Home > COVID-19 (Page 13)

จับตาแผนเปิดประเทศ ดึงท่องเที่ยวปลุกกำลังซื้อสุดฤทธิ์

ในที่สุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจเตรียมเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในเดือนตุลาคม โดยออกมายอมรับว่า ถ้าไม่ทำอะไรเลย สถานการณ์จะหนักกว่านี้ สถานประกอบการปิด ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง ขณะที่รัฐบาลไม่มีเม็ดเงินช่วยเหลือประชาชนได้ทั้งหมด มิหนำซ้ำกำลังเจอวิกฤตรายได้ประเทศ การเก็บภาษีหลุดเป้าหมาย สาเหตุสำคัญมาจากแผนกระตุ้นกำลังภายในประเทศส่อแววล้มเหลว แม้มีการแจกเงินช่วยเหลือให้ประชาชนหลายกลุ่ม แต่เป็นการชดเชยผลกระทบจากโควิด-19 กำลังซื้อไม่ได้เพิ่มขึ้น เพราะคนส่วนใหญ่ขาดรายได้มากว่า 4-5 เดือน ทั้งการปิดกิจการชั่วคราวและการเลิกจ้าง ขณะเดียวกันโครงการปลุกการท่องเที่ยวในประเทศ “เราเที่ยวด้วยกัน” ที่เปิดให้ลงทะเบียนผ่าน http://www.เราเที่ยวด้วยกัน.com ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม มีผู้ลงทะเบียนราว 4.92 ล้านคน ลงทะเบียนสำเร็จ 4.67 ล้านคน แต่มีการจองโรงแรมและจ่ายเงิน 625,606 ห้อง จากจำนวนสิทธิ์ทั้งหมด 5 ล้านสิทธิ์ คิดเป็นเม็ดเงินเพียง 1,874.9 ล้านบาท จนกระทั่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้องอัดฉีดเพิ่มวันพักจากเดิม 5 วัน เป็น 10 วัน และช่วยเหลือค่าตั๋วเครื่องบินจากเดิมไม่เกินคนละ 1,000 บาท เป็นคนละไม่เกิน

Read More

2020 KPMG CEO Outlook สำรวจแนวคิดของ CEO ทั่วโลก หลังโควิด-19

ช่วงหลังวิกฤตโควิด-19 ซีอีโอทั่วโลกให้ความสำคัญด้านพนักงานที่เป็นคนเก่ง (Talent) และความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเป็นอันดับต้น ผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ซีอีโอของบริษัทชั้นนำทั่วโลกมองว่าความเสี่ยงด้านพนักงานที่เป็นคนเก่ง (Talent) เป็นหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญที่สุดในการเติบโตขององค์กร และยังให้ความสำคัญไปที่การสร้างประโยชน์ให้กับสังคมและทบทวนจุดมุ่งหมายขององค์กร โดยเคพีเอ็มจีได้ทำการสำรวจ 2 ครั้ง คือ ก่อนการระบาดของโควิด-19 ในเดือนมกราคม และอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม/สิงหาคม ซึ่งถือว่าเป็นการวิจัยแรกที่สำรวจความเปลี่ยนแปลงของการจัดลำดับความสำคัญและความกังวลของซีอีโอก่อนและหลังการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก การสำรวจ 2020 KPMG CEO Outlook พบว่า เป้าหมายสำคัญของผู้นำได้เปลี่ยนไปอย่างมากตั้งแต่ช่วงต้นปี เนื่องจากแนวโน้มด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social, Governance – ESG) การทำงานที่ยืดหยุ่น (Flexible working) และการเปลี่ยนแปลงโดยนำดิจิทัลมาใช้ (Digital Transformation) ได้ถูกเร่งรัดให้เกิดเร็วขึ้น ในเรื่องการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในอีก 3 ปีข้างหน้านั้น ซีอีโอร้อยละ 32 มีความมั่นใจลดลงจากตอนต้นปี อย่างไรก็ตาม ซีอีโอยังคงคาดการณ์เชิงบวกเกี่ยวกับการเติบโตของประเทศตนเอง (ร้อยละ 45 มีความมั่นใจ) และมีความมั่นใจในความยืดหยุ่นขององค์กรตนเองในอีก

