนยุคแห่งการเปลี่ยนผ่าน

สาเหตุการขอปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ คงไม่ใช่สาเหตุความไม่แน่นอนในอนาคตของแรงงานไทยเท่านั้น เมื่อยังมีอีกหลายปัจจัยที่อาจสร้างผลกระทบต่อเหล่ามดงานไทยได้ ทั้งภาคการผลิตของไทยที่กำลังเริ่มมีการปรับเปลี่ยน และหยิบจับเอาเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์มาใช้มากขึ้น การลดจำนวนลงของโรงงานอุตสาหกรรม และนโยบายของภาครัฐที่ต้องการนำไทยให้เข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเหมือนเป็นการบังคับให้แรงงานต้องรู้จักปรับตัว เพื่อให้พร้อมรับกับกระแสของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปทุกขณะ ถ้าไม่อยากถูกทิ้งให้ล้าหลัง ทว่า คำถามคือ แรงงานไทยในปัจจุบันพร้อมแล้วหรือยังที่จะปรับตัวเพื่อ move on หรือสุดท้ายแล้วคือ move on เป็นวงกลม และกลับมาที่ข้อเรียกร้องให้รัฐบาลหาทางแก้ไข เยียวยาในทุกๆ เรื่องไป ข้อมูลจากกระทรวงแรงงานระบุว่า ตลาดแรงงานของไทยมีจำนวนเฉลี่ยราว 37.6 ล้านคน หรือ 56.5 เปอร์เซ็นต์ของประชากรไทย (ข้อมูล ณ 31 ธันวาคม 2561) และแรงงานส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในภาคเอกชนประมาณ 21-22 ล้านคน ในจำนวนดังกล่าวเป็นแรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 จำนวน 11 ล้านคน และประกันสังคมมาตรา 39 และมาตรา 40 รวมกัน 4.242 ล้านคน

Read More

มาตรการภาครัฐ กู้วิกฤตอสังหาไทย?

เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของศักราชนี้ หน่วยงานและองค์กรต่างๆ มักจะจัดงานระดมสมองวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ที่กำลังอุบัติขึ้น อีกทั้งมีการคาดคะเนสิ่งต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อหาแนวทางการรับมือหรือวางแผนการทำงานในศักราชถัดไป แวดวงอสังหาริมทรัพย์ไทยก็เช่นกัน สมาคมที่เกี่ยวกับอสังหาฯ ต่างจัดงานเสวนาเพื่อถกประเด็นและร่วมแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์ผู้ประกอบการและผู้บริโภค เมื่อปัจจุบันแนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยของไทยเรียกได้ว่าอยู่ในสภาวะชะลอตัวจนอาจถึงขั้นถดถอย หากจะว่ากันตามจริงตลาดอสังหาฯ ส่งสัญญาณชะลอตัวตั้งแต่ปีก่อน ทว่าความชัดเจนกลับปรากฏชัดในปีนี้ ซึ่งเป็นห้วงยามที่สถานการณ์เศรษฐกิจไทยและทั่วโลกอยู่ในภาวะที่ต่างต้องหาทางออกเพื่อให้พ้นวิกฤตไม่ต่างกัน จนบรรดาผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยต่างปรับเป้ายอดขายรวมไปถึงผลกำไรที่คาดหวังลง กระนั้นหลายค่ายก็ยังบอกว่าสถานการณ์ธุรกิจของตนยังไม่ย่ำแย่ เพียงแต่มีกำไรลดลงเท่านั้น หากจะพิจารณาจากจำนวนยูนิตเหลือขายที่ยังคงค้างอยู่ในตลาดเวลานี้ คือ 152,149 ยูนิต คำว่า “กระอัก” อาจเหมาะสมที่สุด เมื่อตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงยอดที่ถูกสำรวจจากพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น อีกทั้งยังเป็นเพียงยอดจากการคำนวณแค่ครึ่งปีแรกอีกด้วย จากจำนวนยูนิตที่เหลือดังกล่าว สามารถแบ่งเป็นยอดบ้านแฝด 10,952 ยูนิต หรือ 7.2 เปอร์เซ็นต์ บ้านเดี่ยว 25,717 ยูนิต หรือ 16.5 เปอร์เซ็นต์ ทาวน์เฮาส์ 47,946 ยูนิต หรือ 31.5 เปอร์เซ็นต์ อาคารชุด 64,969 ยูนิต หรือ 42.7 เปอร์เซ็นต์ และอื่นๆ 3,111

Read More