Home > อีอีซี

SPC SAHAPAT ทุ่มกว่า 1,000 ล้านบาท เปิดศูนย์กระจายสินค้า รองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษอีอีซี

SPC SAHAPAT ทุ่มกว่า 1,000 ล้านบาท เปิดศูนย์กระจายสินค้า รองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษอีอีซี ตั้งเป้าศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค ดีเดย์ให้บริการธันวาคมนี้ SPC SAHAPAT ทุ่มงบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท เตรียมเปิดศูนย์กระจายสินค้าหลัก ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี บนพื้นที่กว่า 70 ไร่ พื้นที่จัดเก็บสินค้ากว่า 40,000 ตร.ม. รองรับสินค้าใหม่ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค เน้นบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ให้คล่องตัวเพื่อกระจายสินค้าไปทั่วทุกภาคของประเทศ พร้อมรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษอีอีซี และ Logistics Hub ของภูมิภาคในอนาคต นายบุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) หรือ SPC เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ใช้งบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท เพื่อเปิดคลังสินค้าแห่งใหม่ในพื้นที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เพื่อรองรับการเติบโตของบริษัท SPC ได้ก่อสร้างคลังสินค้าแห่งใหม่นี้ บนที่ดินกว่า 70 ไร่

Read More

ส่องอนาคตของ EEC บนนโยบายเศรษฐกิจใหม่รัฐไทย

การปรับคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลประยุทธ์ ในช่วงที่ผ่านมาได้จุดประกายของการตั้งคำถามในบริบทว่าด้วยความต่อเนื่องและทิศทางของนโยบายที่กำลังจะมุ่งไปนับจากนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีของอนาคตและความเป็นไปในการพัฒนาโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC ที่เป็นประหนึ่งผลงานน่าพึงใจที่รัฐบาลประยุทธ์พยายามโหมประโคมในฐานะโครงการพัฒนาทางเศรษฐกิจหลักตลอดระยะเวลาของการบริหารรัฐนาวามายาวนานกว่า 6 ปี การพ้นออกจากตำแหน่งไปของรัฐมนตรีที่มีส่วนร่วมผลักดันและโหมโฆษณาโครงการพัฒนา EEC ในช่วงก่อนหน้านี้และแทนที่ด้วยรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบชุดใหม่ทำให้หลายฝ่ายเพ่งมองไปที่แนวทางการพัฒนาและนโยบายที่จะเกิดมีขึ้นว่าจะมีความชัดเจนและรูปธรรมอย่างไร ความกังวลใจของนักลงทุนต่างชาติในมิติของความชัดเจนและแนวทางการพัฒนา EEC ในห้วงเวลานับจากนี้ในด้านหนึ่งสะท้อนความเปราะบางของแผนพัฒนา EEC ที่ดำเนินอยู่ แม้ว่าโครงการดังกล่าวจะดำเนินมานานมากกว่า 5-6 ปี หากแต่โครงสร้างพื้นฐานในการรองรับการพัฒนาในพื้นที่กลับดำเนินไปอย่างเชื่องช้าและในหลายกรณีขาดการบูรณาการที่มีเอกภาพอีกด้วย การเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีที่รับผิดชอบและกำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ในด้านหนึ่งเป็นเพียงการเปลี่ยนหัวรถจักรในการขับเคลื่อนพัฒนาการของ สกพอ. หากแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ก็คือ สกพอ. มีกรอบกำหนดเป็นประหนึ่งรางให้เคลื่อนไปในทิศทางที่วางไว้ก่อนแล้ว ประเด็นที่น่าสนใจจึงอยู่ที่ว่ารัฐมนตรีที่เข้ามารับผิดชอบครั้งใหม่นี้จะมีวิสัยทัศน์และความสามารถในการเร่งความเร็วหรือกำหนดทิศทางใหม่ของการพัฒนา EEC ไปในรูปแบบใด โดยไม่ทำให้การพัฒนา EEC ต้องสะดุดหรือตกรางไปในที่สุด ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในช่วงที่ผ่านมาในด้านหนึ่งคือการแสวงหาช่องทางของหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย (JFCCT) เพื่อเข้าพบและหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับรัฐมนตรีที่ดูแลงานด้านเศรษฐกิจชุดใหม่ เพื่อสอบถามถึงนโยบายเศรษฐกิจและแผนพัฒนา EEC ที่จะมีขึ้นนับจากนี้ แม้ว่าพวกเขาจะเชื่อว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ใน EEC จะเดินหน้าต่อเนื่องเพราะมี พ.ร.บ. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 มารองรับอยู่แล้ว และขณะนี้หลายโครงการก็คืบหน้าไปมากทั้งรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา แต่ประเด็นในเชิงนโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนภายหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจและ COVID-19 ที่ทำให้ทุกอย่างชะลอตัวเป็นกรณีที่นักลงทุนต้องการความชัดเจนอย่างยิ่ง ความเชื่อมั่นที่ว่าโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) จะเดินหน้าต่อไปโดยรัฐบาลจะสานต่อโครงการนี้อย่างแน่นอนแม้ว่าจะมีการปรับคณะรัฐมนตรีใหม่