Read More

BOI ดิ้นเฮือกใหญ่ หวังดึง FDI ลงทุนในไทย

ความซบเซาทางเศรษฐกิจทั้งในระดับนานาชาติและของไทย ที่ทำให้ภาวะการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ลดลงมากเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ -30 ถึงร้อยละ -40 กำลังส่งผลลบต่อสภาพการลงทุนในประเทศไทยและการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) อย่างหนัก จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ BOI ต้องเร่งระดมสรรพกำลังเพื่อกระตุ้นการลงทุนในช่วงที่เหลือของปีนี้ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ลดต่ำลงสามารถพิจารณาได้จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ระบุว่าในปี 2562 มีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ขอรับการส่งเสริมรวม 991โครงการ ปริมาณเงินลงทุน 506,230 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน 876 โครงการ เงินลงทุน 281,873 ล้านบาท ขณะที่ในช่วง 6 เดือนแรกปี 2563 มี FDI ขอรับการส่งเสริมรวม 459 โครงการ เงินลงทุน 75,902 ล้านบาท ซึ่งแม้จะมีจำนวนโครงการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 แต่มูลค่าเงินลงทุนกลับลดลงถึงร้อยละ 34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และถือเป็นโจทย์ใหญ่ที่ BOI ต้องเร่งปรับแผนเพื่อดึงการลงทุน

Read More

ส่องอนาคตของ EEC บนนโยบายเศรษฐกิจใหม่รัฐไทย

การปรับคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลประยุทธ์ ในช่วงที่ผ่านมาได้จุดประกายของการตั้งคำถามในบริบทว่าด้วยความต่อเนื่องและทิศทางของนโยบายที่กำลังจะมุ่งไปนับจากนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีของอนาคตและความเป็นไปในการพัฒนาโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC ที่เป็นประหนึ่งผลงานน่าพึงใจที่รัฐบาลประยุทธ์พยายามโหมประโคมในฐานะโครงการพัฒนาทางเศรษฐกิจหลักตลอดระยะเวลาของการบริหารรัฐนาวามายาวนานกว่า 6 ปี การพ้นออกจากตำแหน่งไปของรัฐมนตรีที่มีส่วนร่วมผลักดันและโหมโฆษณาโครงการพัฒนา EEC ในช่วงก่อนหน้านี้และแทนที่ด้วยรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบชุดใหม่ทำให้หลายฝ่ายเพ่งมองไปที่แนวทางการพัฒนาและนโยบายที่จะเกิดมีขึ้นว่าจะมีความชัดเจนและรูปธรรมอย่างไร ความกังวลใจของนักลงทุนต่างชาติในมิติของความชัดเจนและแนวทางการพัฒนา EEC ในห้วงเวลานับจากนี้ในด้านหนึ่งสะท้อนความเปราะบางของแผนพัฒนา EEC ที่ดำเนินอยู่ แม้ว่าโครงการดังกล่าวจะดำเนินมานานมากกว่า 5-6 ปี หากแต่โครงสร้างพื้นฐานในการรองรับการพัฒนาในพื้นที่กลับดำเนินไปอย่างเชื่องช้าและในหลายกรณีขาดการบูรณาการที่มีเอกภาพอีกด้วย การเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีที่รับผิดชอบและกำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ในด้านหนึ่งเป็นเพียงการเปลี่ยนหัวรถจักรในการขับเคลื่อนพัฒนาการของ สกพอ. หากแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ก็คือ สกพอ. มีกรอบกำหนดเป็นประหนึ่งรางให้เคลื่อนไปในทิศทางที่วางไว้ก่อนแล้ว ประเด็นที่น่าสนใจจึงอยู่ที่ว่ารัฐมนตรีที่เข้ามารับผิดชอบครั้งใหม่นี้จะมีวิสัยทัศน์และความสามารถในการเร่งความเร็วหรือกำหนดทิศทางใหม่ของการพัฒนา EEC ไปในรูปแบบใด โดยไม่ทำให้การพัฒนา EEC ต้องสะดุดหรือตกรางไปในที่สุด ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในช่วงที่ผ่านมาในด้านหนึ่งคือการแสวงหาช่องทางของหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย (JFCCT) เพื่อเข้าพบและหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับรัฐมนตรีที่ดูแลงานด้านเศรษฐกิจชุดใหม่ เพื่อสอบถามถึงนโยบายเศรษฐกิจและแผนพัฒนา EEC ที่จะมีขึ้นนับจากนี้ แม้ว่าพวกเขาจะเชื่อว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ใน EEC จะเดินหน้าต่อเนื่องเพราะมี พ.ร.บ. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 มารองรับอยู่แล้ว และขณะนี้หลายโครงการก็คืบหน้าไปมากทั้งรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา แต่ประเด็นในเชิงนโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนภายหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจและ COVID-19 ที่ทำให้ทุกอย่างชะลอตัวเป็นกรณีที่นักลงทุนต้องการความชัดเจนอย่างยิ่ง ความเชื่อมั่นที่ว่าโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) จะเดินหน้าต่อไปโดยรัฐบาลจะสานต่อโครงการนี้อย่างแน่นอนแม้ว่าจะมีการปรับคณะรัฐมนตรีใหม่

Read More

เอสเอ็มอีท่องเที่ยวไทย เผชิญวิกฤตที่ยังไร้ทางออก

อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่าอุตสาหกรรมหลักๆ ของไทยที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ พึ่งพารายได้จากต่างประเทศเป็นหลัก และเมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้สร้างผลกระทบเชิงลบในทุกระนาบ โดยที่ไม่อาจรู้ได้เลยว่า เมื่อใดสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากวิกฤตโควิด-19 คือ ภาคการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุน แม้ว่าในห้วงเวลาปัจจุบันไวรัสจะยังคงอยู่บนโลกนี้อย่างไม่มีวี่แววว่าจะจางหายไป แต่สถานการณ์การส่งออกของไทยยังพอมีแรงที่จะขับเคลื่อนไปได้บ้าง เมื่อไทยยังเป็นแหล่งผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกที่ประเทศคู่ค้าต้องการ ขณะที่ภาคการลงทุนที่เหล่านักลงทุนยังต้องมองสถานการณ์ในหลายๆ ด้านประกอบการตัดสินใจ ทั้งเศรษฐกิจโลก ปัญหาการเมืองที่เริ่มส่งสัญญาณความรุนแรงเพิ่มขึ้น อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนเลื่อนการลงทุนในไทยออกไป เมื่อยังมองหาเสถียรภาพที่มั่นคงได้ยากขึ้น สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหลายฝ่ายยอมรับว่าครั้งนี้ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวประสบกับวิกฤตของจริง เมื่อรายได้หลักมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 70-80% โดยตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยปี 2562 ประมาณ 39.7 ล้านคน และสร้างรายได้มากถึง 1.93 ล้านล้านบาท ขณะที่ปีนี้ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับไวรัสร้ายนี้ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.) มีจำนวนเพียง 6.69 ล้านคน และสร้างรายได้รวม 3.32 แสนล้านบาท ซึ่งหากเปรียบเทียบตัวเลขรายได้กับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วจะพบว่ารายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงไปประมาณ 4.89 แสนล้านบาท การสูญเสียรายได้หลักของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวส่งผลให้มีผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวจดทะเบียนขอเลิกประกอบกิจการประมาณ 90 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ 39 ราย เชียงใหม่ 9 ราย ภูเก็ต

Read More

จ๊อบไทย เผยความต้องการแรงงานครึ่งปีแรก โควิด-19 ทำธุรกิจลดการจ้างงานสูงสุด 75% สายงานแพทย์/สาธารณสุข เนื้อหอมสุดในช่วงโควิด-19