Read More

ชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ เดินหน้าโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม รองรับ EEC

ปัจจุบันโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี (Eastern Economic Corridor: EEC) ที่มีมูลค่าการลงทุนหลายแสนล้านบาท กลายเป็นโครงการแห่งชาติที่สำคัญและกำลังได้รับการขับเคลื่อนจากรัฐบาลอย่างเต็มสูบ อีอีซีเป็นโครงการภายใต้แผนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 โดยระยะแรกเน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกที่ครอบคลุมจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เพื่อส่งเสริมการลงทุน ยกระดับอุตสาหกรรม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำทางด้านเศรษฐกิจ คมนาคม และโลจิสติกส์ต่อไปในอนาคต ระยะเวลาที่ผ่านมาการขับเคลื่อนอีอีซีถือว่ามีความคืบหน้าออกมาให้เห็นเป็นระยะ มีการลงนามความร่วมมือทางธุรกิจและการลงทุนกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะจีนและญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเพื่อการเตรียมความพร้อม ทั้งโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง- สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) การพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 และการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ไม่เฉพาะการเร่งพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม และการลงทุนจากต่างชาติเท่านั้น แต่เรื่องของคน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะที่อยู่รายรอบต่างก็สำคัญ แน่นอนว่าการเกิดขึ้นของนิคมอุตสาหกรรมนำมาซึ่งขยะและของเสียต่างๆ มากมาย การบริหารจัดการขยะในพื้นที่อีอีซีจึงเป็นสิ่งที่ต้องตระหนักและบรรจุลงในแผนพัฒนาด้วยเช่นกัน สถานการณ์ปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่อีอีซีนั้น พบว่าปัจจุบันมีปริมาณขยะสะสมมากถึง 6 ล้านตัน โดยปี 2561 ที่ผ่านมา ปริมาณขยะอยู่ที่ 4.2 พันตันต่อวัน และคาดว่าในปี

Read More

เชื่อ EEC ฉุดเศรษฐกิจโต หลังบริษัทยักษ์ใหญ่แห่ร่วมวง

ความเป็นไปของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กำลังเป็นประหนึ่งยาชูกำลังให้รัฐบาลไทยเดินหน้าและมั่นใจกับผลงานชิ้นเอกทางเศรษฐกิจที่หมายมั่นจะให้เป็นกลไกหนุนนำภาวะเศรษฐกิจของชาติในยุคสมัยถัดไปจากนี้ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้พระราชบัญญัติเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ที่ผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำให้หลายฝ่ายเชื่อมั่นว่า โครงการ EEC จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวไปสู่ระดับร้อยละ 5 ได้ไม่ช้า เมื่อมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ EEC สามารถเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ที่ประมาณ 3 แสนล้านบาท โดยล่าสุดมีนักลงทุนจากหลายประเทศให้ความสนใจเข้าลงทุนในพื้นที่เป้าหมายนี้ ความน่าสนใจที่น่าจับตามองจากปรากฏการณ์ความเคลื่อนไหวของผู้ลงทุนจากต่างประเทศในช่วงที่ผ่านมาอยู่ที่การประกาศเจตจำนงของบริษัท เอ็กซอน โมบิลฯ บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ที่จะขยายการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยมีความประสงค์จะตั้งโรงงานปิโตรเคมีขนาดใหญ่ มูลค่าการลงทุนประมาณ 2 แสนล้านบาท เพื่อผลิตปิโตรเคมีและส่งออกให้กับลูกค้าในต่างประเทศเป็นหลัก จากที่ในปัจจุบัน บริษัทในเครืออย่างบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีการตั้งโรงงานกลั่นน้ำมันอยู่ใน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี อยู่แล้ว การขยายลงทุนครั้งใหม่ของเอ็กซอนโมบิลดำเนินไปท่ามกลางเงื่อนไขที่ว่า เอ็กซอนโมบิลต้องการใช้พื้นที่มากถึง 600-900 ไร่ และอยู่ใกล้กับท่าเรือของโรงกลั่นเอสโซ่ เพื่อดำเนินการต่อท่อรับและขนถ่ายวัตถุดิบใช้ในการผลิต แต่พื้นที่ของโรงกลั่นเอสโซ่ปัจจุบันค่อนข้างมีจำกัด เอ็กซอนโมบิลจึงขอให้รัฐบาลดำเนินการจัดหาที่ดินตั้งโรงงานดังกล่าวให้ ล่าสุดสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) ได้รับมอบหมายให้ไปดำเนินการเร่งหาที่ดินให้เป็นไปตามความประสงค์ของเอ็กซอนโมบิล เพื่อลงทุนโครงการก่อสร้างปิโตรเคมีส่วนต่อขยาย โดยปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่กำลังการผลิต 1.74 แสนบาร์เรลต่อวัน ที่มีอยู่ปัจจุบัน ให้ได้แนฟทาเป็นวัตถุดิบป้อนให้กับโรงงานแครกเกอร์

Read More