จ๊อบไทย (JobThai) ผู้ให้บริการหางาน สมัครงาน ออนไลน์ อันดับ 1 ของประเทศไทย ซึ่งให้บริการเข้าสู่ปีที่ 20 เปิดเผยว่า จากการรวบรวมข้อมูลความต้องการแรงงานขององค์กรในจ๊อบไทยแพลตฟอร์ม พบว่า องค์กรมีความต้องการแรงงานในช่วงครึ่งปีแรกรวมกันอยู่ที่ 303,776 อัตรา (เป็นการนับจำนวนอัตราแบบไม่ซ้ำกัน) ซึ่งมีการเปิดรับสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 124,629 อัตรา แต่ในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายนการจ้างงานลดลง 16.5% เทียบกับเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การระบาดของไวรัสโควิด-19 เริ่มมีตัวเลขผู้ติดเชื้อสูงขึ้นและกระจายวงกว้างมากขึ้น ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนด้านผู้ใช้งาน หางาน สมัครงาน มีการใช้งานมากกว่า 11 ล้านคน เติบโตขึ้น 7.5% ซึ่งมีการสมัครงาน 8,876,727 ครั้ง เติบโตขึ้น 31.0% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นางสาวแสงเดือน ตั้งธรรมสถิตย์ ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าผู้บริหารด้านปฏิบัติการจ๊อบไทย (JobThai) กล่าวว่า

Read More

ระเฑียร ศรีมงคล เร่ง Re-engineering องค์กร นำ KTC ฝ่าวิกฤต

“วิกฤตครั้งนี้หนักกว่าวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 อาจจะหนักที่สุดในรุ่นอายุของเรา และที่สำคัญมันทำให้ธุรกิจบัตรเครดิตเปลี่ยนไปอย่างถาวร” ระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทบัตรกรุงไทย (เคทีซี) กล่าวกับผู้จัดการ 360 องศา ถึงการระบาดของโควิด-19 ที่กระทบต่อธุรกิจบัตรเครดิตอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจในวงกว้างและซึมลึกจนหลายฝ่ายมองว่าแรงสั่นสะเทือนครั้งนี้อาจจะกลายเป็นสึนามิทางเศรษฐกิจลูกใหญ่ที่สร้างความเสียหายไปทั่วโลก หลายธุรกิจที่ไม่สามารถทนต่อบาดแผลทางเศรษฐกิจครั้งนี้ได้ ต้องประกาศล้มละลายหรือปิดตัวลง แต่ในขณะเดียวกันธุรกิจที่ยังอยู่จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อนำพาองค์กรให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ เช่นเดียวกับบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ “เคทีซี” ผู้เล่นรายใหญ่ในธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อ ซึ่งที่ผ่านมาสามารถสร้างผลกำไรนิวไฮมาได้ต่อเนื่องถึง 7 ปีซ้อน แต่วิกฤตโควิดครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อองค์กรไม่น้อยเช่นกัน ทำให้ต้องเร่ง Re-engineering องค์กร หากลยุทธ์ที่จะนำพาเคทีซีฝ่าวิกฤต โดยบาดเจ็บให้น้อยที่สุด รวมถึงต้องเตรียมรับมือกับโลกหลังวิกฤตโควิด-19 ที่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป จากการแพร่ระบาดของไวรัสและการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่และภาคการใช้จ่ายของประชาชน ทำให้ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเคทีซีและการเติบโตของพอร์ตลูกหนี้ลดลง ยอดการใช้บัตรในเดือนเมษายน 2563 ลดลงถึง 40% โดยกระทบทุกเซกเมนต์ของธุรกิจ ทั้งการท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร และโรงพยาบาลที่ได้รับผลกระทบเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ในขณะเดียวกันธุรกิจด้าน

Read More

การล่มสลายของธุรกิจไทย เปราะบาง-อิงต่างชาติมากเกินไป?

การประกาศปรับลดประมาณการตัวเลขจีดีพีไทยในปี 2563 ที่อาจติดลบถึง 9 เปอร์เซ็นต์ เสมือนเป็นการยอมรับโดยดุษณีว่า เศรษฐกิจไทยยังไร้กำลังฟื้นตัว และวิกฤตจากโควิด-19 ส่งผลเสียต่อระบบหนักกว่าเมื่อครั้งวิกฤตต้มยำกุ้ง ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์เศรษฐกิจในหลายสถาบันต่างมองหาความเป็นไปได้ว่า เศรษฐกิจไทยจะมีทิศทางการฟื้นตัวไปในรูปแบบใด ระหว่างรูปแบบตัว V รูปแบบตัว U หรือรูปแบบตัว L ซึ่งตัวแปรที่จะก่อให้เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยไม่ใช่อาศัยจังหวะที่เอื้ออำนวยอันนำมาซึ่งกำลังซื้อที่แข็งแรงขึ้นหรือนโยบายจากภาครัฐที่จะผลักดันให้อุปสงค์เพิ่มกำลังขึ้นเท่านั้น แค่เพียงนโยบายอุดหนุนจากรัฐบาลที่มุ่งหวังให้มีกระแสเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพื่อคนในชาติด้วยกันเอง ดูจะไม่เพียงพอเสียแล้ว เมื่อทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการล้วนแต่ใช้มาตรการรัดเข็มขัด ซึ่งดูจะเป็นการ์ดที่มีไว้ป้องกันตัวเอง เพราะสถานการณ์ในหลายด้านยังไม่ถึงจุดสิ้นสุด ไม่ว่าจะจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สงครามการค้ารอบใหม่ที่เริ่มร้อนแรงขึ้น หรือเหตุการณ์โศกนาฏกรรมคร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมาก หลังจากมาตรการผ่อนปรนที่รัฐบาลประกาศออกมา พร้อมทั้งนโยบายอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” โดยรัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่พัก ค่าตั๋วเครื่องบิน ในสัดส่วน 40 เปอร์เซ็นต์ แต่ประชาชนยังใช้สิทธิไม่มากอย่างที่หวังไว้ สัดส่วนการเข้าใช้สิทธิ์ที่เกิดขึ้นเพียงกระผีกลิ้นจากโครงการดังกล่าว เป็นภาพสะท้อนสถานการณ์ของกำลังซื้อภายในประเทศ และการระมัดระวังในการจับจ่ายของประชาชนมากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด เมื่อภาคเอกชนต่างเรียกร้องให้รัฐออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มขึ้น ด้วยหวังว่าจะมีเงินหมุนเวียนเข้ามายังสายใยของธุรกิจที่แบกความหวังอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ธุรกิจและอุตสาหกรรมจำนวนไม่น้อยที่นับถอยหลังสู่การล่มสลาย เมื่อมองไม่เห็นสัญญาณในทางบวกที่พอจะไปต่อได้ นั่นอาจเป็นเพราะโครงสร้างของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยเกาะติดและยึดโยงกับรายได้ที่มาจากต่างประเทศมาอย่างยาวนาน เวลานี้อาจดูเป็นเรื่องยาก หากผู้ประกอบการไทยจะมองหาตลาดใหม่เข้ามาทดแทนตลาดเดิม เมื่อหลายประเทศคู่ค้ายังประสบกับสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจไม่ต่างกัน วิกฤตโควิด-19 ครั้งนี้ สร้างผลกระทบให้แก่ธุรกิจทุกขนาด และทุกแวดวง โดยเฉพาะธุรกิจ SME ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจผลกระทบโควิด-19 ต่อ

Read More

บ้านปูฯ ชวนคนไทยร่วมบริจาคโลหิต ฝ่าวิกฤติเลือดขาดแคลนจากโควิด-19

บ้านปูฯ ชวนคนไทยร่วมบริจาคโลหิต ฝ่าวิกฤติเลือดขาดแคลนจากโควิด-19 ร่วมผลิตหน้ากาก “Mask for Blood Hero” ในโครงการ Plus One เพิ่มจำนวนครั้ง เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต แจกฮีโร่ผู้บริจาคกว่า 400,000 ชิ้นทั่วประเทศ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมหยุดชะงัก เช่นเดียวกับการบริจาคโลหิตที่มียอดผู้บริจาคลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทว่าความต้องการในการใช้โลหิตเพื่อรักษาผู้ป่วยไม่ได้ลดลงเลย บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เล็งเห็นวิกฤติดังกล่าว จึงร่วมมือกับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และบริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) สนับสนุนหน้ากาก “Mask for Blood Hero” ในโครงการ Plus One เพิ่มจำนวนครั้ง เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต สานต่อความตั้งใจแน่วแน่ในการร่วมดูแลสังคมไทยอย่างดีที่สุดทั้งในเวลาปกติและในภาวะวิกฤติ โดยบริษัทและไทยวาโก้ จัดสรรงบประมาณ 20 ล้านบาท สมทบโครงการฯ สำหรับผลิตหน้ากากอนามัย “Mask

Read More

ธุรกิจไทยยังทรุดหนัก ทุกสำนักปรับลด GDP ติดลบ

สถานการณ์ในแวดวงธุรกิจอุตสาหกรรมไทยยังคงทรุดตัวหนักและไม่มีท่าทีว่าจะฟื้นคืนกลับมาได้โดยง่ายและในเร็ววัน และทำให้ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 อยู่ในภาวะที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่มูลค่าทางเศรษฐกิจก็หดหายไปไม่ต่ำกว่า 2 ล้านล้านบาทอีกด้วย ความพยายามที่จะกระตุ้นภาคธุรกิจการท่องเที่ยวที่เป็นอุตสาหกรรมความหวังและเป็นจักรกลหนุนนำเศรษฐกิจไทยมาในช่วงก่อนหน้านี้กลายเป็นฝันสลายเมื่อแนวความคิดว่าด้วย Travel Bubble ที่เป็นการแลกเปลี่ยนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศคู่เจรจาถูกพับฐานลงไปเมื่อจำนวนยอดผู้ติดเชื้อในแต่ละประเทศยังคงพุ่งทะยานขึ้นสูงและทำให้ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวต้องรอคอยให้ COVID-19 คลี่คลายไปมากกว่านี้ ความเป็นไปของภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมามักได้รับการประเมินว่าเป็นผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นไปทั่วทั้งโลก หากแต่ในความเป็นจริงอีกด้านหนึ่งสภาพเศรษฐกิจไทยที่ปรากฏขึ้นอยู่นี้เป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการของรัฐที่ขาดความรอบคอบและการวางแผนเพื่อรับมือผลกระทบที่จะตามมาจากการดำเนินมาตรการดังกล่าว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในกรณีดังกล่าวอยู่ที่ผลของมาตรการปิดเมืองที่กระทบต่อภาคธุรกิจท่องเที่ยว อุตสาหกรรมโรงแรมและร้านอาหารค้าปลีกค้าส่ง ธุรกิจขนส่งและธุรกิจบันเทิงที่มีผลกระทบรวมกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ขณะที่ภาคการผลิตและการส่งออกได้รับผลกระทบมากถึง 5 แสนล้านบาท ขณะที่สถานการณ์ภัยแล้งที่ดำเนินอยู่ก่อนหน้าโดยปราศจากความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมส่งผลกระทบรวมกว่า 7.6 หมื่นล้านบาท กรณีเช่นว่านี้ทำให้ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยปรับประมาณการภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ให้อยู่ในระดับติดลบร้อยละ -8.4 ถึงลบร้อยละ -11.4 ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมไม่ต่ำกว่า 2.1 ล้านล้านบาท ท่ามกลางการส่งออกที่ติดลบร้อยละ 10.2 จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะติดลบร้อยละ -8.8 ถึงร้อยละ -12.0 การลงทุนรวมติดลบร้อยละ -8 จากเดิมที่คาดว่าจะติดลบร้อยละ -5.4 ถึงร้อยละ -7.4 ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวหายไปถึงร้อยละ 82.3 จากเดิมที่คาดว่าจะหายไปร้อยละ 74.3-78.7 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบร้อยละ

Read More